ประวัติการก่อตั้งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ฉบับย่อ) 22/07/2016, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / บล็อค การก่อตั้งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ พ.ศ. 2406 จุดเริ่มต้นของ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ (International Committee of the Red Cross – ICRC) คือการจัดประชุมร่วมกันของสมาชิกผู้ก่อตั้ง ...
สุนทรพจน์ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ 14/07/2016, บทความ สุนทรพจน์โดยนายปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เนื่องในโอกาสการแสดงปาฐกถาสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร ครั้งที่ 7 เกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ในหัวข้อ “ความท้าทายร่วมสมัยในการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรม” วันที่ 8 มิถุนายน 2558 ณ กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร สุนทรพจน์ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ
สายด่วนไอซีอาร์ซี 13/07/2016, News / บล็อค / ไทย ความช่วยเหลือสำหรับนักข่าวในพื้นที่เสี่ยงอันตราย ตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ นักข่าวที่เข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีการสู้รบต้องได้รับการเคารพและการคุ้มครองตราบใดที่พวกเขาไม่กระทำการเป็นปรปักษ์ อันส่งผลกระทบต่อสถานภาพของตนในฐานะพลเรือน ทุกปีนักข่าวถูกจับกุม ได้รับบาดเจ็บ ถูกสังหารหรือหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอยระหว่างการปฏิบัติงาน เสรีภาพของนักข่าวในการประกอบวิชาชีพของตนนั้นอยู่นอกเหนือขอบเขตงานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) อย่างไรก็ตามประเด็นทางด้านมนุษยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการที่พวกเขาหายสาบสูญหรือถูกกักขังในระหว่างสงครามหรือถูกคุมขังในสถานการณ์ของความไม่สงบและความตึงเครียดภายในประเทศนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับไอซีอาร์ซี ไอซีอาร์ซีสามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็วขึ้นในการให้ความคุ้มครองและความช่วยเหลือแก่นักข่าวที่ถูกกักขังหรือถูกจับกุมหรือหายสาบสูญไป ทั้งนี้หากเรา ได้รับรายละเอียดทั้งหมดโดยด่วนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยเหตุนี้ ไอซีอาร์ซีจึงเปิดบริการสายด่วนตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับครอบครัวและสมาคมวิชาชีพของนักข่าว ใช้สายด่วนได้เมื่อใด เมื่อใดก็ตามที่นักข่าวซึ่งปฏิบัติงานอยู่นั้น หายสาบสูญไป ถูกกักขังหรือถูกจับกุม ถูกคุมขัง ใครสามารถแจ้งเตือนไอซีอาร์ซีได้ ...
ไอซีอาร์ซีกับสื่อสารมวลชน 13/07/2016, News / บล็อค / ไทย ไอซีอาร์ซีทำสิ่งใดได้บ้าง กรณีหายสาบสูญ: พยายามหาข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบและแหล่งอื่นใดก็ตาม ส่งข้อมูลสู่ครอบครัวของนักข่าวทันทีที่หน่วยงานที่กักขัง (อาจใช่หรือไม่ใช่รัฐบาล) ยืนยันการกักขัง การจับกุม หรือการเสียชีวิตของเขา นอกจากนี้ไอซีอาร์ซียังอาจส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานในประเทศบ้านเกิดของนักข่าวและสมาคมต้นสังกัดได้หากครอบครัวของนักข่าวตกลงเห็นชอบ การกักขังหรือการคุมขัง: ขออนุญาตให้ผู้แทนของไอซีอาร์ซีได้ไปเยี่ยมเยียนนักข่าวโดยมีแพทย์ตามไปด้วยถ้าจำเป็น ทำให้นักข่าวและครอบครัวของเขาสามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารถึงกันได้โดยอาจผ่านจดหมายกาชาดที่ไอซีอาร์ซีรวบรวมแล้วส่งต่อถึงผู้รับ ส่งนักข่าวกลับสู่ประเทศบ้านเกิดเมื่อเขาถูกปล่อยตัว ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ขีดความสามารถ ไอซีอาร์ซีดำรงอยู่อย่างถาวรด้วยการมีเครือข่ายสำนักงานต่างๆ ในกว่า 60 ประเทศและปัจจุบันไอซีอาร์ซีมีการปฏิบัติงานในประมาณ 80 ประเทศ เครือข่ายนี้ทำให้ไอซีอาร์ซีสามารถดำเนินกิจกรรมด้านมนุษยธรรมในสถานการณ์การสู้รบปัจจุบันได้เกือบทั้งหมด ...
กาชาดระหว่างประเทศกับบทบาทการทูตมนุษยธรรม (ตอนที่2) 12/07/2016, บทความ / บล็อค หลังจากที่ได้รับชมบทสัมภาษณ์คุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศโดยคุณสุทธิชัย หยุ่น ในรายการไทม์ไลน์ ตอนแรกกันไปแล้ว มาสัปดาห์นี้เราจะมาติดตามชมตอนจบของการสัมภาษณ์ในครั้งนี้ ซึ่งออกอากาศไปเมื่อวันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา
กาชาดระหว่างประเทศกับบทบาทการทูตมนุษยธรรม(ตอนที่1) 12/07/2016, บทความ / บล็อค ระหว่างการเดินทางเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรกของคุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เพื่อมาเป็นองค์ปาฐกในการแสดงปาฐกาสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร ครั้งที่ 7 เกี่ยวกับกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในหัวข้อ “ความท้าทายร่วมสมัยในการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรม” เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2558 ตามคำเชิญของสภากาชาดไทย ในโอกาสนี้คุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ได้ไปปรากฏตัวในรายการไทม์ไลน์ ของคุณสุทธิชัย หยุ่น ผู้ร่วมก่อตั้ง และ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารและกองบรรณาธิการบริษัทเนชั่น มิลติมีเดีย กรุ๊ป ...
กองทัพเรือไทยจับมือไอซีอาร์ซีจัดการประชุมระดับภูมิภาคส่งเสริมความเข้าใจกฏหมายมนุษยธรรมกับการทำสงครามทางทะเล 12/07/2016, บทความ / บล็อค กองทัพเรือไทยและคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) ร่วมกันจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการทำสงครามทางทะเล ระหว่างวันที่ 27 ถึง 30 เมษายน ที่โรงแรมสวิสโซเทล ปาร์คนายเลิศ กรุงเทพฯ การประชุมครั้งนี้ประกอบไปด้วยนายทหารระดับอาวุโสจากกองทัพเรือ 14 ประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกเข้าร่วมสนทนาเกี่ยวกับกฎหมายการทำสงครามทางทะเล การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นเวลา 4 วัน โดยมีนายทหารระดับอาวุโสจากกองทัพเรือ 35 นายเข้าร่วมประชุมจากประเทศกัมพูชา จีน ญี่ปุ่น ไทย ...
การแข่งขันศาลจำลองไอซีอาร์ซีเพราะกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นเรื่องสำคัญ 12/07/2016, บทความ / บล็อค นักศึกษาจากประเทศกัมพูชา ลาว ไทย และ เวียดนาม ได้ทดสอบทักษะความรู้เกี่ยวกับกฏหมายมนุษยธรรรมระหว่างประเทศผ่านการแข่งขันศาลจำลองของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี โดยนักศึกษาเหล่านี้จะสวมบทบาทเป็นอัยการหรือทนายฝ่ายจำเลยในคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ ผู้ชนะของแต่ละประเทศจะได้เข้าร่วมการแข่งขันศาลจำลองระหว่างประเทศของกาชาดครั้งที่ 14 ที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงซึ่งจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2559 ไอซีอาร์ซีสนับสนุนการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หรือ ไอเอชแอลทั่วโลกเพื่อส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การจัดแข่งขันศาลจำลองสำหรับนักศึกษาจัดเป็นกิจกรรมสำคัญเช่นเดียวกับการเรียนหรือการสัมมนาเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและขอบข่ายของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การแข่งขันศาลจำลองเป็นการนำเอานักศึกษาไฟแรงและมีความสนใจที่จะขยายขอบเขตการเรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้นำเอาทักษะที่พวกเขาร่ำเรียนไปใช้ในสถานการณ์จริง ขณะที่ชัยชนะเป็นสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในสถาบันการศึกษา ในปี 2558 ไอซีอาร์ซีได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในประเทศกัมพูชา ...
วันสตรีสากล-ผู้หญิงแถวหน้าของไอซีอาร์ซี 12/07/2016, บทความ / บล็อค ผู้หญิงแถวหน้าของไอซีอาร์ซี ในการทำงานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี ผู้หญิงมักจะมีบทบาทอยู่ในแถวหน้าเสมอโดยเฉพาะในภูมิภาคอเมริกาใต้ที่ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งของเจ้าหน้าที่ภาคสนามเป็นผู้หญิง ในวันสตรีสากลนี้ เราจะบอกเล่าเรื่องราวของผู้หญิงสามคนที่ทุ่มเททำงานอย่างหนักเพื่อสิ่งที่พวกเธอเชื่อมั่น มารี-แคลร์ เฟก้าลี เจ้าหน้าที่ทำงานด้านมนุษยธรรมชาวบราซิล ฉันเห็นทุกอย่างมาหมดแล้ว ตั้งแต่การเริ่มต้นทำงานในอิรักเป็นประเทศแรกจนถึงปัจจุบันที่ฉันมาทำงานในประเทศอินโดนีเซีย ฉันคิดว่าช่วงเวลาที่ฉันประทับใจมากที่สุดก็คือการทำงานในประเทศเยเมน ตอนนั้นมีการโจมตีทางอากาศซึ่งกินเวลานานหลายเดือน คุณไม่มีวันรู้เลยว่าเมื่อไหร่ที่ระเบิดจะตกลงมาใส่ คุณไม่รู้เลยว่าผู้คนที่นั่นจะเอาตัวรอดเพื่อมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไร ลืมเรื่องของตัวเองไปได้เลย ทั้งอาหาร เชื้อเพลิง ยารักษาโรค และ หมอเป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก ทุกอย่างขาดแคลนไปหมด ...
สรุปภารกิจของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศในช่วงเกิดอุทกภัยใหญ่ในเมียนมาร์ 11/07/2016, บทความ / บล็อค หนึ่งเดือนหลังจากพายุไซโคลนโกเมนและลมมรสุมได้พัดกระหน่ำประเทศเมียนมาร์จนทำให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่และดินโคลนถล่ม การทำงานเพื่อฟื้นฟูประเทศให้กลับสู่สภาพเดิมก็ได้เริ่มต้นขึ้น จนถึงวันนี้จากข้อมูลของรัฐบาลเมียนมาร์ได้สรุปว่า อุทกภัยครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อผู้คนถึง 1 ล้าน 6 แสนคน และ มีผู้เสียชีวิตถึง 117 คน ขณะที่คณะกรรมาธิการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติ หรือ NDMC ระบุว่าเมืองฮักคาในรัฐชิน เมืองกาเลในเขตสะกาย เมืองพวินบยูในเขตมาเกว รวมทั้งเมืองมินปยาและแม้วอูในรัฐยะไข่เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในครั้งนี้มากที่สุด นับตั้งแต่เกิดภัยพิบัติ เจ้าหน้าที่กาชาดและอาสาสมัครกว่า 1400 คน ...