มองในมุมกฎหมาย ใครคืออาชญากรสงครามตัวร้ายที่สุดจาก Game of Thrones?

มองในมุมกฎหมาย ใครคืออาชญากรสงครามตัวร้ายที่สุดจาก Game of Thrones?

, บทความ / บล็อค

ฟังดูน่าอิจฉา เพื่อนร่วมงานของเราจากกาชาดออสเตรเลีย ใช้เวลาร่วม 6 สัปดาห์ในการดูย้อนหลังซีรีย์ดัง Game of Thrones เพื่อหาคำตอบว่าใครคือวายร้ายตัวใหญ่ที่ละเมิดกฎแห่งสงคราม (International humanitarian war -IHL) มากที่สุดในเรื่อง และหากเหล่าผู้นำจากเวสเทอรอสต้องตบเท้าขึ้นศาลพิจารณาคดีแบบในปัจจุบัน ใครกันจะติดดาวเป็นอาชญากรสงครามอันดับหนึ่ง? หลังผ่านการพิจารณาเหตุการณ์จาก 7 ซีซั่น ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายได้ช่วยกันตัดสินคดี จนมีผลออกมาอย่างที่เห็น แรมซีย์ โบลตัน จอมโฉดแห่งเวสเทอรอส  ...
ผู้อพยพจากเม็กซิโกกับการแจ้งข้อมูลสำคัญผ่านแอพพลิเคชั่น WhatsApp

ผู้อพยพจากเม็กซิโกกับการแจ้งข้อมูลสำคัญผ่านแอพพลิเคชั่น WhatsApp

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

นวัตกรรมกับงานมนุษยธรรมอาจฟังดูไม่เข้ากันเท่าไหร่ ไม่นานมานี้การใช้แอพลิเคชั่น WhatsApp ในอเมริกากลางช่วยให้องค์กรมนุษยธรรมเข้าใกล้ความต้องการของผู้อพยพได้มากกว่าที่เคย ‘ก่อนนี้เราใช้กระดาษสำหรับแจ้งข่าวสารให้ผู้อพยพ 4 ปี่ที่ผ่านมา ICRC ผลิตโบรชัวร์จำนวนมากนำไปแจกตามด่านต่างๆ เรายังผลิตรายการวิทยุเพื่อแจ้งข่าวสาร แต่ด้วยการใช้แอพลิเคชั่น เราสามารถประหยัดทั้งการใช้กระดาษ และยังแน่ใจได้ว่าข้อความต่างๆ สามารถส่งผ่านไปถึงผู้อพยพแต่ละท่านได้อย่างแม่นยำ’ Jesús ...
เด็กชาย ความฝัน และกับระเบิด

เด็กชาย ความฝัน และกับระเบิด

, บทความ / บล็อค

ลา ซาน มีความฝันไม่ต่างจากเด็กอีกหลายพันในเมียนมา เขาอยากเรียนให้สูง หารายได้เพื่อดูแลครอบครัว และตั้งใจไว้ว่าหลังสอบรอบนี้ จะจัดทริปเล็กๆ ไปเยี่ยมญาติในประเทศจีน   เพื่อหาเงินมาเป็นค่าเดินทาง ลา ซานเริ่มอาชีพเสริม เข้าป่าเพื่อมองหาหน่อไม้มาขายในหมู่บ้าน   ‘วันนั้นผมเดินกลับบ้านเหมือนทุกครั้ง แต่สิ่งที่เกิดขึ้น เปลี่ยนชีวิตผมไปตลอดกาล’   ลา ซาน ย้อนให้ฟังถึงเหตุการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2017 เมื่อเขาเหยียบกับระเบิดระหว่างทาง ...
เป็นตัวเองให้แกร่งกว่าเดิม: 3 เรื่องเล่าอุ่นหัวใจเนื่องในวันสตรีสากล

เป็นตัวเองให้แกร่งกว่าเดิม: 3 เรื่องเล่าอุ่นหัวใจเนื่องในวันสตรีสากล

, บทความ / บล็อค

“เราเริ่มจากการเป็นแม่บ้าน ทำงานสองครั้งต่อสัปดาห์ ตอนนั้นภาษาอังกฤษไม่ได้เลย แค่กล่าวคำทักทายยังฟังไม่เข้าใจ แต่เราคิดว่าภาษาอังกฤษเป็นเรื่องจำเป็น เพราะเราทำงานในองค์กรที่มีคนหลายเชื้อชาติ หลายภาษา บางทีออฟฟิศไม่มีคนอยู่ แต่มีสายโทรเข้ามา เราก็ต้องรับโทรศัพท์ และถ้าคนที่ติดต่อมาเขาเดือดร้อนอยู่ แต่เราพูดกับเขาไม่ได้ คงทำให้เขาเสียโอกาส “ตอนเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ แค่นิทานสั้นๆ คนในคลาสเขาหัวเราะสนุกกัน แต่เราฟังไม่เข้าใจ เราเลยคิดว่า ต้องพยายามมากกว่าคนอื่น เราฟัง YouTube ดูทีวี ฟังวิทยุเป็นภาษาอังกฤษ ...
สารพันปัญหาว่าด้วยระเบิดปรมาณู: ถาม-ตอบ ข้อข้องใจด้านสุขภาพกับคุณหมอประจำโรงพยาบาลระเบิดปรมาณูแห่งนางาซากิ

สารพันปัญหาว่าด้วยระเบิดปรมาณู: ถาม-ตอบ ข้อข้องใจด้านสุขภาพกับคุณหมอประจำโรงพยาบาลระเบิดปรมาณูแห่งนางาซากิ

, บทความ / บล็อค / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

ระเบิดปรมาณูมีผลข้างเคียงด้านสุขภาพจริงหรือไม่? ไขข้อข้องใจกับด็อกเตอร์มาซาโอะ โทโมนากะ ผู้อำนวยการกิตติมศักดิ์โรงพยาบาลระเบิดปรมาณูแห่งนางาซากิ สภากาชาดญี่ปุ่น ถาม: ผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูต้องเจอผลกระทบทางสุขภาพอย่างไรบ้าง? ตอบ: ผลกระบทหลักของสารกัมมันตรังสีคือโรคลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว), มะเร็ง และโรคหัวใจ บางคนอาจมีอาการหลายอย่างทับซ้อนกัน สำหรับคนที่โดนระเบิดโดยตรง บางคนตาบอดเพราะจ้องมองการระเบิด ...
‘ตอนพบกันครั้งสุดท้าย เธอแค่มีไข้’ – บันทึกใจสลายในพื้นที่แพร่ระบาดของเชื้ออีโบล่า

‘ตอนพบกันครั้งสุดท้าย เธอแค่มีไข้’ – บันทึกใจสลายในพื้นที่แพร่ระบาดของเชื้ออีโบล่า

, บทความ / บล็อค

เสียงร้องของซาวาดีทำฉันใจสลาย ในทุกๆ ลมหายใจเหมือนเธอกำลังต่อสู้ด้วยพลังเฮือกสุดท้ายเพื่อยื้อชีวิตไว้ได้นานที่สุด ร่างมนุษย์ในชุดพลาสติกสีเหลืองขาวเพิ่งมาถึง พวกเขามาพร้อมถุงพลาสติกอีกใบ สำหรับใส่ร่างที่กำลังหมดลมของซาวาดี – แม่ของลูกๆ พี่สาวผู้เป็นที่รัก และคุณป้าของหลานๆ อีกมากมาย ฉันอยู่ในศูนย์รักษาอีโบล่าในคองโก ทุกอย่างสะอาด ผ่านการล้างด้วยคลอรีน เหมือนว่าทุกอย่างจากข้างนอกจะถูกชำระล้างก่อนก้าวเข้ามา ทุกอย่าง ยกเว้นความเจ็บปวด หนึ่งในร่างชุดเหลืองขาวเปิดถุงบรรจุศพเพื่อมองหน้าบุคคลอันเป็นที่รักอีกครั้ง ตอนนั้นเองที่ความอดทนพังทลาย เสียงร้องไห้กระหึ่มดัง น้ำตาไหลนองหน้าเหมือนเขื่อนที่ถูกทลาย พวกเราออกจากห้องเพื่อให้เวลาครอบครัวของซาวาดีบอกลาเธออีกครั้ง เพื่อนร่วมงานหันมาพูดกับฉัน ...
Valentine volunteers: เรื่องรักๆ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 

Valentine volunteers: เรื่องรักๆ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 

