บทความ

ไอซีอาร์ซีจับมือสภากาชาดไทยเผยแพร่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศให้กับวิทยากรยุวกาชาด

ไอซีอาร์ซีจับมือสภากาชาดไทยเผยแพร่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศให้กับวิทยากรยุวกาชาด

, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี ร่วมกับ สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย จัดการอบรมวิทยากรยุวกาชาดในหัวข้อเรื่อง การกาชาดและกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หรือ IHL โดยการประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2558 ที่โรงแรมใบหยกสกาย ...
ความทรงจำของนักมนุษยธรรม

ความทรงจำของนักมนุษยธรรม

, บทความ / บล็อค

เคยสงสัยบ้างไหมว่า มันจะต้องใช้อะไรบ้างเพื่อที่จะทำงานในองค์กรเพื่อมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสามครั้งด้วยกัน  และเป็นองค์กรที่ทำงานมาแล้วถึง 150 ปี พร้อม ๆ กับเหล่าเจ้าหน้าที่กว่า 93,000 คน ผู้อุทิศตัวในการให้ความช่วยเหลือแก่บรรดาผู้คน ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในกว่า 90 ประเทศ เราไปพาคุณไปค้นหาคำตอบจากประสบการณ์ในการทำงานของคุณเซดริก พิรัลล่า หัวหน้าสำนักงานย่อยไอซีอาร์ซีประจำเชียงใหม่ ที่เพิ่งจะเกษียณอายุไปเมื่อไม่นานมานี้ “ความมุ่งมั่นและภาระหน้าที่” คือคำนิยามของเซดริก พิรัลลา หัวหน้าสำนักงานย่อยไอซีอาร์ซีประจำเชียงใหม่   ...
สัมภาษณ์ปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานไอซีอาร์ซี เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมทั่วโลก

สัมภาษณ์ปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานไอซีอาร์ซี เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมทั่วโลก

, บทความ / บล็อค

เนื่องในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกของคุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี  ทางทีมงานจัดทำบล็อกจึงได้ทำการสัมภาษณ์คุณปีเตอร์ เกี่ยวกับโอกาสพิเศษในครั้งนี้ เพื่อแบ่งปันวิสัยทัศน์ และ แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานด้านมนุษยธรรมในภูมิภาคนี้ “ผมมีความยินดีมากที่ได้ใช้โอกาสครบรอบ 40 ปีของกิจกรรมไอซีอาร์ซีในกรุงเทพฯ ในการเข้าร่วมบรรยายครั้งนี้  และยังได้มีโอกาสเข้ามาเยี่ยมสำนักงานประจำภูมิภาค ซึ่งรับผิดชอบหน้าที่สำคัญทั้งในประเทศไทย ภาคใต้ และก็ยังมีบทบาทดูแลปัญหาต่าง ๆ ในภูมิภาค  เราทำงานเชิงรุกในพื้นที่ๆมีการสู้รบที่รุนแรงที่สุดหลายแห่งในโลก แต่เราก็ยังมีพันธกิจสำคัญในการทำงานกับกองกำลังติดอาวุธในส่วนของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ  และสิ่งต่าง ...
ประธานไอซีอาร์ซีแสดงปาฐกาในงานสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรครั้งที่ 7

ประธานไอซีอาร์ซีแสดงปาฐกาในงานสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรครั้งที่ 7

, บทความ / บล็อค

เมื่อวันที่ 7-9 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา คุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ได้เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับตั้งแต่ที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2555 ซึ่งการเดินทางเยือนประเทศไทยในครั้งนี้เป็นการตอบรับคำเชิญของคุณแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เพื่อมาเป็นองค์ปาฐกในการแสดงปาฐกถาสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร ครั้งที่ 7 เกี่ยวกับกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในหัวข้อ “ความท้าทายร่วมสมัยในการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรม” เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ...
ประธานไอซีอาร์ซีเรียกร้องให้อียูยกระดับการดำเนินงานด้านมนุษยธรรมต่อวิกฤตต่างๆในโลกที่มีความต้องการเร่งด่วน

