บล็อค

ผู้สื่อข่าวได้รับความคุ้มครองอย่างไรในพื้นที่ขัดแย้ง

ผู้สื่อข่าวได้รับความคุ้มครองอย่างไรในพื้นที่ขัดแย้ง

, บทความ / บล็อค

มีคำกล่าวว่าความจริงคือเหยื่อยรายแรกของสงคราม นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการรายงานข่าวที่แม่นยำและไม่เลือกข้าง จึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะในสถานการณ์ความขัดแย้งที่คนทั้งโลกกำลังให้ความสนใจ บทบาทของผู้รายงานข่าวในฐานะผู้เห็นเหตุการณ์และบันทึกผลกระทบที่น่าหวาดกลัวของความขัดแย้งเป็นสิ่งจำเป็น แต่นั่นก็ทำให้พวกเขาตกเป็นหนึ่งในกลุ่มบุคคลที่ต้องเสี่ยงชีวิตมากที่สุด โดยอาจได้รับบาดเจ็บ ถูกลักพาตัว หรืออาจต้องเสียชีวิตในระหว่างการปฎิบัติหน้าทื่ กฎหมายมนุษยธรรมกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างไร และอะไรคือบทบาทหน้าที่ของผู้สื่อข่าวในพื้นที่สงคราม? กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศให้ความคุ้มครองผู้สื่อข่าวอย่างไร กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการระบุสิทธิ หน้าที่ และความคุ้มครองในระหว่างการขัดกันทางอาวุธหรือสงคราม บุคลากรสื่อหรือนักข่าวส่วนใหญ่ไม่ได้มีสถานะพิเศษตามกฎหมายแต่ได้รับการคุ้มครองในฐานะพลเรือนที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการสู้รบ กฎหมาย IHL ให้ความคุ้มครอง แต่ไม่ได้รับรองในเรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อในการรายงานหรือเข้าเข้าถึงพื้นที่สู้รบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐ ผู้สื่อข่าวสงคราม ...
วันผู้สูญหายสากล ความหวังของคนที่อยู่ข้างหลัง

วันผู้สูญหายสากล ความหวังของคนที่อยู่ข้างหลัง

, บทความ / บล็อค

“ฉันตื่นขึ้นกลางดึกใต้ต้นมะม่วง ได้แต่ร้องไห้ซ้ำแล้วซ้ำอีก” “เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นพ้นขอบฟ้า ฉันจึงกลับเข้าบ้านอีกครั้ง” “ฉันใช้ชีวิตซ้ำๆ เช่นนี้เป็นวลา 2 ปี” “หลายคนสงสัย ฉันไปนอนทำไมใต้ต้นมะม่วง” “ทุกๆ คืน ฉันได้แต่ภาวนา ‘พระเจ้า ถ้าลูกชายของลูกยังมีชีวิตอยู่ ขอให้ลูกมะม่วงตกลงมา ลูกจะได้รู้ว่าตัวเองยังมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร’” คลีเมนติน่า มูซ่า คุณแม่จากอเมริกาใต้ เล่าให้เราฟังถึงความหวังเล็กๆ ที่จะได้พบลูกชายหลังสูญหายไร้การติดต่อเป็นเวลากว่าสามสิบปี ทุกวันนี้ ...
ต่อให้ติด – ช่องว่างกรอบกฎหมายของการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการขัดกันทางอาวุธ

ต่อให้ติด – ช่องว่างกรอบกฎหมายของการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการขัดกันทางอาวุธ

, บทความ / บล็อค

บทความโดย เอกอัครราชทูต มาเรีย เลห์โท กระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการขัดกันทางอาวุธไม่ได้เป็นผลกระทบที่เกิดจากการกระทำของฝ่ายปรปักษ์เท่านั้น แต่ยังเกิดจากซากอาวุธสงครามที่เป็นพิษหรืออันตราย การขูดรีดเอาทรัพยากรทางธรรมชาติในพื้นที่ขัดแย้งมาใช้มากเกินไป กลยุทธ์การเอาชีวิตรอดที่ไม่ยั่งยืนที่ประชากรที่ได้รับผลกระทบต้องนำมาปฏิบัติใช้ หรือเกิดจากการล่มสลายของสถาบันต่าง ๆ ซึ่งคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (ILC) นอกจากจะจัดทำแนวทางปฏิบัติของ ICRC ที่เพิ่งเผยแพร่ไปเมื่อไม่นานมานี้ ยังได้ดำเนินงานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริบทที่มีการขัดกันทางอาวุธ อันเป็นการช่วยพัฒนาปรับปรุงแนวทางของกฎหมายระหว่างประเทศในการรับมือกับความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมในบริบทของสถานการณ์ความขัดแย้ง ในบทความนี้และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความเรื่อง สงคราม กฎหมาย และสิ่งแวดล้อมของเรา ที่เผยแพร่ร่วมกับเว็บไซต์ ...
สุขสันต์วันเกิดอนุสัญญาเจนีวาปี 1949 อายุครบ 72 ปี

