กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

“ศาสนาในประเทศอินเดีย” Podcast เพื่อสำรวจความเชื่อโบราณกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

“ศาสนาในประเทศอินเดีย” Podcast เพื่อสำรวจความเชื่อโบราณกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

, บทความ

เป็นเวลากว่าพันปีที่ประเพณีฮินดูและความเชื่ออื่นๆ ในอินเดีย ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดกับข้อปฏิบัติตามหลักจริยธรรมในการทำสงคราม ภาพสะท้อนความเชื่อเหล่านี้ มีให้เห็นอย่างเด่นชัดผ่านมหากาพย์ต่างๆ ทั้งมหาภารตะและรามายณะ ICRC มุ่งมั่นในการทำความเข้าใจหลักธรรมทางศาสนาเพื่อมองหาจุดร่วมและแตกต่างระหว่างความเชื่อโบราณกับหลักการกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ โดยใน Podcast ตอนล่าสุด เราได้เชิญอาจารย์ราจ บัลคานัน (Raj Balkaran) นักวิชาการด้านตำราเรื่องเล่าภาษาสันสกฤต จาก Oxford Center for Hindu Studies อาจารย์วอลเตอร์ ...
การปิดล้อมเมืองเกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อไหร่? ว่าด้วยประวัติศาสตร์สงครามและการทำลายเมือง

การปิดล้อมเมืองเกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อไหร่? ว่าด้วยประวัติศาสตร์สงครามและการทำลายเมือง

, บทความ / บล็อค

เชื่อกันว่าเมืองที่เก่าที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติคือซาตาล ฮูยุค (Çatal Hüyük) เมืองโบราณมีอายุย้อนกลับไปราว 8,000 – 9,000 ปี ตั้งอยู่ในพื้นที่ของประเทศตุรกีในปัจจุบัน และคงไม่ใช่เรื่องเกินคาดหากเราจะบอกว่า บันทึกที่เป็นรายลักษณ์อักษรครั้งแรกเกี่ยวกับการโจมตีปิดล้อมเมืองก็ถูกค้นพบในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เราอาจเคยได้ยินเรื่องสงครามกรุงทรอย มหากาพย์โบราณของโฮเมอร์ที่จบลงด้วยการล่มสลายของเมือง แต่เชื่อหรือไม่ว่าบันทึกเกี่ยวกับสงครามยึดเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลกมีอายุเก่ายิ่งกว่า คาดกันว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วง 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช (หรือราว 3,500 ปีที่แล้ว) โดยเป็นการปิดล้อมเมืองเมกิดโด (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิสราเอล) ...
การรับมือกับ COVID-19 ในเขตการสู้รบ ขึ้นอยู่กับการเคารพกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

การรับมือกับ COVID-19 ในเขตการสู้รบ ขึ้นอยู่กับการเคารพกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

, บทความ / บล็อค

ในการร่วมกันรับมือของเราต่อสถานการณ์ COVID-19 ในเขตการสู้รบนั้น การปฏิบัติตามบทบัญญัติสำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ คือสิ่งสำคัญจำเป็น เพื่อให้ความต้องการของชุมชน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และหน่วยงานรัฐ ในห้วงเวลาอันยากลำบากเป็นประวัติการณ์นี้ ได้รับการสนองตอบอย่างเพียงพอและเหมาะสม เราทุกคนต่างกำลังเผชิญกับสถานการณ์วิกฤตร่วมกันทั่วโลก และ COVID-19 ไม่ได้สนใจเรื่องพรมแดนระหว่างประเทศหรือคำนึงถึงผู้มีอำนาจหรือความมั่งคั่ง แต่กระนั้น แม้ไวรัสจะเดินทางไปแพร่เชื้อให้ทุกคนในทุกหนแห่งโดยไม่เลือกหน้า แต่ผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของไวรัสชนิดนี้กลับไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน พลเรือนที่ติดอยู่ท่ามกลางการสู้รบ ไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก รวมทั้งผู้พลัดถิ่นจากสถานการณ์ความรุนแรงและผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศที่ จากการสู้รบ ...
ถาม-ตอบ เรื่องการปกป้องทรัพย์สินทางวัฒนธรรม

