คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

การแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศครั้งที่ 1 (รอบคัดเลือกตัวแทนประเทศ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

การแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศครั้งที่ 1 (รอบคัดเลือกตัวแทนประเทศ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

, บทความ

การแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศครั้งที่ 1 (รอบคัดเลือกตัวแทนประเทศ) เป็นการแข่งขันเพื่อค้นหาตัวแทนระดับประเทศเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงในปี 2559 โดยการแข่งขันรายการนี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาวิชากฎหมายได้มีโอกาสสวมบทบาทเป็นฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยเพื่อว่าความในคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้จัดขึ้นที่อาคารคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ในปีนี้นักศึกษาลาวที่ชนะการแข่งขันได้แก่ เมตคำ อักสะลาดและ สิลิมา แก้วปะเสิด นักศึกษากฎหมายปี 4 ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
สงขลา-การสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการตัดสินใจในการปฏิบัติการที่มิใช่การรบ

สงขลา-การสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการตัดสินใจในการปฏิบัติการที่มิใช่การรบ

, บทความ

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้าร่วมกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการตัดสินใจในการปฏิบัติการที่มิใช่การรบ ที่โรงแรมบีพี สมิหลา บีช จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2558 การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนทางทหารในการทำหน้าที่บังคับใช้กฏหมายและการใช้อำนาจของตำรวจ เพื่อเป็นการวางแผนเชิงปฏิบัติการและการวางแผนทางยุทธวิธี รวมถึงกระบวนการตกลงใจสำหรับหน่วยทหารที่ทำหน้าที่ในการบังคับใช้กฏหมาย เพื่อเน้นถึงหลักการสำคัญที่ทหารจะต้องปฏิบัติตามในการออกปฏิบัติหน้าที่เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว และ เพื่อแสดงให้เห็นถึง “ความแตกต่างระหว่างหลักกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและกฏหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ” “ทหารกับการทำหน้าที่บังคับใช้กฏหมาย” “การจัดกำลังพล” และ ...
ภารกิจของเจ้าหน้าที่ไอซีอาร์ซีไทยในอิรัก

ภารกิจของเจ้าหน้าที่ไอซีอาร์ซีไทยในอิรัก

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

คุณวิชา ลิ่วชิรากรณ์ เจ้าหน้าที่แผนกฝึกอบรมของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี มีโอกาสเดินทางไปปฏิบัติภารกิจในประเทศอิรักเป็นเวลานานถึง 3 เดือน คุณวิชาได้ทำงานอยู่ในเมืองต่างๆของอิรักถึง 6 เมือง ได้แก่ กรุงแบกแดด เมืองเออร์บิ้ล เมืองโดฮุก ...
การฝึกอบรมการติดตามสืบหาญาติที่จังหวัดสะหวันนะเขตของสปป.ลาว

การฝึกอบรมการติดตามสืบหาญาติที่จังหวัดสะหวันนะเขตของสปป.ลาว

, บทความ

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือไอซีอาร์ซี และ องค์การกาแดงในระดับอำเภอ จังหวัดสะหวันนะเขต ร่วมเป็นเจ้าภาพเปิดการฝึกอบรมการติดตามสืบหาญาติ หรือ RFL ที่จังหวัดสะหวันนะเขต สปป.ลาว ระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2558 ทั้งนี้นายโรแบร์โต้ ซาโน่ หัวหน้าสำนักงานไอซีอาร์ซีประจำนครหลวงเวียงจันทน์ และ นายลำพอน สุลิเดด หัวหน้าองค์การกาแดงประจำจังหวัดสะหวันนะเขต ได้เป็นประธานร่วมกล่าวเปิดการฝึกอบรมดังกล่าว การฝึกอบรมในครั้งนี้มีวิทยากรจากไอซีอาร์ซี ได้แก่ ...
กัมพูชา-ผู้บัญชาการเรือนจำทั่วกัมพูชาเข้าร่วมงานสัมมนาเพื่อการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในเรือนจำซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดพระตะบอง

กัมพูชา-ผู้บัญชาการเรือนจำทั่วกัมพูชาเข้าร่วมงานสัมมนาเพื่อการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในเรือนจำซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดพระตะบอง

, บทความ

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) และ กรมราชทัณฑ์กัมพูชาเป็นเจ้าภาพร่วมจัดการสัมมนาในประเด็นเกี่ยวกับการจัดการน้ำและที่อยู่อาศัยในเรือนจำระหว่างวันที่ 9-10 กรกฏาคม 2558 ที่จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา โดยวัตถุประสงค์หลักของการสัมมนาในครั้งนี้ก็เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บัญชาการเรือนจำและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสหารือกันถึงการจัดการด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานเช่น น้ำ และ สภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำ การสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากฯพณฯ นุธ ซา อัน ปลัดกระทรวงมหาดไทยของกัมพูชามาเป็นประธานร่วมและมีผู้บัญชาการเรือนจำจากทั่วประเทศกัมพูชาจำนวน 27 คนเข้าร่วม นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาทั้งหมดยังได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมเรือนจำพระตะบอง ซึ่งเป็นเรือนจำที่ได้ชื่อว่ามีระบบการจัดการที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของกัมพูชา ภาพถ่ายโดย/คุณแซม ...
กัมพูชา-ชีวิตใหม่ของผู้พิการที่ศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพในจังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา-ชีวิตใหม่ของผู้พิการที่ศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพในจังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา

, บทความ

ทุกปีศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพที่จังหวัดพระตะบองจะให้บริการด้านออร์โธพีดิกกับประชาชนหลายพันคนในกัมพูชา รวมทั้งการสนับสนุนด้านอวัยวะเทียมเช่น แขน หรือ ขา ให้กับผู้พิการ นอกจากนี้ก็ยังจัดหารถเข็นสำหรับผู้พิการและให้บริการด้านกายภาพบำบัดอีกด้วย คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี ได้ให้การสนับสนุนงานของศูนย์แห่งนี้อย่างรอบด้านโดยเน้นไปที่โครงการส่งผู้พิการกลับคืนสู่สังคม เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถเริ่มต้นใช้ชีวิตใหม่ในสังคมได้อย่างเต็มภาคภูมิ ภาพถ่ายโดย/คุณแซม สไปเซอร์
กาชาดระหว่างประเทศกับบทบาทการทูตมนุษยธรรม (ตอนที่2)

กาชาดระหว่างประเทศกับบทบาทการทูตมนุษยธรรม (ตอนที่2)

, บทความ / บล็อค

หลังจากที่ได้รับชมบทสัมภาษณ์คุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศโดยคุณสุทธิชัย หยุ่น ในรายการไทม์ไลน์ ตอนแรกกันไปแล้ว มาสัปดาห์นี้เราจะมาติดตามชมตอนจบของการสัมภาษณ์ในครั้งนี้ ซึ่งออกอากาศไปเมื่อวันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา  
กาชาดระหว่างประเทศกับบทบาทการทูตมนุษยธรรม(ตอนที่1)

กาชาดระหว่างประเทศกับบทบาทการทูตมนุษยธรรม(ตอนที่1)

, บทความ / บล็อค

ระหว่างการเดินทางเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรกของคุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เพื่อมาเป็นองค์ปาฐกในการแสดงปาฐกาสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร ครั้งที่ 7 เกี่ยวกับกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในหัวข้อ “ความท้าทายร่วมสมัยในการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรม” เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2558 ตามคำเชิญของสภากาชาดไทย ในโอกาสนี้คุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ได้ไปปรากฏตัวในรายการไทม์ไลน์ ของคุณสุทธิชัย หยุ่น ผู้ร่วมก่อตั้ง และ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารและกองบรรณาธิการบริษัทเนชั่น มิลติมีเดีย กรุ๊ป ...
กองทัพเรือไทยจับมือไอซีอาร์ซีจัดการประชุมระดับภูมิภาคส่งเสริมความเข้าใจกฏหมายมนุษยธรรมกับการทำสงครามทางทะเล

กองทัพเรือไทยจับมือไอซีอาร์ซีจัดการประชุมระดับภูมิภาคส่งเสริมความเข้าใจกฏหมายมนุษยธรรมกับการทำสงครามทางทะเล

, บทความ / บล็อค

กองทัพเรือไทยและคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) ร่วมกันจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการทำสงครามทางทะเล ระหว่างวันที่ 27 ถึง 30 เมษายน ที่โรงแรมสวิสโซเทล ปาร์คนายเลิศ กรุงเทพฯ การประชุมครั้งนี้ประกอบไปด้วยนายทหารระดับอาวุโสจากกองทัพเรือ 14 ประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกเข้าร่วมสนทนาเกี่ยวกับกฎหมายการทำสงครามทางทะเล  การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นเวลา 4 วัน โดยมีนายทหารระดับอาวุโสจากกองทัพเรือ 35 นายเข้าร่วมประชุมจากประเทศกัมพูชา จีน ญี่ปุ่น ไทย ...
ทำไมเราจึงต้องต่อสู้เพื่ออนุสัญญาห้ามการใช้กับระเบิดสังหารบุคคล

ทำไมเราจึงต้องต่อสู้เพื่ออนุสัญญาห้ามการใช้กับระเบิดสังหารบุคคล

, บทความ / บล็อค

เรื่องโดย เฮเลน เดอร์แฮม ผู้อำนวยการแผนกนโยบายและกฎหมายระหว่างประเทศ ไอซีอาร์ซี เป็นเวลาเกือบ 20 ปีแล้ว ที่อนุสัญญาออตตาวาได้ถูกเขียนขึ้น เพื่อห้ามการใช้กับระเบิดสังหารบุคคล ปัจจุบันอนุสัญญาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศฉบับนี้และวัตถุประสงค์ที่มันถูกเขียนขึ้นแทบจะไม่ได้รับความสนใจแม้แต่น้อย แต่มันไม่สมควรเป็นเช่นนั้นเหตุผลก็เพราะว่า กว่าที่อนุสัญญาออตตาวาจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ มันต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการ และนั่นควรจะเป็นเครื่องเตือนความทรงจำ ให้เราเร่งเติมเต็มช่องว่างในการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับนี้ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษที่ 1990 ตอนที่ฉันยังเป็นทนายความด้านกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศรุ่นเล็กของกลุ่มองค์กรกาชาด ฉันได้รับการทาบทามให้ขึ้นพูดในหัวข้อกับระเบิดสังหารบุคคล คนที่ขึ้นพูดคนอื่นๆส่วนใหญ่จะเป็นหมอที่มาอธิบายถึงอาการหรือผลกระทบจากการเหยียบกับระเบิดสังหารบุคคลเหล่านี้ นอกนั้นก็จะเป็นพวกวิศวกรที่อธิบายว่ามัจจุราชชนิดนี้ทำงานอย่างไร ฉันรู้สึกประหลาดใจกับท่าทีไม่เห็นด้วยจากผู้ฟังตอนที่ฉันพูดถึงความเป็นไปได้ ...