บทความ

กาชาดระหว่างประเทศกับบทบาทการทูตมนุษยธรรม(ตอนที่1)

กาชาดระหว่างประเทศกับบทบาทการทูตมนุษยธรรม(ตอนที่1)

, บทความ / บล็อค

ระหว่างการเดินทางเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรกของคุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เพื่อมาเป็นองค์ปาฐกในการแสดงปาฐกาสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร ครั้งที่ 7 เกี่ยวกับกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในหัวข้อ “ความท้าทายร่วมสมัยในการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรม” เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2558 ตามคำเชิญของสภากาชาดไทย ในโอกาสนี้คุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ได้ไปปรากฏตัวในรายการไทม์ไลน์ ของคุณสุทธิชัย หยุ่น ผู้ร่วมก่อตั้ง และ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารและกองบรรณาธิการบริษัทเนชั่น มิลติมีเดีย กรุ๊ป ...
กองทัพเรือไทยจับมือไอซีอาร์ซีจัดการประชุมระดับภูมิภาคส่งเสริมความเข้าใจกฏหมายมนุษยธรรมกับการทำสงครามทางทะเล

กองทัพเรือไทยจับมือไอซีอาร์ซีจัดการประชุมระดับภูมิภาคส่งเสริมความเข้าใจกฏหมายมนุษยธรรมกับการทำสงครามทางทะเล

, บทความ / บล็อค

กองทัพเรือไทยและคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) ร่วมกันจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการทำสงครามทางทะเล ระหว่างวันที่ 27 ถึง 30 เมษายน ที่โรงแรมสวิสโซเทล ปาร์คนายเลิศ กรุงเทพฯ การประชุมครั้งนี้ประกอบไปด้วยนายทหารระดับอาวุโสจากกองทัพเรือ 14 ประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกเข้าร่วมสนทนาเกี่ยวกับกฎหมายการทำสงครามทางทะเล  การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นเวลา 4 วัน โดยมีนายทหารระดับอาวุโสจากกองทัพเรือ 35 นายเข้าร่วมประชุมจากประเทศกัมพูชา จีน ญี่ปุ่น ไทย ...
วันกาชาดโลก-พร้อมเสมอเพื่อภารกิจมนุษยธรรมตามหลักการกาชาด

วันกาชาดโลก-พร้อมเสมอเพื่อภารกิจมนุษยธรรมตามหลักการกาชาด

, บทความ / บล็อค

กลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศมุ่งมั่นทำงานด้านมนุษยธรรมมานานถึง 150 ปี โดยให้การช่วยเหลือแก่ผู้คนหลายล้านคนทั่วโลกภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้ง ภัยธรรมชาติ และ วิกฤตการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมากลุ่มองค์กรกาชาดฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่คนที่ประสบภัยธรรมชาติ 110 ล้านคน ทำงานร่วมกับบุคคลทั่วไปในงานด้านการพัฒนากว่า 160 ล้านคน และการช่วยเหลือผู้คนที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์รุนแรงและความขัดแย้งอีกนับไม่ถ้วนภายใต้หลักการกาชาดและไม่มีการเลือกปฏิบัติ กลุ่มองค์กรกาชาดฯ มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทั่วโลกเกือบ 5 แสนคน และยังทำงานร่วมกับอาสาสมัคร 17 ล้านคน ใน ...
ทำไมเราจึงต้องต่อสู้เพื่ออนุสัญญาห้ามการใช้กับระเบิดสังหารบุคคล

ทำไมเราจึงต้องต่อสู้เพื่ออนุสัญญาห้ามการใช้กับระเบิดสังหารบุคคล

, บทความ / บล็อค

เรื่องโดย เฮเลน เดอร์แฮม ผู้อำนวยการแผนกนโยบายและกฎหมายระหว่างประเทศ ไอซีอาร์ซี เป็นเวลาเกือบ 20 ปีแล้ว ที่อนุสัญญาออตตาวาได้ถูกเขียนขึ้น เพื่อห้ามการใช้กับระเบิดสังหารบุคคล ปัจจุบันอนุสัญญาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศฉบับนี้และวัตถุประสงค์ที่มันถูกเขียนขึ้นแทบจะไม่ได้รับความสนใจแม้แต่น้อย แต่มันไม่สมควรเป็นเช่นนั้นเหตุผลก็เพราะว่า กว่าที่อนุสัญญาออตตาวาจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ มันต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการ และนั่นควรจะเป็นเครื่องเตือนความทรงจำ ให้เราเร่งเติมเต็มช่องว่างในการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับนี้ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษที่ 1990 ตอนที่ฉันยังเป็นทนายความด้านกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศรุ่นเล็กของกลุ่มองค์กรกาชาด ฉันได้รับการทาบทามให้ขึ้นพูดในหัวข้อกับระเบิดสังหารบุคคล คนที่ขึ้นพูดคนอื่นๆส่วนใหญ่จะเป็นหมอที่มาอธิบายถึงอาการหรือผลกระทบจากการเหยียบกับระเบิดสังหารบุคคลเหล่านี้ นอกนั้นก็จะเป็นพวกวิศวกรที่อธิบายว่ามัจจุราชชนิดนี้ทำงานอย่างไร ฉันรู้สึกประหลาดใจกับท่าทีไม่เห็นด้วยจากผู้ฟังตอนที่ฉันพูดถึงความเป็นไปได้ ...
การแข่งขันศาลจำลองไอซีอาร์ซีเพราะกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นเรื่องสำคัญ

การแข่งขันศาลจำลองไอซีอาร์ซีเพราะกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นเรื่องสำคัญ

, บทความ / บล็อค

นักศึกษาจากประเทศกัมพูชา ลาว ไทย และ เวียดนาม ได้ทดสอบทักษะความรู้เกี่ยวกับกฏหมายมนุษยธรรรมระหว่างประเทศผ่านการแข่งขันศาลจำลองของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี โดยนักศึกษาเหล่านี้จะสวมบทบาทเป็นอัยการหรือทนายฝ่ายจำเลยในคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ ผู้ชนะของแต่ละประเทศจะได้เข้าร่วมการแข่งขันศาลจำลองระหว่างประเทศของกาชาดครั้งที่ 14 ที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงซึ่งจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2559 ไอซีอาร์ซีสนับสนุนการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หรือ ไอเอชแอลทั่วโลกเพื่อส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การจัดแข่งขันศาลจำลองสำหรับนักศึกษาจัดเป็นกิจกรรมสำคัญเช่นเดียวกับการเรียนหรือการสัมมนาเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและขอบข่ายของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การแข่งขันศาลจำลองเป็นการนำเอานักศึกษาไฟแรงและมีความสนใจที่จะขยายขอบเขตการเรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้นำเอาทักษะที่พวกเขาร่ำเรียนไปใช้ในสถานการณ์จริง ขณะที่ชัยชนะเป็นสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในสถาบันการศึกษา ในปี 2558 ไอซีอาร์ซีได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในประเทศกัมพูชา ...
วันสตรีสากล-หญิงแกร่งที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา

วันสตรีสากล-หญิงแกร่งที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา

, บทความ / บล็อค

เนื่องในโอกาสวันสตรีสากลซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ในปีนี้เราจึงอยากจะนำเสนอเรื่องราวชีวิตของผู้หญิง 5 คน ที่เป็นสมาชิกทีมบาสเก็ตบอลคนพิการหญิงของกัมพูชา พวกเธอทั้ง 5 คน ต้องเผชิญกับมรสุมชีวิตที่พัดผ่านเข้ามาหลังจากที่ต้องกลายเป็นผู้พิการ พวกเธอไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาที่เล่นตลกกับพวกเธอแม้ว่าบางครั้งหรือหลายๆครั้งพวกเธอจะรู้สึกท้อถอยแต่พวกเธอก็ไม่ใช่ผู้หญิงเพียงคนเดียวในโลกที่ต้องประสบกับชะตากรรมนี้ พวกเธอยังมีเพื่อนที่สามารถแบ่งปันประสบการณ์หรือช่วยเหลือกันได้และโชคดีที่พวกเธอมีกีฬาบาสเก็ตบอลเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหัวใจอันเหนื่อยล้าให้กลับมาฮึดสู้อีกครั้งอย่างไม่ยอมแพ้และมันก็นำพาพวกเธอให้กลับมามีที่ยืนในสังคมได้อีกครั้งอย่างเต็มภาคภูมิ โหงว เชร็บ -สาเหตุที่ทำให้คุณกลายเป็นผู้พิการ 2551 ฉันถูกรถมอเตอร์ไซค์ชนตอนกำลังข้ามถนน ตอนนั้นฉันได้รับบาดเจ็บที่หลังเพียงเล็กน้อย ต่อมาฉันเกิดพลัดตกจากต้นไม้ซึ่งทำให้ฉันได้รับบาดเจ็บที่ระบบประสาทไขสันหลัง ฉันใช้เวลา 3-4 เดือน ...
วันสตรีสากล-ผู้หญิงแถวหน้าของไอซีอาร์ซี

วันสตรีสากล-ผู้หญิงแถวหน้าของไอซีอาร์ซี

, บทความ / บล็อค

ผู้หญิงแถวหน้าของไอซีอาร์ซี ในการทำงานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี ผู้หญิงมักจะมีบทบาทอยู่ในแถวหน้าเสมอโดยเฉพาะในภูมิภาคอเมริกาใต้ที่ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งของเจ้าหน้าที่ภาคสนามเป็นผู้หญิง ในวันสตรีสากลนี้ เราจะบอกเล่าเรื่องราวของผู้หญิงสามคนที่ทุ่มเททำงานอย่างหนักเพื่อสิ่งที่พวกเธอเชื่อมั่น มารี-แคลร์ เฟก้าลี เจ้าหน้าที่ทำงานด้านมนุษยธรรมชาวบราซิล ฉันเห็นทุกอย่างมาหมดแล้ว ตั้งแต่การเริ่มต้นทำงานในอิรักเป็นประเทศแรกจนถึงปัจจุบันที่ฉันมาทำงานในประเทศอินโดนีเซีย ฉันคิดว่าช่วงเวลาที่ฉันประทับใจมากที่สุดก็คือการทำงานในประเทศเยเมน ตอนนั้นมีการโจมตีทางอากาศซึ่งกินเวลานานหลายเดือน คุณไม่มีวันรู้เลยว่าเมื่อไหร่ที่ระเบิดจะตกลงมาใส่ คุณไม่รู้เลยว่าผู้คนที่นั่นจะเอาตัวรอดเพื่อมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไร ลืมเรื่องของตัวเองไปได้เลย ทั้งอาหาร เชื้อเพลิง ยารักษาโรค และ หมอเป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก ทุกอย่างขาดแคลนไปหมด ...
พอล ป็อกบามอบเช็คเงินสดเกือบ 4 ล้านบาทให้ไอซีอาร์ซีเพื่อสนับสนุนโครงการฟื้นฟูทางกายภาพในอัฟกานิสถาน

พอล ป็อกบามอบเช็คเงินสดเกือบ 4 ล้านบาทให้ไอซีอาร์ซีเพื่อสนับสนุนโครงการฟื้นฟูทางกายภาพในอัฟกานิสถาน

, บทความ / บล็อค

นับเป็นปีที่ 9 ติดต่อกันแล้วที่สหพันธ์ฟุตบอลแห่งชาติยุโรป หรือ ยูฟ่าได้มอบเงินจำนวน 1 แสนยูโรหรือประมาณ 3,940,000 บาท ให้กับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือไอซีอาร์ซี โดยทุกปีเงินจำนวนนี้จะถูกส่งมอบโดยนักฟุตบอล ที่ได้รับการโหวตจากทีมฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีผ่านทางเว็บไซด์ของยูฟ่า โดยในปีนี้เช็คเงินสดจำนวนดังกล่าว ได้ถูกส่งมอบให้กับอัลแบร์โต้ ไคโร ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพของไอซีอาร์ซี โดยพอล ป็อกบา มิดฟิลด์อนาคตไกลจากทีมม้าลายยูเวนตุส ก่อนเริ่มเกมการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบ 16 ทีมสุดท้ายนัดแรก ที่พบกับทีมเสือใต้บาเยิร์น ...
ประสบการณ์ภาคสนามของศัลยแพทย์ไอซีอาร์ซี

ประสบการณ์ภาคสนามของศัลยแพทย์ไอซีอาร์ซี

, บทความ / บล็อค

หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าการทำงานเป็นแพทย์ในสถานที่ที่มีการสู้รบหรือถิ่นทุรกันดารนั้น ในสภาพความเป็นจริงแล้วเป็นอย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับคุณหมอมาร์ค สไตน์เบค ศัลยแพทย์ที่ทำงานให้กับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี มาตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน คุณหมอจะมาแบ่งปันบอกเล่าประสบการณ์ที่ยังคงจดจำได้จากการทำงานภาคสนามในหลายประเทศทั่วโลก เช่น อัฟกานิสถาน อิรัก อินเดีย เนปาล และ ภูฐาน ซึ่งคุณหมอยอมรับว่าเต็มไปด้วยความกดดันและความเครียด เพราะทุกวินาทีหมายถึงชีวิตของผู้คน -เหตุการณ์ไหนจากการทำงานภาคสนามที่คุณหมอยังคงจดจำได้จนถึงวันนี้ ผมเคยมีคนไข้คนหนึ่งเป็นหญิงสาววัยรุ่นในชนเผ่าเร่ร่อน เธอถูกงูกัดจนมือของเธอกลายเป็นเนื้อตายแห้งๆ ...
กัมพูชา-ผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่เรือนจำร่วมแรงร่วมใจปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำให้ดีขึ้น

กัมพูชา-ผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่เรือนจำร่วมแรงร่วมใจปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำให้ดีขึ้น

, บทความ / บล็อค

ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา วิศวกรแผนกน้ำและที่อยู่อาศัยของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือไอซีอาร์ซี ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับกรมราชทัณฑ์ของกัมพูชา เพื่อช่วยลดความเครียดให้กับผู้ต้องขังและช่วยปรับปรุงสภาพภายในเรือนจำทั่วประเทศ เพื่อให้มีสุขอนามัยที่ดีและในปีนี้เป็นปีแรกที่ทางกรมราชทัณฑ์ของกัมพูชาได้จัดทำโครงการภายใต้การดำเนินงานของหน่วยงาน โดยได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือ ไอซีอาร์ซี ด้วยเงินทุนดังกล่าวทีมวิศวกรของกัมพูชาได้จัดสร้างเตาหุงต้มสองเตาและปรับปรุงอุปกรณ์ต่างๆในแผนกประกอบอาหารของเรือนจำประจำจังหวัดเสียมราฐ โครงการนี้แล้วเสร็จโดยใช้ระยะเวลาเพียง 54 วันและยังใช้งบประมาณต่ำกว่าที่ประเมินไว้ ซึ่งต้องขอบคุณผู้ต้องขัง 17 คน และเจ้าหน้าที่ของเรือนจำที่คอยให้การช่วยเหลือทีมวิศวกรในการดำเนินงาน “เตาหุงต้มใหม่ทำให้การประกอบอาหารทำได้ง่ายขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือการใช้แกลบเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มน้อยลง” คุณฟิลิปป้า คอเรญ่า วิศวกรของไอซีอาร์ซีที่ดูแลแผนกน้ำและที่อยู่อาศัยในกัมพูชากล่าว นอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังมีส่วนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่เรือนจำและผู้ต้องขังมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอีกด้วย ...