หายนะที่ไม่อาจเกิดขึ้นซ้ำสอง อาวุธนิวเคลียร์ต้องไม่ถูกนำมาใช้อีก

หายนะที่ไม่อาจเกิดขึ้นซ้ำสอง อาวุธนิวเคลียร์ต้องไม่ถูกนำมาใช้อีก

, บทความ

“ผมได้ยินชื่อเมืองฮิโรชิมะเป็นครั้งแรกพร้อมๆ กับคำว่าระเบิดปรมาณู มีคนบอกว่าผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้นน่าจะมาถึงหนึ่งแสน ผู้เสียชีวิตถูกเผาทั้งเป็นโดยรังสีความร้อน” ด็อกเตอร์มารเซล จูโน ผู้แทนของ ICRC และคุณหมอชาวต่างชาติคนแรกที่เดินทางไปถึงฮิโรชิมะหลังการทิ้งระเบิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 1945 ได้บรรยายสิ่งที่พบเห็นในบันทึกของเขา “เวลา 12 นาฬิกา เราบินมาถึงฮิโรชิมะ เพื่อเห็นความเสียหายแบบที่ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน ใจกลางเมืองถูกทำลายจนราบเป็นหน้ากลอง เหลือเพียงพื้นที่ว่างเปล่าสีขาว ไม่มีอะไรเหลือเลย” คุณหมอจูโนบันทึกผลกระทบที่น่ากลัวเกี่ยวกับระบบสาธารณสุขในฮิโรชิมะ -คุณหมอ ...
ข้อความพิเศษเนื่องในวันกาชาดโลก 8 พฤษภาคม 2566

ข้อความพิเศษเนื่องในวันกาชาดโลก 8 พฤษภาคม 2566

, News / ไทย

อังรีดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บจากซัลโฟริโน ฮิลดาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุเฮอริเคนในพอร์ตวิลา โมฮาเหม็ดติดตามภาวะโภชนาการของผู้ต้องขังในเรือนจำของประเทศโซมาเลีย ยูลิมาสอนการปฐมพยาบาลแก่ผู้พิการในเมืองมาราเคย์ ลูน่าช่วยเหลือผู้อพยพบนชายฝั่งเซวตา พวกเขาทั้งหมด เช่นเดียวกันกับอาสาสมัครกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงทั่วโลก ส่งมอบความห่วงใย ยื่นมือแห่งความเมตตา และต่อลมหายใจแห่งมนุษยชาติให้กับผู้ที่ต้องการมากที่สุด ทั้งหมดนี้ล้วนทำด้วยหัวใจ (#FromTheHeart) วันนี้ เนื่องในวันกาชาดโลก เราเฉลิมฉลองมรดกของอังรี ดูนังต์ ผู้ซึ่งวิสัยทัศน์ของเขานำไปสู่การก่อตั้งกลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดง  รวมไปถึงอาสาสมัครอีกนับไม่ถ้วนที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งหลังจากนั้น ความมุ่งมั่นที่ไม่เปลี่ยนแปลงและการอุทิศตนของพวกเขาในการให้ความช่วยเหลือผู้เดือดร้อนในทุกที่ เป็นแบบอย่างเพื่อสนับสนุนหลักการพื้นฐานของเราในทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นปฏิบัติการในระหว่างภัยธรรมชาติ วิกฤตสภาพภูมิอากาศ สถานการณ์ความขัดแย้ง ...
5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมรดกมรณะจากวัตถุระเบิดซึ่งตกค้างจากสงคราม

5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมรดกมรณะจากวัตถุระเบิดซึ่งตกค้างจากสงคราม

, บทความ

แม้ว่าการสู้รบจะยุติลงนานแล้ว แต่บ่อยครั้งที่ผลกระทบจากสงครามไม่ได้จบลงไปด้วย การปนเปื้อนของอาวุธร้ายแรงชนิดต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นวัตถุระเบิดตกค้างซึ่งยังไม่ระเบิดในทันที ได้สร้างความเสียหายให้กับชุมชนทั่วโลก อันตรายที่ว่านี้แฝงตัวอยู่ใต้ผิวดิน และรอวันที่จะคร่าชีวิตหรือสร้างความเสียหายได้ทุกเมื่อ และนี่คือเรื่องที่เราอยากบอกให้คุณรู้เกี่ยวกับมรดกมรณะที่ยังคงคร่าชีวิตผู้คนอย่างต่อเนื่อง 1.วัตถุระเบิดซึ่งตกค้างจากสงครามคืออะไร วัตถุระเบิดซึ่งตกค้างจากสงคราม (Explosive remnants of war – ERW) สามารถแบ่งออกเป็นสรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด (unexploded ordnance : UXO) และอาวุธระเบิดที่ถูกทิ้งไว้ (abandoned ...
ผลการดำเนินงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ประจำปี 2565

ผลการดำเนินงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ประจำปี 2565

, E-Book

ดาวน์โหลดเอกสารผลการดำเนินงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ประจำปี 2565 ในภาษาไทย และภาษาอังกฤษ  
อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธตามแบบบางชนิด (CCW)

อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธตามแบบบางชนิด (CCW)

, บทความ

#รู้หรือไม่ ระเบิดตกค้างและการใช้อาวุธทำลายล้างประเภทต่างๆ สามารถสร้างผลกระทบด้านมนุษยธรรมต่อพลเรือนได้อย่างยาวนานแม้ว่าสงครามนั้นจะจบลงไปแล้วเป็นเวลาหลายปี ทำความรู้จัก อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธตามแบบบางชนิด (Convention on Certain Conventional Weapons: CCW) อนุสัญญาน่าสนใจที่กล่าวถึงการจำกัดการใช้อาวุธที่ร้ายแรงโดยไม่จำเป็นต่อพลรบ และก่อให้เกิดความเสียหายที่ไม่แบ่งแยกต่อพลเรือน อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธตามแบบบางชนิด ได้รับการรับรองในปี  1980 มีผลบังคับใช้ในปี 1983 ความน่าสนใจในอนุสัญญาฉบับนี้ คือส่วนประกอบที่แยกเป็นสองส่วน ได้แก่ อนุสัญญาแม่บท ทำหน้าที่กำหนดขอบเขตและสถานการณ์ที่อนุสัญญาฯ ...
ภาพวาด ความฝัน และเรื่องราวนับพันจากเจเนอเรชั่นที่สูญหาย

ภาพวาด ความฝัน และเรื่องราวนับพันจากเจเนอเรชั่นที่สูญหาย

, บทความ

เราทุกคนล้วนมีความหวังและความฝัน แต่สำหรับเด็กนับพันในซีเรีย พวกเขาต้องเริ่มต้นด้วยต้นทุนที่น้อยกว่าคนอื่น ทุกวันนี้มีชาวซีเรียกว่า 55,000 คน ที่ต้องอาศัยแออัดในค่ายลี้ภัยทางตอนเหนือของประเทศ สองในสามของประชากรเหล่านี้ ส่วนมากเป็นเด็กอายุต่ำกว่าห้าปี “ไม่มีอนาคตสำหรับเด็กๆ” นาตาลี เนียมูเคบาเพื่อนร่วมงานของเรากล่าว นาตาเลียทำงานเป็นนักจิตวิทยาคลีนิกที่ซีเรียและได้มีโอกาสพูดคุยกับประชากรรุ่นเยาว์ พวกเขาบางคนเกิดและเติบโตในค่ายโดยไม่รู้ว่าโลกภายนอกเป็นเช่นไรและมีความฝันแบบไหนรออยู่ ICRC ร่วมกับ Syrian Arab Red Crescent เปิดโรงพยาบาลเล็กๆ ในพื้นที่ค่าย โรงพยาบาลของเรารองรับผู้ป่วยกว่าหนึ่งหมื่นเคสตั้งแต่ปี ...
อังรี ดูนังต์เป็นใคร เกี่ยวอะไรกับกลุ่มองค์กรกาชาด? มองย้อนหลังประวัติศาสตร์ 160 ว่าด้วยงานมนุษยธรรม