ถาม-ตอบ เรื่องการปกป้องทรัพย์สินทางวัฒนธรรม

, บทความ / บล็อค

ทำไมการทำลายทรัพย์สินทางวัฒนธรรมในระหว่างความขัดแย้งจึงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง ผลกระทบของสงครามและความขัดแย้งเกิดขึ้นได้ไกลเกินกว่าโศกนาฏกรรมแบบที่เราคุ้นเคย ความเสียหายกินความหมายถึงสิ่งต่างๆ ทั้ง พิพิธภัณฑ์ อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์หรือแหล่งโบราณคดี – เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์และความทรงจำของผู้คนในท้องที่  การโจมตีทรัพย์สินทางวัฒนธรรมเป็นมากกว่าการทำลายอิฐ ไม้ หรือ ปูน แต่เป็นการทำลายศักดิ์ศรีและอนาคตของประชากรทั้งหมด ในปี 2016 ICRC สอบถามประชากร 17,000 คน จาก 16 ประเทศ กว่า ...
ภัยดิจิตอลต่อประชากรในสถานการณ์สงคราม: ช่องว่างห้าประการที่องค์กรทางด้านมนุษยธรรมควรให้ความสำคัญ

ภัยดิจิตอลต่อประชากรในสถานการณ์สงคราม: ช่องว่างห้าประการที่องค์กรทางด้านมนุษยธรรมควรให้ความสำคัญ

, บทความ / บล็อค

ปฏิวัติดิจิตอลได้พลิกโฉมชีวิตของผู้คนทั่วโลก ตั้งแต่พลเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้วที่สามารถเชื่อมต่อถึงกันด้วยอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จนกระทั่งผู้คนที่อาศัยในประเทศที่มีพัฒนาการน้อยกว่า ในสภาพแวดล้อมดิจิตอลที่เทคโนโลยียังไม่ทันสมัย หรือในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามและความรุนแรง องค์กรทางด้านมนุษยธรรมที่ทำงานในบริบทเหล่านี้จึงต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิตอล และนับวันยิ่งต้องพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิตอลดังกล่าวมากขึ้น แน่นอนว่าการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อย่างในกรณีของความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประชากรกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เชื่อมโยงกัน (วัตถุประสงค์ ความสามารถในการอ่านเขียน การสนับสนุนเงินทุน เป็นต้น) บล็อกนี้จะแสดงให้เห็นถึงช่องว่างห้าประการที่สำคัญที่องค์กรทางด้านมนุษยธรรมควรให้ความสำคัญ เกี่ยวกับภัยดิจิตอลต่อประชากรในสถานการณ์สงคราม ภายใต้สภาพแวดล้อมของความรุนแรงและความไม่มีเสถียรภาพ เทคโนโลยีทางดิจิตอลสามารถนำมาใช้สนับสนุนกิจกรรมด้านมนุษยธรรม อาทิ ใช้การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงการรับมือกับสถานการณ์ หรืออำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารสองทางระหว่างเจ้าหน้าที่ด้านมนุษยธรรมกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ในปัจจุบันผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้นำเครื่องมือและวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ในการติดตามสถานการณ์และเข้าถึงข้อมูลที่ต้องใช้สำหรับการตัดสินใจ เพื่อยกระดับการคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชากรที่ได้รับผลกระทบ ...
เหตุผล 5 ประการ ที่ทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับของ ICRC ไม่สมควรนำไปใช้ในกระบวนการดำเนินคดี

เหตุผล 5 ประการ ที่ทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับของ ICRC ไม่สมควรนำไปใช้ในกระบวนการดำเนินคดี

, บทความ / บล็อค

ภาระกิจของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross: ICRC) โดยลักษณะแล้ว อาจเป็นเพียงองค์กรมนุษยธรรมเพียงองค์กรเดียวที่สามารถเข้าถึงพื้นที่และบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากสงครามและสถานการณ์ความรุนแรงต่าง ๆ ข้อมูลที่ ICRC ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งรวมไปถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายที่ได้รับการร้องเรียน ถูกร้องขอใช้ข้อมูลดังกล่าวในกระบวนการดำเนินคดี ถึงแม้ว่าอาณัติของ ICRC กำหนดให้มีการส่งเสริมความพยายามในการเอาผิดกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ แต่ ICRC ยังคงต้องดำเนินหน้าที่ดังกล่าวควบคู่ไปกับการรักษาและดำเนินบทบาทในการประกันให้มีการเคารพกฎหมาย ผ่านการเจรจาหารือในระดับทวิภาคีที่เป็นไปโดยลับ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ...
เผยปัญหาความรุนแรงทางเพศในยามสงคราม: รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี ค.ศ. 2018

เผยปัญหาความรุนแรงทางเพศในยามสงคราม: รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี ค.ศ. 2018

