การคุ้มครองและอำนวยความสะดวกแก่ภารกิจด้านมนุษยธรรมที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในบริบทความขัดแย้งที่เปลี่ยนแปลง

การคุ้มครองและอำนวยความสะดวกแก่ภารกิจด้านมนุษยธรรมที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในบริบทความขัดแย้งที่เปลี่ยนแปลง

, บทความ

องค์การสหประชาชาติประเมินว่าใน ค.ศ. 2024 มีผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือและความคุ้มครองด้านมนุษยธรรมมากกว่า 300 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าจากจำนวน 130 ล้านคนใน ค.ศ. 2019 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่น่าตกใจนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสถานการณ์จริง เพราะยังไม่รวมถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอื่น ๆ เช่น การช่วยเหลือผู้ถูกลิดรอนเสรีภาพให้สามารถติดต่อกับครอบครัว ซึ่งต้องดำเนินการโดยองค์กรด้านมนุษยธรรมที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและปฏิบัติงานข้ามแนวรบได้ รวมถึงการติดตามหาสมาชิกในครอบครัวที่สูญหาย ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากอาสาสมัครด้านมนุษยธรรม ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและการย้ำเตือนพันธกรณีทางกฎหมายแก่คู่พิพาท ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญขององค์กรด้านมนุษยธรรมอย่างคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี ...
การปรับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการสงคราม

การปรับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการสงคราม

, บทความ

ทุกวันนี้ พลเรือนทั่วโลกต่างพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน รวมไปถึงปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และโครงสร้างพื้นฐานบนอวกาศ ในขณะเดียวกัน ภาคีคู่พิพาทในการขัดกันทางอาวุธก็ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ในทางทหารด้วย หลายปีก่อนหน้านี้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสงคราม รวมถึงการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการตัดสินใจทางทหาร ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากความเป็นจริงอยู่มาก แต่ในปัจจุบันสถานการณ์ไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไปแล้ว คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการพึ่งพาระบบอาวุธที่มีความอิสระในระดับต่าง ๆ และระบบที่อาศัยปัญญาประดิษฐ์ในการตัดสินใจกำหนดเป้าหมายและวิธีการโจมตี อีกทั้งยังปรากฏแนวโน้มอันน่าเป็นห่วงในการขัดกันทางอาวุธปัจจุบัน ที่รัฐและฝ่ายที่ไม่ใช่รัฐใช้ปฏิบัติการไซเบอร์เพื่อขัดขวางโครงสร้างพื้นฐานที่กำกับดูแลเทคโนโลยีดิจิทัล บริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และระบบเศรษฐกิจ รวมถึงการนำเครื่องมือสื่อสารแบบดิจิทัลมาใช้เพิ่มการเข้าถึง ความรวดเร็ว ...
การสร้างสมดุลโดยสุจริตระหว่างหลักมนุษยธรรมกับความจำเป็นทางทหารในการสู้รบ

การสร้างสมดุลโดยสุจริตระหว่างหลักมนุษยธรรมกับความจำเป็นทางทหารในการสู้รบ

, บทความ

ความทุกข์ทรมานและหายนะอันเกิดจากการขัดกันทางอาวุธในปัจจุบันนั้นรุนแรงมากจนแทบจะเกินคำบรรยาย ทั้งเมืองถูกทำลายราบคาบ โรงพยาบาลเหลือเพียงซากปรักหักพัง พลเรือนต้องดิ้นรนให้มีชีวิตรอดโดยปราศจากอาหาร น้ำ ไฟฟ้า หรือการดูแลทางการแพทย์ที่เพียงพอ ผู้คนได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพถาวร จิตใจบอบช้ำอย่างแสนสาหัส และถูกสังหาร การขัดกันทางอาวุธยังทำลายระบบนิเวศ และทำให้วิกฤตสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศทั่วโลกทวีความรุนแรงอย่างรวดเร็วมากขึ้น หลักการและกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศว่าด้วยการสู้รบมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองพลเรือนและวัตถุพลเรือนจากอันตรายของปฏิบัติการทางทหาร โดยการพยายามรักษาสมดุลระหว่างความจำเป็นในการบรรลุเป้าหมายทางทหารอันชอบด้วยกฎหมายกับการจำกัดการสูญเสียชีวิต ความทุกข์ทรมาน ​การบาดเจ็บ และการทำลายล้างอันจะเกิดขึ้นจากการขัดกันทางอาวุธ แต่หลักการและกฎเกณฑ์นี้กำลังเผชิญปัญหาจากการถูกตีความอย่างกว้างจนเกินไปซึ่งบ่อนทำลายสมดุลอันละเอียดอ่อนและเจตนารมณ์ดั้งเดิมในการรักษาชีวิต เลี่ยงความเสียหายแก่พลเรือน วัตถุพลเรือน ตลอดจนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ...
การยกระดับประสิทธิภาพในการคุ้มครองประชากรซึ่งตกอยู่ในมือของภาคีคู่พิพาทในการขัดกันทางอาวุธ

