กาชาดระหว่างประเทศ

ประสบการณ์ 6 เดือนของฉันในมาบัน ซูดานใต้

ประสบการณ์ 6 เดือนของฉันในมาบัน ซูดานใต้

, บทความ / บล็อค / เรื่องเล่าจากภาคสนาม
Uma Pandey

ช่วงเวลา 6 เดือนที่ฉันต้องย้ายจากมหานครใหญ่ที่เต็มไปด้วยความอึกทึกวุ่นวายอย่างกรุงเทพฯ ไปยังอำเภอมาบัน ในสาธารณรัฐซูดานใต้เปรียบเสมือนกับการเล่นรถไฟเหาะตีลังกาไม่มีผิด แต่หากมองในอีกมุมหนึ่งฉันกำลังจะได้เดินทางไปยังดินแดนที่ไหนสักแห่งในโลก เพื่ออะไรบางอย่างที่ตัวเองไม่เคยทำมาก่อนในฐานะผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) แค่นี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับฉัน มาบัน เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกตอนบนของประเทศซูดานใต้ ซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศซูดานและเอธิโอเปีย ที่นี่เป็นศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้อพยพประมาณ 136,000 คน ...
ICRC ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในเมียนมาร์และบังคลาเทศ

ICRC ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในเมียนมาร์และบังคลาเทศ

, News / บล็อค / ไทย

เจนีวา/เมียนมาร์/บังคลาเทศ-คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ยกระดับความช่วยเหลือประชาชนที่หนีภัยความรุนแรงในเมียนมาร์และบังคลาเทศ “ชุมชนทุกแห่งที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงกำลังเผชิญกับความยากลำบากซึ่ง ICRC มีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะครอบครัวที่ได้รับผลกระทบโดยตรง” บอริส มิเชล ผู้อำนวยการ ICRC ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคกล่าว ICRC ได้ขนส่งอาหารและน้ำดื่มสะอาดไปแจกจ่ายให้กับประชาชนกว่า 8 พันครัวเรือนตลอดแนวชายแดนเมียนมาร์และบังคลาเทศที่อพยพหนีภัยความรุนแรงในพื้นที่ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาและ ICRC ยังได้สนับสนุนการทำงานของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่และเจ้าหน้าที่การแพทย์ของบังคลาเทศในพื้นที่อีกด้วย ทั้งนี้ ICRC ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับสภากาชาดเมียนมาร์ (Myanmar Red ...
เมื่อฉันเผยแพร่ประสบการณ์ศาลจำลองและ IHL ในนาม ICRC

เมื่อฉันเผยแพร่ประสบการณ์ศาลจำลองและ IHL ในนาม ICRC

, บทความ / บล็อค
ณัฏฐธิดา ทวีเจริญ

“ในการแข่งขันศาลจำลองสำคัญคือต้องมีสติและใจต้องนิ่งให้ได้มากที่สุดเวลาแถลงวาจา” นั่นคือคำแนะนำที่ณัฎฐธิดา ทวีเจริญ อดีตนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ฝากให้กับน้องๆนักศึกษากฎหมายรุ่นใหม่ที่สนใจจะเข้าร่วมการแข่งขันศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หรือ International Humanitarian Law (IHL) และในฐานะที่เธอได้เข้ามาเป็นนักศึกษาฝึกงานกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ICRC เธอจึงอยากแบ่งปันประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับทีมกฎหมายของ ICRC ได้เพื่อนๆได้ทราบกันค่ะ การเดินทางไปสปป.ลาวร่วมกับพี่ๆ ที่ทำงานด้านกฎหมายของ ICRC เมื่อวันที่ 11-12 กรกฎาคมที่ผ่านมา ...
การใช้เครื่องหมายกาชาดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การใช้เครื่องหมายกาชาดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / บล็อค

