ค่ายผู้ลี้ภัยอาจะเป็นโลกทั้งใบของหลายชีวิต เด็กรุ่นใหม่ใน Ein el-Hilweh ค่ายลี้ภัยในเลบานอนหันมาจับกล้องเพื่อสะท้อนเสียงของพวกเขาผ่านภาพถ่าย

แคนนอน ยุโรปจับมือกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ออกโปรเจกต์น่าสนใจ ชวนวัยรุ่น 5 คน ที่อยู่ในสถานะผู้ลี้ภัย มาร่วมกันถ่ายภาพเล่าเรื่องชีวิตประจำวน เนื่องในวันมนุษยธรรมโลกที่เพื่งผ่านไปในวันที่ 19 สิงหาคม ภาพถ่ายของพวกเขาชวนให้เราตั้งคำถามกับชีวิต ความคิด และประสบการณ์ความเป็นอยู่ของผู้คนมากมายที่ใช้ชีวิตอยู่ใต้หมอกควันของสงคราม

ฟาติมา เด็กสาววัย 19 ปี ใช้ทั้งชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัย เธอเคยเข้าร่วมโปรเจกต์กับเราในปี 2018 และกลับมาร่วมถ่ายทอดเรื่องราวของเธออีกครั้งในปีนี้ ฟาติมากำลังสมัครเรียนออกแบบตกแต่งภายใน เธอรักการวาดภาพ และมักใช้เวลากับการถ่ายภาพอาคารในค่ายลี้ภัย ภาพของฟาติมาบอกให้รู้ว่าสถาปัตยกรรมมีผลต่อการใช้ชีวิตมากแค่ไหน กำแพงที่บดบังแสงอาทิตย์ และโครงสร้างที่เป็นอันตราย กลายเป็นเงือนไขในชีวิตที่น้อยคนนักจะนึกถึง

เด็กๆ เล่นอยู่ในตรอกช่วงฤดูร้อน แต่ถ้ามีบ้านไหนเทน้ำลงมาจากด้านบน หรือถ้าสายไฟต่ำจนเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต

กำแพงล้อมรอบค่ายผู้ลี้ภัยมีขนาด 1 ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบไปด้วยหอคอยสำหรับสอดส่อง และทางเข้าออกที่มีเจ้าหน้าที่คอยคุ้มกัน

ในวัย 19 ปี ฮาลาเป็นผู้ลี้ภัยที่ได้ใช้ชีวิตอยู่นอกค่าย เธอยังคงแวะเวียนมาเยี่ยมเพื่อนและครอบครัวอยู่เป็นประจำ ฮาลาใช้เวลาว่างอาสาเป็นโค้ชฟุตบอลสำหรับเด็กๆ ภาพของเธอเป็นกระบอกเสียงแทนกลุ่มเด็กและผู้หญิงในค่ายลี้ภัย โดยเฉพาะกิจกรรมในสหภาพสตรีและเด็กชาวปาเลสไตน์

ในบ้านของผู้ลี้ภัยภายในค่าย

ยาห์ยา สถาปนิกวัย 26 ปี เกิดและเติบโตในค่ายก่อนได้รับทุนไปเรียนต่อด้านสถาปัตยกรรมที่ประเทศไซปรัส แม้จะมีโอกาสทางการศึกษา แต่ยาห์ยาก็ยังเจออุปสรรคในการประกอบอาชีพ สถานะผู้ลี้ภัย ทำให้เขาไม่สามารถเข้าร่วมสมาคมสถาปนิกเลบานอน ในภาพถ่ายของเขา บอกเล่าความจริงในค่าย ที่มักถูกบิดเบือนจากสื่อกระแสหลัก

ผู้คนในค่ายไม่ได้ใช้ชีวิตไปวันๆ พวกเขายากจนแต่มีความสามารถ สิ่งเดียวที่ยังขาดคือโอกาสในการพัฒนาตัวเอง

