ผู้พิการ

ความพิการไม่ใช่ข้อจำกัดทางความสามารถ ขอแค่เรากล้าออกมาใช้ชีวิต จะรู้ว่าโลกนี้กว้างใหญ่และมีใครหลายคนพร้อมให้โอกาสเราเสมอ

ความพิการไม่ใช่ข้อจำกัดทางความสามารถ ขอแค่เรากล้าออกมาใช้ชีวิต จะรู้ว่าโลกนี้กว้างใหญ่และมีใครหลายคนพร้อมให้โอกาสเราเสมอ

, บทความ / บล็อค

“ความพิการไม่ใช่ข้อจำกัดทางความสามารถ แต่โอกาสและการยอมรับจากสังคมจะเป็นตัวแปรหลักที่เปิดทางให้ผู้พิการ สามารถมีส่วนร่วมในส่วนต่างๆ ของสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี” คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) และสภากาชาดไทย ร่วมกันจัดโครงการฝึกอบรมสร้างเสริมสมรรถนะคนพิการที่ปฎิบัติงานประจำเหล่ากาชาดและกิ่งกาชาด งานในครั้งนี้จัดขึ้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีความตั้งใจหลักเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมให้ผู้พิการสามารถปฎิบัติงานในเหล่ากาชาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราเก็บสัมภาษณ์ที่แฝงด้วยแรงบันดาลใจมาเล่าสู่กันฟัง ขอแค่เรากล้าออกมาใช้ชีวิต จะรู้ว่าโลกนี้กว้างใหญ่และมีใครหลายคนพร้อมให้โอกาสเราเสมอ “คนส่วนใหญ่รู้ว่าถ้าอยากบริจาคร่างกายต้องไปศิริราช อันที่จริงแค่มาเหล่ากาชาดประจำจังหวัด ก็สามารถบริจาคอวัยวะได้ หลายคนคิดว่าการบริจาคเลือดเป็นเรื่องยุ่งยาก ผมก็ไม่เคยบริจาคกระทั่งมาทำงานกับกาชาดไทย บางคนคิดว่าการมีข้อจำกัดทางร่างกายทำให้ชีวิตต้องถูกจำกัด ผมเชื่อว่าถ้าเรายอมรับในสิ่งที่เป็น ไม่กลัวคำสบประมาทนินทาเราจะพบว่าโลกมีทางให้ทุกคนเลือกเดิน แม้เราจะเคลื่อนที่ไปบนรถเข็น “ผมมีข้อบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว ...
วีลแชร์บาสเกตบอลกับความฝันของหญิงสาว

วีลแชร์บาสเกตบอลกับความฝันของหญิงสาว

, บทความ / บล็อค

กีฬา กีฬาเป็นยาวิเศษ นั่นไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงเลยสำหรับผู้พิการหญิงที่เลือกกีฬาบาสเกตบอลเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวเอง สร้างบุคลิกภาพ เรียกความเคารพและมั่นใจในตัวเองกลับคืนมา จนได้รับการยอมรับจากสังคมรวมถึงคนรอบข้าง และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักกีฬาวีลแชร์บาสเกตบอลหญิงได้เพิ่มพูนทักษะด้านกีฬาบาสเกตบอลให้มากขึ้น สมาพันธ์กีฬาวีลแชร์บาสเกตบอลสากล หรือ International Wheelchair Basketball Federation (IWBF) จึงได้จัดค่ายฝึกทักษะให้กับนักกีฬาวีลแชร์บาสเกตบอลหญิงเหล่านี้เป็นครั้งแรก โดยมีนักกีฬาเข้าร่วมจาก 8 ประเทศทั่วเอเชีย ซึ่งทางสมาพันธ์ได้เลือกสถาบันพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรีของไทยเป็นสถานที่ฝึกทักษะให้กับนักกีฬาเหล่านี้ โดยทางสมาพันธ์ตั้งความหวังไว้ว่าค่ายฝึกทักษะแห่งนี้จะเป็นสถานที่ที่ทำให้นักกีฬาวีลแชร์บาสเกตบอลหญิงเหล่านี้นอกจากจะได้เพิ่มพูนทักษะในการเล่นบาสเกตบอลให้กับตัวเองแล้วยังจะได้สร้างมิตรภาพใหม่ๆกับเพื่อนๆจากทั่วเอเชียที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันแต่มีเรื่องราวในชีวิตที่คล้ายคลึงกัน เจส มาร์ค ...
กาแฟ ชีวิตและเศรษฐกิจครัวเรือน

กาแฟ ชีวิตและเศรษฐกิจครัวเรือน

, บทความ / บล็อค

วันฟ้าใสกลางเดือนกันยายน เช้าวันเสาร์ที่ 17 กันยายนเป็นวันที่ทีมงานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือ ICRC ได้นัดพบกับโหงว เชร็บ หนึ่งในสมาชิกทีมบาสเก็ตบอลคนพิการหญิงของกัมพูชาและเจ้าของธุรกิจร้านกาแฟเคลื่อนที่ยี่ห้ออูเอดะ ทีมงานได้แจ้งให้โหงว เชร็บและครอบครัวทราบล่วงหน้าแล้วว่าจะมีการถ่ายทำคลิปวีดีโอเรื่องราวของเธอเพื่อนำไปเผยแพร่ในบูธของ ICRC ที่งาน Global Festa ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 1-2 ตุลาคม 2559 ICRC เคยนำเสนอเรื่องราวของโหงว เชร็บไปเมื่อเดือนมีนาคม 2559 ...
คอนนิชิวะ พระตะบอง

คอนนิชิวะ พระตะบอง

, บทความ / บล็อค

เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความรู้เกี่ยวกับสันติภาพ กับระเบิด การศึกษา และเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โรงเรียนนานาชาติโยโกฮามาของญี่ปุ่นจึงได้จัดให้นักเรียนได้มีโอกาสเดินทางมาทัศนศึกษาดูงานที่ประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนา 3 ประเทศ อันได้แก่ บรูไนดารุสซาลามเพื่อดูงานด้านสิ่งแวดล้อม เวียดนามเพื่อดูงานด้านเศรษฐกิจและกัมพูชาเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของสันติภาพ  ตามโครงการ Super Global High School (SGH)** ของรัฐบาลญี่ปุ่น ที่ต้องการเน้นให้การศึกษาของญี่ปุ่นมุ่งสู่ความเป็นนานาชาติมากขึ้นตามแผนปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาล ทั้งนี้ทางโรงเรียนได้แบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่มๆละ 12 คน ...
กัมพูชา-ชีวิตใหม่สำหรับผู้พิการ

กัมพูชา-ชีวิตใหม่สำหรับผู้พิการ

, บทความ / บล็อค

ชีวิตของโหงว เชร็บและเลียม โซพารา สมาชิกของทีมบาสเก็ตบอลคนพิการหญิงของกัมพูชาเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงหลังจากที่พวกเธอได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง หลังจากที่ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อเลี้ยงตัวเองและครอบ ครัวในที่สุดพวกเธอทั้งสองคนก็ได้เริ่มต้นชีวิตใหม่พร้อมกับธุรกิจเล็กๆของตัวเอง ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุในปี 2546 จนส่งผลต่อไขสันหลังโหงว เชร็บ ทำธุรกิจของตัวเองอยู่กับบ้านซึ่งเธอก็พอจะมีรายได้เลี้ยงครอบครัวเล็กๆของตัวเอง แต่หลังจากเกิดอุบัติเหตุทุกอย่างก็เปลี่ยนไป เธอไม่สามารถทำงานได้และรายได้ที่มีก็ถูกนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว เมื่อขาดรายได้ประจำครอบครัวก็ต้องหันไปพึ่งพารายได้เพียงวันละ 150 บาทจากการทำงานในไซส์งานก่อสร้างของผู้เป็นสามีเพียงคนเดียว หนึ่งปีหลังจากอุบัติเหตุ โหงวได้เข้ารับการรักษาและได้รับอุปกรณ์ออโธปีดิกส์จากศูนย์ฟื้นฟูทางกายภาพในจังหวัดพระตะบองที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือไอซีอาร์ซี ในปี 2555 หลังที่โหงวเข้ารับการรักษาที่ศูนย์ได้นานเจ็ดปี เธอได้เลือกที่จะเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆให้กับตัวเองนั่นคือการเข้าร่วมทีมบาสเก็ตบอลคนพิการหญิงของกัมพูชา “ฉันดีใจมากที่ได้ร่วมทีมบาสเก็ตบอลและเข้ารับการฝึกฝนประจำสม่ำเสมอ ...
วันสตรีสากล-หญิงแกร่งที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา

วันสตรีสากล-หญิงแกร่งที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา

, บทความ / บล็อค

เนื่องในโอกาสวันสตรีสากลซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ในปีนี้เราจึงอยากจะนำเสนอเรื่องราวชีวิตของผู้หญิง 5 คน ที่เป็นสมาชิกทีมบาสเก็ตบอลคนพิการหญิงของกัมพูชา พวกเธอทั้ง 5 คน ต้องเผชิญกับมรสุมชีวิตที่พัดผ่านเข้ามาหลังจากที่ต้องกลายเป็นผู้พิการ พวกเธอไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาที่เล่นตลกกับพวกเธอแม้ว่าบางครั้งหรือหลายๆครั้งพวกเธอจะรู้สึกท้อถอยแต่พวกเธอก็ไม่ใช่ผู้หญิงเพียงคนเดียวในโลกที่ต้องประสบกับชะตากรรมนี้ พวกเธอยังมีเพื่อนที่สามารถแบ่งปันประสบการณ์หรือช่วยเหลือกันได้และโชคดีที่พวกเธอมีกีฬาบาสเก็ตบอลเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหัวใจอันเหนื่อยล้าให้กลับมาฮึดสู้อีกครั้งอย่างไม่ยอมแพ้และมันก็นำพาพวกเธอให้กลับมามีที่ยืนในสังคมได้อีกครั้งอย่างเต็มภาคภูมิ โหงว เชร็บ -สาเหตุที่ทำให้คุณกลายเป็นผู้พิการ 2551 ฉันถูกรถมอเตอร์ไซค์ชนตอนกำลังข้ามถนน ตอนนั้นฉันได้รับบาดเจ็บที่หลังเพียงเล็กน้อย ต่อมาฉันเกิดพลัดตกจากต้นไม้ซึ่งทำให้ฉันได้รับบาดเจ็บที่ระบบประสาทไขสันหลัง ฉันใช้เวลา 3-4 เดือน ...
กัมพูชา-ไอซีอาร์ซีพาชมโรงงานผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ออร์โธปีดิกส์ในกรุงพนมเปญ

กัมพูชา-ไอซีอาร์ซีพาชมโรงงานผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ออร์โธปีดิกส์ในกรุงพนมเปญ

, บทความ / บล็อค

กัมพูชา-โรงงานผลิตอุปกรณ์ออร์โธปีดิก (ออร์โธปีดิกเป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชาศัลยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และ กล้ามเนื้อต่างๆของร่างกาย) ในกรุงพนมเปญก่อตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี เมื่อเดือนตุลาคม 2534 เนื่องจากการขาดแคลนบริการด้านการฟื้นฟูทางกายภาพสำหรับผู้พิการอันเป็นผลมาจากการสู้รบอันยาวนานในประเทศกัมพูชาทำให้โรงงานแห่งนี้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดและอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงสวัสดิการสังคม ทหารผ่านศึก และ การฟื้นฟูเยาวชนของกัมพูชา โรงงานแห่งนี้เป็นสถานที่ผลิตอุปกรณ์ออร์โธปีดิกเช่น แขนและขาเทียม รวมถึงไม้ค้ำยัน ไม้ค้ำยันรักแร้ และ อุปกรณ์ช่วยเดิน ทุกปีโรงงานแห่งนี้จะผลิตอุปกรณ์แขนและขาเทียมประมาณ 13000 ...
กัมพูชา-สัมภาษณ์สองสมาชิกหญิงทีมบาสเก็ตบอลคนพิการกัมพูชา

กัมพูชา-สัมภาษณ์สองสมาชิกหญิงทีมบาสเก็ตบอลคนพิการกัมพูชา

, บทความ / บล็อค

นักกีฬา กัมพูชา-ประวัติที่เต็มไปด้วยสงครามอันยาวนานของกัมพูชาส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อบริการที่จำเป็น เช่น บริการสุขภาพ และ สังคม ในเวลานั้นผู้พิการที่ต้องการการดูแลใส่ใจเป็นพิเศษต้องเผชิญกับความยาก ลำบากพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือที่จำเป็นได้เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีสถานะต่ำสุดในสังคม ปริง ธอน และ ลอส นีโมล สมาชิกสองคนจากทีมบาสเก็ตบอลคนพิการหญิงของกัมพูชาจะมาบอกเล่า เรื่องราวชีวิตของพวกเธอและยืนยันว่ากีฬามีส่วนช่วยให้ชีวิตของพวกเธอก้าวต่อไปได้อย่างเต็มภาคภูมิ   สามารถรับชมวีดีโอในภาษาอังกฤษได้ที่ https://www.icrc.org/en/document/cambodia-building-confidence-and-camaraderie-through-wheelchair-basketball