บทความโดย เอกอัครราชทูต มาเรีย เลห์โท กระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการขัดกันทางอาวุธไม่ได้เป็นผลกระทบที่เกิดจากการกระทำของฝ่ายปรปักษ์เท่านั้น แต่ยังเกิดจากซากอาวุธสงครามที่เป็นพิษหรืออันตราย การขูดรีดเอาทรัพยากรทางธรรมชาติในพื้นที่ขัดแย้งมาใช้มากเกินไป กลยุทธ์การเอาชีวิตรอดที่ไม่ยั่งยืนที่ประชากรที่ได้รับผลกระทบต้องนำมาปฏิบัติใช้ หรือเกิดจากการล่มสลายของสถาบันต่าง ๆ ซึ่งคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (ILC) นอกจากจะจัดทำแนวทางปฏิบัติของ ICRC ที่เพิ่งเผยแพร่ไปเมื่อไม่นานมานี้ ยังได้ดำเนินงานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริบทที่มีการขัดกันทางอาวุธ อันเป็นการช่วยพัฒนาปรับปรุงแนวทางของกฎหมายระหว่างประเทศในการรับมือกับความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมในบริบทของสถานการณ์ความขัดแย้ง ในบทความนี้และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความเรื่อง สงคราม กฎหมาย และสิ่งแวดล้อมของเรา ที่เผยแพร่ร่วมกับเว็บไซต์ ...