บล็อค

การเดินทางของจดหมาย การรอคอย และความหวังของแม่

การเดินทางของจดหมาย การรอคอย และความหวังของแม่

, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / บล็อค

อำคา เพ็ชรรัทธี กำลังห่อขนมเตรียมไว้เพื่อนำไปขายตลาด ขณะที่ทีมเหล่ากาชาดจังหวัดปราจีนบุรีเดินทางนำจดหมายของสมประสงค์ บุตรชายซึ่งถูกกุมขังอยู่ที่เรือนจำในประเทศกัมพูชามาส่งให้ถึงครอบครัวที่ประเทศไทย “ลูกไม่รู้ว่าจะได้รับการปล่อยตัวเมื่อไหร่ เสียใจที่ทำให้แม่ต้องลำบาก  แต่ขอให้แม่รอ เพราะลูกชายคนนี้รู้ว่าแม่รักลูก” นี่คือข้อความหลักที่ลูกชายวัย 39 ปี ต้องการส่งไปถึงผู้เป็นแม่ วัย 66 ...
โครงการให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากการสู้รบของไอซีอาร์ซีประเทศไทย

โครงการให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากการสู้รบของไอซีอาร์ซีประเทศไทย

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) ดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บจากการสู้รบตามแนวชายแดนไทย-เมียนมาร์ มาตั้งแต่ปี 2545 โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา สถานะ หรือข้อจำกัดใด ๆ ตามกรอบภารกิจของเราในฐานะองค์กรไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด มีความเป็นกลางและอิสระในการปฏิบัติงาน   คุณหนึ่งฤทัย แปลงลักขณา เจ้าหน้าที่ภาคสนามของไอซีอาร์ซี สำนักงานเชียงใหม่ ให้รายละเอียดว่า ผู้บาดเจ็บที่สามารถรับความช่วยเหลือภายใต้โครงการดังกล่าว คือผู้ได้รับบาดเจ็บจากกับระเบิด การถูกยิง และผู้บาดเจ็บอื่น ๆ ...
เหรียญอังรี ดูนังต์แด่อัลเบอร์โต ไคโร สำหรับการอุทิศตัวช่วยเหลือผู้ทุพพลภาพในอัฟกานิสถาน

เหรียญอังรี ดูนังต์แด่อัลเบอร์โต ไคโร สำหรับการอุทิศตัวช่วยเหลือผู้ทุพพลภาพในอัฟกานิสถาน

, บทความ / บล็อค

อัลเบอร์โต ไคโร ผู้อำนวยการโครงการฟื้นฟูทางกายภาพ ภายใต้ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ในอัฟกานิสถาน ในวันนี้ เขาได้รับเหรียญอังรี ดูนังต์ อันเป็นรางวัลอันสูงสุดจากกลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ซึ่งให้การยอมรับความมุ่งมั่นทำงานเพื่อมนุษยธรรม รางวัลนี้ได้มอบให้เพื่อเป็นเกียรติประวัติสำหรับโครงการที่อัลเบอร์โต ไคโรได้สร้างขึ้นจากความอุตสาหะ ซึ่งไม่เพียงแต่ที่จะตอบสนองต่อความจำเป็นทางกายภาพแก่ผู้คนที่อยู่ในสภาวะทุพพลภาพ แต่ยังเป็นการส่งเสริมโอกาสอันเท่าเทียมสำหรับผู้เคราะห์ร้ายเหล่านั้นที่จะได้ดำรงชีวิตอยู่ต่อไปอย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรีอีกด้วย คุณไคโร นั้นเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ ICRC เพียงไม่กี่คนที่ได้รับเกียรตินี้  ซึ่งรางวัลนี้ได้มอบให้คุณไคโร สำหรับการอุทิศตนกว่า 22 ...
ICRC เปิดสำนักงานในนครหลวงเวียงจันทน์อย่างเป็นทางการ

ICRC เปิดสำนักงานในนครหลวงเวียงจันทน์อย่างเป็นทางการ

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) เปิดสำนักงานในเวียงจันทน์เมืองหลวงของลาวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2013 ICRC ตั้งเป้าที่จะสนับสนุนงานด้านซากวัตถุระเบิดตกค้าง (UXO) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานสนับสนุน UXO Lao รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจากซากวัตถุระเบิดตกค้าง  สำหรับเป้าหมายอีกด้านหนึ่งของ ICRC คือการร่วมทำงานกับทางการลาวเพื่อที่จะช่วยปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ในที่คุมขังให้ดียิ่งขึ้น “ICRC นั้นไม่ได้เป็นของใหม่สำหรับประเทศลาวเลย” หัวหน้าสำนักงานประจำเวียงจันทน์ คุณแพทริก วิไลเล็ก กล่าว “เราได้เข้ามาจัดตั้งสำนักงานภายในลาวตั้งแต่ยุค ...
ฟิลิปปินส์-ความเสียหายอันรุนแรงสร้างความยากลำบากให้กับปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยไต้ฝุ่น

ฟิลิปปินส์-ความเสียหายอันรุนแรงสร้างความยากลำบากให้กับปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยไต้ฝุ่น

, บทความ / บล็อค

ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 ด้วยเวลาภายในไม่กี่ชั่วโมง ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน (Typhoon Haiyan) ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ ได้กวาดทำลายบริเวณด้านตะวันออกของ วิซายา ในตอนกลางของฟิลิปปินส์  คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ได้ประสานความร่วมมือกับกาชาดฟิลิปปินส์ สหพันธ์กาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ และ กลุ่มองค์กรกาชาดฯ จากหลายประเทศเพื่อภารกิจในการกู้ภัย ICRC ซึ่งมีสำนักงานย่อยและเจ้าหน้าที่อยู่ในพื้นที่ของเมือง ทาโคลบันกำลังมุ่งการปฎิบัติการช่วยเหลือฉุกเฉินในจังหวัดซามาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ ...
วีดีโอเกม และกฎเกณฑ์แห่งสงคราม

วีดีโอเกม และกฎเกณฑ์แห่งสงคราม

, บทความ / บล็อค

สงครามบรรจุกล่องเพื่อความบันเทิงนั้นดึงดูดผู้คนทั่วโลกทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้ต่างต้องพากันหลงใหลและติดใจ   สำหรับทางการทหารแล้ว วีดีโอเกมแนวสู้รบจากมุมมองบุคคลที่หนึ่งหรือที่รู้จักกัน ในนาม FPS (first-person shooter) นี้นับเป็นอุปกรณ์ที่ดียิ่งสำหรับนำมาใช้ในการฝึกฝน   ในการนี้ ICRC ได้เริ่มทำงานร่วมกับบริษัทผู้พัฒนาวีดีโอเกม เพื่อทำให้บรรดาผู้เล่นเกมเหล่านั้นได้พบกับภาวะปัญหาการตัดสินใจที่เหล่าทหารในชีวิตจริงต้องเผชิญ ICRC มีความวิตกกังวลว่าฉากบางฉากในเกมนั้นอาจจะทำให้เกิดพฤติกรรมความชาชินต่อการละเมิดกฎเกณฑ์แห่งการทำสงคราม ซึ่งเกรงว่าท้ายที่สุดการกระทำผิดกฎเหล่านี้ เช่นการทรมาน การจงใจโจมตีใส่พลเรือน การฆ่าเชลยสงครามหรือผู้บาดเจ็บ การโจมตีใส่ยานพาหนะ เช่น รถพยาบาล หรือสิ่งปลูกสร้างและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ จะถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ยอมรับได้ ...
สัมมนาว่าด้วยการสืบค้นติดตามญาติ (RFL)

สัมมนาว่าด้วยการสืบค้นติดตามญาติ (RFL)

, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / บล็อค

ICRC สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ได้จัดสัมมนาเชิงปฎิบัติการ เรื่อง การสืบค้นติดตามญาติ (Restoring Family Links – RFL) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาจากสภากาชาดจากห้าประเทศคือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์  ไทย ...
จดหมายกาชาด การเดินทางส่งข่าวแก่ครอบครัวผู้พลัดพราก

จดหมายกาชาด การเดินทางส่งข่าวแก่ครอบครัวผู้พลัดพราก

, บทความ / บล็อค

  ในหมู่บ้านชนบทอันห่างไกลของประเทศบุรุนดี ยังมีบรรดาผู้คนที่รอคอยฟังข่าวของสมาชิกในครอบครัวผู้ต้องพลัดพรากจากกันไปคนละทาง แม้ว่าจะอยุ่ห่างไกลสักเพียงใด ฌอง-พอล มเบนเซ อาสาสมัครกาชาดจากประเทศบุรุนดี ก็จะเดินทางนำจดหมายกาชาดจากผู้พลัดพรากไปส่งให้ถึงมือของญาติๆที่รอคอยข่าวสารอยู่อย่างใจจดใจจ่อ วันนี้เราจะมาดูเรื่องราวของการส่งข่าวประสานการติดต่อระหว่างสมาชิกครอบครัว ผ่านการถ่ายทอดของฌอง-พอล มเบนเซ ผู้เดินทางไปพร้อมกับจดหมายกาชาดและจักรยานคู่ใจของเขา  
อนุสัญญาเจนีวา 1949

อนุสัญญาเจนีวา 1949

, บทความ / บล็อค

อนุสัญญาเจนีวาเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีสาระสำคัญในเรื่องกฎเกณฑ์ที่จำกัดวิธีการอันทารุณในการทำสงคราม  อนุสัญญานี้จะปกป้องคุ้มครองเหล่าผู้ที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสู้รบ (เช่น พลเรือน, บุคลากรทางการแพทย์ และ กลุ่มผู้ทำงานเพื่อการช่วยเหลือต่าง ๆ)  ซึ่งรวมทั้งผู้ที่ไม่สามารถร่วมการสู้รบได้อีกต่อไป (เช่น ทหารผู้บาดเจ็บ  เจ็บป่วย  ทหารเรืออัปปาง และ เชลยสงคราม) อนุสัญญาเจนีวานี้เป็นแกนสำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ อันเป็นตัวบทกฎหมายระหว่างประเทศที่จำกัดวิธีการทำสงครามและการสู้รบ รวมทั้งยังมุ่งจำกัดผลกระทบของความขัดแย้งทางอาวุธอีกด้วย ดังที่ได้กล่าวมา อนุสัญญาทั้งสี่ฉบับนี้จะคุ้มครองผู้ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการทำสงคราม และผู้ที่ไม่สามารถร่วมในการสู้รบได้อีกต่อไป  ตัวอนุสัญญาและ พิธีสารฉบับต่าง ...
จากเหยื่อภัยสงคราม สู่หัวใจที่ไม่ทุพพลภาพ

จากเหยื่อภัยสงคราม สู่หัวใจที่ไม่ทุพพลภาพ

, บทความ / บล็อค

คุณ เนอร์มา กอช  (Nirma Ghosh) หัวหน้าสำนักข่าวเสตรทส์ ไทมส์ ประจำพนมเปญเพิ่งกลับจากการเข้าเยี่ยมศูนย์ฟื้นฟูกายภาพของ ICRC ที่ กัมปงสเปอ ประเทศกัมพูชา พร้อมกับเรื่องราวของเหล่าผู้ประสบผลกระทบจากภัยสงคราม ชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นได้ฟื้นคืนความหวังกลับมาอีกครั้ง การบาดเจ็บ และระบบบริการทางการแพทย์ที่เสียหายอย่างสิ้นเชิงจากภัยสงครามนั้น ทำให้สุภาพสตรีเหล่านี้ ต้องสูญเสียอวัยวะ และทุพพลภาพ  แม้กระนั้นก็ตามพวกเธอก็ไม่ได้อยู่ในสภาพของเหยื่อภัยสงครามอีกต่อไป ทั้งยังมีความหวังในชีวิตใหม่ที่ศูนย์ฟื้นฟูกายภาพแห่งนี้   ดิดิเยร์ คูร์มัน ...