สุขสันต์วันเกิดอนุสัญญาเจนีวาปี 1949 อายุครบ 72 ปี

, บทความ / บล็อค

อนุสัญญาเจนีวาเป็นเหมือนคำมั่นสัญญาระหว่างประเทศที่มีสาระสำคัญเรื่องกฎเกณฑ์และการจำกัดขอบเขตความรุนแรงของสงคราม อนุสัญญาที่ว่าปกป้องคุ้มครองผู้ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสู้รบ (เช่น พลเรือน, บุคลากรทางการแพทย์ และ กลุ่มผู้ทำงานเพื่อการช่วยเหลือต่าง ๆ) รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถร่วมการสู้รบได้อีกต่อไป (เช่น ทหารผู้บาดเจ็บ เจ็บป่วย ทหารเรืออัปปาง และ เชลยสงคราม) . อนุสัญญาเจนีวามีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1864 ภายหลังมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและเพิ่มกฎเกณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้ครอบคลุมถึงสภาพความเป็นจริงของสงคราม โดยการปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 1949 หลังสงครามโลกครั้งที่ ...
ผู้บาดเจ็บจากการโจมตีพุ่งขึ้นกว่า 4,000 รายภายใน 9 วัน ชาวอัฟกานิสถานเผชิญภัยคุกคามหนักจากการสู้รบยืดเยื้อที่ยังไม่เห็นทางออก

ผู้บาดเจ็บจากการโจมตีพุ่งขึ้นกว่า 4,000 รายภายใน 9 วัน ชาวอัฟกานิสถานเผชิญภัยคุกคามหนักจากการสู้รบยืดเยื้อที่ยังไม่เห็นทางออก

, บทความ / บล็อค

4,042 คือจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตี เฉพาะที่เข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลที่ ICRC ให้การสนับสนุน ในเวลาเพียง 9 วันที่ผ่านมา “เราเห็นบ้านถูกทำลาย บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัย ผู้ป่วยมากมายตกอยู่ในอันตราย แม้แต่ระบบน้ำและไฟฟ้าก็ถูกทำลายเสียหายอย่างรุนแรง” อีลอย ฟิเลียน (Eloi Fillion) หัวหน้าสำนักงาน ICRC ในอัฟกานิสถาน กล่าวถึงความรุนแรงที่ยกระดับขึ้นในช่วงเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา “มีการใช้ระเบิดในพื้นที่เมืองซึ่งทำให้ประชาชนมากมายได้รับผลกระทบ หลายครอบครัวจำใจต้องอพยพออกจากบ้านเพื่อหลีกหนีความรุนแรง เรื่องแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้นและต้องไม่เกิดขึ้นอีก” ...
อาวุธนิวเคลียร์ผิดกฎหมายหรือไม่? อะไรคือผลบังคับใช้จากสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์

อาวุธนิวเคลียร์ผิดกฎหมายหรือไม่? อะไรคือผลบังคับใช้จากสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์

, บทความ / บล็อค

8:15 นาฬิกาที่ถูกหยุดไว้ในวันที่ 6 สิงหาคม 1945 8 โมงเช้ากับอีก 15 นาที คือเวลาที่ฮิโรชิมะ ถูกถล่มราบเป็นหน้ากลองด้วยอานุภาพจากระเบิดปรมาณูชนิดยูเรเนียม ระเบิดถูกหย่อนจากน่านฟ้าโดย ‘บี-ซัง’ หรือ ‘มิสเตอร์บี’ ชื่อที่ชาวญี่ปุ่นใช้เรียกเครื่องบิน บี-29 อย่างทั้งเกรงใจ ทั้งไม่ชอบใจ แต่ก็คุ้นเคย ใครจะรู้ว่า การมาถึงของบี-ซังในครั้งนั้นต่างออกไป เพราะทันทีที่ระเบิดถูกปล่อยลงมา ...
มนุษยธรรมกับสิ่งแวดล้อม สองสิ่งนี้ไปด้วยกันได้หรือไม่ อีกมุมหนึ่งของน้ำใจที่แสดงออกผ่านการเข้าถึงทรัพยากร

