บล็อค

อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิด ข้อบัญญัติที่ 5 และการประชุมทบทวน ค.ศ. 2019: ความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ

อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิด ข้อบัญญัติที่ 5 และการประชุมทบทวน ค.ศ. 2019: ความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ

, บทความ / บล็อค

อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (Anti-Personnel Mine Ban Convention: APMBC) เริ่มมีผลบังคับใช้มาเป็นระยะเวลา 20 ปี อนุสัญญาฉบับนี้เกิดขึ้นจากความพยายามและการรณรงค์จากภาคประชาสังคมในระดับรากหญ้าและความร่วมมือของกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ เป็นระยะเวลากว่าทศวรรษ ความร่วมมือนี้เป็นผลลัพธ์ของความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงความทุกข์ทรมานที่ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลสร้างขึ้น ตั้งแต่ประเทศอัฟกานิสถานไปจนถึงประเทศแองโกลา ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 รัฐภาคีจำนวนกว่า 164 ประเทศจะเข้าร่วมการประชุมทบทวนครั้งที่ 4 ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ...
อีก 50 ปี โลกนี้จะเป็นอย่างไร? ฟังคำตอบน่าสนใจจากนายปีเตอร์ เมาเร่อ ประธาน ICRC

อีก 50 ปี โลกนี้จะเป็นอย่างไร? ฟังคำตอบน่าสนใจจากนายปีเตอร์ เมาเร่อ ประธาน ICRC

, บทความ / บล็อค

ใครจะเป็นผู้ควบคุมโลก? โลกจะไม่มีผู้นำที่โดดเด่นเพียงคนเดียว แต่การกำกับดูแลกิจการโลกจะถูกแบ่งและต่อรองกันระหว่างหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็น รัฐ บริษัทพหุวัฒนธรรม องค์กรข้ามชาติและภาคประชาสังคม อย่างไรก็ดี การกระจายอำนาจแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะมีสิทธิ์ออกเสียง การกีดกันในระดับกลุ่มคนหรือบุคคลจะยังเป็นความท้าทายข้อใหญ่ ที่อาจไม่ได้รับการแก้ไขไปอีก 100 ปี นอกจากนี้ การจัดการด้านธรรมาภิบาลอาจถูกจัดระเบียบตามประเด็นสำคัญ มากกว่าแบ่งแยกกันเป็นเรื่องของรัฐ องค์กร หรือสถาบัน ประเทศไหนจะมีอำนาจทางเศรฐกิจมากที่สุด? มาตรวัดทั่วๆ ไป อย่างการใช้ GDP อาจไม่มีความสำคัญอีก ...
73% ของคนยุค Millennials ใน 15 ประเทศ เน้นย้ำความสำคัญของการมีสุขภาพจิตที่ดี ว่ามีความจำเป็นเช่นเดียวกับ น้ำ อาหาร และที่อยู่อาศัย

73% ของคนยุค Millennials ใน 15 ประเทศ เน้นย้ำความสำคัญของการมีสุขภาพจิตที่ดี ว่ามีความจำเป็นเช่นเดียวกับ น้ำ อาหาร และที่อยู่อาศัย

, News / บล็อค / ไทย

เจนีวา (ICRC) เกือบ 3 ใน 4 ของคนยุค millennials (กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 18-35 ปี) ระบุผ่านแบบสอบถามใน 15 ประเทศ เห็นว่าสุขภาพจิตที่ดี มีความจำเป็นมากเท่าๆ กับ น้ำ อาหาร และที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากสงครามและความรุนแรง อิปซอสส์ (Ipsos) ...
เวทมนตร์ดำ ซอมบี้ กับมังกร เรื่องเล่าขานจากกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21

เวทมนตร์ดำ ซอมบี้ กับมังกร เรื่องเล่าขานจากกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21

