คลังข้อมูล 

หยุดการใช้อาวุธระเบิดในเมือง เลี่ยงความทุกข์ยากที่ไม่จำเป็นของประชาชนในพื้นที่สงคราม

หยุดการใช้อาวุธระเบิดในเมือง เลี่ยงความทุกข์ยากที่ไม่จำเป็นของประชาชนในพื้นที่สงคราม

, บทความ / บล็อค

นายอันโตนิโอ กูแตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ และนายปีเตอร์ เมาเรอ ประธาน ICRC ออกแถลงการร่วมกันว่าด้วยการใช้อาวุธระเบิดในพื้นที่อยู่อาศัย เมือง Idlib ของซีเรีย และ เมือง Tripoli ของลิเบีย กำลังเผชิญการทิ้งระเบิด การกราดยิง และการโจมตีอย่างรุนแรงที่กำลังจะเปลี่ยนภาพเมืองที่เคยสดใส ให้กลายเป็นซากปรักหักพังแบบเดียวกับ Mosul, Aleppo, Raqqa, Taiz, ...
การดูแลสุขภาพในสถานที่คุมขัง-คู่มือปฏิบัติ

การดูแลสุขภาพในสถานที่คุมขัง-คู่มือปฏิบัติ

, E-Book

คู่มือปฏิบัติเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยในการประเมิน และบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งมีผลกระทบ ต่อสุขภาพของผู้ถูกคุมขัง การรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จะทำให้สามารถมองเห็นปัญหาหรือความบกพร่อง ในเรือนจำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารในการดูแลสุขภาพของผู้ถูกคุมขังให้เป็นไปตามมาตรฐาน ตามที่กฎหมายกำหนด คู่มือปฏิบัติเล่มนี้นำเสนอรูปแบบการประเมินภาวะสุขภาพ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในสถานที่ คุมขังอย่างมีหลักการ ในประเด็นดังต่อไปนี้ ความหมายเกี่ยวกับสภาพพื้นฐาน – สุขภาพและสภาพความเป็นอยู่ – ของผู้ถูกคุมขังทั้งหมด การประเมินตามสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การระบุประเด็นปัญหาสำคัญ นอกจากนี้การปฏิบัติตามแนวทางการประเมิน และการรายงานตามรูปแบบในคู่มือปฏิบัติเล่มนี้ยัง สามารถนำมาใช้เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างสถานที่คุมขังได้ด้วย การดูแลสุขภาพในสถานที่คุมขัง-คู่มือปฏิบัติ
ศาสนาพุทธกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การประชุมครั้งแรกของโลกที่ศรีลังกา

ศาสนาพุทธกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การประชุมครั้งแรกของโลกที่ศรีลังกา

, บทความ / บล็อค

เมื่อวันที่ 4-6 กันยายนที่ผ่านมา ICRC ร่วมด้วยคณะนักวิชาการพุทธศาสนาและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จัดการประชุมว่าด้วยพุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมในเหตุขัดกันทางอาวุธที่ถ้ำดัมบุลลา ประเทศศรีลังกา โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 120 ท่าน จากวงการวิชาการ วงการกฎหมาย คณะสงฆ์ และบุคลากรในพระพุทธศาสนา มาร่วมกันหารือถึงความเป็นไปได้ในการใช้หลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาลดทอนความรุนแรงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในยามสงคราม งานในครั้งนี้จัดขึ้นที่วัดถ้ำดัมบูลลา (Dambulla Cave Temple) มรดกโลกแหล่งสำคัญในศรีลังกาที่มีอายุกว่า 2,200 ปี และมีความสำคัญทั้งกับพุทธศาสนิกชนนิกายเถรวาท ...
ผู้ลี้ภัยในเลบานอนบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาผ่านเลนส์กล้อง

ผู้ลี้ภัยในเลบานอนบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาผ่านเลนส์กล้อง

, บทความ / บล็อค

ค่ายผู้ลี้ภัยอาจะเป็นโลกทั้งใบของหลายชีวิต เด็กรุ่นใหม่ใน Ein el-Hilweh ค่ายลี้ภัยในเลบานอนหันมาจับกล้องเพื่อสะท้อนเสียงของพวกเขาผ่านภาพถ่าย แคนนอน ยุโรปจับมือกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ออกโปรเจกต์น่าสนใจ ชวนวัยรุ่น 5 คน ที่อยู่ในสถานะผู้ลี้ภัย มาร่วมกันถ่ายภาพเล่าเรื่องชีวิตประจำวน เนื่องในวันมนุษยธรรมโลกที่เพื่งผ่านไปในวันที่ 19 สิงหาคม ภาพถ่ายของพวกเขาชวนให้เราตั้งคำถามกับชีวิต ความคิด และประสบการณ์ความเป็นอยู่ของผู้คนมากมายที่ใช้ชีวิตอยู่ใต้หมอกควันของสงคราม ฟาติมา เด็กสาววัย 19 ...
อนุสัญญาเจนีวา: ทางออกของมวลมนุษยชาติในการต่อสู้กับความโหดร้ายทารุณ

อนุสัญญาเจนีวา: ทางออกของมวลมนุษยชาติในการต่อสู้กับความโหดร้ายทารุณ

, บทความ / บล็อค

อนุสัญญาเจนีวาถือกำเนิดมาครบ 70 ปีแล้ว และเนื่องในวันเฉลิมฉลองครบรอบครั้งนี้ การกล่าวเน้นย้ำถึงความสำเร็จของตัวบทพื้นฐานตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาในวันนี้ จึงมีความสำคัญที่จะขาดไปเสียมิได้ อนุสัญญาเจนีวานั้น ได้รับการให้สัตยาบันอย่างเป็นสากล ถือเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นระดับโลก​ที่จะรับใช้มวลมนุษยชาติร่วมกัน โดยนับแต่ ค.ศ.1949 เป็นต้นมา อนุสัญญาเจนีวาได้รองรับการดำเนินงานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross – ICRC) และองค์กรมนุษยธรรมต่างๆ มากมาย ...
ถูกสังหารโดยคนหรือเครื่องจักร? – ว่าด้วยปฏิบัติการทางไซเบอร์และอาวุธสังหารอัตโนมัติกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

ถูกสังหารโดยคนหรือเครื่องจักร? – ว่าด้วยปฏิบัติการทางไซเบอร์และอาวุธสังหารอัตโนมัติกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

, บทความ

จะเกิดอะไรขึ้นหากเครื่องจักรเป็นผู้พรากชีวิต? เมื่อกฎหมายมนุษยธรรมมีผลบังคับใช้ในมนุษย์ การพรากชีวิตโดยหุ่นยนต์ หรือ อากาศยานไร้คนขับ จัดว่าผิดกฎหมายมนุษยธรรมหรือไม่? หรือว่ากฎหมายของเราเก่าเกินไปสำหรับสถานการณ์ปัจจุบันเสียแล้ว!? ชุดคำถามและความสงสัย กลายเป็นประเด็นใหญ่ที่ได้รับการถกเถียงอย่างออกรสชาติ ในงานสัมมนาว่าด้วยกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเหนือครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 24-28 มิถุนายน 2019 งานในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) และสถาบันการทูตเวียดนาม (DAV) เพื่อเจาะลึกรายละเอียดในแง่มุมต่างๆ ของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และประเด็นแวดล้อมเกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น ...
70 ปีอนุสัญญาเจนีวา – กฎแห่งสงครามที่ปกป้องชีวิตมากว่า 70 ปี

70 ปีอนุสัญญาเจนีวา – กฎแห่งสงครามที่ปกป้องชีวิตมากว่า 70 ปี

, บทความ / บล็อค

ลองจินตนาการว่า หมู่บ้านของคุณถูกโจมตี คุณพลัดหลงกับครอบครัว ถูกจับโดยฝ่ายตรงข้าม ตอนนี้คุณนั่งอยู่บนหลังรถบรรทุก ถูกปิดตา มัดแขนขา ท่ามกลางอากาศร้อน 50 องศา ห้อมล้อมไปด้วยชายแปลกหน้าติดอาวุธ คุณจะคิดถึงอะไร? คุณอาจคิดว่า ถ้าคุณถูกฆ่าเสียตอนนี้ ครอบครัวของคุณจะรู้หรือเปล่า จะมีใครส่งข่าวถึงพวกท่านบ้างไหม แล้วศพของคุณล่ะ จะถูกส่งกลับไปยังครอบครัวหรือไม่? ลองจินตนาการว่า คุณคือนักรบถือปืนบนหลังรถบรรทุก ชายที่ถูกปิดตาอยู่ข้างๆ คือคนที่ฆ่าเพื่อนรักของคุณระหว่างการโจมตี คุณจะคิดถึงอะไร? ...
ภัยดิจิตอลต่อประชากรในสถานการณ์สงคราม: ช่องว่างห้าประการที่องค์กรทางด้านมนุษยธรรมควรให้ความสำคัญ

ภัยดิจิตอลต่อประชากรในสถานการณ์สงคราม: ช่องว่างห้าประการที่องค์กรทางด้านมนุษยธรรมควรให้ความสำคัญ

, บทความ / บล็อค

ปฏิวัติดิจิตอลได้พลิกโฉมชีวิตของผู้คนทั่วโลก ตั้งแต่พลเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้วที่สามารถเชื่อมต่อถึงกันด้วยอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จนกระทั่งผู้คนที่อาศัยในประเทศที่มีพัฒนาการน้อยกว่า ในสภาพแวดล้อมดิจิตอลที่เทคโนโลยียังไม่ทันสมัย หรือในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามและความรุนแรง องค์กรทางด้านมนุษยธรรมที่ทำงานในบริบทเหล่านี้จึงต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิตอล และนับวันยิ่งต้องพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิตอลดังกล่าวมากขึ้น แน่นอนว่าการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อย่างในกรณีของความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประชากรกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เชื่อมโยงกัน (วัตถุประสงค์ ความสามารถในการอ่านเขียน การสนับสนุนเงินทุน เป็นต้น) บล็อกนี้จะแสดงให้เห็นถึงช่องว่างห้าประการที่สำคัญที่องค์กรทางด้านมนุษยธรรมควรให้ความสำคัญ เกี่ยวกับภัยดิจิตอลต่อประชากรในสถานการณ์สงคราม ภายใต้สภาพแวดล้อมของความรุนแรงและความไม่มีเสถียรภาพ เทคโนโลยีทางดิจิตอลสามารถนำมาใช้สนับสนุนกิจกรรมด้านมนุษยธรรม อาทิ ใช้การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงการรับมือกับสถานการณ์ หรืออำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารสองทางระหว่างเจ้าหน้าที่ด้านมนุษยธรรมกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ในปัจจุบันผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้นำเครื่องมือและวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ในการติดตามสถานการณ์และเข้าถึงข้อมูลที่ต้องใช้สำหรับการตัดสินใจ เพื่อยกระดับการคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชากรที่ได้รับผลกระทบ ...
CALL FOR MOOTERS

CALL FOR MOOTERS

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมกับคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการแข่งขันการว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในวันที่ 14 กันยายน 2562 (รอบภาษาไทย) และ 15 กันยายน 2562 (รอบภาษาอังกฤษ) ที่ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านรายละเอียดได้ด่านล่าง ICRC Regional Delegation Bangkok with Faculty of ...
“ถ้าลูกชายผมกลับมามองเห็นได้ ผมจะดีใจที่สุดเลย”

“ถ้าลูกชายผมกลับมามองเห็นได้ ผมจะดีใจที่สุดเลย”

, บทความ / บล็อค

ลึกเข้าไปในฝั่งตรงข้ามประเทศเพื่อนบ้านเด็กชาวกะเหรี่ยงสองคนพบของเล่นประหลาด ด้วยความนึกสนุกตามประสา พวกเขาหยิบวัตถุชิ้นใหม่ขึ้นมา นำไปกระแทกเข้ากับตอไม้เข้าอย่างแรง เสียงระเบิดดังขึ้นในทันที เด็กชายวัย 9 ขวบเสียชีวิต เด็กชายวัย 7 ขวบ บาดเจ็บสาหัส ซอกูเต ยังมีลมหายใจ พ่อของเขาใช้เวลา 6 ชั่วโมงพาลูกชายตัวน้อยข้ามมายังโรงพยาบาลฝั่งไทย เด็กชายหายใจรวยรินแทบไม่รู้สึกตัว ร่างกายที่โชกไปด้วยเลือดทำให้คุณพ่อแทบใจสลาย “ตอนที่เจอลูก คิดว่าคงไม่รอดแล้ว แต่คุณหมอบอกว่าลูกยังมีชีวิต น่าจะส่งมาให้ทางโรงพยาบาลที่ไทยต่อ ...