ประธานไอซีอาร์ซี กล่าว “เราจะต้องให้ความสำคัญต่อชีวิตของผู้คนในการพัฒนาและนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้” 20/06/2024, News คำกล่าวโดย มีรยานา สปอลจาริก ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ณ การประชุมแชงกรี-ลา ไดอะล็อก การประชุมพิเศษลำดับที่ 5 เรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ การป้องกันทางไซเบอร์ และการสงครามในอนาคต วันที่ 1 มิถุนายน 2024 ประเทศสิงคโปร์ ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษทุกท่าน ปัจจุบัน ตามข้อมูลที่ ICRC รับรู้ ...
กาชาดเปิดโรงพยาบาลสนามขนาด 60 เตียงแห่งใหม่ในกาซ่า 16/05/2024, News โรงพยาบาลสนามขนาด 60 เตียงจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นส่วนเสริมและสนับสนุนการทำงานของสภาเสี้ยววงเดือนแดงปาเลสไตน์ ท่ามกลางความพยายามของหน่วยงานด้านมนุษยธรรมในการตอบสนองต่อผลกระทบด้านสาธารณสุขอันใหญ่หลวงในกาซ่า โรงพยาบาลสนามดังกล่าวจะให้การดูแลด้านศัลยกรรมฉุกเฉิน สูติกรรมและนารีเวชวิทยามารดาและทารกแรกเกิด กุมารเวชศาสตร์ และแผนกผู้ป่วยนอก ตลอดจนมีความสามารถจัดการสาธารณภัยและการคัดกรองผู้ป่วยจำนวนมากได้ โรงพยาบาลสนามของไอซีอาร์ซี ดำเนินการร่วมกับสภาเสี้ยววงเดือนแดงปาเลสไตน์ และได้รับการสนับสนุนจากสภากาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงจากประเทศออสเตรเลีย ออสเตรีย แคนาดา เดนมาร์ค ฟินแลนด์ เยอรมนี ฮ่องกง ไอซ์แลนด์ ญี่ปุ่น นอร์เวย์ และ สวิตเซอร์แลนด์ ...
ความชอบธรรมในการประกาศสงครามและการทำสงครามที่เป็นธรรม jus ad bellum และ jus in bello คืออะไร? 10/05/2024, บทความ Jus ad bellum หรือ กฎหมายว่าด้วยการใช้กำลังทหาร หมายถึง เงื่อนไขที่รัฐอาจตัดสินใจก่อสงครามหรือใช้กองกำลังติดอาวุธ โดยข้อห้ามในการใช้กำลังในหมู่รัฐและข้อยกเว้น (การป้องกันตนเองและการอนุญาตให้ใช้กำลังโดยสหประชาชาติ) ซึ่งบรรจุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ ค.ศ. 1945 เป็นองค์ประกอบหลักของกฎหมายว่าด้วยการใช้กำลังทหาร . Jus in bello หรือ กฎหมายมนุษยธรรม หมายถึง กฎหมายที่กำกับการใช้กำลังทหารของฝ่ายต่างๆ ในการขัดกันทางอาวุธ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศก็มีความหมายเช่นเดียวกับ ...
สาส์นเนื่องในวันกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงสากล 08/05/2024, News วันที่ 8 พฤษภาคมของทุกปี เรากำหนดให้เป็นวันกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงสากล และเฉลิมฉลองการปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับชุมชนไปจนถึงระดับโลก เป็นวันที่เราร่วมกันรำลึกถึง อังรี ดูนังต์ ผู้บุกเบิกงานอาสาสมัครและก่อตั้งกลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศขึ้นมาเมื่อกว่า 160 ปีก่อน และเหนือสิ่งอื่นใด วันนี้เป็นวันที่เราเชิดชูเกียรติแก่อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่หลายล้านคนที่มุ่งมั่นทำงานร่วมกันเพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบได้รับซึ่งความคุ้มครอง ความช่วยเหลือ การดูแลสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม ตลอดจนความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน แม้ต้องเผชิญกับสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธและความรุนแรง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิกฤตอันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศ โรคระบาด ความไม่มั่นคงด้านอาหาร ...
การดำเนินงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ประจำปี 2566 27/03/2024, E-Book ดาวน์โหลดเอกสารการดำเนินงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ประจำปี 2566 ใน ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
‘น้ำ’ กับ ‘งานมนุษยธรรม’ คุยกับวิศวกรของ ICRC เนื่องในวันน้ำโลก 20/03/2024, บทความ วันที่ 22 มีนาคม เป็นวันน้ำโลก (World Water Day) ซึ่งเป็นวันที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อทุกชีวิต นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ราว 3 สัปดาห์หากขาดอาหาร แต่สามารถมีลมหายใจได้เพียง 3 วัน หากปราศจากน้ำดื่ม อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ด้วยภาวะสงคราม ความขัดแย้ง ความไม่สงบต่างๆ การเข้าถึงน้ำสะอาดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นเรื่องจำเป็นถึงชีวิตสำหรับหลายพื้นที่ในปัจจุบัน ธันวิชช์ มหัทธนาสิงห์ ...
ในครอบครัวผู้สูญหาย เมื่อสตรีต้องกลายเป็นช้างเท้าหน้า เสียงจากศรีลังกาเนื่องในวันสตรีสากล 11/03/2024, บทความ ‘กว่าหมื่นคน’ คือจำนวนเคสคร่าวๆ ของครอบครัวผู้สูญหายในประเทศศรีลังกาที่ยังคงรอคอยข่าวคราวจากบุคคลอันเป็นที่รัก แม้ความขัดแย้งภายในประเทศจะจบลงเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้วก็ตาม “บางบ้านผู้ชายออกไปร่วมรบและไม่ได้รับข่าวคราวอีกเลย มันเป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ทิ้งช่องว่างและสร้างผลกระทบให้คนที่อยู่ข้างหลังเป็นเวลาหลายสิบปี” บุณฑริก จำปาไทย เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุ้มครองของเราที่ได้เข้าไปสัมผัสประสบการณ์ตรงในงานสานสัมพันธ์ครอบครัวของประเทศศรีลังกากล่าว “หากพี่ชายยังอยู่เขาคงจะอายุเท่านั้น หากสามียังอยู่บ้านเราคงจะเป็นแบบนี้” เป็นประโยคที่บุณฑริกได้ยินอยู่บ่อยครั้ง การสูญหายของผู้ชายที่เป็นความหวัง และเป็นช้างเท้าหน้า นำพาไปสู่ผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและจิตใจ เพราะทำให้ผู้หญิงจำนวนมากต้องลุกขึ้นสู้เพื่อหาทางรอดให้ตัวเองและครอบครัว “เราเคยเจอแต่ผู้หญิงที่สู้ ไม่เคยเจอคนที่ไม่สู้ หลายครั้งที่ลงพื้นที่แล้วเจอภรรยาหรือคุณแม่ของบุคคลสูญหายมีแรงใจลุกขึ้นทำงานหลายๆ ...
รัสเซีย-ยูเครน ความขัดแย้งระหว่างประเทศนำไปสู่การสูญหายของบุคคล 23,000 ชีวิต 23/02/2024, บทความ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศพยายามตามหาผู้สูญหาย 23,000 ชีวิต ซึ่งยังไม่ทราบชะตากรรม บางรายอาจถูกจับกุม ถูกสังหาร หรือขาดการติดต่อกับครอบครัวเพราะหลบหนีจากความขัดแย้ง ความเจ็บปวดจากการพลัดพราก ยิ่งเพิ่มเติมความทุกข์ให้กับครอบครัวของผู้สูญหายที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์อันยากลำบาก หลังการขัดกันทางอาวุธยกระดับขึ้นเมื่อสองปีก่อน ความต้องการด้านมนุษยธรรมมีแต่จะเพิ่มสูงขึ้น นั่นรวมไปถึงผู้คนหลายล้านที่ต้องพลัดถิ่น ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ “การไม่ทราบชะตากรรมของบุคคลอันเป็นที่รักเป็นเรื่องสาหัสมาก นี่คือความจริงอันน่าสลดใจของหลายหมื่นครอบครัวที่ต้องอยู่กับความเจ็บปวดเรื่อยมา ครอบครัวมีสิทธิ์รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับญาติของตน และหากเป็นไปได้ พวกเขาจะต้องสามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้” ซาน วูจาซานิน หัวหน้าสำนักงานกลางเพื่อสืบหาญาติ (Central ...
‘คาลิดู คูลิบาลี’ นักเตะทีมชาติเซเนกัล สู่ภารกิจคุ้มกันผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ 29/01/2024, News / ไทย อาบีจาน/เจนีวา – คาลิดู คูลิบาลี นักเตะกองหลังและกัปตันทีมชาติเซเนกัลในการแข่งขันฟุตบอล แอฟริกา คัพ ออฟเนชั่นส์ ร่วมกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) ผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในหมู่ประชาชนคนทั่วไปและผู้ถืออาวุธ ภาพยนตร์ “Defenders” (กองหลัง) มีเป้าหมายสำคัญเพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มผู้ถืออาวุธรุ่นเยาว์ให้ตระหนักเกี่ยวกับกฎเกณฑ์พื้นฐานแห่งสงคราม เช่น การห้ามโจมตีพลเรือนไม่ว่ากรณีใด การดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสตรีและเด็กอันเป็นผลจากการปฏิบัติการทางทหาร รวมถึงการไว้ชีวิตศัตรูที่ยอมจำนน เป็นต้น “ฟุตบอลสามารถสื่อสารประเด็นสำคัญไปยังผู้คนได้อย่างทั่วถึงและเข้าใจง่าย และเรื่องสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดสำหรับแอฟริกา ก็คือ ...
ไอซีอาร์ซีเผยแพร่แผนยุทธศาสตร์ ประจำปี 2024-2027 11/01/2024, News / ไทย สืบเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแบ่งขั้วความคิดทางการเมืองและมีการยกระดับความรุนแรงของการขัดกันทางอาวุธมากขึ้นทั่วโลก คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) เตรียมพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ดังกล่าวผ่านการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ประจำปี 2024-2027 เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานขององค์กรในระยะเวลา 4 ปีข้างหน้า จุดมุ่งหมายของแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ คือ แก้ไขปัญหาอันเกิดจากภูมิทัศน์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเน้นย้ำเป้าหมายหลักขององค์กรในการคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการขัดกันทางอาวุธและความรุนแรง ในห้วง 4 ปีข้างหน้า ไอซีอาร์ซีจะให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างงานด้านการคุ้มครองและการพูดคุยหารือกับทั้งฝ่ายรัฐและกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐ เพื่อให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (international humanitarian law – IHL) ทุกประการ ...