มนุษยธรรมกับสิ่งแวดล้อม สองสิ่งนี้ไปด้วยกันได้หรือไม่ อีกมุมหนึ่งของน้ำใจที่แสดงออกผ่านการเข้าถึงทรัพยากร

, บทความ / บล็อค

มนุษยธรรม กับ สิ่งแวดล้อม อาจเป็นสองคำที่ฟังดูห่าง อันที่จริงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างผลกระทบให้ประเด็นมนุษยธรรมในหลายพื้นที่ ในแอฟริกา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด จนเกิดเป็นสงครามและความรุนแรงที่ตามมา ในประเทศไทยซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก คำถามว่ามนุษยธรรมกับสิ่งแวดล้อมสามารถสะท้อนความมีน้ำใจในช่วงเวลาวิกฤตได้หรือไม่ ได้รับคำตอบที่น่าสนใจจากคุณสุรชัย ปานน้อย ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาสื่อสารด้านภัยพิบัติ ไทยพีบีเอส “ประเด็นสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องมนุษยธรรมโดยตรง เพราะมันแสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันของการเข้าถึงทรัพยากร ในช่วงโควิด-19 การเข้าถึงหน้ากากอนามัยเป็นเรื่องของคนที่มีกำลังซื้อสูง คนที่อยู่ฐานล่างต้องใช้หน้ากากอนามัยแบบรีไซเคิลซึ่งทำให้เขามีความเสี่ยงมากกว่า มีคนบอกผมว่ายิ่งคนมีกำลังซื้อสูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งดูดกลืนทรัพยากรมากเท่านั้น มันจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องสื่อสารประเด็นนี้เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางความคิด เพราะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ภาระของใครคนใดคนหนึ่งแต่เป็นเรื่องของเราทุกคน” ...
น้ำใจแบบไหนที่เราเห็นได้ในยามวิกฤต? อ่านแนวคิดมุมมองสองช่างภาพมากประสบการณ์ผ่านการตีความคำว่า “Kindness during Crises”

น้ำใจแบบไหนที่เราเห็นได้ในยามวิกฤต? อ่านแนวคิดมุมมองสองช่างภาพมากประสบการณ์ผ่านการตีความคำว่า “Kindness during Crises”

, บทความ / บล็อค

วิกฤตต่างๆ อาจมาพร้อมความเสียหายและน้ำตา แต่หลายครั้งที่ความยากลำบากทำให้เราได้เห็นด้านดีๆ ของมนุษยผ่านการแบ่งปันและความมีน้ำใจ คุณปาล์ม – ภานุมาศ สงวนวงษ์ ผู้ก่อตั้ง Thai news pix และคุณฟี่ – เอกรัตน์ ปัญญะธารา บรรณาธิการภาพถ่าย นิตยสาร National Geographic Thailand สองช่างภาพมากประสบการณ์ผู้เคยผ่านการลงพื้นที่บันทึกเรื่องราวมากมาย คิดอย่างไรกับมุมมองมนุษยธรรมที่ถูกถ่ายทอดผ่านภาพถ่าย? ...
เปิดรับสมัครแล้ววันนี้! การแข่งขันว่าความศาลจำลองและบทบาทสมมติในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (รอบภาษาไทย)

เปิดรับสมัครแล้ววันนี้! การแข่งขันว่าความศาลจำลองและบทบาทสมมติในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (รอบภาษาไทย)

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการแข่งขันาความศาลจำลองและบทบาทสมมติในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ รอบภาษาไทย ในวันเสาร์ที่ 13 – อาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน (การแข่งขันบทบาทสมมติ) และ เสาร์ที่ 20 – อาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน (การแข่งขันศาลจำลอง) การแข่งขันในปีนี้จะจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน Zoom เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ...
Calls for Entry – เปิดรับผลงานภาพถ่ายในหัวข้อ “Kindness during Crises” (ในวิกฤต มีน้ำใจ) 

Calls for Entry – เปิดรับผลงานภาพถ่ายในหัวข้อ “Kindness during Crises” (ในวิกฤต มีน้ำใจ) 

, บทความ / บล็อค

สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) สภากาชาดไทย และคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) มีความภูมิใจที่จะนำเสนอการประกวดภาพถ่ายครั้งแรกของเราร่วมกับ Thai News Pix, National Geographic Thailand, Canon Thailand และ Thai PBS ภายใต้หัวข้อ “Kindness during Crises” (ในวิกฤต มีน้ำใจ) ...