การยกระดับประสิทธิภาพในการคุ้มครองประชากรซึ่งตกอยู่ในมือของภาคีคู่พิพาทในการขัดกันทางอาวุธ

, บทความ

การขัดกันทางอาวุธสร้างความทุกข์ทรมานอันไม่อาจเลี่ยงได้ แม้ในสถานการณ์ความขัดแย้งซึ่งกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้รับการเคารพอย่างเคร่งครัดก็ยังมีบุคคลถูกคุมขังหรือถูกสังหาร บ่อยครั้งที่ผู้คนต้องพลัดพรากจากครอบครัวหรือสูญหายไปในการสู้รบ การสูญหายของผู้คนหลายพันสร้างความโกรธและทุกข์ทรมานอย่างยาวนานแก่บุคคลอันเป็นที่รัก ส่วนการพรากเด็กจากครอบครัวก็ก่อให้เกิดความเศร้าและความทุกข์ทรมานตามมาเช่นกัน ชุดกฎเกณฑ์ทั้งหลายที่ใช้คุ้มครองบุคคลผู้ได้รับผลกระทบจากการขัดกันทางอาวุธได้รับการพัฒนาขึ้นก็เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายจากความขัดแย้งให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กฎเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าจำเป็นสำหรับการบรรเทาความทุกข์ทรมานและคุ้มครองบุคคลจากการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมหรือการถูกทำให้สูญหายในความขัดแย้ง ถึงกระนั้นก็ตาม กฎเกณฑ์เหล่านี้ได้เผชิญกับบททดสอบและข้อท้าทายมาโดยตลอด ข้อท้าทายบางอย่างมีที่มาจากการที่ภาคีคู่พิพาทในความขัดแย้งพยายามจำกัดขอบเขตความคุ้มครองให้พ้องกับการนำเสนอเรื่องราวที่มุ่งกีดกันไม่ให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่มได้รับความคุ้มครอง ในบางครั้งจึงมีบุคคลที่ถูกคุมขังโดยไม่มีการให้เหตุผลหรือไม่มีกำหนดเวลา ในกรณีเช่นนี้ บุคคลดังกล่าวย่อมตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกปฏิบัติโดยไม่เหมาะสมหรือประสบความยากลำบากทางกายภาพ นอกจากนี้ยังมีข้อท้าทายอื่นอันเกิดขึ้นจากการที่ไม่มีการดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อบังคับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและป้องกันมิให้มีการละเมิดกฎหมายเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า ยังขาดความพยายามที่เพียงพอในการพัฒนากฎหมาย ระบบและกระบวนการอันจำเป็นเพื่อให้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศสามารถใช้คุ้มครองบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องตีความพันธกรณีตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศโดยสุจริตและให้ความสำคัญกับการปรับใช้และปฏิบัติตามกฎหมายทั้งในเชิงนโยบายและกระบวนการภายใน เพื่อให้ความคุ้มครองภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้รับการฟื้นฟู ท้ายที่สุด การบังคับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อคุ้มครองบุคคลจากอันตรายนั้นจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญสองประการ ...
ไอซีอาร์ซีเรียกร้องรัฐเคารพข้อห้ามตามอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล

ไอซีอาร์ซีเรียกร้องรัฐเคารพข้อห้ามตามอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล

, News / ไทย

สุนทรพจน์โดย จิลส์ คาร์บอนนิเยร์ รองประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) ในโอกาสการประชุมทบทวนอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ครั้งที่ 5 ณ จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ฯพณฯ ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ฯพณฯ ลี ทุช ประธานการประชุมทบทวนครั้งที่ ...
សុន្ទរកថារបស់អនុប្រធាន ICRC លោក Gilles Carbonnier សន្និសីទត្រួតពិនិត្យឡើងវិញលើកទីប្រាំនៃរដ្ឋភាគី ចំពោះអនុសញ្ញាស្តីពីការហាមឃាត់ការប្រើប្រាស់ ការស្តុកទុក ការផលិត និងការផ្ទេរមីនប្រឆាំងមនុស្ស និងការបំផ្លាញចោល សៀមរាប-អង្គរ ថ្ងៃទី២៥ ខែវិច្ឆិកា ឆ្នាំ២០២៤

សុន្ទរកថារបស់អនុប្រធាន ICRC លោក Gilles Carbonnier សន្និសីទត្រួតពិនិត្យឡើងវិញលើកទីប្រាំនៃរដ្ឋភាគី ចំពោះអនុសញ្ញាស្តីពីការហាមឃាត់ការប្រើប្រាស់ ការស្តុកទុក ការផលិត និងការផ្ទេរមីនប្រឆាំងមនុស្ស និងការបំផ្លាញចោល សៀមរាប-អង្គរ ថ្ងៃទី២៥ ខែវិច្ឆិកា ឆ្នាំ២០២៤

, News / ភាសាខ្មែរ

សម្ដេចមហាបវរធិបតី ហ៊ុន ម៉ាណែត នាយករដ្ឋមន្ត្រីនៃព្រះ​រាជាណាចក្រ​កម្ពុជា ជាទីគោរព ឯក​ឧត្តម​លី ធុជ ប្រធាន​​សន្និសីទ​ត្រួត​ពិនិត្យ​ឡើង​វិញ​លើក​ទី​៥​ ឯក​ឧត្តម លោក​ជំទាវ​ លោក​ លោក​ស្រី​ និង​ក្រុម​ការងារ​ទាំង​អស់​ ជាទីគោរព និងជាទីរាប់អាន ខ្ញុំមានសេចក្តីសោមនស្សរីករាយតំណាងឱ្យ​គណៈកម្មាធិការអន្តរជាតិនៃកាកបាទក្រហម ឡើង​ថ្លែង​សុន្ទរ កថា​នៅ​ក្នុងសន្និសីទត្រួតពិនិត្យឡើង​វិញ​លើកទីប្រាំនៃអនុសញ្ញាហាមប្រាមការ​ប្រើ​ប្រាស់​មីនប្រឆាំងមនុស្ស។ ប្រទេស​កម្ពុជា​ គឺ​ជា​ផ្នែក​មួយ​នៃ​បណ្ដុំ​​ចលនា​សកល​សម្រាប់​ពិភពលោកមួយ​ដែល​​គ្មាន​មីន​ ហើយ​ខ្ញុំ​សូម​ថ្លែង​អំណរ​គុណ​ដល់​ម្ចាស់​ផ្ទះកិច្ច​ប្រជុំ ដែល​បាន​ស្វាគមន៍​ពួក​យើង​មក​កាន់​តំបន់​បេតិកភណ្ឌ​ពិភពលោក​ដ៏​ពិសេស​នេះ​នៅ​ខេត្ត​សៀម​រាប។ ខ្ញុំ​សូម​ចាប់​ផ្ដើម​ ...
ไขข้อสงสัยประเด็นกฎหมาย ‘พื้นที่สีเทา’ ‘การแข่งขัน’ ‘สงครามผสมผสาน’ หรือ ‘สงครามตัวแทน’

ไขข้อสงสัยประเด็นกฎหมาย ‘พื้นที่สีเทา’ ‘การแข่งขัน’ ‘สงครามผสมผสาน’ หรือ ‘สงครามตัวแทน’

, บทความ

สถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โลกในปัจจุบันถูกกำหนดโดยปัจจัยด้านความตึงเครียดระหว่างรัฐ ความไม่มั่นคงภายในประเทศ การแสดงอำนาจผ่านมาตรการบีบบังคับและมาตรการแอบแฝง รวมไปถึงสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธที่เพิ่มขึ้น ในบางครั้ง มีการอธิบายสภาพการณ์อันซับซ้อนนี้ในเชิงการเมืองและการทหารว่าเป็น ‘การแข่งขัน’ ระหว่างรัฐ ในขณะที่มาตรการต่อต้านถูกนำเสนอว่าเป็น ‘สงครามผสมผสาน’ ส่วนการที่รัฐให้การสนับสนุนทั้งในทางการเมือง การเงินหรือทรัพยากรแก่ภาคีคู่พิพาทในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธนั้น ถูกนิยามว่าเป็น ‘สงครามตัวแทน’ คำว่า ‘การแข่งขัน (competition)’ มักใช้อธิบายสภาพความเป็นคู่แข่งระหว่างรัฐต่าง ๆ ในทางการเมือง เศรษฐกิจและการทหาร คำว่า ‘ภัยคุกคามผสมผสาน ...
การห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์ ปกป้องมนุษยชาติจากความทุกข์ทรมานเกินพรรณนา

