บล็อค

หมอกลวงตา ข่าวสารลวงคน ว่าด้วยผลกระทบของข่าวปล่อมในพื้นที่สงคราม

หมอกลวงตา ข่าวสารลวงคน ว่าด้วยผลกระทบของข่าวปล่อมในพื้นที่สงคราม

, บทความ / บล็อค

การให้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง การบิดเบือนข้อมูล และการใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชัง (MDH) ได้กลายเป็นลักษณะสำคัญที่แพร่หลายของยุคนี้ที่เรียกว่าเป็นยุค “ข้อมูล” หรือยุค “ดิจิทัล” และในสถานการณ์ความขัดแย้งนั้น “ข่าวปลอม” อาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้คนต้องสูญเสียซึ่งชีวิต บาดเจ็บ จำคุก ถูกเลือกปฏิบัติ หรือพลัดถิ่นฐาน อีกทั้งเป็นสิ่งกระตุ้นไม่เพียงวงจรปัญหาความรุนแรง แต่ยังรวมถึงสถานการณ์ความรุนแรงให้เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะทั้งทางตรงและทางอ้อม นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่หลายแห่ง แม้กระทั่งพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งก็ตาม ก่อนที่เราพูดคุยกันเรื่อง ‘ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร‘ ที่เกิดขึ้นในภาคส่วนงานด้านมนุษยธรรมนั้น ...
ปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธาน ICRC เข้าพบพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา ระหว่างการเยือนเมียนมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา

ปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธาน ICRC เข้าพบพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา ระหว่างการเยือนเมียนมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา

, บทความ / บล็อค

ในระหว่างการประชุม ประธานเมาเรอร์เน้นย้ำถึงกิจกรรมด้านมนุษยธรรมของ ICRC ในเมียนมา ที่ได้มีการพัฒนาและเพิ่มความหลากหลายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา “ประชาชนชาวเมียนมาต้องเผชิญสถานการณ์มากมาย ทั้งการขัดกันทางอาวุธ การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ชาวเมียนมาต้องได้รับการปกป้องพร้อมทั้งความช่วยเหลือที่จำเป็น” ประธานเมาเรอร์กล่าว “การประชุมในครั้งนี้มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อแบ่งปันข้อกังวลเกี่ยวกับประเด็นด้านมนุษยธรรมและสนับสนุนความพยายามในการเพิ่มพื้นที่สำหรับงานด้านมนุษยธรรมที่เป็นกลางและไม่เลือกข้าง” หลังกล่าวถึงขอบเขตและความจำเป็น ประธานเมาเรอร์ได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มความช่วยเหลือในพื้นที่ต่างๆ ทั้งในรัฐชิน รัฐคะฉิ่น รัฐกะยา รัฐฉาน และรัฐยะไข่ และได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของ ICRC ในการกลับมาดำเนินงานด้านมนุษยธรรมในเรือนจำ หลังจากหยุดชะงักไปเพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ...
Register now for IHL Moot Court and Role Play Competition 2021

Register now for IHL Moot Court and Role Play Competition 2021

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมกับคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการ แข่งขัน IHL Moot Court และ IHL Role Play Competition ประจำปี 2021 รอบภาษาอังกฤษแบบออนไลน์ ในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 18-19 กันยายน (IHL Role Play) และ 25-26 ...
การปิดล้อมเมืองเกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อไหร่? ว่าด้วยประวัติศาสตร์สงครามและการทำลายเมือง

การปิดล้อมเมืองเกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อไหร่? ว่าด้วยประวัติศาสตร์สงครามและการทำลายเมือง

, บทความ / บล็อค

เชื่อกันว่าเมืองที่เก่าที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติคือซาตาล ฮูยุค (Çatal Hüyük) เมืองโบราณมีอายุย้อนกลับไปราว 8,000 – 9,000 ปี ตั้งอยู่ในพื้นที่ของประเทศตุรกีในปัจจุบัน และคงไม่ใช่เรื่องเกินคาดหากเราจะบอกว่า บันทึกที่เป็นรายลักษณ์อักษรครั้งแรกเกี่ยวกับการโจมตีปิดล้อมเมืองก็ถูกค้นพบในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เราอาจเคยได้ยินเรื่องสงครามกรุงทรอย มหากาพย์โบราณของโฮเมอร์ที่จบลงด้วยการล่มสลายของเมือง แต่เชื่อหรือไม่ว่าบันทึกเกี่ยวกับสงครามยึดเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลกมีอายุเก่ายิ่งกว่า คาดกันว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วง 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช (หรือราว 3,500 ปีที่แล้ว) โดยเป็นการปิดล้อมเมืองเมกิดโด (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิสราเอล) ...
บุคลากรทางการแพทย์ตกเป็นเป้าโจมตีมากขึ้นถึงสองเท่าในช่วงโควิด-19