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการรางวัลโนเบลประกาศมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี ค.ศ. 2018 ให้แก่ นาเดีย มูราด (Nadia Murad) และ เดนิส มูเควเก นักรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงทางเพศในยามสงคราม ข่าวนี้สร้างความหวังให้กับพลเรือน โดยเฉพาะในกลุ่มสตรี ที่เคยเผชิญกับประสบการณ์เลวร้ายในยามสงคราม เฮเลน เดอแฮม ผู้อำนวยการฝ่ายกฏหมายและนโยบายระหว่างประเทศของ ICRC แสดงความยินดีกับผู้รับรางวัลทั้งสอง และยกย่องการตัดสินใจของคณะกรรมการที่ดึงความสนใจมาสู่อาชญากรรมที่เกิดขึ้นในยามสงครามซึ่งมักจะไม่ถูกหยิบยกมาพูดถึง และเฮเลนยังได้กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้ที่เคยประสบกับความรุนแรงทางเพศในสถานการณ์ความขัดแย้งรวมถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ความรับผิดต่อการกระทำความรุนแรงทางเพศในยามสงคราม: ...
Lost on the road: ชีวิตที่หายไปของผู้อพยพในทวีปอเมริกา

Lost on the road: ชีวิตที่หายไปของผู้อพยพในทวีปอเมริกา

, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

500,000 คือจำนานผู้อพยพที่เดินทางจากประเทศต่างๆ มายังแม็กซิโกเพื่อชีวิตที่ดีกว่า แต่ไม่มีใครรู้ว่า ท่ามกลางผู้คนมากมาย มีใครบ้างที่ไปถึงหรือไม่ถึงจุดหมายที่ตั้งใจ… เพื่อติดตามสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง Kathryn Cook-Pellegrin ช่างภาพของ ICRC เริ่มโปรเจคพิเศษที่จะนำเรื่องราวจากท้องถนน มาให้คนทางบ้านได้อย่างเราๆ ได้เข้าใจ ทุกวันนี้มีบุคคลพลัดถิ่นจากเหตุความไม่สงบในพิ้นที่ต่างๆ ...
การทำลายมรดกทางวัฒนธรรมคือการทำลายความเป็นมนุษย์

การทำลายมรดกทางวัฒนธรรมคือการทำลายความเป็นมนุษย์

, บทความ / บล็อค

  อนุสาวรีย์, งานศิลปะ, และแหล่งโบราณคดีต่างๆ ถูกเรียกรวมกันว่า `มรดกทางวัฒนธรรม’ การโจมตีสิ่งเหล่านี้เป็นมากกว่าการสร้างความเสียหายให้อิฐ ไม้ หรือโครงสร้างอาคาร แต่เป็นการทำลายความทรงจำ วัฒนธรรม และความภาคภูมิใจของมนุษยชาติ การจงใจทำลายมรดกทางวัฒนธรรมเข้าข่ายการก่ออาชญากรรมสงครามเป็นการโจมตีมนุษยชาติโดยรวม มาฟังความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ขัดแย้ง เมื่อความทรงจำ ประวัติศาสตร์ และความเชื่อของพวกเขา ถูกทำลายจากเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศ เพื่อปกป้องอนาคตจีงต้องปกป้องอดีต การโจมตีวัตถุทางวัฒนธรรม คือการโจตีอัตลักษณ์ ความทรงจำ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ...
เมื่อฉันเผยแพร่ประสบการณ์ศาลจำลองและ IHL ในนาม ICRC

เมื่อฉันเผยแพร่ประสบการณ์ศาลจำลองและ IHL ในนาม ICRC

, บทความ / บล็อค
ณัฏฐธิดา ทวีเจริญ

“ในการแข่งขันศาลจำลองสำคัญคือต้องมีสติและใจต้องนิ่งให้ได้มากที่สุดเวลาแถลงวาจา” นั่นคือคำแนะนำที่ณัฎฐธิดา ทวีเจริญ อดีตนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ฝากให้กับน้องๆนักศึกษากฎหมายรุ่นใหม่ที่สนใจจะเข้าร่วมการแข่งขันศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หรือ International Humanitarian Law (IHL) และในฐานะที่เธอได้เข้ามาเป็นนักศึกษาฝึกงานกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ICRC เธอจึงอยากแบ่งปันประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับทีมกฎหมายของ ICRC ได้เพื่อนๆได้ทราบกันค่ะ การเดินทางไปสปป.ลาวร่วมกับพี่ๆ ที่ทำงานด้านกฎหมายของ ICRC เมื่อวันที่ 11-12 กรกฎาคมที่ผ่านมา ...