humanitarian

#มาแชร์กัน ใหม่–มานิตา ส่งเสริม กับการออกแบบงานมนุษยธรรมในอีก 100 ปี ข้างหน้าที่ไม่ว่าโลกจะหมุนไปทางไหน คุณค่าความเป็นคนก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง

#มาแชร์กัน ใหม่–มานิตา ส่งเสริม กับการออกแบบงานมนุษยธรรมในอีก 100 ปี ข้างหน้าที่ไม่ว่าโลกจะหมุนไปทางไหน คุณค่าความเป็นคนก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง

, บทความ

ใหม่–มานิตา ส่งเสริม นอกจากจะเป็นชื่อที่คุ้นหูคุ้นตากันดีในแวดวงนักออกแบบกราฟิก เธอยังเป็นศิลปินที่อยู่เบื้องหลังโปสเตอร์มากมายของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และเป็นเจ้าของลายเส้นอันเป็นเอกลักษณ์บนหน้าปกหนังสือชื่อดังอีกหลายเล่ม วันนี้ทีมงาน ICRC ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณใหม่ถึงในห้องทำงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแรงบันดาลใจหลังได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการประกวดออกแบบภาพประกอบครั้งแรกของกลุ่มองค์กรกาชาดฯ “Designing Humanity in the 21st Century” ทำความรู้จักคุณใหม่ ศิลปินร่วมโครงการของเรา “สวัสดีค่ะ ใหม่นะคะ จริงๆ เป็นนักออกแบบกราฟิกนี่แหละ ไม่ค่อยแทนตัวเองเป็นศิลปินเท่าไหร่ เพราะใหม่ไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็น ...
พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจในการสนับสนุนกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ บทความโดยศ.ปีเตอร์ ฮาร์วีย์

พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจในการสนับสนุนกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ บทความโดยศ.ปีเตอร์ ฮาร์วีย์

, E-Book

พุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นประเด็นที่องค์กรของเราให้ความสนใจและได้ให้การสนับสนุนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้มาอย่างต่อเนื่อง บทความล่าสุดของศาสตราจารย์ปีเตอร์ ฮาร์วีย์ (ศาสตราจารย์กิตติคุณมหาวิทยาลัยซันเดอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร) หนึ่งในนักวิชาการชั้นนำของโลกด้านพระพุทธศาสนาได้นำเสนอประด็นที่ว่าอย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่สามารถสนับสนุนกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในการลดความอันตรายและความทุกข์ทรมานให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ไปจนถึงหลีกเลี่ยงการสร้างทุกข์ที่ไม่จำเป็นทั้งต่อผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ฉบับร่างของบทความชิ้นนี้ได้ถูกนำเสนอเป็นครั้งแรกในการประชุม “การลดทอนความทุข์ทรมานในสถานการณ์ขัดแย้ง: ความเกี่ยวข้องกันของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและพระพุทธศาสนา” จัดขึ้นที่ประเทศศรีลังกาเมื่อปี 2019 ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ฮาร์วีย์ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง the UK Association for Buddhist Studies (1996) ...
การรับมือกับ COVID-19 ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สํานักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ (ประเทศไทย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม)

การรับมือกับ COVID-19 ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สํานักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ (ประเทศไทย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม)

, E-Book

ดาวน์โหลดเอกสารแสดงการทำงานของ ICRC ในช่วงโควิด-19 อัพเดท ณ วันที่ 20 เดือนมกราคม พ.ศ. 2564  
การขัดกันทางอาวุธในยูเครน: การสรุปโดยย่อว่าด้วยกฎขั้นพื้นฐานของ IHL