อังรี ดูนังต์เป็นใคร เกี่ยวอะไรกับกลุ่มองค์กรกาชาด? มองย้อนหลังประวัติศาสตร์ 160 ว่าด้วยงานมนุษยธรรม

, บทความ

ในวันที่ 24 มิถุนายน 1859 นายอังรี ดูนังต์ นักธุรกิจชาวสวิสพบเห็นเหตุการณ์สำคัญที่จะเปลี่ยนชีวิตของเขาไปตลอดกาล เขาเดินทางผ่านเมืองโซลเฟริโน (ปัจจุบันตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศอิตาลี) หลังการสู้รบระหว่างกองทัพฝรั่งเศสและออสเตรียเพิ่งจบลงไปได้ไม่นาน โซลเฟริโนเป็นสมรภูมิสำคัญในสงครามประกาศอิสรภาพของอิตาลีครั้งที่ 2 สงครามครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายที่กองทัพทุกฝั่งได้รับการบังคับบัญชาโดยตรงจากกษัตริย์ ทหารกว่าสามแสนคนจากออสเตรีย ฝรั่งเศส และอิตาลีต่อสู้กันที่บริเวณนี้เป็นเวลายาวนานถึง 14 ชั่วโมง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตสามหมื่นคน บาดเจ็บอีกหลายหมื่น ตัวเลขนี้ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับสงครามครั้งอื่นๆ ในศตวรรษที่ 21 ...
ครบรอบ 160 ปี ไอซีอาร์ซียังมุ่งมั่นคุ้มครองพลเมืองจากอันตรายของสงคราม

ครบรอบ 160 ปี ไอซีอาร์ซียังมุ่งมั่นคุ้มครองพลเมืองจากอันตรายของสงคราม

, News / ไทย

วันนี้ (17 กุมภาพันธ์ 2566) ถือเป็นวันครบรอบ 160 ปี ของการดำเนินงานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบทั่วโลกที่ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross- ICRC) ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ในหนังสือเรื่อง “A Memory of ...
ลดคาร์บอนเพื่อมนุษยธรรม! การคำนวณเพื่อปรับลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรมนุษยธรรม

ลดคาร์บอนเพื่อมนุษยธรรม! การคำนวณเพื่อปรับลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรมนุษยธรรม

, บทความ

วิกฤตการณ์ด้านสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมกำลังคุกคามความอยู่รอดของมนุษยชาติ มันกำลังสร้างผลกระทบให้ขีวิตของเราในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพร่างกาย จิตใจ ไปจนถึงความมั่นคงด้านน้ำ อาหาร ลุกลามไปจนถึงเศรษฐกิจ ที่น่าเศร้าไปกว่านั้น คือกลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด กลับเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมน้อยที่สุดในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อร่วมกันช่วยเหลือไม่ให้ปัญหาที่ว่าลุกลามไปกว่านี้ กลุ่มองค์กรมนุษยธรรมจึงได้รวมตัวกันเพื่อปรับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามข้อตกลงในกฎบัตรภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมขององค์กรมนุษยธรรม (Climate and Environment Charter for Humanitarian Organizations) ซึ่งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) ...
กัมพูชา: ไอซีอาร์ซีฉลอง 30 ปี โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในประเทศกัมพูชา

กัมพูชา: ไอซีอาร์ซีฉลอง 30 ปี โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในประเทศกัมพูชา

, News / ไทย

พระตะบอง – เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) ฉลองปีที่ 30 ของโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในประเทศกัมพูชา ซึ่งได้ให้การสนับสนุนผู้พิการทั่วประเทศมาแล้วมากกว่า 166,000 คน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสนี้ ไอซีอาร์ซีจัดกิจกรรมตลอดทั้งวันในศูนย์ฟื้นฟูสมรรภาพผู้พิการของเราในพระตะบอง ซึ่งเป็นศูนย์แห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มีทั้งการผลิตกายอุปกรณ์เทียม (prosthesis) กายอุปกรณ์เสริม (Orthosis) และวีลแชร์แบบครบวงจร งานในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากเจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ ...