International Humanitarian Law

มรดกของนักตกปลาในเบียร์ดากค์, ยูเครน

มรดกของนักตกปลาในเบียร์ดากค์, ยูเครน

, บทความ / บล็อค / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

แต่ไหนแต่ไรมาใครๆ ก็พากันอิจฉาชาวบ้านที่อาศัยริมชายฝั่งทะเลอะซอฟ เพราะนอกจากจะมีความอุสมสมบูรณ์ จับปลาได้มาก หมู่บ้านชายทะเลยังเป็นที่หมายปองจากนักท่องเที่ยวจากเมืองใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นหมู่บ้านเบียร์ดากค์ทางตอนใต้ของประเทศยูเครน ที่นี่ ประชากรทั้งหมู่บ้านประกอบอาชีพชาวประมง ช่วงฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วงเป็นช่วงเวลาที่ดีในการออกเรือหาปลา และเมื่อฤดูร้อนมาถึงชาวเมืองจะเปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรายได้เสริม ชีวิตของชาวประมงในเบียร์ดากค์สวยงามเหมือนฝัน กระทั้งสงครามมาถึง… หมุนเวลามาปัจจุบัน ชายหาดที่เคยเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว ถูกแทนที่ด้วยความว่างเปล่าที่มาพร้อมสัญลักษณ์ประหลาดตา ...
หนทางสู่การกำกับดูแลอาวุธรูปแบบใหม่ – ข้อท้าทายว่าด้วยกลไกที่ใช้กำกับดูแลอาวุธในยุคปัจจุบัน

หนทางสู่การกำกับดูแลอาวุธรูปแบบใหม่ – ข้อท้าทายว่าด้วยกลไกที่ใช้กำกับดูแลอาวุธในยุคปัจจุบัน

, บทความ / บล็อค

การลดอาวุธในกรอบพหุภาคีนั้นเกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดหลายประการ สาเหตุก็เนื่องมาจากต้องดำเนินการอยู่ภายใต้แบบแผนในการจัดการที่ยุ่งยากมากเกินไป ไม่มีความยืดหยุ่น และล่าช้าต่อการดำเนินงาน การเจรจาลดอาวุธภายใต้กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธตามแบบบางชนิด (Convention on Certain Conventional Weapons: CCW) เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า กรอบการประชุมหลายฝ่ายเพื่อดำเนินการลดอาวุธนั้นไม่สามารถตอบสนองต่อรูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีทางอาวุธที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็วได้ ดังจะเห็นได้จากความพยายามในการประเมินอาวุธสมัยใหม่อย่างระบบอาวุธสังหารอัตโนมัติ (lethal autonomous weapon systems: LAWS) หรือหุ่นยนต์สังหาร ถูกนำไปเชื่อมโยงกับข้อถกเถียงในเชิงปรัชญา ทำให้ยากที่จะหาข้อสรุปและแปลความได้ อีกทั้งยังมีขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ...
2 ปีในความทรงจำ: ด้วยรักจากซีเรีย

2 ปีในความทรงจำ: ด้วยรักจากซีเรีย

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

‘ดื่มสิ’ หญิงชาวซีเรียยื่นแก้วน้ำที่เต็มไปด้วยดินโคลนให้ฉันในวันอากาศร้อนกลางเดือนสิงหา ฉันมองแก้วที่ว่าอีกครั้ง มันเต็มไปด้วยฝุ่นสีดำยากจะทำใจดื่ม ‘คุณจะดื่มน้ำแบบนี้ไหม คุณจะยอมนอนในเต็นท์กลางทะเลทรายหรือเปล่า’ หญิงตรงหน้ากล่าว ‘ฉันเคยมีบ้าน มีชีวิตธรรมดา ไม่ต่างจากคุณ’ ตั้งแต่ปี 2016 -2018 ฉันทำงานเป็นโฆษกให้คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ...
กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับข้อกำหนดว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นเอกภาพของครอบครัวและผู้ย้ายถิ่นฐานที่หายสาบสูญหรือเสียชีวิต

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับข้อกำหนดว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นเอกภาพของครอบครัวและผู้ย้ายถิ่นฐานที่หายสาบสูญหรือเสียชีวิต

, บทความ

ในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ การทำให้ผู้ย้ายถิ่นฐานต้องพลัดพรากจากครอบครัวหรือถูกจับกุมคุมขัง จนทำให้ผู้ย้ายถิ่นฐานเหล่านั้นต้องหายสาบสูญหรือเสียชีวิตถือเป็นการละเมิดกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) อุปสรรคสำคัญที่พบในการคุ้มครองผู้ย้ายถิ่นฐานคือ ผู้ย้ายถิ่นฐานส่วนใหญ่มักพำนักแยกกันอยู่ในหลายประเทศ ทำให้เกิดปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างสมาชิกในครอบครัว เนื่องจากใช้ภาษาที่แตกต่างกัน นอกจากนี้อุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การส่งข้อมูลข้ามแดนระหว่างหน่วยงานของแต่ละประเทศที่อาจทำให้เกิดปัญหาในแง่ของการรวบรวมข้อมูล ที่จะถูกนำมาใช้ในการยืนยันตัวตนของผู้ย้ายถิ่นฐานที่เสียชีวิตแล้ว กรณีดังกล่าวอาจมีความซับซ้อนมากขึ้นหากผู้ย้ายถิ่นฐานไม่ต้องการติดต่อกับครอบครัว เพราะกลัวจะถูกส่งตัวกลับประเทศ (deportation) หรือกลัวว่าจะทำให้ครอบครัวในประเทศต้นทางต้องเผชิญกับการแก้แค้น(reprisal) ดังนั้นหากปราศจากการถ่ายทอดข้อมูลให้ครอบครัวรับรู้ รวมถึงการยืนยันตัวตนของผู้ตั้งถิ่นฐานด้วยการตรวจสอบร่างของผู้เสียชีวิต จึงทำให้ผู้ย้ายถิ่นฐานหลายคนมีสถานะเป็นผู้หายสาบสูญทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงอาจจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม ...
‘สถานะ’ และ ‘การคุ้มครอง’ : องค์กรมนุษยธรรมมองเรื่อง ‘ผู้ลี้ภัย’ ไว้อย่างไร

‘สถานะ’ และ ‘การคุ้มครอง’ : องค์กรมนุษยธรรมมองเรื่อง ‘ผู้ลี้ภัย’ ไว้อย่างไร

, บทความ / บล็อค

การเดินทางจากบ้านมีได้หลายเหตุผล การที่ใครสักคนจะได้รับการต้อนรับหรือดูแลมากแค่ไหน บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับเหตุผลของการเดินทาง ที่จะบอกว่าผู้อพยพท่านนี้ควรได้รับสถานะ (status) หรือ การคุ้มครอง (protection) แบบใด แต่ไม่ว่าจะหลบหนีจากสงครามหรือเดินทางหางานสร้างอนาคต ไม่ว่าจะถูกบังคับให้เคลื่อนย้ายหรือเต็มใจออกจากบ้าน สิ่งที่ผู้คนเหล่านี้ต้องเผชิญไม่ต่างกัน คืออุปสรรค์ที่มักเกิดขึ้นระหว่างทาง นายปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) กล่าวถึงประสบการณ์ความยากลำบากที่ผู้คนเหล่านี้ต้องเผชิญไว้ว่า: ‘เมื่อตัดสินใจออกเดินทาง ผู้อพยพและประชากรพลัดถิ่นต้องเผชิญโจทย์ยากตั้งแต่ก้าวแรก บนเส้นทางมีความไม่แน่นอน หลายชีวิตไม่สามารถไปถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย หรือต่อให้ไปถึง ...
เปิดประตูกว้าง หรือ สร้างกำแพง? เมื่อผู้ลี้ภัยไม่ใช่ ‘ผู้เสียหาย’ แต่กลายเป็น ‘อันตราย’

เปิดประตูกว้าง หรือ สร้างกำแพง? เมื่อผู้ลี้ภัยไม่ใช่ ‘ผู้เสียหาย’ แต่กลายเป็น ‘อันตราย’

, บทความ / บล็อค

ในโลกทุกวันนี้ปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัยกลายเป็นเรื่องใหญ่ในระดับนานาชาติ ไม่ใช่แค่การลี้ภัยจากสงครามหรือความขัดแย้ง แต่ยังรวมไปถึงกลุ่มแรงงานต่างชาติที่เดินทางออกจากบ้านเกิดเพราะปัญหาด้านเศรฐกิจ หลายคนอพยพจากภูมิลำเนาเพราะขาดโอกาสทางการศึกษา ไม่มีงานทำ หรือไม่สามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพขั้นพื้นฐาน ความคิดเรื่อง ‘เอลโดราโด (El Dorados)’ มีอยู่ทุกสมัย และไม่ใช่ความผิดที่หลายคนฝันถึงชีวิตที่ดีกว่าในมหานครใหญ่อย่าง นิวยอร์ก หรือ ลอนดอน ในช่วงทศวรรษที่ 1990s มีคลื่นผู้อพยพจากอิตาลี โปแลนด์ และ ไอร์แลนด์ ถาโถมเข้าสู่สหรัฐฯ เพื่อขานรับความฝันเรื่อง ...
คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ มาจากไหน? ประวัติศาสตร์การลี้ภัยที่ย้อนไปไกลกว่าที่คิด

คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ มาจากไหน? ประวัติศาสตร์การลี้ภัยที่ย้อนไปไกลกว่าที่คิด

