กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประะเทศ

เปิดรับสมัครแล้ววันนี้! การแข่งขันว่าความศาลจำลองและบทบาทสมมติในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (รอบภาษาไทย)

เปิดรับสมัครแล้ววันนี้! การแข่งขันว่าความศาลจำลองและบทบาทสมมติในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (รอบภาษาไทย)

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการแข่งขันาความศาลจำลองและบทบาทสมมติในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ รอบภาษาไทย ในวันเสาร์ที่ 13 – อาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน (การแข่งขันบทบาทสมมติ) และ เสาร์ที่ 20 – อาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน (การแข่งขันศาลจำลอง) การแข่งขันในปีนี้จะจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน Zoom เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ...
หมอกลวงตา ข่าวสารลวงคน ว่าด้วยผลกระทบของข่าวปล่อมในพื้นที่สงคราม

หมอกลวงตา ข่าวสารลวงคน ว่าด้วยผลกระทบของข่าวปล่อมในพื้นที่สงคราม

, บทความ / บล็อค

การให้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง การบิดเบือนข้อมูล และการใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชัง (MDH) ได้กลายเป็นลักษณะสำคัญที่แพร่หลายของยุคนี้ที่เรียกว่าเป็นยุค “ข้อมูล” หรือยุค “ดิจิทัล” และในสถานการณ์ความขัดแย้งนั้น “ข่าวปลอม” อาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้คนต้องสูญเสียซึ่งชีวิต บาดเจ็บ จำคุก ถูกเลือกปฏิบัติ หรือพลัดถิ่นฐาน อีกทั้งเป็นสิ่งกระตุ้นไม่เพียงวงจรปัญหาความรุนแรง แต่ยังรวมถึงสถานการณ์ความรุนแรงให้เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะทั้งทางตรงและทางอ้อม นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่หลายแห่ง แม้กระทั่งพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งก็ตาม ก่อนที่เราพูดคุยกันเรื่อง ‘ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร‘ ที่เกิดขึ้นในภาคส่วนงานด้านมนุษยธรรมนั้น ...
บุคลากรทางการแพทย์ตกเป็นเป้าโจมตีมากขึ้นถึงสองเท่าในช่วงโควิด-19

บุคลากรทางการแพทย์ตกเป็นเป้าโจมตีมากขึ้นถึงสองเท่าในช่วงโควิด-19

, บทความ / บล็อค

3,780 ครั้ง คือจำนวนที่ ICRC ได้รับรายงาน เกี่ยวกับการโจมตีบุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่ขัดแย้งตลอด 5 ปีที่ผ่านมา หลังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านมติห้ามโจมตีสถานพยาบาลอย่างเป็นทางการในปี 2016 แม้จะมีมติอย่างเป็นทางการ แต่รายงานที่เราได้รับ เปิดเผยว่าในช่วงเวลา 5 ปีนี้ บุคลากรทางการแพทย์และแม้แต่ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษายังคงถูกคุกคามด้วยความรุนแรงรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกาย การคุกคามทางเพศ การปล้น การพุ่งเป้าโจมตีไปที่สถานพยาบาลหรือรถพยาบาลที่กำลังทำหน้าที่ตามหลักมนุษยธรรม หรือแม้กระทั่งการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้เรื่องวัคซีน หรือความรู้ด้านสุขอนามัยอื่นๆ ...
หนึ่งก้าวอันตราย พูดคุยเรื่องทุ่นระเบิดสังหารและสาเหตุที่ระเบิดจากสงครามในอดีตยังคงคร่าชีวิตบุคคลในปัจจุบัน

หนึ่งก้าวอันตราย พูดคุยเรื่องทุ่นระเบิดสังหารและสาเหตุที่ระเบิดจากสงครามในอดีตยังคงคร่าชีวิตบุคคลในปัจจุบัน

, บทความ / บล็อค

ก้าวแรก ก้าวที่สอง หรือก้าวต่อไปอาจเป็นก้าวสุดท้ายหากคุณใช้ชีวิตในประเทศที่เต็มไปด้วยทุ่นระเบิดสังหารอย่างอัฟกานิสถาน อิรัก ไนจีเรีย หรือแม้แต่บ้านใกล้เรือนเคียงอย่างลาว กัมพูชา และเวียนาม เชื่อหรือไม่ว่าทั้งสามประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ดูภายนอกเหมือนจะสงบสุข ยังมีภัยร้ายจากสงครามเวียดนามซ่อนตัวอยู่ ช่วงสงครามเวียดนาม ประเทศลาวตกเป็นเป้าหมายของการทิ้งระเบิดมากกว่าสองล้านตันในระหว่างปี 1964 ถึง 1973 เทียบเท่ากับการทิ้งระเบิดด้วยเครื่องบินทุกๆ 8 นาที ติดต่อกันเป็นเวลา 9 ปีเต็ม ประเทศกัมพูชายังเผชิญหน้ากับภัยคุกคามจากกับระเบิดแม้สงครามจะจบลงไปนานแล้ว ต้นศตวรรษที่ ...
สงครามและศาสนา – ว่าด้วยกฎหมายมนุษยธรรมกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

