E-Book

การดำเนินงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ประจำปี 2566

การดำเนินงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ประจำปี 2566

, E-Book

ดาวน์โหลดเอกสารการดำเนินงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ประจำปี 2566 ใน ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
หลักการพื้นฐานของกลุ่มองค์กรกาชาด และเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ

หลักการพื้นฐานของกลุ่มองค์กรกาชาด และเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ

, E-Book

อธิบายหลักการทั้ง 7 ประการของกลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่ Fundamental-principles  หรือ อ่านเอกสารฉบับย่อ หลักการพื้นฐานของกลุ่มองค์กรกาชาด
ผลการดำเนินงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ประจำปี 2565

ผลการดำเนินงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ประจำปี 2565

, E-Book

ดาวน์โหลดเอกสารผลการดำเนินงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ประจำปี 2565 ในภาษาไทย และภาษาอังกฤษ  
พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจในการสนับสนุนกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ บทความโดยศ.ปีเตอร์ ฮาร์วีย์

พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจในการสนับสนุนกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ บทความโดยศ.ปีเตอร์ ฮาร์วีย์

, E-Book

พุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นประเด็นที่องค์กรของเราให้ความสนใจและได้ให้การสนับสนุนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้มาอย่างต่อเนื่อง บทความล่าสุดของศาสตราจารย์ปีเตอร์ ฮาร์วีย์ (ศาสตราจารย์กิตติคุณมหาวิทยาลัยซันเดอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร) หนึ่งในนักวิชาการชั้นนำของโลกด้านพระพุทธศาสนาได้นำเสนอประด็นที่ว่าอย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่สามารถสนับสนุนกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในการลดความอันตรายและความทุกข์ทรมานให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ไปจนถึงหลีกเลี่ยงการสร้างทุกข์ที่ไม่จำเป็นทั้งต่อผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ฉบับร่างของบทความชิ้นนี้ได้ถูกนำเสนอเป็นครั้งแรกในการประชุม “การลดทอนความทุข์ทรมานในสถานการณ์ขัดแย้ง: ความเกี่ยวข้องกันของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและพระพุทธศาสนา” จัดขึ้นที่ประเทศศรีลังกาเมื่อปี 2019 ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ฮาร์วีย์ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง the UK Association for Buddhist Studies (1996) ...
ผลการดำเนินงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ประจำปี 2563

ผลการดำเนินงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ประจำปี 2563

, E-Book

ดาวน์โหลดเอกสารผลการดำเนินงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ประจำปี 2563
การรับมือกับ COVID-19 ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สํานักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ (ประเทศไทย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม)

การรับมือกับ COVID-19 ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สํานักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ (ประเทศไทย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม)

, E-Book

ดาวน์โหลดเอกสารแสดงการทำงานของ ICRC ในช่วงโควิด-19 อัพเดท ณ วันที่ 20 เดือนมกราคม พ.ศ. 2564  
ค้นพบไอซีอาร์ซี

ค้นพบไอซีอาร์ซี

, E-Book

ทำ ไมต้องมี “ไอซีอาร์ซี” ตราบใดที่ผู้คนยังเลือกใช้สงครามและการสู้รบเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาความแตกต่าง ตราบนั้นจึง จำเป็นที่จะต้องมีองค์กรที่เป็นอิสระเฉก เช่นคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) เพื่อมาทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง แต่ไอซีอาร์ซีคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และปัจจุบัน ให้ความช่วยเหลือด้านใดบ้าง มาตามหาความหมายของไอซีอาร์ซีได้ที่เอกสารด้านล่าง ค้นพบไอซีอาร์ซี
สัญลักษณ์แห่งมนุษยธรรม

สัญลักษณ์แห่งมนุษยธรรม

, E-Book

เครื่องหมายกาชาดเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังของประชาชนที่เผชิญภาวะวิกฤตทางมนุษยธรรม สำหรับกลุ่มชนที่ต้องทนทุกข์จากการสู้รบและสถานการณ์ความรุนแรงอื่นๆ รวมไปถึงความยากลำบากอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เครื่องหมายนี้เป็นสัญญาณว่าความช่วยเหลือกำลังจะมาถึง เครื่องหมายกาชาดในปัจจุบันมีสัญลักษณ์ใดบ้าง สัญลักษณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ให้ความคุ้มครองใครบ้าง ตอบทุกคำถามในเอกสารของเรา สัญลักษณ์แห่งมนุษยธรรม
ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

, E-Book / บล็อค

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศคืออะไร? มีที่มาแบบไหน? คุ้มครองใครบ้าง? ต่างจากกฎหมายสิทธิมนุษยชน (Human Rights Law) อย่างไร? อะไรคือความแตกต่างระหว่าง jus ad bellum และ jus in bello? ดาวน์โหลดเอกสาร ถาม-ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และเอกสารฉบับย่อ หรืออ่านบทความสรุป กฎหมายสงครามทำงานอย่างไร รวมทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ทำความรู้จัก ...
การดูแลสุขภาพในสถานที่คุมขัง-คู่มือปฏิบัติ

การดูแลสุขภาพในสถานที่คุมขัง-คู่มือปฏิบัติ

, E-Book

คู่มือปฏิบัติเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยในการประเมิน และบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งมีผลกระทบ ต่อสุขภาพของผู้ถูกคุมขัง การรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จะทำให้สามารถมองเห็นปัญหาหรือความบกพร่อง ในเรือนจำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารในการดูแลสุขภาพของผู้ถูกคุมขังให้เป็นไปตามมาตรฐาน ตามที่กฎหมายกำหนด คู่มือปฏิบัติเล่มนี้นำเสนอรูปแบบการประเมินภาวะสุขภาพ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในสถานที่ คุมขังอย่างมีหลักการ ในประเด็นดังต่อไปนี้ ความหมายเกี่ยวกับสภาพพื้นฐาน – สุขภาพและสภาพความเป็นอยู่ – ของผู้ถูกคุมขังทั้งหมด การประเมินตามสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การระบุประเด็นปัญหาสำคัญ นอกจากนี้การปฏิบัติตามแนวทางการประเมิน และการรายงานตามรูปแบบในคู่มือปฏิบัติเล่มนี้ยัง สามารถนำมาใช้เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างสถานที่คุมขังได้ด้วย การดูแลสุขภาพในสถานที่คุมขัง-คู่มือปฏิบัติ