ประธานไอซีอาร์ซีเรียกร้องให้อียูยกระดับการดำเนินงานด้านมนุษยธรรมต่อวิกฤตต่างๆในโลกที่มีความต้องการเร่งด่วน

, บทความ / บล็อค

กรุงบรัสเซลส์ – นายปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) ได้เรียกร้องให้สหภาพยุโรป หรือ อียู ยกระดับการดำเนินงานด้านมนุษยธรรม เพื่อช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพในตะวันออกกลางและแอฟริกาซึ่งประสบวิกฤติยืดเยื้อยาวนาน และยังเรียกร้องให้รัฐบาลต่างๆมีมาตรการฉุกเฉินด้านมนุษยธรรม ในการตอบสนองต่อวิกฤติการโยกย้ายถิ่นฐานในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นผลพวงจากความขัดแย้งและความไม่มั่นคงในประเทศต้นทาง นายเมาเรอร์กล่าวระหว่างการเยือนกรุงบรัสเซลส์อย่างเป็นทางการ โดยได้เข้าพบนายมาร์ติน ชูลซ์ ประธานรัฐสภายุโรป นายโดนัลด์ ทัสค์ ประธานคณะมนตรียุโรป นางคริสตาลินา กอร์เกียวา ...
การประชุมกลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยวงวงเดือนแดงว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานเรียกร้องให้หยุดตีตราผู้ย้ายถิ่นว่า “ผิดกฎหมาย”

การประชุมกลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยวงวงเดือนแดงว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานเรียกร้องให้หยุดตีตราผู้ย้ายถิ่นว่า “ผิดกฎหมาย”

, บทความ / บล็อค

กลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงของกลุ่มประเทศเมดิเตอร์เรเนียนพบกันที่เมืองซานมาริโนในการประชุมประจำปีว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งจัดขึ้นโดยสภากาชาด แห่งสาธารณรัฐซานมาริโน ศูนย์ความร่วมมือในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สหพันธ์สภากาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (ไอเอฟอาร์ซี) และ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) การประชุมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประสานงานและเสริมสร้างศักยภาพการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่จำเป็นเร่งด่วนแก่ผู้ย้ายถิ่นฐานทั้งในประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่าน และประเทศปลายทาง “มนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หลบหนีภัยความขัดแย้งและความไม่ปลอดภัย ควรได้รับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อันได้แก่ สิทธิได้รับความคุ้มครอง การรักษาพยาบาล การศึกษา และ บริการทางสังคม อย่างไม่มีข้อจำกัดตลอดการเดินทาง” นาย ...
ท่ามกลางวิกฤตแผ่นดินไหวเนปาล

ท่ามกลางวิกฤตแผ่นดินไหวเนปาล

, บทความ / บล็อค

สิ่งหนึ่งที่เราทุกคนในเนปาลกำลังพยายามทำนับตั้งแต่วันที่ 25 เมษายนเป็นต้นมาก็คือ การใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความไม่แน่นอน อาฟเตอร์ช็อคหลายร้อยครั้งที่เกิดขึ้นหลังเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขนาด 7.8 ริคเตอร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 25 เมษายนเริ่มลดความรุนแรงลงอย่างต่อเนื่อง ฉันไม่รู้สึกตื่นตกใจอีกแล้วเวลาที่เกิดแรงสั่นสะเทือนระลอกใหม่ยิ่งเวลาที่หมกมุ่นอยู่กับงานตรงหน้าก็ยิ่งแทบจะไม่รู้สึกเลยหากเป็นแรงสั่นสะเทือนเล็กน้อยฉันกำลังนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี ตอนที่พื้นดินเริ่มสั่นสะเทือนขึ้นมาอีกครั้ง ฉันรีบวิ่งไปยังประตูที่อยู่ใกล้ที่สุดซึ่งมีคนเคยบอกว่าตรงนี้เป็นจุดที่ปลอดภัย เพื่อนร่วมงานคนอื่นๆก็วิ่งตรงมาที่จุดนี้เช่นเดียวกัน พวกเรารวมตัวกันอยู่ที่นั่นซึ่งต่างคนต่างก็รู้สึกว่ามันช่างเป็นช่วงเวลาที่ยาวนาน ขณะที่ตัวอาคารเริ่มสั่นสะเทือน พื้นห้องส่งเสียงเอี๊ยดอ๊าด ที่แย่ที่สุดก็คือ แรงสั่นสะเทือนทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เมื่อเราออกมาด้านนอกตัวอาคาร คำถามต่างๆก็เริ่มถาโถมเข้ามา-ทุกคนอยู่ที่นี่หรือเปล่า ...
ประธานไอซีอาร์ซีออกแถลงการณ์ถึงโศกนาฏกรรมในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ประธานไอซีอาร์ซีออกแถลงการณ์ถึงโศกนาฏกรรมในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

, บทความ / บล็อค

สืบเนื่องจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเรือที่ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยจำนวนกว่าหลายร้อยคนโดยสารมาได้พลิกคว่ำ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการประเมินอาจมีจำนวนมากถึงแปดร้อยราย ยังผลให้เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในการนี้ คุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานไอซีอาร์ซีได้ออกแถลงการณ์ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ผมรู้สึกตระหนกและเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสูญเสียของหลายร้อยชีวิตในเหตุการณ์อันน่าสลดใจยิ่งที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน การเสียชีวิตของผู้คนเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น ชาย หญิง และ เด็ก ๆ นั้นเป็นเครื่องเตือนใจที่น่าเศร้าต่อผลกระทบของสงครามที่กำลังทวีความรุนแรงทั้งใน ลิเบีย ซีเรีย และ ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ...
ความทรงจำ 10 ปี รำลึกสึนามิ

ความทรงจำ 10 ปี รำลึกสึนามิ

, บทความ / บล็อค

  สิบปีผ่านไปแล้วสำหรับเหตุการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติอันรุนแรงเป็นประวัติการณ์ที่ได้พรากชีวิตผู้คนกว่า 250,000 ชีวิต จาก 14 ประเทศ สิบปีที่แล้วคลื่นยักษ์สึนามิได้พัดโถมแผ่นดินรอบ ๆ มหาสมุทรอินเดีย  อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ประสบภัยร้ายแรงที่สุด ตามมาด้วย ศรีลังกา อินเดีย และ ไทย   ในปีแห่งภัยพิบัตินั้น คุณมาร์คุส โดวเดอร์ ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานไอซีอาร์ซีประจำอินโดนีเซีย  ซึ่งนั่นก็แปลว่าคุณมาร์คุส เป็นหนึ่งในคนแรก ๆ ...
เด็กๆท่ามกลางภาวะสงคราม

เด็กๆท่ามกลางภาวะสงคราม

, บทความ / บล็อค

แม้ว่าโดยธรรมชาติแล้วบรรดาเด็ก ๆ จะมีความเข้มแข็งและความสามารถในการปรับตัวเพียงใดก็ตาม ในภาวะแห่งสงคราม เด็ก ๆ นั้นมักจะตกเป็นเหยื่อ และเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อภัยหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การได้รับบาดเจ็บ การถูกทารุณกรรม การถูกลักพาตัว ถูกบังคับให้เป็นทหาร หรือแม้กระทั่งถูกข่มขืนหรือถูกสังหาร  นอกจากนี้ เด็ก ๆ ในภาวะสงครามยังต้องตกอยู่ในภาวะขาดอาหาร น้ำ และที่พักอาศัย รวมทั้งต้องพลัดพรากจากครอบครัว และกลายเป็นเด็กกำพร้า การให้ความคุ้มครอง ...