การห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์ ปกป้องมนุษยชาติจากความทุกข์ทรมานเกินพรรณนา

, บทความ

ตั้งแต่ ค.ศ. 1945 เป็นต้นมา กลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Red Cross and Red Crescent Movement) ได้ออกมาแสดงความกังวลอย่างต่อเนื่องถึงผลกระทบด้านมนุษยธรรมที่เกิดจากพลังทำลายล้างของอาวุธนิวเคลียร์ และเรียกร้องให้รัฐต่าง ๆ ห้ามการใช้อาวุธเหล่านี้ โดยไอซีอาร์ซีได้เริ่มเรียกร้องให้มีการยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิงภายหลังเหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมะ ในเหตุการณ์นั้น เจ้าหน้าที่ไอซีอาร์ซีได้เห็นความพินาศจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์ขณะปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับสภากาชาดญี่ปุ่นในการให้ความช่วยเหลือพลเรือนจำนวนหลายหมื่นคนที่บาดเจ็บและล้มตาย ประสบการณ์ในครั้งนั้นเป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อการทำงานของไอซีอาร์ซีและสมาชิกในกลุ่มองค์กรกาชาดฯ ทั้งหมด ตลอดหลายทศวรรษถัดมา กลุ่มองค์กรกาชาดฯ ...
ประธานไอซีอาร์ซีเรียกร้องมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขผลกระทบทางมนุษยธรรมในเมียนมา

ประธานไอซีอาร์ซีเรียกร้องมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขผลกระทบทางมนุษยธรรมในเมียนมา

, News

ย่างกุ้ง (ไอซีอาร์ซี) – มีร์ยานา สปอลจาริก ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) เดินทางเยือนประเทศเมียนมาระหว่างวันที่ 5 ถึง 9 กันยายน ในช่วงเวลาที่สถานการณ์ในประเทศกำลังเผชิญกับทั้งความขัดแย้งและความรุนแรงที่ยกระดับขึ้นและสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมที่เลวร้ายลง ชุมชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งกำลังเผชิญความท้าทายอย่างหนักหน่วง ทั้งเรื่องการดูแลสุขภาพ สุขาภิบาล น้ำสะอาด อาหาร และที่พักพิง ระบบบริการสาธารณสุขในประเทศหยุดชะงักเพิ่มความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค ผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนเวชภัณฑ์ นอกจากนี้ สถานการณ์ความรุนแรงที่ดําเนินอยู่อย่างต่อเนื่องได้ส่งผลให้หลายพันครอบครัวต้องลี้ภัยออกจากบ้าน ...
75 ปี อนุสัญญาเจนีวา – ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเรียกร้องให้ยกระดับความสำคัญของอนุสัญญาเจนีวาในทางการเมือง

75 ปี อนุสัญญาเจนีวา – ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเรียกร้องให้ยกระดับความสำคัญของอนุสัญญาเจนีวาในทางการเมือง

, News

เนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี อนุสัญญาเจนีวา ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม 1949 ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) ​เรียกร้องให้ยกระดับความสำคัญของอนุสัญญาเจนีวาในทางการเมือง “อนุสัญญาเจนีวาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศรวบรวมไว้ซึ่งหลักการสากลในการคุ้มครองชีวิตและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก กฎหมายเหล่านี้เป็นหัวใจของการป้องกันและคุ้มครองผลกระทบอันเลวร้ายของสงคราม เป็นหลักประกันว่าทุกคน แม้กระทั่งศัตรู ต้องได้รับการปฏิบัติในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง” มีรยานา สปอลจาริก ประธานไอซีอาร์ซี กล่าว อนุสัญญาเจนีวา อันเป็นสนธิสัญญารากฐานของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ได้บรรลุผลสำเร็จหลายประการด้วยกัน ...