, บทความ / บล็อค

เมื่อเดือนที่ผ่านมาพวกเราได้ร่วมฉลองวันครบรอบปีที่ 70 ของอนุสัญญาเจนีวา ข้าพเจ้าจึงประสงค์ที่จะสำรวจข้อท้าทายที่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) เผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นข้อท้าทายสมัยโบราณและร่วมสมัย ตลอดจนตามสภาพความเชื่อและการปฏิบัติ เพื่อการดังกล่าวพวกเราจึงจำเป็นต้องมองไปในอดีตและมุ่งสู่อนาคต แม้ว่าอนาคตจะไม่แน่นอนก็ตาม ตลอดระยะเวลาเจ็ดสิบปี พวกเราคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) เชื่อมั่นว่าจะสามารถใช้กฎหมายพื้นฐานที่เรามีเพื่อเรียกร้องสิทธิและความคุ้มครองให้แก่มนุษยชาติในยามสงคราม เวทมนตร์ดำ พลังคุ้มครองจาก IHL เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าปฏิบัติภารกิจเป็นผู้แทนกฎหมายจาก ICRC ในปาปัวนิวกินี ข้าพเจ้าได้หารือกับรัฐมนตรีสาธารณสุขเพื่อยกร่างกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายกาชาด รัฐมนตรีผู้นั้นคือหัวหน้าเผ่าอาวุโสจากไฮแลนด์ (Highlands) ...
Thai Role Play Competition 2019

Thai Role Play Competition 2019

, บทความ / บล็อค

เมื่อการแข่งขัน IHL Role Play ต้องใช้มากกว่าความรู้ทางกฎหมาย! คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการแข่งขัน National International Humanitarian Law Role Play Compitition ในวันที่ 27 ตุลาคม 2019 ที่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต อ่านรายละเอียดได้ด่านล่าง When an ...
สถานะของบุคลากรทางการแพทย์: ชัดเจนหรือไม่

สถานะของบุคลากรทางการแพทย์: ชัดเจนหรือไม่

, บทความ / บล็อค

การให้ความคุ้มครองแก่ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์เป็นหลักการสำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ อันที่จริงแล้วสนธิสัญญาที่ข้องเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในระดับพหุภาคีฉบับแรกได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ ฃต่อมาบรรดารัฐยังได้พัฒนากรอบกฎหมายในเรื่องดังกล่าวผ่านสนธิสัญญาอีกด้วย กฎเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในสนธิสัญญาดังกล่าวจึงกลายเป็นกฎหมายจารีตประเพณี นอกจากนี้หลักการคุ้มครองดังกล่าวก็ได้รับการยอมรับเป็นที่ยุติตามกฎหมายแม้ในความขัดแย้งต่าง ๆ จะปรากฏว่ามีการโจมตีบุคลากรทางการแพทย์อยู่บ่อยครั้งก็ตาม ถึงกระนั้นความเห็นอย่างกว้างเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และหลักการทั่วไปกลับทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการตีความและการปรับใช้กฎหมาย ในบทความของศาสตราจารย์ Marco Sassòli (โปรดดูได้ที่นี่และที่นี่) ได้กล่าวถึงความไม่แน่นอนข้างต้น ประกอบกับมีบางประเด็นที่ควรค่าแก่การนำมาอภิปรายเพิ่มเติม ในบทความนี้ข้าพเจ้าได้อภิปรายในสามประเด็น ได้แก่ ข้อกำหนดให้มีการรักษาพยาบาลแก่บุคคลที่สังกัดกองทัพในฝ่ายตน การกำหนดสถานะบุคลากรทางการแพทย์ และการสูญเสียสิทธิแห่งความคุ้มครองของบุคคลเช่นว่า ข้อกำหนดให้มีการรักษาพยาบาลแก่บุคคลที่สังกัดกองทัพในฝ่ายของตน บทบัญญัติของสนธิสัญญาว่าด้วยกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้ระบุให้ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ได้รับการดูแลรักษาทางการแพทย์ (ข้อที่ ...
หยุดการใช้อาวุธระเบิดในเมือง เลี่ยงความทุกข์ยากที่ไม่จำเป็นของประชาชนในพื้นที่สงคราม

หยุดการใช้อาวุธระเบิดในเมือง เลี่ยงความทุกข์ยากที่ไม่จำเป็นของประชาชนในพื้นที่สงคราม