บุคลากรทางการแพทย์ตกเป็นเป้าโจมตีมากขึ้นถึงสองเท่าในช่วงโควิด-19

, บทความ / บล็อค

3,780 ครั้ง คือจำนวนที่ ICRC ได้รับรายงาน เกี่ยวกับการโจมตีบุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่ขัดแย้งตลอด 5 ปีที่ผ่านมา หลังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านมติห้ามโจมตีสถานพยาบาลอย่างเป็นทางการในปี 2016 แม้จะมีมติอย่างเป็นทางการ แต่รายงานที่เราได้รับ เปิดเผยว่าในช่วงเวลา 5 ปีนี้ บุคลากรทางการแพทย์และแม้แต่ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษายังคงถูกคุกคามด้วยความรุนแรงรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกาย การคุกคามทางเพศ การปล้น การพุ่งเป้าโจมตีไปที่สถานพยาบาลหรือรถพยาบาลที่กำลังทำหน้าที่ตามหลักมนุษยธรรม หรือแม้กระทั่งการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้เรื่องวัคซีน หรือความรู้ด้านสุขอนามัยอื่นๆ ...
เกิดอะไรขึ้นในหนึ่งปี หลากเรื่องราวหลายผลกระทบจากโควิด-19 ในพื้นที่สงคราม

เกิดอะไรขึ้นในหนึ่งปี หลากเรื่องราวหลายผลกระทบจากโควิด-19 ในพื้นที่สงคราม

, บทความ / บล็อค

ถ้าโควิด-19 ทำให้ระบบสาธารณสุขที่ก้าวหน้าที่สุดตกอยู่ในภาวะยากลำบาก โรงพยาบาลในพื้นที่สงครามจะรับมืบวิฤตครั้งนี้ได้อย่างไร? นี่คือเรื่องราวจากแนวหน้าของประเทศที่เผชิญโรคร้ายพร้อมความท้าทายอีกมากมาย อิรัก – ชีวิตสร้างใหม่ภายใต้ซากปรักหักพัง “ไม่มีงานให้ทำอีกต่อไป ทุกอย่างหยุดนิ่ง แต่ถ้าคุณต้องอยู่โดยไม่เหลืออะไร มันคงง่ายกว่าถ้าอย่างน้อยคุณได้อยู่กับครอบครัว” Jassim จากอิรัก กล่าวถึงความยากลำบากเมื่อตลาดแรงงานของอิรักล่มสลายหลังวิกฤตโควิด-19 ตัวเขาและครอบครัวเคยลี้ภัยออกจากบ้านเพราะสงครามและความขัดแย้ง เมื่อระบบเศรฐกิจล่มสลาย Jassim พบว่าการหางานเพื่อสร้างชีวิตใหม่เป็นเรื่องทำไม่ได้อีกต่อไป เขาและครอบครัวตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ในพื้นที่สงครามอย่างอิรัก โควิด-19 ไม่เพียงกระทบคุณภาพชีวิตของผู้คนในค่ายลี้ภัย แต่รวมไปถึงผู้คนมากมายที่ดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อประกอบอาชีพ ...
สัมภาษณ์พิเศษกับ Dr. Sunil Kariyakarawana อนุศาสนาจารย์กองทัพบกคนแรกของอังกฤษ

สัมภาษณ์พิเศษกับ Dr. Sunil Kariyakarawana อนุศาสนาจารย์กองทัพบกคนแรกของอังกฤษ

, บทความ / บล็อค

เราอาจจิตนาการตำแหน่งในกองทัพที่มีลำดับชั้นและหน้าที่แตกต่างกัน ทราบหรือไม่ว่าในกองทัพอังกฤษมีบุคคลที่รับหน้าที่เป็นอนุศาสนาจารย์ในพระพุทธศาสนา ตำแหน่งนี้เพิ่งตั้งมาราว 14 ปี โดยมี Dr. Sunil Kariyakarawana เป็นผู้รับตำแหน่งคนแรก งานของอาจารย์ด้านศาสนาคืออะไร แล้วการเป็นทหารกับพุทธศาสนิกชนที่ดีสามารถไปด้วยกันได้จริงหรือไม่ บทสนทนาสั้นๆ จะพาเราไปหาคำตอบ กองทัพอังกฤษคิดอย่างไรถึงจัดให้มีตำแหน่งอนุศาสนาจารย์ด้านพระพุทธศาสนา แรกเริ่มเดิมที่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วยกับไอเดียนี้ หลายคนคิดว่ามันเหมือนการจัดนักโภชนาการให้คนที่เป็นมังสวิรัติโดยเฉพาะ แต่พอเริ่มงานจริงๆ ทุกคนก็เริ่มเห็นว่างานอุนศาสนจารย์มีประโยชน์ไม่ใช่แค่กับคนพุทธเท่านั้น เรามีทหารที่นับถือพุทธศาสนาในกองทัพราว 6 พันคน กว่าพันคนเป็นคนขาวที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเอเชีย ...
หนึ่งก้าวอันตราย พูดคุยเรื่องทุ่นระเบิดสังหารและสาเหตุที่ระเบิดจากสงครามในอดีตยังคงคร่าชีวิตบุคคลในปัจจุบัน

หนึ่งก้าวอันตราย พูดคุยเรื่องทุ่นระเบิดสังหารและสาเหตุที่ระเบิดจากสงครามในอดีตยังคงคร่าชีวิตบุคคลในปัจจุบัน

, บทความ / บล็อค

ก้าวแรก ก้าวที่สอง หรือก้าวต่อไปอาจเป็นก้าวสุดท้ายหากคุณใช้ชีวิตในประเทศที่เต็มไปด้วยทุ่นระเบิดสังหารอย่างอัฟกานิสถาน อิรัก ไนจีเรีย หรือแม้แต่บ้านใกล้เรือนเคียงอย่างลาว กัมพูชา และเวียนาม เชื่อหรือไม่ว่าทั้งสามประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ดูภายนอกเหมือนจะสงบสุข ยังมีภัยร้ายจากสงครามเวียดนามซ่อนตัวอยู่ ช่วงสงครามเวียดนาม ประเทศลาวตกเป็นเป้าหมายของการทิ้งระเบิดมากกว่าสองล้านตันในระหว่างปี 1964 ถึง 1973 เทียบเท่ากับการทิ้งระเบิดด้วยเครื่องบินทุกๆ 8 นาที ติดต่อกันเป็นเวลา 9 ปีเต็ม ประเทศกัมพูชายังเผชิญหน้ากับภัยคุกคามจากกับระเบิดแม้สงครามจะจบลงไปนานแล้ว ต้นศตวรรษที่ ...
ICRC ทำอะไรในสงครามโลกครั้งที่ 2: กาชาดรู้แค่ไหนเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์?

ICRC ทำอะไรในสงครามโลกครั้งที่ 2: กาชาดรู้แค่ไหนเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์?

, บทความ / บล็อค

การเสียชีวิตของผู้คนมากมายในระหว่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นบาดแผลที่ไม่มีใครอยากให้เกิดซ้ำสอง องค์กรมนุษยธรรมที่ทำหน้าที่ในหลายประเทศทั่วยุโรป รับรู้แค่ไหนเกี่ยวกับการกระทำขัดต่อหลักมนุษยธรรมที่เกิดขึ้นและดำเนินไปเป็นเวลาหลายปี ทั่วพื้นที่ยึดครองของนาซีเยอรมัน? Jean-Claude Favez นักวิจัยและเจ้าของผลงานหนังสือ The Red Cross and the Holocaust ตอบคำถามน่าสนใจด้วยข้อคิดเห็นที่ไม่ควรมองข้าม “เราแทบไม่ทราบว่า ICRC ได้รับข้อมูลแบบไหน แต่สิ่งที่ผมมั่นใจ คือเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ ICRC เริ่มสะกิดใจเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มาตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนปี ...
เสียงจากซีเรีย – 10 ปีแห่งสงครามทิ้งอะไรบ้างให้คนรุ่นหลัง

เสียงจากซีเรีย – 10 ปีแห่งสงครามทิ้งอะไรบ้างให้คนรุ่นหลัง

, บทความ / บล็อค

สงครามในซีเรียก้าวผ่านปีที่ 10 ลองจินตนาการณ์เด็กรุ่นใหม่ที่ลืมตาดูโลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พวกเขาเติบโตในความขัดแย้งที่เต็มไปด้วยการนองเลือด ความทุกข์ทรมานและขีปนาวุธ มีเด็กมากมายในซีเรียที่ไม่มีแม้แต่โอกาสได้สัมผัสวัยเด็กแบบที่เราเคยรู้จัก ในขณะที่วิกฤตการณ์ในซีเรียกำลังย่างเข้าสู่ช่วง 2 ทศวรรษ ผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) จาก ชาวซีเรีย 1,400 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี ทั้งที่ยังอาศัยอยู่ในประเทศซีเรีย หรือเดินทางลี้ภัยออกมายังประเทศที่สองหรือประเทศที่สามอย่างเลบานอนและเยอรมัน พบว่าประเด็นสำคัญที่หนุ่มสาวพูดถึงด้วยความเป็นห่วง ...