เตือนภัย ICRC เปิดรับบริจาคผ่านทางช่องทางออนไลน์ที่เป็นทางการเท่านั้น 26/12/2023, บทความ ICRC (International Committee of the Red Cross) หรือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ มีเงินทุนหลักมาจากการบริจาคโดยสมัครใจของรัฐบาลต่างๆ ที่เป็นภาคีของอนุสัญญาเจนีวา สภากาชาดของแต่ละประเทศ องค์กรและสถาบันระหว่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ปัจจุบัน เงินทุนกว่า 80% ของ ICRC มาจากการบริจาคโดยรัฐ ICRC มีการเปิดรับบริจาคจากภาคประชาชน แต่ผ่านทางช่องทางออนไลน์ที่เป็นทางการเท่านั้น ...
ทำความรู้จัก 3 หลักการพื้นฐาน กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ 20/12/2023, บทความ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) วางกฎเกณฑ์ที่ได้รับการตกลงร่วมกันเกี่ยวกับวิธีในการในการสู้รบ กฎที่ว่านี้กล่าวว่าสิ่งใดบ้างที่ไม่ใช่เป้าหมายของการโจมตี และการโจมตีเหล่านั้นจะต้องทำด้วยวิธีการใดเพื่อให้ได้สัดส่วนระหว่างความจำเป็นทางการทหารกับความเสียหายทางมนุษยธรรม บทความนี้จะพาไปรู้จัก 3 หลักการพื้นฐานของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ 1.แบ่งแยกพลรบกับพลเรือน (Distinction) การโจมตีเป้าหมายทางการทหาร รวมไปถึงพลรบไม่ได้ถูกห้ามตามหลักกฎหมายที่ว่านี้ ในทางตรงกันข้าม การโจมตีพลเรือนและวัตถุพลเรือนไม่สามารถกระทำได้ นั่นไปถึงการโจมตีโดยตั้งใจและการโจมตีเป็นวงกว้างแบบไม่แบ่งแยก 2.ความได้สัดส่วน (Proportionality) กำหนดข้อห้ามในการโจมตีเป้าหมายทางการทหารหากการโจมตีนั้นจะส่งผลกระทบต่อประชาชน กฎข้อนี้ระบุว่าการโจมตีต่างๆ ...
โรงพยาบาล สามารถสูญเสียความคุ้มครองจากกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้หรือไม่ 20/12/2023, บทความ โรงพยาบาลได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษจากกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เพราะเป็นสถานที่สำหรับรักษาผู้ป่วยและผู้ได้รับบาดเจ็บ ทุกฝ่ายในความขัดแย้งไม่สามารถโจมตีโรงพยาบาล หรือเข้าขัดขวางไม่ให้โรงพยาบาลทำหน้าที่ทางการแพทย์ อย่างไรก็ดี โรงพยาบาลอาจสูญเสียสถานะการคุ้มครองได้เช่นกันหากถูกนำไปใช้นอกเหนือเป้าหมายทางมนุษยธรรม ยกตัวอย่างเช่น ใช้เป็นที่ซ่อนของพลรบ หรือใช้เป็นที่สำหรับกักเก็บอาวุธ . โรงพยาบาลอาจสูญเสียความคุ้มครองหากพบว่าถูกใช้งานในทางการรบ ทุกฝ่ายต้องตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าโรงพยาบาลถูกใช้ในเป้าหมายดังกล่าวจริง อ้างอิงจากการประเมินข้อมูลบนพื้นฐานข้อเท็จจริงอย่างสมเหตุสมผล และหากแน่ใจแล้วว่าเป็นเช่นนั้น ก็ต้องมีการประกาศเตือนเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามหยุดใช้โรงพยาบาลในทางที่ไม่ถูกต้อง หากการเตือนไม่เป็นผล คู่ขัดแย้งต้องให้เวลาสำหรับโรงพยาบาลในการขนย้ายผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ออกจากพื้นที่ . อย่างไรก็ดี ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าโรงพยาบาลสามารถถูกโจมตีได้ในทันที เพราะภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การโจมตีต้องตั้งอยู่บนหลักความได้สัดส่วนและความระมัดระวัง ผู้มีส่วนร่วมในความขัดแย้งต้องทำทุกอย่างเท่าที่เป็นไปได้เพื่อปกป้องผลกระทบต่อเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และผู้ป่วย ...