, บทความ / บล็อค

นายอันโตนิโอ กูแตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ และนายปีเตอร์ เมาเรอ ประธาน ICRC ออกแถลงการร่วมกันว่าด้วยการใช้อาวุธระเบิดในพื้นที่อยู่อาศัย เมือง Idlib ของซีเรีย และ เมือง Tripoli ของลิเบีย กำลังเผชิญการทิ้งระเบิด การกราดยิง และการโจมตีอย่างรุนแรงที่กำลังจะเปลี่ยนภาพเมืองที่เคยสดใส ให้กลายเป็นซากปรักหักพังแบบเดียวกับ Mosul, Aleppo, Raqqa, Taiz, ...
ศาสนาพุทธกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การประชุมครั้งแรกของโลกที่ศรีลังกา

ศาสนาพุทธกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การประชุมครั้งแรกของโลกที่ศรีลังกา

, บทความ / บล็อค

เมื่อวันที่ 4-6 กันยายนที่ผ่านมา ICRC ร่วมด้วยคณะนักวิชาการพุทธศาสนาและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จัดการประชุมว่าด้วยพุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมในเหตุขัดกันทางอาวุธที่ถ้ำดัมบุลลา ประเทศศรีลังกา โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 120 ท่าน จากวงการวิชาการ วงการกฎหมาย คณะสงฆ์ และบุคลากรในพระพุทธศาสนา มาร่วมกันหารือถึงความเป็นไปได้ในการใช้หลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาลดทอนความรุนแรงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในยามสงคราม งานในครั้งนี้จัดขึ้นที่วัดถ้ำดัมบูลลา (Dambulla Cave Temple) มรดกโลกแหล่งสำคัญในศรีลังกาที่มีอายุกว่า 2,200 ปี และมีความสำคัญทั้งกับพุทธศาสนิกชนนิกายเถรวาท ...
ผู้ลี้ภัยในเลบานอนบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาผ่านเลนส์กล้อง

ผู้ลี้ภัยในเลบานอนบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาผ่านเลนส์กล้อง

, บทความ / บล็อค

ค่ายผู้ลี้ภัยอาจะเป็นโลกทั้งใบของหลายชีวิต เด็กรุ่นใหม่ใน Ein el-Hilweh ค่ายลี้ภัยในเลบานอนหันมาจับกล้องเพื่อสะท้อนเสียงของพวกเขาผ่านภาพถ่าย แคนนอน ยุโรปจับมือกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ออกโปรเจกต์น่าสนใจ ชวนวัยรุ่น 5 คน ที่อยู่ในสถานะผู้ลี้ภัย มาร่วมกันถ่ายภาพเล่าเรื่องชีวิตประจำวน เนื่องในวันมนุษยธรรมโลกที่เพื่งผ่านไปในวันที่ 19 สิงหาคม ภาพถ่ายของพวกเขาชวนให้เราตั้งคำถามกับชีวิต ความคิด และประสบการณ์ความเป็นอยู่ของผู้คนมากมายที่ใช้ชีวิตอยู่ใต้หมอกควันของสงคราม ฟาติมา เด็กสาววัย 19 ...
อนุสัญญาเจนีวา: ทางออกของมวลมนุษยชาติในการต่อสู้กับความโหดร้ายทารุณ

อนุสัญญาเจนีวา: ทางออกของมวลมนุษยชาติในการต่อสู้กับความโหดร้ายทารุณ

, บทความ / บล็อค

อนุสัญญาเจนีวาถือกำเนิดมาครบ 70 ปีแล้ว และเนื่องในวันเฉลิมฉลองครบรอบครั้งนี้ การกล่าวเน้นย้ำถึงความสำเร็จของตัวบทพื้นฐานตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาในวันนี้ จึงมีความสำคัญที่จะขาดไปเสียมิได้ อนุสัญญาเจนีวานั้น ได้รับการให้สัตยาบันอย่างเป็นสากล ถือเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นระดับโลก​ที่จะรับใช้มวลมนุษยชาติร่วมกัน โดยนับแต่ ค.ศ.1949 เป็นต้นมา อนุสัญญาเจนีวาได้รองรับการดำเนินงานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross – ICRC) และองค์กรมนุษยธรรมต่างๆ มากมาย ...