สงครามและศาสนา – ว่าด้วยกฎหมายมนุษยธรรมกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

, บทความ / บล็อค

“แม้ในสนามรบเขาจักพิชิตนักรบนับพัน แต่เขาจักเป็นผู้พิชิตสูงส่งหากเขาพิชิตใจตนได้” -พระธรรมบท ข้อ 103 แม้ศาสนาพุทธจะไม่สนับสนุนการมีอยู่ของสงคราม (ไม่มีสงครามใดที่เป็นธรรม) ถึงอย่างนั้นพุทธศาสนาก็ยอมรับความเป็นจริงของการสู้รบและความทุกข์ทรมานที่สงครามก่อให้เกิด พระพุทธเจ้าทรงใช้ชีวิตในยุคที่เต็มไปด้วยสงคราม หลักธรรมหลายอย่างที่ทรงได้แสดงไว้ สะท้อนให้เห็นถึงจิตใจเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ และมุมมองต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องใกล้เคียงกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International humanitarian law – IHL) อันเป็นกฎหมายที่ถูกใช้ในยามสงครามซึ่งถูกเขียนขึ้นหลังสมัยพุทธกาลเป็นเวลากว่าพันปี กฎหมายกับศาสนา ความเหมือนที่แตกต่าง แม้ว่าศาสนาและกฎหมายจะไม่ได้มีข้อกำหนดและบทลงโทษที่ตรงกันทุกประการ หนึ่งในข้อแตกต่างระหว่างกฎหมายกับศาสนา ...
วัคซีน COVID-19 และ IHL: การประกันว่าประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งจะเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเสมอภาค

วัคซีน COVID-19 และ IHL: การประกันว่าประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งจะเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเสมอภาค

, บทความ / บล็อค

ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ต่อสู้เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 กันอย่างหนักหน่วงอยู่นั้น ทั่วโลกก็ให้ความสนใจต่อการพัฒนาคิดค้นวัคซีนไปด้วย และแม้ว่าไวรัสจะส่งผลกระทบต่อทุกประเทศและประชาชนทุกคนโดยไม่แบ่งแยก แต่การควบคุมการแพร่ระบาดในสถานการณ์ที่มีการขัดกันทางอาวุธนั้นถือเป็นความท้าทายที่ไม่เหมือนที่ใด หากเมื่อมีวัคซีนแล้ว เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ทุกคน รวมถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตสงคราม จะเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียมกัน และภาระผูกพันที่มีต่อบุคลากรทางการแพทย์และสถานอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการทางการแพทย์จะเป็นอย่างไรบ้าง ในบทความนี้ อเล็กซานเดอร์ ไบรเท็กเกอร์ ที่ปรึกษากฎหมายของ ICRC จะพาเราวิเคราะห์ถึงกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีนี้ จวบจนถึงตอนนี้ ก็นับเป็นเวลาหลายเดือนแล้วที่นักวิจัยทั่วโลกต่างพยายามอย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยขณะที่ผมเขียนต้นฉบับนี้ ...
การแข่งขันว่าความศาลจำลองเป็นอย่างไรในสถานการณ์โควิด? คุยกับสามตัวแทนประเทศไทยผู้คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งได้เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์

การแข่งขันว่าความศาลจำลองเป็นอย่างไรในสถานการณ์โควิด? คุยกับสามตัวแทนประเทศไทยผู้คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งได้เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์

, บทความ / บล็อค

“โล่ปกป้องผู้คนในยามสงคราม”, “ช่วยเหลือผู้ที่ต้องการในช่วงเวลาที่จำเป็นมากที่สุด”, “กฏขั้นต่ำที่ทำให้รู้ว่าแม้ในยามยากลำบาก มนุษยชาติยังได้รับการปกป้อง” หลากหลายคำจำกัดความที่เราอาจนึกเมื่อพูดถึงกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า IHL) ทุกปี ICRC จัดการแข่งขันว่าความศาลจำลอง เพื่อมองหาตัวแทนประเทศไทยเข้าทำการแข่งขันในระดับเอเชีย-แปซิฟิก กฎหมายที่อาจฟังดูไกลตัว ได้รับการตีความและนำมาถกเถียงกันผ่านมุมมองของคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นตัวแทนนักเรียนกฎหมายจากนานาชาติ ในการแข่งขันประจำปี  2020 ที่เพิ่งผ่านมา แม้จะประสบความยากลำบากจากสถานการณ์โควิด-19 แต่ตัวแทนประเทศไทยก็ทำผลงานได้น่าประทับใจ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ...
จากไฟป่าออสเตรเลียสู่ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่สงคราม

จากไฟป่าออสเตรเลียสู่ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่สงคราม

