สงครามที่เราไม่ได้ก่อ – มุมมองต่อสงครามและสันติภาพจากคนยุดมิลเลนเนียน

สงครามที่เราไม่ได้ก่อ – มุมมองต่อสงครามและสันติภาพจากคนยุดมิลเลนเนียน

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) เปิดเผยรายงานการสำรวจความคิดเห็นของคนรุ่นมิลเลนเนียล 16000 คน ใน 16 ประเทศทั่วโลกเกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อสงครามและการสู้รบ โดยกลุ่มคนที่ทำการสอบถามมีอายุระหว่าง 20-35 ปี อาศัยอยู่ในประเทศที่มีและไม่มีสงคราม คือ อัฟกานิสถาน โคลัมเบีย ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย อิสราเอล มาเลเซีย เม็กซิโก ไนจีเรีย ปาเลสไตน์ รัสเซีย ...
ถาม-ตอบ เรื่องการปกป้องทรัพย์สินทางวัฒนธรรม

ถาม-ตอบ เรื่องการปกป้องทรัพย์สินทางวัฒนธรรม

, บทความ / บล็อค

ทำไมการทำลายทรัพย์สินทางวัฒนธรรมในระหว่างความขัดแย้งจึงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง ผลกระทบของสงครามและความขัดแย้งเกิดขึ้นได้ไกลเกินกว่าโศกนาฏกรรมแบบที่เราคุ้นเคย ความเสียหายกินความหมายถึงสิ่งต่างๆ ทั้ง พิพิธภัณฑ์ อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์หรือแหล่งโบราณคดี – เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์และความทรงจำของผู้คนในท้องที่  การโจมตีทรัพย์สินทางวัฒนธรรมเป็นมากกว่าการทำลายอิฐ ไม้ หรือ ปูน แต่เป็นการทำลายศักดิ์ศรีและอนาคตของประชากรทั้งหมด ในปี 2016 ICRC สอบถามประชากร 17,000 คน จาก 16 ประเทศ กว่า ...
สองความจริงกับหนึ่งความเท็จ: เจ็ดสิบปีแห่งอนุสัญญาเจนีวา

สองความจริงกับหนึ่งความเท็จ: เจ็ดสิบปีแห่งอนุสัญญาเจนีวา

, บทความ / บล็อค

เนื่องในวาระครบรอบอนุสัญญาเจนีวา บรรดาผู้ปฏิบัติหน้าที่ทางด้านมนุษยธรรมและผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายได้ใช้โอกาสนี้สะท้อนบทเรียนที่ได้รับจากสนธิสัญญาทั้งสี่ฉบับที่ได้รับการให้สัตยาบันอย่างเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับตลอดระยะเวลาเจ็ดทศวรรษแห่งสงคราม บทความนี้ต่อยอดมาจากการศึกษาด้านอภิปรัชญา (metaphysical) ของ Helen Durham เกี่ยวกับข้อท้าทายทั้งในอดีตและปัจจุบันที่กฎหมายมนุษยธรรมกำลังเผชิญอยู่ บทความนี้จึงได้ทำการสำรวจและแสดงเหตุผลหักล้างข้อกล่าวอ้างที่มักจะถูกนำมาใช้อยู่เสมอ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นนักวิชาการและมีส่วนผลักดันกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างเปิดเผย ข้าพเจ้าได้สังเกตเห็นปัญหาของวาทกรรมที่ใช้กล่าวถึงอนุสัญญาเจนีวา เนื้อความสำคัญของวาทกรรมดังกล่าวคือ “ข้าพเจ้าเห็นแต่ความรุนแรงและความวุ่นวายเกิดขึ้นบนโลก การเผยแพร่บทกฎหมายเป็นสิ่งที่ดีอยู่ก็จริง แต่บทบัญญัติดังกล่าวถูกยกร่างขึ้นในยุคสมัยที่โฉมหน้าของสงครามนั้นแตกต่างออกไป แล้วทหารที่สู้รบในแนวรบจะเข้าใจกฎหมายสงครามหรือไม่ ทั้งนี้มิต้องกล่าวถึงการปฏิบัติตามกฎหมายเช่นว่า” ข้าพเจ้าจะไม่ยอมคล้อยตามข้อกังขานี้ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ไม่ได้มีเฉพาะการกระทำอันโหดร้ายทารุณในเขตที่เกิดความขัดแย้ง ดังที่รายงานบนหน้าหนังสือพิมพ์  เพื่อค้นหาความจริงข้าพเจ้าจึงนำข้อกล่าวอ้างสามประการมาตรวจสอบด้วยพยานหลักฐานที่คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ...
การประชุมกาชาดโลก – กว่า 160 รัฐรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาด้านมนุษยธรรมที่เร่งด่วนที่สุดในโลก

การประชุมกาชาดโลก – กว่า 160 รัฐรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาด้านมนุษยธรรมที่เร่งด่วนที่สุดในโลก

, บทความ / บล็อค

ตัวแทนจาก 168 ประเทศ และสมาชิกกลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดง 187 แห่งทั่วโลก ร่วมการประชุมนานาชาติเพื่อถกปัญหามนุษยธรรม นำเสนอประเด็นน่าสนใจและกำหนดทิศทางต่อไปในการดำเนินการของกลุ่มองค์กรกาชาด ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ การประชุมที่ว่าจัดขึ้นเป็นประจำทุก 4 ปี และจัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1867 โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อยกระดับปฎิบัติการด้านมนุษยธรรมทั่วโลก ในการประชุมครั้งก่อนหน้า ที่ประชุมมีความเห็นให้ความสำคัญในประเด็นด้านกฎหมายมนุษยธรรมกับกรอบความคุ้มครองเพื่อปกป้องอาสาสามัครที่ทำหน้าที่ในพื้นที่ภัยพิบัติ ในปีล่าสุด ประเด็นหลักที่ได้รับการถกเถียงในที่ประชุม ครอบคลุมเรื่อง ความเชื่อมั่น, สุขภาพจิต, ...
อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิด ข้อบัญญัติที่ 5 และการประชุมทบทวน ค.ศ. 2019: ความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ

อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิด ข้อบัญญัติที่ 5 และการประชุมทบทวน ค.ศ. 2019: ความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ

, บทความ / บล็อค

อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (Anti-Personnel Mine Ban Convention: APMBC) เริ่มมีผลบังคับใช้มาเป็นระยะเวลา 20 ปี อนุสัญญาฉบับนี้เกิดขึ้นจากความพยายามและการรณรงค์จากภาคประชาสังคมในระดับรากหญ้าและความร่วมมือของกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ เป็นระยะเวลากว่าทศวรรษ ความร่วมมือนี้เป็นผลลัพธ์ของความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงความทุกข์ทรมานที่ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลสร้างขึ้น ตั้งแต่ประเทศอัฟกานิสถานไปจนถึงประเทศแองโกลา ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 รัฐภาคีจำนวนกว่า 164 ประเทศจะเข้าร่วมการประชุมทบทวนครั้งที่ 4 ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ...
อีก 50 ปี โลกนี้จะเป็นอย่างไร? ฟังคำตอบน่าสนใจจากนายปีเตอร์ เมาเร่อ ประธาน ICRC

อีก 50 ปี โลกนี้จะเป็นอย่างไร? ฟังคำตอบน่าสนใจจากนายปีเตอร์ เมาเร่อ ประธาน ICRC

, บทความ / บล็อค

ใครจะเป็นผู้ควบคุมโลก? โลกจะไม่มีผู้นำที่โดดเด่นเพียงคนเดียว แต่การกำกับดูแลกิจการโลกจะถูกแบ่งและต่อรองกันระหว่างหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็น รัฐ บริษัทพหุวัฒนธรรม องค์กรข้ามชาติและภาคประชาสังคม อย่างไรก็ดี การกระจายอำนาจแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะมีสิทธิ์ออกเสียง การกีดกันในระดับกลุ่มคนหรือบุคคลจะยังเป็นความท้าทายข้อใหญ่ ที่อาจไม่ได้รับการแก้ไขไปอีก 100 ปี นอกจากนี้ การจัดการด้านธรรมาภิบาลอาจถูกจัดระเบียบตามประเด็นสำคัญ มากกว่าแบ่งแยกกันเป็นเรื่องของรัฐ องค์กร หรือสถาบัน ประเทศไหนจะมีอำนาจทางเศรฐกิจมากที่สุด? มาตรวัดทั่วๆ ไป อย่างการใช้ GDP อาจไม่มีความสำคัญอีก ...
73% ของคนยุค Millennials ใน 15 ประเทศ เน้นย้ำความสำคัญของการมีสุขภาพจิตที่ดี ว่ามีความจำเป็นเช่นเดียวกับ น้ำ อาหาร และที่อยู่อาศัย

73% ของคนยุค Millennials ใน 15 ประเทศ เน้นย้ำความสำคัญของการมีสุขภาพจิตที่ดี ว่ามีความจำเป็นเช่นเดียวกับ น้ำ อาหาร และที่อยู่อาศัย

