12 สิงหาคม วันกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

12 สิงหาคม วันกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

, บทความ / บล็อค

ในวันที่ 12 สิงหาคมที่จะถึงนี้ จะตรงกับวันกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law) คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ICRC ในฐานะองค์กรผู้อภิบาลกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) จึงอยากจะกล่าวถึงIHLอย่างสั้นๆเพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับกฎหมายฉบับนี้รวมถึงภารกิจของไอซีอาร์ซีที่เกี่ยวข้อง IHLในภูมิภาคนี้กันสักเล็กน้อย IHL คือ ข้อกฎหมายซึ่งมุ่งจำกัดความเสียหายของผลจากสงครามและความขัดแย้ง อีกทั้งยังกำหนดขอบเขตของการใช้อาวุธและยุทธวิธี IHL มีความสำคัญเพราะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังอย่างหนึ่งของประชาคมโลกในการสร้างความเชื่อมั่นว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามหรือความขัดแย้งจะได้รับความคุ้มครองและได้รับการปกป้องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มาตรการที่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกำหนดไว้แสดงให้เห็นว่าแม้แต่สงครามยังต้องมีขอบเขต อนุสัญญาเจนีวา..ยังย้ำเตือนอยู่เสมอให้เราคำนึงถึงหน้าที่ในการดูแลเอาใจใส่กันและกัน – ...
จดหมายกาชาดช่วยคืนลูกสาวสู่อ้อมอกแม่ในเมียนมาร์

จดหมายกาชาดช่วยคืนลูกสาวสู่อ้อมอกแม่ในเมียนมาร์

, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / บล็อค

วันแม่ในปีนี้เพื่อนๆได้บอกรักหรือกอดคุณแม่กันบ้างหรือยัง เนื่องในโอกาสวันพิเศษนี้ทางคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศจึงอยากร่วมแสดงความยินดีกับน้องนอว์ ชาวเมียนมาร์ที่ได้กลับไปหาครอบครัวและพบกับคุณแม่อีกครั้งหลังจากที่ต้องระหกระเหินมาทำงานในประเทศไทยและขาดการติดต่อกับครอบครัวนานถึง 20 ปี ทั้งนี้ต้องขอบคุณบริการจดหมายกาชาดที่ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้กลับมาพบหน้ากันอีกครั้ง เราจะไปติดตามเรื่องราวของน้องนอว์กันสักเล็กน้อยเนื่องในโอกาสวันแม่ 12 สิงหาคม บ้านเกิดของน้องนอว์อยู่ที่อำเภอปะลอว์ จังหวัดมะเล็ก เขตตะนาวศรี ในปี 2534 เธออายุได้ ...
การแข่งขันศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศครั้งที่ 2

การแข่งขันศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศครั้งที่ 2

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดรับนักศึกษาที่รักความท้าทายและอยากทดสอบความรู้ความสามารถของตัวเองเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เข้าร่วมการแข่งขันว่าความในศาลจำลอง โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ไอซีอาร์ซี และกระทรวงการต่างประเทศเป็นกรรมการ ผู้ชนะการแข่งขันในระดับตัวแทนประเทศจะได้เดินทางไปเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงในช่วงเดือนมีนาคม 2560 นักศึกษาที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการแข่งขันได้ระหว่างวันที่ 5-31 สิงหาคม 2559 ที่  thailandihlmoot@gmail.com
เยาวชนไทยกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

เยาวชนไทยกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / บล็อค

เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรม คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือไอซีอาร์ซีได้ร่วมมือกับสภากาชาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการพัฒนาหลักสูตร Exploring Humanitarian Law (EHL) หรือในภาษาไทยว่า การเรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเพื่อเยาวชน และจากความร่วมมือของทุกฝ่ายทำให้ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายระหว่างกระทรวงศึกษาธิการของไทย ไอซีอาร์ซี และสภากาชาดไทย ...
ICRC ร่วมกับ UNHCR และกรมป่าไม้ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เขาอีด่าง จังหวัดสระแก้ว

ICRC ร่วมกับ UNHCR และกรมป่าไม้ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เขาอีด่าง จังหวัดสระแก้ว

, บทความ / บล็อค

ศูนย์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เขาอีด่าง จังหวัดสระแก้ว คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือไอซีอาร์ซีร่วมกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดห้องนิทรรศการ ศูนย์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เขาอีด่าง ที่อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว โดยวัตถุประสงค์ของการจัดสร้างศูนย์ฯแห่งนี้ก็เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่าสำหรับจังหวัดสระแก้ว ดังที่นายเบอาท ชไวเซอร์ ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ไอซีอาร์ซีระบุว่า ตนเองเคยมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานย่อยอรัญประเทศ ปฏิบัติภารกิจเพื่อมนุษยธรรมที่ชายแดนแห่งนี้เมื่อสามสิบปีที่แล้ว และ เมื่อปี 2558 ได้กลับมาเยี่ยมสถานที่แห่งนี้และได้รับจากหัวหน้าโครงการทับทิมสยาม 08 เปรยว่า ...
ประวัติการก่อตั้งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ฉบับย่อ)

