อนุสัญญาเจนีวา

สุขสันต์วันเกิดอนุสัญญาเจนีวาปี 1949 อายุครบ 72 ปี

สุขสันต์วันเกิดอนุสัญญาเจนีวาปี 1949 อายุครบ 72 ปี

, บทความ / บล็อค

อนุสัญญาเจนีวาเป็นเหมือนคำมั่นสัญญาระหว่างประเทศที่มีสาระสำคัญเรื่องกฎเกณฑ์และการจำกัดขอบเขตความรุนแรงของสงคราม อนุสัญญาที่ว่าปกป้องคุ้มครองผู้ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสู้รบ (เช่น พลเรือน, บุคลากรทางการแพทย์ และ กลุ่มผู้ทำงานเพื่อการช่วยเหลือต่าง ๆ) รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถร่วมการสู้รบได้อีกต่อไป (เช่น ทหารผู้บาดเจ็บ เจ็บป่วย ทหารเรืออัปปาง และ เชลยสงคราม) . อนุสัญญาเจนีวามีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1864 ภายหลังมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและเพิ่มกฎเกณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้ครอบคลุมถึงสภาพความเป็นจริงของสงคราม โดยการปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 1949 หลังสงครามโลกครั้งที่ ...
การทำลายมรดกทางวัฒนธรรมคือการทำลายความเป็นมนุษย์

การทำลายมรดกทางวัฒนธรรมคือการทำลายความเป็นมนุษย์

, บทความ / บล็อค

  อนุสาวรีย์, งานศิลปะ, และแหล่งโบราณคดีต่างๆ ถูกเรียกรวมกันว่า `มรดกทางวัฒนธรรม’ การโจมตีสิ่งเหล่านี้เป็นมากกว่าการสร้างความเสียหายให้อิฐ ไม้ หรือโครงสร้างอาคาร แต่เป็นการทำลายความทรงจำ วัฒนธรรม และความภาคภูมิใจของมนุษยชาติ การจงใจทำลายมรดกทางวัฒนธรรมเข้าข่ายการก่ออาชญากรรมสงครามเป็นการโจมตีมนุษยชาติโดยรวม มาฟังความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ขัดแย้ง เมื่อความทรงจำ ประวัติศาสตร์ และความเชื่อของพวกเขา ถูกทำลายจากเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศ เพื่อปกป้องอนาคตจีงต้องปกป้องอดีต การโจมตีวัตถุทางวัฒนธรรม คือการโจตีอัตลักษณ์ ความทรงจำ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ...
การใช้เครื่องหมายกาชาดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การใช้เครื่องหมายกาชาดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / บล็อค

อย่างที่เราได้ทราบกันไปแล้วในบทความก่อนหน้าว่าเครื่องหมายกาชาดเป็นเครื่องหมายที่ได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาเจนีวาและพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 3 ของอนุสัญญาเจนีวา  เครื่องหมายกาชาดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการคุ้มครองบุคลากรและผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมและด้านการแพทย์ในกรณีที่เกิดข้อพิพาททางอาวุธ โดยเครื่องหมายดังกล่าวจะติดอยู่กับยานพาหนะทางการแพทย์ สิ่งก่อสร้าง หรือตัวบุคคล ภายใต้ขอบเขตของอนุสัญญาเจนีวารวมถึงพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 3  เช่น หน่วยแพทย์ในกองทัพ โรงพยาบาลของพลเรือน เป็นต้น นอกจากเครื่องหมายกาชาดแล้ว อนุสัญญาเจนีวาและพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ ...
อนุสัญญาเจนีวาคืออะไร ทำความเข้าใจอนุสัญญาเจนีวาฉบับลงวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ.1949 และพิธีสารเพิ่มเติม

อนุสัญญาเจนีวาคืออะไร ทำความเข้าใจอนุสัญญาเจนีวาฉบับลงวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ.1949 และพิธีสารเพิ่มเติม

, E-Book

“ไม่ว่าในพฤติการณ์ใดๆ บุคคลผู้ที่ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิที่จะได้รับความเคารพในตัวตน เกียรติยศ สิทธิ ในทางครอบครัว การเชื่อถือและปฏิบัติทางศาสนา และจรรยามารยาทกับประเพณี จะต้องได้รับผลปฏิบัติ อย่างมีมนุษยธรรมในทุกโอกาส และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องได้รับความคุ้มครองต่อบรรดาการประทุษร้าย ใดๆ หรือการขู่เข็ญว่าจะประทุษร้าย และต่อการถูกเหยียดหยามและความอยากสอดรู้เห็นของประชาชน” อนุสัญญาเจนีวา ภาค 3 หมวด 1 ข้อ 27 เพื่อเป็นการเผยแพร่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หรือ International ...
เครื่องหมายกาชาด สัญลักษณ์แห่งความหวัง

เครื่องหมายกาชาด สัญลักษณ์แห่งความหวัง

, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / บล็อค

สำหรับบุคลากรในครอบครัวกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงแล้ว การมีความรู้ความเข้าใจในหลักการกาชาดและการใช้เครื่องหมายกาชาดอย่างลึกซึ้งและถูกต้องเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง สภากาชาดไทยจึงได้จัดการประชุมเผยแพร่ความรู้ในหัวข้อ “การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักการกาชาดและการใช้เครื่องหมายกาชาดให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการบริการทางการแพทย์และด้านการบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย” ให้กับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่ในกลุ่มองค์กรกาชาดจากหน่วยงานต่างๆของสภากาชาดไทย องค์กร และ โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนกว่า 100 คน โดยการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นที่อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาฌโดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ...
ชัยชนะที่ไร้มนุษยธรรมไม่ใช่ชัยชนะที่แท้จริง

ชัยชนะที่ไร้มนุษยธรรมไม่ใช่ชัยชนะที่แท้จริง

, บทความ / บล็อค

เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาคมโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของอนุสัญญาเจนีวา ซึ่งเป็นกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ICRC จึงได้จัดทำคลิปวีดีโอเพื่อรณรงค์เกี่ยวกับภัยอันตรายที่เกิดจากการเพิกเฉยต่ออนุสัญญาดังกล่าว ความยาว 60 วินาทีที่มีชื่อว่า Victory by Any Means โดยคลิปวีดีโอนี้เป็นการรวบรวมภาพเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจริงจากทั่วทุกมุมโลก “การถล่มโรงพยาบาล การอพยพครั้งใหญ่ของประชากรและความรุนแรงทางเพศที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยขึ้น” นายปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธาน ICRC กล่าว “ความทุกข์ทรมานของผู้คนที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีความขัดแย้งไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เราก็ล้มเหลวในการสนองตอบต่อการดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ นั่นเป็นเพราะยังมีอีกหลายประเทศในโลก ...
ตำนานแห่งความคิด

ตำนานแห่งความคิด

, E-Book / กลุ่มองค์กรกาชาด / บล็อค

ตำนานแห่งความคิดเป็นการ์ตูนที่ถ่ายทอดประวัติศาสตร์เรื่องราวการก่อตั้งกลุ่มองค์กาชาดและสหพันธ์เสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ที่มาของอนุสัญญาเจนีวา หลักการด้านมนุษยธรรมที่เน้นให้เห็นถึงความพยายามของกลุ่มองค์กรกาชาดและงานของแต่ละองค์กรที่อยู่ภายใต้สังกัดที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือผู้คนที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ยากลำบาก การ์ตูนเรื่องนี้ได้รับการถ่ายทอดโดยศิลปินชื่อดังฌอง จีโร หรือนามปากกาโมเบียส คลิ๊กเพื่ออ่านการ์ตูนตำนานแห่งความคิดได้ที่นี่
ประวัติการก่อตั้งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ฉบับย่อ)

ประวัติการก่อตั้งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ฉบับย่อ)

, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / บล็อค

การก่อตั้งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ พ.ศ. 2406 จุดเริ่มต้นของ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ (International Committee of the Red Cross – ICRC) คือการจัดประชุมร่วมกันของสมาชิกผู้ก่อตั้ง ...
กฎกติกาสงครามฉบับย่อ

กฎกติกาสงครามฉบับย่อ

, บทความ / บล็อค

ในสถานการณ์การสู้รบ “กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ” คือ เครื่องมือที่ทรงพลังในการปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งต้องได้รับการคุ้มครอง ไอซีอาร์ซีมุ่งมั่นสร้างความตระหนักถึงวิธีปฏิบัติตามหลักสากลในสถานการณ์การสุ้รบ       ในประเทศต่างๆมากว่า 150 ปี และเรายังให้การสนับสนุนการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา “กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ” ของโรงเรียนเหล่าทหารพระธรรมนูญ สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม
ไอซีอาร์ซีกับสื่อสารมวลชน

ไอซีอาร์ซีกับสื่อสารมวลชน

, News / บล็อค / ไทย

ไอซีอาร์ซีทำสิ่งใดได้บ้าง กรณีหายสาบสูญ: พยายามหาข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบและแหล่งอื่นใดก็ตาม ส่งข้อมูลสู่ครอบครัวของนักข่าวทันทีที่หน่วยงานที่กักขัง (อาจใช่หรือไม่ใช่รัฐบาล) ยืนยันการกักขัง การจับกุม หรือการเสียชีวิตของเขา นอกจากนี้ไอซีอาร์ซียังอาจส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานในประเทศบ้านเกิดของนักข่าวและสมาคมต้นสังกัดได้หากครอบครัวของนักข่าวตกลงเห็นชอบ การกักขังหรือการคุมขัง: ขออนุญาตให้ผู้แทนของไอซีอาร์ซีได้ไปเยี่ยมเยียนนักข่าวโดยมีแพทย์ตามไปด้วยถ้าจำเป็น ทำให้นักข่าวและครอบครัวของเขาสามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารถึงกันได้โดยอาจผ่านจดหมายกาชาดที่ไอซีอาร์ซีรวบรวมแล้วส่งต่อถึงผู้รับ ส่งนักข่าวกลับสู่ประเทศบ้านเกิดเมื่อเขาถูกปล่อยตัว ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ขีดความสามารถ ไอซีอาร์ซีดำรงอยู่อย่างถาวรด้วยการมีเครือข่ายสำนักงานต่างๆ ในกว่า 60 ประเทศและปัจจุบันไอซีอาร์ซีมีการปฏิบัติงานในประมาณ 80 ประเทศ เครือข่ายนี้ทำให้ไอซีอาร์ซีสามารถดำเนินกิจกรรมด้านมนุษยธรรมในสถานการณ์การสู้รบปัจจุบันได้เกือบทั้งหมด ...