, บทความ

ทหารกับนางพยาบาล แทบจะเป็นความรักคลาสสิกที่พบทั่วไปในยามรบ สำหรับทหารมากมาย รอยยิ้มและการดูแลของเหล่าพยาบาลอาสาเป็นสิ่งเยี่ยวยาจิตใจ เป็นพลังบวก และเป็นเหมือนบ้านหลังเล็กๆ ให้ได้พักผ่อนก่อนกลับไปรับใช้ชาติ นายทหารหลายคนผูกมิตรกับสาวๆ ร้องเพลงและเล่าเรื่องราวในใจให้พวกเธอฟัง หลายคนฝากของที่ระลึกหรือรูปถ่าย เพราะไม่แน่ใจว่าตัวเองจะได้กลับมาหรือไม่ หรือในบางครั้ง ความสัมพันธ์อาจข้ามผ่านมุกตลกและบทสนทนา จนกลายเป็นไปเป็นความรักยืนยาวชั่วชีวิต Helen Beale พยาบาลอาสาของสภากาชาดอังกฤษ เล่าเรื่องประทับใจเกี่ยวกับทหารที่เธอดูแลในฝรั่งเศส ‘ฉันพบทหารที่ตลกที่สุดเท่าที่เคยรู้จัก เขามาจากเมืองชนบทชื่อ Lincolnshire (เมืองในอังกฤษ) และเกือบทำฉันขายหน้าหลายครั้ง ...
ร่องรอยดิจิตอลขององค์กรมนุษยธรรมทำให้ผู้คนตกอยู่ในความเสี่ยงได้อย่างไร?

ร่องรอยดิจิตอลขององค์กรมนุษยธรรมทำให้ผู้คนตกอยู่ในความเสี่ยงได้อย่างไร?

, บทความ / บล็อค

ข้อความโทรศัพท์ ข้อมูลการโทรติดต่อ ข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์ หรือรายการโอนเงิน แม้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการเข้ารหัสไว้ ก็ยังสามารถบ่งบอกสิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวคุณได้มากมาย หากในยามสันติข้อมูลดังกล่าวยังมีความเสี่ยง แล้วในยามสงครามความเสี่ยงของข้อมูลเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด สมมติฐานดังกล่าวจึงเป็นที่มาของรายงานเรื่องปัญหาของข้อมูลเมทาดาทา (metadata) ในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม: “ห้ามก่อภยันตราย” ในยุคดิจิตอล (The humanitarian metadata problem: ‘Doing no harm’ in ...
30 ปี มีค่ามากแค่ไหน? อัลเบอร์โต้ ไคโร กับ 30 ปีเพื่อฟื้นฟูชีวิตผู้พิการในอัฟกานิสถาน

30 ปี มีค่ามากแค่ไหน? อัลเบอร์โต้ ไคโร กับ 30 ปีเพื่อฟื้นฟูชีวิตผู้พิการในอัฟกานิสถาน

, บทความ

เวลา 30 ปี มีค่ามากแค่ไหน? สำหรับอัลเบอร์โต้ ไคโร เพื่อนร่วมงานของเรา เวลา 30 ปี มีค่ามากพอจะช่วยผู้คนนับแสนในอัฟกานิสถานให้กลับมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังสูญเสียแขนขาไปกับสงครามและสถานการณ์ความรุนแรง ‘ผมหวังว่า ตัวเองจะมีเวลามากกว่านี้สัก 30 ปี’ อัลเบอร์โต้ให้สัมภาษณ์ สำหรับเขา การได้เห็นรอยยิ้มและชีวิตใหม่ของผู้คนในอัฟกาสนิสถาน คือของขวัญมีค่ามากที่สุดของชีวิต หมุนเวลากลับไปในปี 1991 อัลเบอร์โต้ ไคโร ...
เกี่ยวกันไหม? การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อสถานกาณ์สงครามในหลายประเทศ?   

เกี่ยวกันไหม? การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อสถานกาณ์สงครามในหลายประเทศ?   

, บทความ

งานวิจัยใหม่ที่ตีพิมพ์โดยคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ชี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและความขัดแย้ง มีผลโดยตรงต่อจำนวนผู้อพยพที่เพิ่มสูงขึ้น ICRC จับมือกับ World Economic Forum ในสวิสเซอร์แลนด์ ทำการศึกษาบริเวณแถบรอยต่อกึ่งทะเลทรายในสะฮารา พื้นที่ที่ว่าครอบคลุมหลายประเทศในทวีปแอฟริกา ตั้งแต่เซเนกัลไปจนถึงซูดาน ประเทศเหล่านี้มีจุดร่วมเดียวกัน คือปัญหาด้านความอดยาก การก่อการร้ายทางศาสนา การกบฎ และการค้ามนุษย์ในระดับภูมิภาค ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ความพิเศษของแถบรอยต่อกึ่งทะเลทรายในสะฮารา (หรือที่เรียกกันว่า ‘ซาเฮล’) ...