, บทความ / บล็อค

ประวัติศาสตร์โลกเต็มไปด้วยเรื่องราวของการพลัดถิ่น จะด้วยเหตุผลทางการเมือง สงคราม หรือศาสนา ปฎิเสธไม่ได้ว่าโลกที่เราเห็นและเป็นอยู่ทุกวันนี้ เกิดขึ้นจากการแต่งแต้มสีสันของผู้คนจากหลายวัฒนธรรมที่พบปะสังสรรค์ผ่านการย้ายถิ่นฐานมายาวนานหลายศตวรรษ   แนวความคิดเรื่องผู้ลี้ภัยเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่? ความคิดที่ว่า มนุษย์เราควรให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อหรือผู้ที่กำลังอยู่ในอันตรายสามารถสืบย้อนกลับไปได้ไกลตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ  ในสมัยนั้น มีการพูดเรื่องสิทธิในการมอบที่ลี้ภัย (asylum) แก่ผู้เดือดร้อน แนวคิดนี้ถูกใช้ต่อมาโดยชาวโรมัน ก่อนชาวคริสต์ ชาวฮีบรู และชาวอิสลาม จะนำแนวคิดนี้มาบรรจุในวัฒนธรรมของตน จนเกิดเป็นเรื่องเล่าในศาสนาอย่างการอพยพของโมเสสที่พาชาวฮีบรูออกจากการเป็นทาสของชาวอียิปต์ไปยังแผ่นดินแห่งพันธสัญญา หรือเรื่องราวการเดินทางของนบีมุฮัมมัดและผู้ติดตามจากเมกกะไปยังเมดินะในวัฒนธรรมอิสลาม แนวคิดนี้ถูกนำมาบัญญัติแบบเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกโดย Hugo ...
เมื่อผู้ช่วยชีวิตตกเป็นเป้าหมาย กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกล่าวถึงความรุนแรงทางการแพทย์ไว้อย่างไร?

เมื่อผู้ช่วยชีวิตตกเป็นเป้าหมาย กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกล่าวถึงความรุนแรงทางการแพทย์ไว้อย่างไร?

, บทความ / บล็อค

ข่าวการเสียชีวิตของนักปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ในกาซ่า นำมาซึ่งคำถามใหญ่เกี่ยวกับความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในพื้นที่ขัดแย้ง หากมองย้อนกลับไป ปัญหาความรุนแรงต่อบุคลากรทางการแพทย์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเป็นประเด็นที่ ICRC ให้ความสนใจและพยายามผลักดันมาตลอด แม้ความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงานด้านการแพทย์จะได้รับการคุ้มครองตามหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (international humanitarian law – IHL) แต่ที่ผ่านมาบุคลากรที่ดูแลสุขอนามัยในพื้นที่ขัดแย้งกลับต้องเผชิญกับภาวะท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความท้าทายทางวิชาชีพ หรืออันตรายต่อชีวิตของตัวผู้ปฎิบัติงาน ในปี พ.ศ. 2551 กระทรวงสาธารณสุขของประเทศอิรักประเมินว่าบุคลากรทางการแพทย์มากกว่า 625 คนถูกสังหารตั้งแต่ปี พ.ศ. ...
ปกป้องโลกจากมหันตภัยนิวเคลียร์

ปกป้องโลกจากมหันตภัยนิวเคลียร์

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross: ICRC) เรียกร้องให้บรรดารัฐ ผู้นำและประชากรโลก ร่วมมือกันป้องปรามการใช้อาวุธนิวเคลียร์ มิฉะนั้นมนุษยชาติอาจต้องเผชิญมหันตภัยจากอาวุธนิวเคลียร์ที่เกินเยียวยาก็เป็นได้ เมื่อพิจารณาถึงอานุภาพที่ร้ายแรงของอาวุธนิวเคลียร์แล้ว ทางออกที่ดีที่สุดในเวลานี้คือการดำเนินการในเชิงป้องกันจนกว่าจะมั่นใจได้ว่าอาวุธนิวเคลียร์จะไม่ถูกนำมาใช้อีกต่อไป เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะจากอาวุธนิวเคลียร์ รัฐทั้งหลายต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ดังนี้ รัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในความครอบครองรวมถึงรัฐที่เป็นพันธมิตรต้องหาหนทางเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยงที่อาวุธนิวเคลียร์จะถูกนำมาใช้ พร้อมทั้งให้ประชาคมโลกร่วมเป็นผู้สอดส่องปฏิบัติการดังกล่าว รัฐที่เป็นภาคีสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ) Treaty on ...
เมียนมา: ความวุ่นวายในรัฐคะฉิ่นกับหลายชีวิตที่ต้องจากบ้าน

เมียนมา: ความวุ่นวายในรัฐคะฉิ่นกับหลายชีวิตที่ต้องจากบ้าน

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

ประชาชนในรัฐคะฉิ่นประเทศเมียนมา มีชีวิตอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมานานตั้งแต่ปี 2011 เมื่อความรุนแรงปะทุขึ้นอีกครั้งในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประชาชนกว่า 6,800 คน ต้องอพยพออกจากที่อยู่อาศัย ตัวเลขนี้ยังไม่นับไปถึงประชากรอีกราว 100,000 ที่กลายเป็นผู้พลัดถิ่นมาแล้วหลายปีก่อนหน้า สถาณการณ์ในเดือนล่าสุด(เมษายน) ผู้คนมากมายต้องเดินเท้าจากพื้นที่เสี่ยงเป็นระยะทางหลายกิโลเมตรเพื่อมายังสถานที่ตั้งค่ายสำหรับผู้พลัดถิ่นในโบสถ์นอกเมือง Myit Kyi ...