การขัดกันทางอาวุธในยูเครน: การสรุปโดยย่อว่าด้วยกฎขั้นพื้นฐานของ IHL

, บทความ

ช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั่วโลกต่างเห็นถึงวิกฤตที่เกิดขึ้นในประเทศยูเครนที่ต้องมีการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยเร่งด่วน ผู้อ่านหลายคนได้ติดต่อเข้ามาหาเราพร้อมกับคำถามต่าง ๆ ว่าด้วยการนำกฎแห่งสงคราม หรือ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) ไปใช้กับสถานการณ์ความขัดแย้งได้อย่างไรบ้าง ในบทความนี้ คอร์ดูลา โดรเก ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของเรา ได้สรุปกฎเกณฑ์สำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่บังคับควบคุมความขัดแย้ง และเน้นย้ำถึงข้อเรียกร้องของ ICRC ให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามภาระผูกพันทางกฎหมายของตนในการหลีกเลี่ยงไม่ให้พลเรือนต้องเดือดร้อนและเสียชีวิตไปมากกว่านี้ ก่อนสถานการณ์การสู้รบในประเทศยูเครนจะปะทุรุนแรงจนเป็นวงกว้างนั้น สิ่งที่ประจักษ์ชัดคือ การสู้รบครั้งนี้จะเกิดขึ้นในพื้นที่เมืองและนำมาสู่การสูญเสียชีวิต ทำลายล้าง และความบาดเจ็บของผู้คนเป็นวงกว้าง ตลอดจนภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ...
อังรี ดูนังต์ และผู้ก่อตั้งกาชาดสากล ทำความรู้จักผู้ก่อตั้งทั้ง 5 คน ของ ICRC

อังรี ดูนังต์ และผู้ก่อตั้งกาชาดสากล ทำความรู้จักผู้ก่อตั้งทั้ง 5 คน ของ ICRC

, บทความ

หลายท่านอาจทราบว่าบิดาผู้เป็นเจ้าของแรงบันดาลใจในการก่อตั้งกลุ่มองค์กรกาชาด คือนายอังรี ดูนังต์ นักธุรกิจชาวสวิสที่บังเอิญเดินทางผ่านอิตาลี ในระหว่างที่การสู้รบในสมรภูมิโซลเฟริโนเพิ่งจบลงไม่นาน แต่ทราบหรือไม่ว่าผู้ก่อตั้งของ ICRC มีทั้งหมด 5 ท่านด้วยกัน แต่ละท่านล้วนมีส่วนร่วมในการวางรากฐานกลุ่มองค์กรกาชาดในมิติที่แตกต่าง โดยทุกท่านในที่นี้ ล้วนได้อ่านงานเขียนของนายอังรี ดูนังต์ – ความทรงจำแห่งโซลเฟริโน ตีพิมพ์ในปี 1862 และนำเหตุการณ์ที่ผู้เขียนบรรยายมาเป็นแรงบันดาลใจในการก่อตั้งองค์กรในภายหลัง ในตอนที่นายอังรี ดูนังต์ เดินทางผ่านไปยังอิตาลี การสู้รบที่โซลเฟริโนได้จบลงไปแล้ว ...
การเข้าถึงน้ำ เป็นเรื่องความเป็นความตายในพื้นที่ขัดแย้ง

การเข้าถึงน้ำ เป็นเรื่องความเป็นความตายในพื้นที่ขัดแย้ง

, บทความ

วันที่ 22 มีนาคม เป็นวันน้ำโลก (World Water Day) ซึ่งเป็นวันที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะ ‘น้ำ’ เป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิต นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ราว 3 สัปดาห์หากขาดอาหาร แต่สามารถมีลมหายใจได้เพียง 3-4 วัน หากปราศจากน้ำดื่ม อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ด้วยภาวะสงครามและความขัดแย้ง การเข้าถึงน้ำสะอาดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นเรื่องจำเป็นถึงชีวิตที่เราอยากหยิบมาบอกเล่าในวันสำคัญนี้ วิกฤตน้ำสะอาดเมื่อสงครามกระจายตัวสู่พื้นที่เมือง ...
แถลงการณ์จากประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) เรื่องความขัดแย้งในประเทศยูเครน

แถลงการณ์จากประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) เรื่องความขัดแย้งในประเทศยูเครน