, บทความ / บล็อค

ความคิดเห็นจาก ลีโอนาร์ด บลาเซบี หัวหน้าสำนักงาน ICRC ประจำออสเตรเลีย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกคือเรื่องไม่เป็นธรรม ความขัดแย้งเป็นสิ่งโหดร้าย หากสองอย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน นั่นหมายถึงหายนะ มันอาจยากที่จะจินตนาการ แต่เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องทำความเข้าใจ ทุกวันนี้มีผู้คนหลายล้าน กำลังได้รับความลำบากจากทั้งสองมหันตภัยในเวลาเดียวกัน ในปี 2020 ออสเตรเลียเพิ่งเผชิญกับเหตุไฟป่าครั้งใหญ่ โลกทั้งใบต้องต่อสู้กับโรคระบาด มันอาจเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องบอกว่า ปัญหาของโลกปัจจุบันเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบและแก้ไข ในตอนที่ออสเตรเลียประสบภัยจากไฟป่า ความเจ็บปวดของคนในชาติได้ส่งเสียงสะท้อนดังไปทั้งโลก มันอาจถึงเวลาแล้วเช่นกัน ...
เชื้อชาติ ความเที่ยงธรรม และมรดกยุคอาณานิคมใหม่: การระบุซึ่งหนทางสู่การดำเนินงานด้านมนุษยธรรมอย่างมีจริยธรรม (Part 3)

เชื้อชาติ ความเที่ยงธรรม และมรดกยุคอาณานิคมใหม่: การระบุซึ่งหนทางสู่การดำเนินงานด้านมนุษยธรรมอย่างมีจริยธรรม (Part 3)

, บทความ / บล็อค

เส้นทางสู่การ ‘ร่วมพลังกับการดำเนินงานด้านมนุษยธรรม‘ เมื่อมีการหยิบยกข้อโต้แย้งขึ้นมาว่า เราจะต้องคำนึงถึงศาสนา เพศ เชื้อชาติ และเครื่องหมายทางสังคมอื่น ๆ ของผู้ได้รับผลกระทบเพื่อให้เราปรับเปลี่ยนการดำเนินการด้านมนุษยธรรมหรือไม่ คำตอบที่พบบ่อยสุดคือ วิธีการดังกล่าวนี้อาจเป็นอุปสรรคต่อหลักการด้านมนุษยธรรม ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพูดถึงเรื่องความไม่ลำเอียง (impartiality) การวิเคราะห์เช่นนี้ได้แยกให้เห็นถึงการไม่แบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัติบนฐานของเชื้อชาติ เพศ และเครื่องหมายทางสังคมอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกันและไม่ควรเหมือนกันอย่างไร ไม่ใช่แค่การมองเห็นเรื่องของ ‘เชื้อชาติ เพศ และเครื่องหมายทางสังคมอื่น ...
เชื้อชาติ ความเที่ยงธรรม และมรดกยุคอาณานิคมใหม่: การระบุซึ่งหนทางสู่การดำเนินงานด้านมนุษยธรรมอย่างมีจริยธรรม (Part 2)

เชื้อชาติ ความเที่ยงธรรม และมรดกยุคอาณานิคมใหม่: การระบุซึ่งหนทางสู่การดำเนินงานด้านมนุษยธรรมอย่างมีจริยธรรม (Part 2)

, บทความ / บล็อค

มรดกยุคอาณานิคมใหม่ – เราฟังเสียงของใคร? ไม่ต้องสงสัยเลยว่า องค์กรด้านมนุษยธรรมนั้นได้ช่วยเหลือชีวิตคนนับล้านด้วยการปฏิบัติหน้าที่แนวหน้าในพื้นที่สุดอันตรายในโลก อย่างไรก็ตาม การดำเนินการด้านมนุษยธรรมบางประการนั้นยังคงฝังรากอยู่ในมรดกยุคอาณานิคมใหม่ ซึ่งหน่วงรั้งความพยายามในการส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าที่แท้จริง ทั้งนี้ ในการสร้างสถาบันที่มีความเที่ยงธรรมและต่อต้าน/ขจัดการเหยียดเชื้อชาติ ภาคหน่วยงานด้านมนุษยธรรมจะต้องยอมรับบทบาทของมรดกยุคอาณานิคมใหม่ที่ยังคงมีบทบาทอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการคุ้มครอง รวมทั้งภายในองค์กรด้านมนุษยธรรมเองด้วย ซึ่งจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้านความเที่ยงธรรมในเชิงระบบมากที่สุด ดังนั้น มรดกยุคอาณานิคมใหม่จึงหมายถึง กฎหมาย นโยบาย และการดำเนินการต่าง ๆ ที่อยู่ในองค์กรด้านมนุษยธรรม ซึ่งบังคับใช้พลวัตของอำนาจอาณานิคมของผู้คนและสถาบันหรือองค์กรจากประเทศโลกที่หนึ่งที่กดขี่และใช้อำนาจเหนือประเทศโลกที่สามอย่างเป็นระบบ ตัวอย่างชัด ๆ ...