ประวัติการก่อตั้งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ฉบับย่อ)

, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / บล็อค

การก่อตั้งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ พ.ศ. 2406 จุดเริ่มต้นของ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ (International Committee of the Red Cross – ICRC) คือการจัดประชุมร่วมกันของสมาชิกผู้ก่อตั้ง ...
กัมพูชา-การปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำให้ดีขึ้น

กัมพูชา-การปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำให้ดีขึ้น

, บทความ / บล็อค

นับตั้งแต่ปี 2536 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือไอซีอาร์ซีได้ให้การสนับสนุนกรมราชทัณฑ์ของกัมพูชาในการปรับปรุงอาคารสถานที่และซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า น้ำประปาและสุขอนามัยด้วยมีเป้าหมายหลักที่ต้องการช่วยยกระดับสภาพความเป็นอยู่ภายในเรือนจำให้ดีขึ้น เป็นเวลานานมาแล้วที่ระบบสาธารณูปโภคของกัมพูชาอยู่ในสภาพที่ต้องการๆซ่อมบำรุงและนั่นก็หมายรวมถึงเรือนจำด้วยเช่นกัน เรือนจำหลายแห่ง่ในประเทศขาดแคลนระบบระบายอากาศ ไม่มีน้ำประปา และ ไฟฟ้า “ระบบภายในเรือนจำจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น” ฮุย เฮือง รองผู้อำนวยการกรมราชทัณฑ์ของกัมพูชากล่าว เมื่อไม่นานมานี้เอง ไอซีอาร์ซีได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานจากการให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินไปเป็นการป้องกันโดยเน้นที่ระบบสาธารณูปโภคและให้การสนับสนุนด้านเทคนิคกับเจ้าหน้าที่เรือนจำ วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์สามารถยกระดับและดูแลรักษาเรือนจำได้ด้วยตัวเอง ที่ผ่านมาไอซีอาร์ซีได้จัดการอบรม 2 ครั้ง ให้กับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับพื้นฐานการซ่อมบำรุงโดยเน้นไปที่ห้องครัว ระบบน้ำและสุขอนามัย แม้ว่าเรือนจำส่วนใหญ่ในกัมพูชาจะมีระบบไฟฟ้าแต่ก็ยังคงมีปัญหาในเรื่องของการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า “เรือนจำบางแห่งไม่มีไฟฟ้าและยังต้องใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อปั่นไฟซึ่งทำให้ต้นทุนไฟฟ้ามีราคาสูงมาก” ...
กัมพูชา-ไอซีอาร์ซีส่งเสริมการแก้ปัญหาโรคหิดในเรือนจำ

กัมพูชา-ไอซีอาร์ซีส่งเสริมการแก้ปัญหาโรคหิดในเรือนจำ

, บทความ / บล็อค

โรคหิดจัดเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญในหลายประเทศ สาเหตุของการเกิดโรคหิดการที่ผู้จำนวนมากอาศัยอยู่ร่วมกันในสถานที่ค่อนข้างคับแคบขาดสุขอนามัยที่ดีซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงเรือนจำด้วยเช่นกัน ปัจจัยเช่น ผู้ต้องขังที่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างแออัดในห้องขังที่คับแคบ การขาดแคลนน้ำและสุขอนามัยที่ดี การวินิจฉัยโรคที่ผิดและการขาดแคลนยารักษาโรค  ล้วนนำไปสู่ปัญหาของการแพร่กระจายของโรคหิดได้เป็นอย่างดี และเมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้มีข่าวการแพร่ระบาดของโรคหิดในเรือนจำที่จังหวัดกัมปงจามทางภาคกลางของกัมพูชา โดยผู้ต้องขังร้อยละ 30 จากจำนวนกว่าพันคนติดโรคหิดผู้ต้องขังคนหนึ่งถึงกับกล่าวว่า “ผมเกากระทั่งในความฝันของตัวเอง”คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือไอซีอาร์ซีจึงร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เรือนจำเร่งแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ตัวหิดอาจจะมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่าแต่มันติดต่อด้วยการสัมผัสโดยตรงกับร่างกายมนุษย์ผ่านทางเสื้อผ้าและเครื่องนอนที่ไม่สะอาด ดังนั้นการรักษาความสะอาดจึงเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะในเรือนจำเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคหิด นอกจากนี้การให้ความรู้ทั้งกับเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังก็เป็นสิ่งจำเป็นมากเช่นกันเพื่อเป็นมาตรการป้องกัน เรือนจำปลอดโรคหิด ในเดือนมีนาคม 2559 ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของไอซีอาร์ซีได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เรือนจำและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากกรมราชทัณฑ์ ได้ริเริ่มโครงการรณรงค์ปลอดเชื้อหิดขึ้นที่เรือนจำประจำจังหวัดกัมปงจาม ไอซีอาร์ซีได้จัดหาเครื่องมือฆ่าเชื้อ ยารักษาโรค ยาน้ำทาแก้หิด ...
กัมพูชา-ออฟฟิศใหม่ไอซีอาร์ซีในพระตะบอง

กัมพูชา-ออฟฟิศใหม่ไอซีอาร์ซีในพระตะบอง

, บทความ / บล็อค

เป็นเวลากว่า 25 ปีมาแล้วที่โครงการฟื้นฟูทางกายภาพของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือไอซีอาร์ซี ได้ใช้สำนักงานร่วมกับศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพในจังหวัดพระตะบองซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงสวัสดิการสังคม ทหารผ่านศึกและการฟื้นฟูเยาวชนของกัมพูชา ปัจจุบันโครงการฟื้นฟูทางกายภาพของไอซีอาร์ซีได้่ย้ายไปยังสำนักงานแห่งใหม่เพื่อรองรับการขยายงานที่เพิ่มมากขึ้น สำนักงานแห่งใหม่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพและเพิ่งเปิดทำการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 “สำนักงานใหม่เหมาะที่จะรองรับการขยายงานของโครงการต่างๆของไอซีอาร์ซีในอนาคต” ไดซากุ โอกะ หัวหน้าสำนักงานไอซีอาร์ซีประจำพระตะบองกล่าว จากจุดเริ่มต้นในปี 2534 ศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพในจังหวัดพระตะบองได้เปิดเป็นโรงงานขนาดเล็กเพื่อให้บริการแก่ชุมชนและจังหวัดใกล้เคียง 5 จังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไ้ดรับผลกระทบจากกับระเบิดมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตลอดระยะเวลาของการดำเนินงาน ศูนย์แห่งนี้ได้ขยายขอบข่ายการทำงานมากขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมกิจกรรมที่จะตอบสนองแก่ผู้พิการให้ได้มากที่สุด ทำให้ศูนย์แห่งนี้กลายเป็นศูนย์ที่ให้บริการด้านโครงการฟื้นฟูทางกายภาพของไอซีอาร์ซีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง นอกจากการสนับสนุนศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพในจังหวัดพระตะบองแล้ว ไอซีอาร์ซียังให้การสนับสนุนศูนย์อีกหนึ่งที่จังหวัดกัมปงสปือ ...
กัมพูชา-ชีวิตใหม่สำหรับผู้พิการ

กัมพูชา-ชีวิตใหม่สำหรับผู้พิการ

, บทความ / บล็อค

ชีวิตของโหงว เชร็บและเลียม โซพารา สมาชิกของทีมบาสเก็ตบอลคนพิการหญิงของกัมพูชาเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงหลังจากที่พวกเธอได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง หลังจากที่ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อเลี้ยงตัวเองและครอบ ครัวในที่สุดพวกเธอทั้งสองคนก็ได้เริ่มต้นชีวิตใหม่พร้อมกับธุรกิจเล็กๆของตัวเอง ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุในปี 2546 จนส่งผลต่อไขสันหลังโหงว เชร็บ ทำธุรกิจของตัวเองอยู่กับบ้านซึ่งเธอก็พอจะมีรายได้เลี้ยงครอบครัวเล็กๆของตัวเอง แต่หลังจากเกิดอุบัติเหตุทุกอย่างก็เปลี่ยนไป เธอไม่สามารถทำงานได้และรายได้ที่มีก็ถูกนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว เมื่อขาดรายได้ประจำครอบครัวก็ต้องหันไปพึ่งพารายได้เพียงวันละ 150 บาทจากการทำงานในไซส์งานก่อสร้างของผู้เป็นสามีเพียงคนเดียว หนึ่งปีหลังจากอุบัติเหตุ โหงวได้เข้ารับการรักษาและได้รับอุปกรณ์ออโธปีดิกส์จากศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพในจังหวัดพระตะบองที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือไอซีอาร์ซี ในปี 2555 หลังที่โหงวเข้ารับการรักษาที่ศูนย์ได้นานเจ็ดปี เธอได้เลือกที่จะเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆให้กับตัวเองนั่นคือการเข้าร่วมทีมบาสเก็ตบอลคนพิการหญิงของกัมพูชา “ฉันดีใจมากที่ได้ร่วมทีมบาสเก็ตบอลและเข้ารับการฝึกฝนประจำสม่ำเสมอ ...