, News / บล็อค / ไทย

เจนีวา (ICRC) เกือบ 3 ใน 4 ของคนยุค millennials (กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 18-35 ปี) ระบุผ่านแบบสอบถามใน 15 ประเทศ เห็นว่าสุขภาพจิตที่ดี มีความจำเป็นมากเท่าๆ กับ น้ำ อาหาร และที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากสงครามและความรุนแรง อิปซอสส์ (Ipsos) ...
เวทมนตร์ดำ ซอมบี้ กับมังกร เรื่องเล่าขานจากกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21

เวทมนตร์ดำ ซอมบี้ กับมังกร เรื่องเล่าขานจากกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21

, บทความ / บล็อค

เมื่อเดือนที่ผ่านมาพวกเราได้ร่วมฉลองวันครบรอบปีที่ 70 ของอนุสัญญาเจนีวา ข้าพเจ้าจึงประสงค์ที่จะสำรวจข้อท้าทายที่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) เผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นข้อท้าทายสมัยโบราณและร่วมสมัย ตลอดจนตามสภาพความเชื่อและการปฏิบัติ เพื่อการดังกล่าวพวกเราจึงจำเป็นต้องมองไปในอดีตและมุ่งสู่อนาคต แม้ว่าอนาคตจะไม่แน่นอนก็ตาม ตลอดระยะเวลาเจ็ดสิบปี พวกเราคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) เชื่อมั่นว่าจะสามารถใช้กฎหมายพื้นฐานที่เรามีเพื่อเรียกร้องสิทธิและความคุ้มครองให้แก่มนุษยชาติในยามสงคราม เวทมนตร์ดำ พลังคุ้มครองจาก IHL เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าปฏิบัติภารกิจเป็นผู้แทนกฎหมายจาก ICRC ในปาปัวนิวกินี ข้าพเจ้าได้หารือกับรัฐมนตรีสาธารณสุขเพื่อยกร่างกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายกาชาด รัฐมนตรีผู้นั้นคือหัวหน้าเผ่าอาวุโสจากไฮแลนด์ (Highlands) ...
Thai Role Play Competition 2019

Thai Role Play Competition 2019

, บทความ / บล็อค

เมื่อการแข่งขัน IHL Role Play ต้องใช้มากกว่าความรู้ทางกฎหมาย! คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการแข่งขัน National International Humanitarian Law Role Play Compitition ในวันที่ 27 ตุลาคม 2019 ที่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต อ่านรายละเอียดได้ด่านล่าง When an ...
สถานะของบุคลากรทางการแพทย์: ชัดเจนหรือไม่

สถานะของบุคลากรทางการแพทย์: ชัดเจนหรือไม่

, บทความ / บล็อค

การให้ความคุ้มครองแก่ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์เป็นหลักการสำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ อันที่จริงแล้วสนธิสัญญาที่ข้องเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในระดับพหุภาคีฉบับแรกได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ ฃต่อมาบรรดารัฐยังได้พัฒนากรอบกฎหมายในเรื่องดังกล่าวผ่านสนธิสัญญาอีกด้วย กฎเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในสนธิสัญญาดังกล่าวจึงกลายเป็นกฎหมายจารีตประเพณี นอกจากนี้หลักการคุ้มครองดังกล่าวก็ได้รับการยอมรับเป็นที่ยุติตามกฎหมายแม้ในความขัดแย้งต่าง ๆ จะปรากฏว่ามีการโจมตีบุคลากรทางการแพทย์อยู่บ่อยครั้งก็ตาม ถึงกระนั้นความเห็นอย่างกว้างเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และหลักการทั่วไปกลับทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการตีความและการปรับใช้กฎหมาย ในบทความของศาสตราจารย์ Marco Sassòli (โปรดดูได้ที่นี่และที่นี่) ได้กล่าวถึงความไม่แน่นอนข้างต้น ประกอบกับมีบางประเด็นที่ควรค่าแก่การนำมาอภิปรายเพิ่มเติม ในบทความนี้ข้าพเจ้าได้อภิปรายในสามประเด็น ได้แก่ ข้อกำหนดให้มีการรักษาพยาบาลแก่บุคคลที่สังกัดกองทัพในฝ่ายตน การกำหนดสถานะบุคลากรทางการแพทย์ และการสูญเสียสิทธิแห่งความคุ้มครองของบุคคลเช่นว่า ข้อกำหนดให้มีการรักษาพยาบาลแก่บุคคลที่สังกัดกองทัพในฝ่ายของตน บทบัญญัติของสนธิสัญญาว่าด้วยกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้ระบุให้ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ได้รับการดูแลรักษาทางการแพทย์ (ข้อที่ ...