, News / ไทย

การสู้รบระลอกล่าสุดในประเทศยูเครนทำให้ผมรู้สึกกังวลใจอย่างยิ่งยวด การยกระดับความรุนแรงและการกระจายตัวเป็นวงกว้างของการต่อสู้นั้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิต และการทำลายล้างในระดับที่น่ากลัวเกินกว่าจะจินตนาการได้เมื่อคำนึงถึงแสนยานุภาพทางทหารของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ขณะนี้เราได้เห็นผลกระทบโดยตรงต่อพลเรือนแล้ว โดยสถานการณ์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นล่าสุดส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานระลอกใหม่ ทั้งนี้ เป็นเวลาแปดปีมาแล้วที่ประชากรในภูมิภาคดอนบาสและอีกหลายแห่งต้องทนอยู่กับผลกระทบจากความขัดแย้ง ในตอนนี้ผมกลัวว่าผลกระทบที่มีอยู่แล้วจะเพิ่มมากขึ้นไปอีก อันจะนำไปสู่การสูญเสียชีวิตเป็นจำนวนมหาศาล และการทำลายวัตถุพลเรือนที่สำคัญ เช่น โรงผลิตน้ำประปาและโรงงานไฟฟ้า ตลอดจนการย้ายถิ่นฐานของประชากรขนานใหญ่ ผลกระทบทางจิตใจ การพลัดพรากจากครอบครัว และการสูญหายของบุคคล จากประสบการณ์การทำงานอย่างยาวนานของไอซีอาร์ซี เราพบว่า ความผิดพลาด และความคลาดเคลื่อน ตลอดจนการขาดความเข้าใจ ในการประเมินผลกระทบที่อาจจะมีต่อพลเรือนจากปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่ ...
ICRC แต่งตั้งทีมบริหารใหม่ขับเคลื่อนองค์กรท่ามกลางความท้าทายปัจจุบัน

ICRC แต่งตั้งทีมบริหารใหม่ขับเคลื่อนองค์กรท่ามกลางความท้าทายปัจจุบัน

, News / ไทย

นครเจนีวา – ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross – ICRC) รับรองการแต่งตั้งผู้อำนวยการใหม่ 6 ตำแหน่ง โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2022 และมีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี ...
พุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ : การบรรยายโดย แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ

พุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ : การบรรยายโดย แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ

, บทความ / บล็อค

พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่หลายคนรู้จักและเข้าใจว่าเป็นศาสนาแห่งอหิงสา (ความไม่เบียดเบียนและการเว้นจากการทำร้าย) และบ่อยครั้งมีการนำพุทธศาสนามาใช้ในบริบทของความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการป้องกัน การเจรจา รวมถึงแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง แต่ที่ผ่านมา มีการวิจัยค่อนข้างน้อยเกี่ยวกับทัศนคติของพุทธศาสนาที่มีต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยไม่อาจป้องกันได้หรือยังเกิดขึ้นอยู่ ดังนั้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) จึงพยายามเชื่อมประสานและสัมพันธ์กับวงการพุทธศาสนาทั้งในภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่น เพื่อบุกเบิกริเริ่มศึกษาวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติของพุทธศาสนาและหลักธรรมคำสอนที่มีต่อการทำสงคราม รวมถึงความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) ในการบรรเทาอันตรายและความทุกข์ทรมานจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ ...
กฎหมายมนุษยธรรมอิสลาม: การนำเสนอโดย ดร. ซีอาเลาะห์ ราห์มานี

กฎหมายมนุษยธรรมอิสลาม: การนำเสนอโดย ดร. ซีอาเลาะห์ ราห์มานี

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ได้ศึกษาความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) ที่มีร่วมกับศาสนาต่าง ๆ มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยมุ่งหมายสำคัญของการศึกษาคือเพื่อเรียนรู้และกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการพูดคุยอภิปรายระหว่างกันเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ เช่น ศาสนาอิสลามนั้นเป็นศาสนาหนึ่งที่มีชุดกฎหมายมนุษยธรรมเป็นของตัวเองและนำชุดกฎหมายนี้มาใช้ในการบรรเทาความทุกข์ทรมานในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ ในการบรรยายอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหลักสูตร “ความขัดแย้ง ความรุนแรง และงานด้านมนุษยธรรม” ซึ่ง สถาบันพระปกเกล้า จัดขึ้นร่วมกับ ICRC และมูลนิธิสถาบันการจัดการวิถีพุทธเพื่อสุขและสันติ (มูลนิธิ สกพ.) ...