เด็กๆ เดินกลับจากโรงเรียนในหน้าหนาว

มีงาน 72 สาขาที่ชาวปาเลนไตน์ไม่สามารถทำได้ในประเทศเลบานอน แม้ว่าจะฉลาดและทำงานหนักมากแค่ไหน แต่โอกาสของผู้ลี้ภัยก็มีอยู่จำกัด

ภาพที่คุณเห็นในโลกโซเชียลอาจไม่ใช่ความจริงเสมอไป ชีวิตในค่ายไม่ใช่เรื่องง่ายและหลายคนอยู่กับความยากจนอดอยาก แม้แต่กับผู้คนที่มีความสามารถและมีการศึกษา สถานะผู้ลี้ภัยก็ได้พรากโอกาสมากมายไปจากชีวิต

ในช่วงสำคัญทางศาสนา เช่นในเดือนรอมฎอน ผู้คนในค่ายจะแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอย่างไม่น่าเชื่อ บรรยากาศในค่ายเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

ในเดือนพฤศจิกายน 2016 กำแพงใหญ่ถูกสร้างขึ้นล้อมรอบค่ายผู้ลี้ภัยด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของทั้งผู้คนภายในและชุมชนโดยรอบ

แดเนียลเป็นนักศึกษาคณะบริหารธุระกิจในเวลาหลัก และเป็นครูสอนถ่ายภาพในเวลาว่าง เด็กหนุ่มวัย 22 ปี อาศัยอยู่ไม่ไกลจากค่ายและมักใช้เวลาสอนผู้ลี้ภัยให้รู้จักบันทึกเรื่องราวด้วยภาพถ่าย งานของเขา บอกให้เรารู้ว่ายังมีอีกหลายชีวิตที่ถูกลืมและไม่ได้รับการพูดถึง และรื่องราวของแต่ละคน ต่างมีที่มาและความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่ากัน

ปาเลสไตน์ เลบานอน ซีเรีย คุณคงดูไม่ออกว่าคนในภาพมาจากไหน พวกเราเข้ากันได้ดีมาก

ผู้สูงอายุในค่ายลี้ภัย ยังมีความทรงจำของประเทศก่อนสงคราม พวกเขาได้แต่หวังว่าปาเลสไตน์จะได้สันติสุขกลับคืนมา เพื่อที่ว่าคนรุ่นใหม่จะได้เห็นภาคภูมิใจกับมรดกทางวัฒนธรรมด้วยตาของพวกเขาเอง

พวกเรามีความรู้สึกเดียวกัน และแสดงออกแทบไม่แตกต่าง ไม่ว่าจะรู้สึกสุขหรือเศร้า มันเป็นความรู้สึกที่เป็นไปด้วยกันกับทั้งชุมชน

ด้วยอายุเพียง 21 ปี อาเหม็ดยังมีอีกหลายเรื่องที่อยากทำ แต่ด้วยโอกาสทางอาชีพที่มีอยู่อย่างจำกัดและค่าจ้างที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับปริมาณงาน ทำให้เขาคิดอยู่บ่อยครั้งว่าตัวเองไม่เป็นที่ต้อนรับในสังคมนอกกำแพง อาเหม็ดถ่ายทอดความรู้สึกแปลกแยกเมื่ออยู่นอกค่ายผ่านภาพถ่ายและสีหน้าของผู้คนมากมายในค่ายผู้ลี้ภัย

ถ้าจะมีความรู้สึกที่คนหนุ่มสาวในค่ายคิดตรงกัน สิ่งนั้นคงเป็นความเบื่อหน่าย พวกเราคิดเสมอว่าจะสามารถทำอะไรได้มากกว่านี้

ชีวิตในค่ายเป็นเหมือนเดิมทุกวัน ไม่มีอะไรแตกต่าง ทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม

พวกเรามีสิทธิ์ที่จะได้อยู่อย่างสมศักดิ์ศรี คนส่วนใหญ่อาจคิด ชีวิตของคนในค่ายคงง่ายไม่ต่างจากพวกเขา แต่ความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลย

 

แปลและเรียบเรียงจากบทความต้นฉบับ Lebanon’s young refugees tell their stories through the lens