อนุสาวรีย์, งานศิลปะ, และแหล่งโบราณคดีต่างๆ ถูกเรียกรวมกันว่า `มรดกทางวัฒนธรรม’ การโจมตีสิ่งเหล่านี้เป็นมากกว่าการสร้างความเสียหายให้อิฐ ไม้ หรือโครงสร้างอาคาร แต่เป็นการทำลายความทรงจำ วัฒนธรรม และความภาคภูมิใจของมนุษยชาติ การจงใจทำลายมรดกทางวัฒนธรรมเข้าข่ายการก่ออาชญากรรมสงครามเป็นการโจมตีมนุษยชาติโดยรวม
มาฟังความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ขัดแย้ง เมื่อความทรงจำ ประวัติศาสตร์ และความเชื่อของพวกเขา ถูกทำลายจากเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศ
เพื่อปกป้องอนาคตจีงต้องปกป้องอดีต การโจมตีวัตถุทางวัฒนธรรม คือการโจตีอัตลักษณ์ ความทรงจำ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
(Aleppo, the old bazar, Syria in 2005 and 2017. ©Thomas Gaudig 2005 CC BY-NC-ND/ICRC/Sana Tarabishi 2017)
“ฉันเห็นภาพอาคารพังทลายจนชินตา แต่ไม่มีอะไรน่าเศร้าไปกว่าการต้องทนเห็นอนุสาวรีย์และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของเรากลายเป็นเศษซาก ท่ามกลางความแทรงจำที่แหลกสลาย หัวใจและวิญญานของฉันถูกทำลายไปพร้อมกับอเลปโป” – ซีเรีย “การทำลายอดีตคือการโจมตีอัตลักษณ์และความทรงจำร่วมของสังคม สิ่งนี้ไม่เพียงส่งผลกับปัจจุบัน แต่คนรุ่นหลังจะจำจำประวิติศาสตร์ตัวเองได้อย่างไร?” – เลบานอน
(The great Umayyad mosque, Aleppo, Syria, 2017. CC BY-NC-ND/ICRC/Sana Tarabishi)
“ก้อนหินทุกก้อนมีความหมาย เรื่องราวมากมายถูกร้อยเรียงผ่านสถานที่ทางประวัติศาสตร์ การทำลายสิ่งก่อสร้าง คือการทำลายความภูมิใจและสายใยของผู้คนจากอดีตถึงปัจจุบัน” – ซีเรีย “คุณไม่สามารถนำประวิติศาสตร์กลับมาได้ การทำลายวัตถุทางวัฒนธรรมคือการทำลายหลักฐานการมีอยู่ของยุคสมัย แล้วคุณจะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไร เมื่อต้องแบกรับบาดแผล ความกลัว และความเกลียดชังที่สงครามทิ้งไว้ให้” – เลบานอน
(People fleeing the fighting, on the road going east from Mosul, Iraq, 2016 CC BY-NC-ND /ICRC/Anmar Qusay)
พวกเราสัมภาษณ์คนกว่า 17,000 คน เกี่ยวกับกฎของการทำสงคราม ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่าการโจมตีศาสนสถาน และอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์เป็นความผิด เพราะแม้ในช่วงเวลาที่มืดมิด เราก็อยากเห็นความเคารพต่อมรดกทางวัฒนธรรม(Sana’a, Old City, Al-Qasmi neighbourhood, Yemen, 2015 CC BY-NC-ND /ICRC/Hani Al-Ansi)
มรดกทางวัฒนธรรมได้รับการคุ้มครองจากกฎแห่งสงคราม(Great Mosque of Aleppo before the war, Syria ©Thomas Gaudig 2005)
กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ จำกัดสิทธิของฝ่ายต่างๆ ที่ทำการสู้รบ รวมถึงคุ้มครองบุคคลและทรัพย์สินที่ได้รับผลกระทบจากภาวะสงคราม หนึ่งในส่วนสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ให้ความคุ้มครองต่อมรดกทางวัฒธรรม ห้ามใช้เป็นที่ตั้งกองกำลังหรือเป้าหมายในการโจมตี แม้ในภาวะสงคราม ความขัดแย้งจะต้องไม่รุกล้ำทำลายประวัติศาสตร์และความทรงจำของฝ่ายตรงข้ามเพราะถือเป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ การปกป้องและเคารพทรัพย์สินทางวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการสร้างสังคมขึ้นมาใหม่เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุดลง(Martyrs’ Monument, Beirut, Lebanon, 2006 CC BY-NC-ND /ICRC/M. Kokic)
“ก่อนสงคราม พวกเราชาวเมืองมี Martyrs’ Monument เป็นศูนย์รวมจิตใจ ตอนนี้อนุสาวรีย์ชองพวกเราเต็มไปด้วยรอยกระสุน จริงอยู่ว่าวัตถุสามารถซ่อมได้ แต่จิตใจของพวกเรา ไม่อาจซ่อมกลับมาเป็นแบบเดิมได้อีกแล้ว” – เลบานอน “เมื่อคุณฆ่าวัฒนธรรมของใคร ประเพณีและองค์ความรู้ของเขาก็ตายไปด้วย เมื่อคุณทำลายความทรงจำ คุณกำลังทำลายอนาคต เมื่อคุณลบสิ่งก่อสร้างทางวัฒนธรรม คุณลบภาพจำและตัวตนที่สั่งสมมานับศตวรรษ สิ่งที่คุณทำจะนำพื้นที่นั้นไปสู่ความขัดแย้งโดยสมบูรณ์” – เลบานอน