“Broken Cities” สำรวจผลกระทบอันซ่อนเร้นของสงครามในเมือง ครั้งแรกในรูปแบบโปรแกรม 3 มิติ ผ่านภาพถ่ายอาคารที่พังทลายกว่า 35,000 ภาพ 20/12/2023, News / ไทย นครเจนีวา (ไอซีอาร์ซี) – ร่วมสำรวจผลพวงอันโหดร้ายของการสู้รบที่เกิดขึ้นในพื้นที่เขตเมืองผ่าน ‘Broken Cities’ นิทรรศการดิจิทัลแบบอิมเมอร์ซีฟ ที่นำเสนอภาพถ่ายสภาพภายในของอาคารที่พังทลายจากสงครามกว่า 35,000 ภาพ ครั้งแรกในรูปแบบโปรแกรม 3 มิติ นิทรรศการนี้ จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross ...
ประธานไอซีอาร์ซี กล่าว ณ การประชุมว่าด้วยสถานการณ์ในฉนวนกาซา “พลเรือนต้องได้รับการคุ้มครอง ตัวประกันต้องได้รับการปล่อยตัวโดยปราศจากอันตราย” 17/11/2023, News / ไทย นาง มีรยานา สปอลจาริก เอกเกอร์ ประธานไอซีอาร์ซี กล่าวในการประชุมนานาชาติ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่พลเรือนในฉนวนกาซา สภาพความเจ็บปวดทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นในฉนวนกาซาและอิสราเอลเป็นเรื่องยากเกินกว่าที่เราจะรับได้ การสูญเสียซึ่งชีวิตของผู้คนและเด็กจำนวนมาก การทำลายล้างบ้านเรือนของประชาชน บาดแผลทางจิตใจที่ฝังลึกและยาวนาน การที่ยังมีคนถูกจับเป็นตัวประกันอยู่และความเจ็บปวดรวดร้าวที่ครอบครัวของพวกเขาต้องเผชิญ นับเป็นเรื่องโหดร้ายเกินจะรับไหว เมื่อมาคิดทบทวนว่าสถานการณ์หายนะต่อชีวิตผู้คนในครั้งนี้ได้เกิดขึ้นมานานถึงหนึ่งเดือนเต็มแล้ว และหากสถานการณ์นี้ดำเนินต่อไปก็คงจะเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้อีก กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือที่ทั้งครอบคลุมและมีประสิทธิภาพที่สุดที่โลกของเรามีอยู่ในปัจจุบัน ในอันที่จะช่วยให้พลเรือนได้รับการคุ้มครอง พร้อมกับปูทางสู่การลดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ดิฉันขอเรียกร้องให้ประชาคมโลกดำเนินการให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างครบถ้วน เรียนท่านประธานาธิบดี ...
อิสราเอลและดินแดนยึดครอง: การมุ่งโจมตีพลเรือนจะยิ่งจุดชนวนความรุนแรงและความเกลียดชัง 16/10/2023, News / ไทย นครเจนีวา (ไอซีอาร์ซี) – สถานการณ์ความรุนแรงในอิสราเอลและฉนวนกาซาขณะนี้นับว่ารุนแรงที่สุดในรอบหลายปีและมีแนวโน้มลุกลามบานปลาย ซ้ำเติมบาดแผลและความทุกข์ทรมานแก่ทุกฝ่าย สิ่งที่น่ากังวลท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรงที่สร้างความสูญเสียอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจงใจสังหารพลเรือนและการทิ้งระเบิดโจมตีย่านที่อยู่อาศัย คือ มีการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายลดระดับความรุนแรงของสถานการณ์อยู่น้อยมาก ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานของไอซีอาร์ซี พบว่า ยิ่งมีการใช้วาทกรรมเกี่ยวกับสงครามในลักษณะที่รุนแรงมากเพียงใด ก็ยิ่งนำไปสู่ความทุกข์ทรมานแสนสาหัสแก่พลเรือน ไอซีอาร์ซีปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ความช่วยเหลือในอิสราเอลและดินแดนยึดครองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2510 จึงได้ประจักษ์ถึงความสูญเสียจากการสังหารพลเรือนที่ยิ่งจุดชนวนให้สถานการณ์มีความรุนแรงและกระตุ้นให้เกิดความเกลียดชังกันมากขึ้น หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่มีการจำกัดขอบเขตการใช้กำลังในขณะนี้ หายนะทางมนุษยธรรมจะรอเราอยู่ข้างหน้า นาง มีรยานา สปอลจาริก เอกเกอร์ ...
พุทธศาสนาในยามสงคราม: หนังสือใหม่ที่พาเราไปรู้จักความเกี่ยวข้องกันระหว่างพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ 06/10/2023, News / ไทย นครเจนีวา/กรุงเทพฯ (ไอซีอาร์ซี) – คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross – ICRC) หรือ ไอซีอาร์ซี เปิดตัวหนังสือเล่มแรกที่ศึกษาจุดร่วมระหว่างหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) โดยเป็นโครงการที่ทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนาทั้งนักวิชาการและนักปฏิบัติจากทั่วโลก ปัจจุบัน งานเขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนาส่วนใหญ่กล่าวถึงการหลีกเลี่ยงความรุนแรง ...
มองกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศผ่านภาพยนตร์ All Quiet on the Western Front 27/09/2023, บทความ สงครามโลกครั้งที่ 1 หรือที่เรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่ามหาสงคราม (The Great War) กินเวลายาวนานถึง 4 ปี มีการระดมสรรพกำลังและยุทธวิธีมากมาย ภายใต้ความเชื่อที่ว่า หากสงครามครั้งนี้บรรลุผล ก็จะสามารถยุติสงครามทั้งหมด (The war to end all wars) สงครามโลกครั้งแรกเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทั้งในด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ รวมไปถึงระบบกฎหมาย ...
เปิดรับสมัครแล้ววันนี้! การแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ 07/09/2023, บทความ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมกับคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL Moot Court) ประจำปี 2023 ในระหว่างวันที่ 4-5 พฤศจิกายน การแข่งขันในปีนี้จะจัดขึ้นที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านรายละเอียดได้และวิธีการสมัครได้ในเอกสารด้านล่าง ICRC Regional Delegation Bangkok with Faculty of Law Chulalongkorn ...
ความมั่นคงทางอาหารในสถานการณ์ขัดแย้ง: เรื่องน่ารู้ที่คุณอาจไม่ทราบ 09/08/2023, บทความ พลเรือนไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้นานหากขาดซึ่งน้ำและอาหาร อย่างไรก็ดี สถานการณ์ขัดแย้งมักมีผลต่อปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ขึ้นอยู่ที่การสู้รบจะดำเนินไปในรูปแบบไหนและมีผลต่อการผลิตอาหารในพื้นที่ใดบ้าง รายงานระดับโลกเกี่ยวกับวิกฤตด้านอาหารประจำปี 2023 (The 2023 Global Report on Food Crises) ระบุว่า ความขัดแย้งเป็นสาเหตุให้ประชากรกว่า 117 ล้าน ต้องเผชิญกับภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างร้ายแรง ตามมาด้วยสาเหตุอื่นคือภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง (84 ล้าน) และปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (56 ล้าน) ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ...