ไอซีอาร์ซี

การแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศครั้งที่ 1 (รอบคัดเลือกตัวแทนประเทศ) ประเทศไทย

การแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศครั้งที่ 1 (รอบคัดเลือกตัวแทนประเทศ) ประเทศไทย

, บทความ

การแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศครั้งที่ 1(รอบคัดเลือกตัวแทนประเทศ) เป็นการแข่งขันเพื่อค้นหาตัวแทนระดับประเทศเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงในปี 2559 โดยการแข่งขันรายการนี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาวิชากฎหมายได้มีโอกาสสวมบทบาทเป็นฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย เพื่อว่าความในคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ โดยที่ประเทศไทยมีการแข่งขันกันเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และมีนักศึกษาวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขันหลายทีม ซึ่งในปีนี้นักศึกษาที่ได้รับชัยชนะได้แก่ คุณกัญจน์ จิระวุฒิพงศ์ คุณกานต์สินี เจริญดิษยารัตน์ คุณนันธพงษ์ ศรแก้ว จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  
การแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศครั้งที่ 1 (รอบคัดเลือกตัวแทนประเทศ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

การแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศครั้งที่ 1 (รอบคัดเลือกตัวแทนประเทศ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

, บทความ

การแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศครั้งที่ 1 (รอบคัดเลือกตัวแทนประเทศ) เป็นการแข่งขันเพื่อค้นหาตัวแทนระดับประเทศเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงในปี 2559 โดยการแข่งขันรายการนี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาวิชากฎหมายได้มีโอกาสสวมบทบาทเป็นฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยเพื่อว่าความในคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้จัดขึ้นที่อาคารคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ในปีนี้นักศึกษาลาวที่ชนะการแข่งขันได้แก่ เมตคำ อักสะลาดและ สิลิมา แก้วปะเสิด นักศึกษากฎหมายปี 4 ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
สงขลา-การสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการตัดสินใจในการปฏิบัติการที่มิใช่การรบ

สงขลา-การสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการตัดสินใจในการปฏิบัติการที่มิใช่การรบ

, บทความ

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้าร่วมกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการตัดสินใจในการปฏิบัติการที่มิใช่การรบ ที่โรงแรมบีพี สมิหลา บีช จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2558 การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนทางทหารในการทำหน้าที่บังคับใช้กฏหมายและการใช้อำนาจของตำรวจ เพื่อเป็นการวางแผนเชิงปฏิบัติการและการวางแผนทางยุทธวิธี รวมถึงกระบวนการตกลงใจสำหรับหน่วยทหารที่ทำหน้าที่ในการบังคับใช้กฏหมาย เพื่อเน้นถึงหลักการสำคัญที่ทหารจะต้องปฏิบัติตามในการออกปฏิบัติหน้าที่เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว และ เพื่อแสดงให้เห็นถึง “ความแตกต่างระหว่างหลักกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและกฏหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ” “ทหารกับการทำหน้าที่บังคับใช้กฏหมาย” “การจัดกำลังพล” และ ...
การฝึกอบรมการติดตามสืบหาญาติที่จังหวัดสะหวันนะเขตของสปป.ลาว

การฝึกอบรมการติดตามสืบหาญาติที่จังหวัดสะหวันนะเขตของสปป.ลาว

, บทความ

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือไอซีอาร์ซี และ องค์การกาแดงในระดับอำเภอ จังหวัดสะหวันนะเขต ร่วมเป็นเจ้าภาพเปิดการฝึกอบรมการติดตามสืบหาญาติ หรือ RFL ที่จังหวัดสะหวันนะเขต สปป.ลาว ระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2558 ทั้งนี้นายโรแบร์โต้ ซาโน่ หัวหน้าสำนักงานไอซีอาร์ซีประจำนครหลวงเวียงจันทน์ และ นายลำพอน สุลิเดด หัวหน้าองค์การกาแดงประจำจังหวัดสะหวันนะเขต ได้เป็นประธานร่วมกล่าวเปิดการฝึกอบรมดังกล่าว การฝึกอบรมในครั้งนี้มีวิทยากรจากไอซีอาร์ซี ได้แก่ ...
กาชาดระหว่างประเทศกับบทบาทการทูตมนุษยธรรม (ตอนที่2)

กาชาดระหว่างประเทศกับบทบาทการทูตมนุษยธรรม (ตอนที่2)

, บทความ / บล็อค

หลังจากที่ได้รับชมบทสัมภาษณ์คุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศโดยคุณสุทธิชัย หยุ่น ในรายการไทม์ไลน์ ตอนแรกกันไปแล้ว มาสัปดาห์นี้เราจะมาติดตามชมตอนจบของการสัมภาษณ์ในครั้งนี้ ซึ่งออกอากาศไปเมื่อวันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา  
กาชาดระหว่างประเทศกับบทบาทการทูตมนุษยธรรม(ตอนที่1)

กาชาดระหว่างประเทศกับบทบาทการทูตมนุษยธรรม(ตอนที่1)

, บทความ / บล็อค

ระหว่างการเดินทางเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรกของคุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เพื่อมาเป็นองค์ปาฐกในการแสดงปาฐกาสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร ครั้งที่ 7 เกี่ยวกับกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในหัวข้อ “ความท้าทายร่วมสมัยในการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรม” เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2558 ตามคำเชิญของสภากาชาดไทย ในโอกาสนี้คุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ได้ไปปรากฏตัวในรายการไทม์ไลน์ ของคุณสุทธิชัย หยุ่น ผู้ร่วมก่อตั้ง และ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารและกองบรรณาธิการบริษัทเนชั่น มิลติมีเดีย กรุ๊ป ...
กองทัพเรือไทยจับมือไอซีอาร์ซีจัดการประชุมระดับภูมิภาคส่งเสริมความเข้าใจกฏหมายมนุษยธรรมกับการทำสงครามทางทะเล

กองทัพเรือไทยจับมือไอซีอาร์ซีจัดการประชุมระดับภูมิภาคส่งเสริมความเข้าใจกฏหมายมนุษยธรรมกับการทำสงครามทางทะเล

, บทความ / บล็อค

กองทัพเรือไทยและคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) ร่วมกันจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการทำสงครามทางทะเล ระหว่างวันที่ 27 ถึง 30 เมษายน ที่โรงแรมสวิสโซเทล ปาร์คนายเลิศ กรุงเทพฯ การประชุมครั้งนี้ประกอบไปด้วยนายทหารระดับอาวุโสจากกองทัพเรือ 14 ประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกเข้าร่วมสนทนาเกี่ยวกับกฎหมายการทำสงครามทางทะเล  การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นเวลา 4 วัน โดยมีนายทหารระดับอาวุโสจากกองทัพเรือ 35 นายเข้าร่วมประชุมจากประเทศกัมพูชา จีน ญี่ปุ่น ไทย ...
วันกาชาดโลก-พร้อมเสมอเพื่อภารกิจมนุษยธรรมตามหลักการกาชาด

วันกาชาดโลก-พร้อมเสมอเพื่อภารกิจมนุษยธรรมตามหลักการกาชาด

, บทความ / บล็อค

กลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศมุ่งมั่นทำงานด้านมนุษยธรรมมานานถึง 150 ปี โดยให้การช่วยเหลือแก่ผู้คนหลายล้านคนทั่วโลกภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้ง ภัยธรรมชาติ และ วิกฤตการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมากลุ่มองค์กรกาชาดฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่คนที่ประสบภัยธรรมชาติ 110 ล้านคน ทำงานร่วมกับบุคคลทั่วไปในงานด้านการพัฒนากว่า 160 ล้านคน และการช่วยเหลือผู้คนที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์รุนแรงและความขัดแย้งอีกนับไม่ถ้วนภายใต้หลักการกาชาดและไม่มีการเลือกปฏิบัติ กลุ่มองค์กรกาชาดฯ มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทั่วโลกเกือบ 5 แสนคน และยังทำงานร่วมกับอาสาสมัคร 17 ล้านคน ใน ...
ทำไมเราจึงต้องต่อสู้เพื่ออนุสัญญาห้ามการใช้กับระเบิดสังหารบุคคล

ทำไมเราจึงต้องต่อสู้เพื่ออนุสัญญาห้ามการใช้กับระเบิดสังหารบุคคล

, บทความ / บล็อค

เรื่องโดย เฮเลน เดอร์แฮม ผู้อำนวยการแผนกนโยบายและกฎหมายระหว่างประเทศ ไอซีอาร์ซี เป็นเวลาเกือบ 20 ปีแล้ว ที่อนุสัญญาออตตาวาได้ถูกเขียนขึ้น เพื่อห้ามการใช้กับระเบิดสังหารบุคคล ปัจจุบันอนุสัญญาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศฉบับนี้และวัตถุประสงค์ที่มันถูกเขียนขึ้นแทบจะไม่ได้รับความสนใจแม้แต่น้อย แต่มันไม่สมควรเป็นเช่นนั้นเหตุผลก็เพราะว่า กว่าที่อนุสัญญาออตตาวาจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ มันต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการ และนั่นควรจะเป็นเครื่องเตือนความทรงจำ ให้เราเร่งเติมเต็มช่องว่างในการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับนี้ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษที่ 1990 ตอนที่ฉันยังเป็นทนายความด้านกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศรุ่นเล็กของกลุ่มองค์กรกาชาด ฉันได้รับการทาบทามให้ขึ้นพูดในหัวข้อกับระเบิดสังหารบุคคล คนที่ขึ้นพูดคนอื่นๆส่วนใหญ่จะเป็นหมอที่มาอธิบายถึงอาการหรือผลกระทบจากการเหยียบกับระเบิดสังหารบุคคลเหล่านี้ นอกนั้นก็จะเป็นพวกวิศวกรที่อธิบายว่ามัจจุราชชนิดนี้ทำงานอย่างไร ฉันรู้สึกประหลาดใจกับท่าทีไม่เห็นด้วยจากผู้ฟังตอนที่ฉันพูดถึงความเป็นไปได้ ...
การแข่งขันศาลจำลองไอซีอาร์ซีเพราะกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นเรื่องสำคัญ

การแข่งขันศาลจำลองไอซีอาร์ซีเพราะกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นเรื่องสำคัญ

, บทความ / บล็อค

นักศึกษาจากประเทศกัมพูชา ลาว ไทย และ เวียดนาม ได้ทดสอบทักษะความรู้เกี่ยวกับกฏหมายมนุษยธรรรมระหว่างประเทศผ่านการแข่งขันศาลจำลองของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี โดยนักศึกษาเหล่านี้จะสวมบทบาทเป็นอัยการหรือทนายฝ่ายจำเลยในคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ ผู้ชนะของแต่ละประเทศจะได้เข้าร่วมการแข่งขันศาลจำลองระหว่างประเทศของกาชาดครั้งที่ 14 ที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงซึ่งจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2559 ไอซีอาร์ซีสนับสนุนการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หรือ ไอเอชแอลทั่วโลกเพื่อส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การจัดแข่งขันศาลจำลองสำหรับนักศึกษาจัดเป็นกิจกรรมสำคัญเช่นเดียวกับการเรียนหรือการสัมมนาเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและขอบข่ายของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การแข่งขันศาลจำลองเป็นการนำเอานักศึกษาไฟแรงและมีความสนใจที่จะขยายขอบเขตการเรียนรู้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้นำเอาทักษะที่พวกเขาร่ำเรียนไปใช้ในสถานการณ์จริง ขณะที่ชัยชนะเป็นสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในสถาบันการศึกษา ในปี 2558 ไอซีอาร์ซีได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในประเทศกัมพูชา ...