บล็อค

การประชุมกลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยวงวงเดือนแดงว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานเรียกร้องให้หยุดตีตราผู้ย้ายถิ่นว่า “ผิดกฎหมาย”

การประชุมกลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยวงวงเดือนแดงว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานเรียกร้องให้หยุดตีตราผู้ย้ายถิ่นว่า “ผิดกฎหมาย”

, บทความ / บล็อค

กลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงของกลุ่มประเทศเมดิเตอร์เรเนียนพบกันที่เมืองซานมาริโนในการประชุมประจำปีว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งจัดขึ้นโดยสภากาชาด แห่งสาธารณรัฐซานมาริโน ศูนย์ความร่วมมือในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สหพันธ์สภากาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (ไอเอฟอาร์ซี) และ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) การประชุมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประสานงานและเสริมสร้างศักยภาพการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่จำเป็นเร่งด่วนแก่ผู้ย้ายถิ่นฐานทั้งในประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่าน และประเทศปลายทาง “มนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หลบหนีภัยความขัดแย้งและความไม่ปลอดภัย ควรได้รับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อันได้แก่ สิทธิได้รับความคุ้มครอง การรักษาพยาบาล การศึกษา และ บริการทางสังคม อย่างไม่มีข้อจำกัดตลอดการเดินทาง” นาย ...
ท่ามกลางวิกฤตแผ่นดินไหวเนปาล

ท่ามกลางวิกฤตแผ่นดินไหวเนปาล

, บทความ / บล็อค

สิ่งหนึ่งที่เราทุกคนในเนปาลกำลังพยายามทำนับตั้งแต่วันที่ 25 เมษายนเป็นต้นมาก็คือ การใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความไม่แน่นอน อาฟเตอร์ช็อคหลายร้อยครั้งที่เกิดขึ้นหลังเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขนาด 7.8 ริคเตอร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 25 เมษายนเริ่มลดความรุนแรงลงอย่างต่อเนื่อง ฉันไม่รู้สึกตื่นตกใจอีกแล้วเวลาที่เกิดแรงสั่นสะเทือนระลอกใหม่ยิ่งเวลาที่หมกมุ่นอยู่กับงานตรงหน้าก็ยิ่งแทบจะไม่รู้สึกเลยหากเป็นแรงสั่นสะเทือนเล็กน้อยฉันกำลังนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี ตอนที่พื้นดินเริ่มสั่นสะเทือนขึ้นมาอีกครั้ง ฉันรีบวิ่งไปยังประตูที่อยู่ใกล้ที่สุดซึ่งมีคนเคยบอกว่าตรงนี้เป็นจุดที่ปลอดภัย เพื่อนร่วมงานคนอื่นๆก็วิ่งตรงมาที่จุดนี้เช่นเดียวกัน พวกเรารวมตัวกันอยู่ที่นั่นซึ่งต่างคนต่างก็รู้สึกว่ามันช่างเป็นช่วงเวลาที่ยาวนาน ขณะที่ตัวอาคารเริ่มสั่นสะเทือน พื้นห้องส่งเสียงเอี๊ยดอ๊าด ที่แย่ที่สุดก็คือ แรงสั่นสะเทือนทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เมื่อเราออกมาด้านนอกตัวอาคาร คำถามต่างๆก็เริ่มถาโถมเข้ามา-ทุกคนอยู่ที่นี่หรือเปล่า ...
ประธานไอซีอาร์ซีออกแถลงการณ์ถึงโศกนาฏกรรมในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ประธานไอซีอาร์ซีออกแถลงการณ์ถึงโศกนาฏกรรมในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

, บทความ / บล็อค

สืบเนื่องจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเรือที่ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยจำนวนกว่าหลายร้อยคนโดยสารมาได้พลิกคว่ำ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการประเมินอาจมีจำนวนมากถึงแปดร้อยราย ยังผลให้เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในการนี้ คุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานไอซีอาร์ซีได้ออกแถลงการณ์ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ผมรู้สึกตระหนกและเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสูญเสียของหลายร้อยชีวิตในเหตุการณ์อันน่าสลดใจยิ่งที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน การเสียชีวิตของผู้คนเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น ชาย หญิง และ เด็ก ๆ นั้นเป็นเครื่องเตือนใจที่น่าเศร้าต่อผลกระทบของสงครามที่กำลังทวีความรุนแรงทั้งใน ลิเบีย ซีเรีย และ ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ...
ความทรงจำ 10 ปี รำลึกสึนามิ

ความทรงจำ 10 ปี รำลึกสึนามิ

, บทความ / บล็อค

  สิบปีผ่านไปแล้วสำหรับเหตุการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติอันรุนแรงเป็นประวัติการณ์ที่ได้พรากชีวิตผู้คนกว่า 250,000 ชีวิต จาก 14 ประเทศ สิบปีที่แล้วคลื่นยักษ์สึนามิได้พัดโถมแผ่นดินรอบ ๆ มหาสมุทรอินเดีย  อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ประสบภัยร้ายแรงที่สุด ตามมาด้วย ศรีลังกา อินเดีย และ ไทย   ในปีแห่งภัยพิบัตินั้น คุณมาร์คุส โดวเดอร์ ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานไอซีอาร์ซีประจำอินโดนีเซีย  ซึ่งนั่นก็แปลว่าคุณมาร์คุส เป็นหนึ่งในคนแรก ๆ ...
เด็กๆท่ามกลางภาวะสงคราม

เด็กๆท่ามกลางภาวะสงคราม

, บทความ / บล็อค

แม้ว่าโดยธรรมชาติแล้วบรรดาเด็ก ๆ จะมีความเข้มแข็งและความสามารถในการปรับตัวเพียงใดก็ตาม ในภาวะแห่งสงคราม เด็ก ๆ นั้นมักจะตกเป็นเหยื่อ และเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อภัยหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การได้รับบาดเจ็บ การถูกทารุณกรรม การถูกลักพาตัว ถูกบังคับให้เป็นทหาร หรือแม้กระทั่งถูกข่มขืนหรือถูกสังหาร  นอกจากนี้ เด็ก ๆ ในภาวะสงครามยังต้องตกอยู่ในภาวะขาดอาหาร น้ำ และที่พักอาศัย รวมทั้งต้องพลัดพรากจากครอบครัว และกลายเป็นเด็กกำพร้า การให้ความคุ้มครอง ...
ไอซีอาร์ซีในประเทศไทย

ไอซีอาร์ซีในประเทศไทย

, บทความ / บล็อค

ไอซีอาร์ซีมาเริ่มงานครั้งแรก ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ในช่วงเหตุการณ์เขมรแตก ซึ่งในขณะนั้นสำนักงานของเราในภูมิภาคนี้ตั้งอยู่ในกรุงพนมเปญ  ด้วยภาวะสงครามอันรุนแรงพนักงานไอซีอาร์ซีจำต้องอพยพเดินทางข้ามมาทางชายแดนไทย ก่อนที่จะเข้ามาตั้งสำนักงานถาวรในกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2522 ณ ซอยร่วมฤดี และในปีถัดมา เมื่อ พ.ศ. 2523 เราก็ตั้งสำนักงานขึ้นอีกแห่งที่ สุขุมวิท ซอย 4 (ซอยนานา) โดยสำนักงานที่นานาในยุคนั้น ...
สัมมนา IHL และอาวุธสมัยใหม่

สัมมนา IHL และอาวุธสมัยใหม่

, บทความ / บล็อค

ไอซีอาร์ซีสำนักงานภูมิภาคประจำกรุงเทพฯ จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “อาวุธและผู้มีส่วนร่วมในการขัดกันด้วยอาวุธตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ” เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2557   โดยมีนายทหารจากกรมพระธรรมนูญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในยามสงครามจากทั้งสามเหล่าทัพเข้าร่วมงานสัมมนา โดยมีคุณเบอาต ชไวเซอร์ผู้อำนวยการสำนักงานไอซีอาร์ซีฯ พร้อมด้วยตัวแทนจากกรมพระธรรมนูญเข้าร่วมเป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน โดยงานนี้มุ่งเน้นการทบทวนและเสริมสร้างความเข้าใจในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และกฎเกณฑ์แห่งสงคราม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้หารือถึงปัญหา และความท้าทายใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในบริบทความขัดแย้งทางอาวุธในยุคปัจจุบัน ซึ่งเรามักจะเห็นการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น อากาศยานไร้คนขับ หรือ ที่เราเรียกกันว่า ...
ยี่สิบปีที่รอคอย…กลับคืนสู่บ้านเกิด

ยี่สิบปีที่รอคอย…กลับคืนสู่บ้านเกิด

, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / บล็อค

วันหนึ่งท่ามกลางความร้อนระอุของเดือนเมษายน เสียงโทรศัพท์ดังขึ้นในสำนักงานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ที่กรุงพนมเปญ เสียงจากปลายสายที่มาจากสำนักข้าหลวงด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNOHCHR) แจ้งว่ามีผู้ต้องขังชาวเวียดนามคนหนึ่งในเรือนจำเปรซอเพิ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษเนื่องในวโรกาสวันพระราชสมภพของพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี และกำลังจะได้รับการปล่อยตัวในอีกไม่กี่วันข้างหน้า แต่ด้วยสภาพทางร่างกายของ เหงียน วัน ตัน ชายวัย 54 ...
การช่วยเหลือและฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

การช่วยเหลือและฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

, บทความ / บล็อค

กว่าเก้าปีแล้วที่ความรุนแรงได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ผู้คนนับพันต้องเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากความรุนแรง    ICRC ได้ยื่นมือเข้าช่วยฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่ของบรรดาครอบครัวที่ได้รับผลกระทบเพื่อบรรเทาปัญหาจากสถานการณ์อันยากลำบากนี้ ฮารีนา เป็นคุณแม่ที่ยังสาวของสาวน้อยอายุสี่ขวบที่ชื่อว่า นูร์   นูร์นั้นมีอายุเพียงสองเดือนเมื่อตอนที่พ่อของเธอถูกส่งเข้าเรือนจำทำให้แม่ของเธอต้องกลายมาเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว  “ฉันไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ทั้งลูกก็ยังเล็ก ทั้งไม่มีเงิน และสามีของฉันก็ต้องติดคุก” ฮารีนากล่าวพร้อมทั้งพยายามกลั้นน้ำตาภายใต้ผ้าคลุมหน้าในขณะที่เธอนึกถึงชีวิตของเธอในช่วงนั้น “ฉันไม่เคยทำงานมาก่อนเลย” หลาย ๆ ครอบครัวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีเรื่องราวอันเศร้าโศกอันเนื่องมาจากผลกระทบจากความรุนแรง   ฟารีดาผู้เป็นหญิงสาวอีกคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ยังคงจำได้ถึงวันที่เธอเดินผ่านร้านน้ำชาแห่งหนึ่งในขณะที่ชายสี่คนเข้าประกบด้านข้างเธอก่อนที่จะเปิดฉากยิง  ชีวิตของเธอเปลี่ยนไปโดยไม่ทันได้ตั้งตัว  “ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก ทั้งระเบิด ผู้คนกรีดร้องและวิ่งหนี ...
ผ้าพันคอแห่งความหวังในนครเจนีวา

ผ้าพันคอแห่งความหวังในนครเจนีวา

, บทความ / บล็อค

  ลา ชาลินา เดอ ลา เอสเปอรานซ่า (La Chalina de la Esperanza) คือผืนผ้าไหมพรมความยาว 1 กิโลเมตรที่ถูกทอขึ้นโดยครอบครัวของผู้สูญหายในเปรู นี่คือวิถีแห่งการรำลึกถึงและการอุทิศแด่สมาชิกในครอบครัวที่สูญหาย บางครอบครัวไม่ได้รับรู้ข่าวคราวจากญาติพี่น้องมาเป็นเวลานานกว่า 30 ปี จุดประสงค์ของการถักทอผืนผ้าไหมพรมนี้ก็เพื่อส่งสารไปยังสาธารณชนให้ได้รับรู้เรื่องราวอันยากลำบากที่ครอบครัวชาวเปรูมากมายได้เผชิญอยู่ เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันแห่งผู้สูญหายสากล ปี ค.ศ.2014 ผืนผ้าไหมพรมนี้จัดแสดงอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของไอซีอาร์ซีที่นครเจนีวา ...