อย่างที่เราได้ทราบกันไปแล้วในบทความก่อนหน้าว่าเครื่องหมายกาชาดเป็นเครื่องหมายที่ได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาเจนีวาและพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 3 ของอนุสัญญาเจนีวา  เครื่องหมายกาชาดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการคุ้มครองบุคลากรและผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมและด้านการแพทย์ในกรณีที่เกิดข้อพิพาททางอาวุธ โดยเครื่องหมายดังกล่าวจะติดอยู่กับยานพาหนะทางการแพทย์ สิ่งก่อสร้าง หรือตัวบุคคล ภายใต้ขอบเขตของอนุสัญญาเจนีวารวมถึงพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 3  เช่น หน่วยแพทย์ในกองทัพ โรงพยาบาลของพลเรือน เป็นต้น นอกจากเครื่องหมายกาชาดแล้ว อนุสัญญาเจนีวาและพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ ...
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์และคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมเป็นเจ้าภาพโครงการประชุมประจำปีเครือข่ายองค์การรัฐที่ให้บริการด้านนิติเวชศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์และคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมเป็นเจ้าภาพโครงการประชุมประจำปีเครือข่ายองค์การรัฐที่ให้บริการด้านนิติเวชศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

, News / บล็อค / ไทย

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรมของไทยเป็นเจ้าภาพโครงการประชุมประจำปีเครือข่ายองค์การรัฐที่ให้บริการด้านนิติเวชศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Medico-Legal Agencies  Network : APMLA General Meeting) ระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม 2560 ที่โรงแรมดีวารี จอมเทียน บีช พัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายและการแบ่งปันข้อมูลของผู้ให้บริการในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค รวมถึงยกระดับการทำงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและมีความทันสมัยทันต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ซึ่งในโอกาสนี้คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือ the ...
สร้างทักษะผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality)

สร้างทักษะผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality)

, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / บล็อค

จากปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากความขัดแย้งทางทหารทั่วโลก พร้อมได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพถึง 3 ครั้ง คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี เป็นองค์กรด้านมนุษยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นที่เคารพมากที่สุดในโลก เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้กลายเป็นองค์กรด้านมนุษยธรรมแห่งแรกของโลกที่ใช้เทคโนโลยีวิดีโอเกมส์ในการปฏิบัติงานภายในอีกด้วย “คุณอาจพูดได้ว่าเราเป็นบริษัทเกมส์เล็กๆ” คริสเตียน รูแฟร์ หัวหน้าแผนก ...
อนุสัญญาเจนีวาคืออะไร ทำความเข้าใจอนุสัญญาเจนีวาฉบับลงวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ.1949 และพิธีสารเพิ่มเติม

อนุสัญญาเจนีวาคืออะไร ทำความเข้าใจอนุสัญญาเจนีวาฉบับลงวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ.1949 และพิธีสารเพิ่มเติม

, E-Book

“ไม่ว่าในพฤติการณ์ใดๆ บุคคลผู้ที่ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิที่จะได้รับความเคารพในตัวตน เกียรติยศ สิทธิ ในทางครอบครัว การเชื่อถือและปฏิบัติทางศาสนา และจรรยามารยาทกับประเพณี จะต้องได้รับผลปฏิบัติ อย่างมีมนุษยธรรมในทุกโอกาส และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องได้รับความคุ้มครองต่อบรรดาการประทุษร้าย ใดๆ หรือการขู่เข็ญว่าจะประทุษร้าย และต่อการถูกเหยียดหยามและความอยากสอดรู้เห็นของประชาชน” อนุสัญญาเจนีวา ภาค 3 หมวด 1 ข้อ 27 เพื่อเป็นการเผยแพร่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หรือ International ...
ICRC ขอแสดงความเสียใจต่อผู้บาดเจ็บจากเหตุระเบิดที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ICRC ขอแสดงความเสียใจต่อผู้บาดเจ็บจากเหตุระเบิดที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

, News / บล็อค / ไทย

เจนีวา/กรุงเทพฯ (ไอซีอาร์ซี) – คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศขอแสดงความห่วงใยต่อเหตุระเบิดที่เกิดขึ้น ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเมื่อวานนี้ ซึ่งส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บมากกว่า 20 ราย โรงพยาบาลถือเป็นสถานที่รักษาและช่วยชีวิตผู้คน  ดังนั้นการก่อความรุนแรงในสถานพยาบาลถือเป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศปฏิบัติงานทั่วโลกเพื่อสร้างความตระหนักรู้และสนับสนุนความปลอดภัยในสถานพยาบาลไม่ว่าจะอยู่ภายใต้สถานการณ์รูปแบบใด พร้อมเรียกร้องว่าทุกฝ่ายควรให้ความเคารพต่อสถานพยาบาล การโจมตีบุคลากรที่ให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ โรงพยาบาล และรถพยาบาล ถือเป็นการขัดขวางการให้บริการด้านสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นการลิดรอนสิทธิในการเข้าถึงการรักษาอีกด้วย คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศขอแสดงความเสียใจกับผู้บาดเจ็บและญาติพี่น้องที่ได้รับผลกระทบทุกท่าน —– สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ : เคท ...
การคุ้มครองบุคคลซึ่งถูกจำกัดอิสรภาพ

การคุ้มครองบุคคลซึ่งถูกจำกัดอิสรภาพ

, E-Book / บล็อค

“ไม่ว่าจะถูกคุมขังเพราะเหตุใด บุคคลซึ่งถูกจำกัดอิสรภาพถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง (Vulnerable) เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมปกติและถูกจำกัดอิสรภาพในการดำเนินชีวิตของตนเอง” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2413 เป็นต้นมา ไอซีอาร์ซีได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ภายในสถานคุมขังและการปฏิบัติต่อบุคคลซึ่งถูกจำกัดอิสรภาพ ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามหลักการกาชาดของกลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (The Movement) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักด้านมนุษยธรรม การไม่เลือกปฏิบัติ ความเป็นกลางและเป็นอิสระ หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงประสบการณ์ทำงานในการพัฒนาสถานคุมขังและการปฏิบัติต่อบุคคลซึ่งถูกจำกัดอิสรภาพตามแนวทางของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการเข้าเยี่ยมสถานคุมขัง ขั้นตอนในการดำเนินงาน พันธสัญญาในการรักษาความลับ รวมถึงกิจกรรมที่ ICRC ให้การสนับสนุนต่อผู้ถูกคุมขังในสถานคุมขัง ...
EHL หลักสูตรสร้างเด็กดีมีมนุษยธรรม

EHL หลักสูตรสร้างเด็กดีมีมนุษยธรรม

, บทความ / บล็อค

“คนดีต้องรู้จักเคารพผู้อื่น มีจิตใจดี และมีมนุษยธรรม” คำนิยามง่ายๆของอาจารย์อัจฉรา เพิ่มพูล ครูชำนาญการจากโรงเรียนสายปัญญาที่สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าเราปลูกฝังเยาวชนคนรุ่นใหม่ในเรื่องการทำความดี การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตัวเองและผู้อื่น การเอื้อเฟื้อแบ่งปัน ตั้งแต่อายุยังน้อย เราก็จะได้คนดีมาอยู่ในสังคมของเรามากขึ้นในอนาคต และด้วยแนวคิดนี้เองจึงนำมาซึ่งการร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) และสภากาชาดไทย ให้มีการบรรจุการเรียนรู้เรื่องกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศไว้ในหลักสูตรกิจกรรมยุวกาชาดระดับมัธยมศึกษาตอนต้นระดับชั้นปีที่ 1-3 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 จนกระทั่งถึงปัจจุบันได้มีครูจำนวนไม่น้อยภายใต้สังกัดของกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับการอบรมในการสอนหลักสูตรนี้ไปแล้ว และเพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยเข้ากับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ...