International Humanitarian Law

ผู้สื่อข่าวได้รับความคุ้มครองอย่างไรในพื้นที่ขัดแย้ง

ผู้สื่อข่าวได้รับความคุ้มครองอย่างไรในพื้นที่ขัดแย้ง

, บทความ / บล็อค

มีคำกล่าวว่าความจริงคือเหยื่อยรายแรกของสงคราม นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการรายงานข่าวที่แม่นยำและไม่เลือกข้าง จึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะในสถานการณ์ความขัดแย้งที่คนทั้งโลกกำลังให้ความสนใจ บทบาทของผู้รายงานข่าวในฐานะผู้เห็นเหตุการณ์และบันทึกผลกระทบที่น่าหวาดกลัวของความขัดแย้งเป็นสิ่งจำเป็น แต่นั่นก็ทำให้พวกเขาตกเป็นหนึ่งในกลุ่มบุคคลที่ต้องเสี่ยงชีวิตมากที่สุด โดยอาจได้รับบาดเจ็บ ถูกลักพาตัว หรืออาจต้องเสียชีวิตในระหว่างการปฎิบัติหน้าทื่ กฎหมายมนุษยธรรมกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างไร และอะไรคือบทบาทหน้าที่ของผู้สื่อข่าวในพื้นที่สงคราม? กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศให้ความคุ้มครองผู้สื่อข่าวอย่างไร กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการระบุสิทธิ หน้าที่ และความคุ้มครองในระหว่างการขัดกันทางอาวุธหรือสงคราม บุคลากรสื่อหรือนักข่าวส่วนใหญ่ไม่ได้มีสถานะพิเศษตามกฎหมายแต่ได้รับการคุ้มครองในฐานะพลเรือนที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการสู้รบ กฎหมาย IHL ให้ความคุ้มครอง แต่ไม่ได้รับรองในเรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อในการรายงานหรือเข้าเข้าถึงพื้นที่สู้รบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐ ผู้สื่อข่าวสงคราม ...
วันผู้สูญหายสากล ความหวังของคนที่อยู่ข้างหลัง

วันผู้สูญหายสากล ความหวังของคนที่อยู่ข้างหลัง

, บทความ / บล็อค

“ฉันตื่นขึ้นกลางดึกใต้ต้นมะม่วง ได้แต่ร้องไห้ซ้ำแล้วซ้ำอีก” “เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นพ้นขอบฟ้า ฉันจึงกลับเข้าบ้านอีกครั้ง” “ฉันใช้ชีวิตซ้ำๆ เช่นนี้เป็นวลา 2 ปี” “หลายคนสงสัย ฉันไปนอนทำไมใต้ต้นมะม่วง” “ทุกๆ คืน ฉันได้แต่ภาวนา ‘พระเจ้า ถ้าลูกชายของลูกยังมีชีวิตอยู่ ขอให้ลูกมะม่วงตกลงมา ลูกจะได้รู้ว่าตัวเองยังมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร’” คลีเมนติน่า มูซ่า คุณแม่จากอเมริกาใต้ เล่าให้เราฟังถึงความหวังเล็กๆ ที่จะได้พบลูกชายหลังสูญหายไร้การติดต่อเป็นเวลากว่าสามสิบปี ทุกวันนี้ ...
ต่อให้ติด – ช่องว่างกรอบกฎหมายของการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการขัดกันทางอาวุธ

ต่อให้ติด – ช่องว่างกรอบกฎหมายของการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการขัดกันทางอาวุธ

, บทความ / บล็อค

บทความโดย เอกอัครราชทูต มาเรีย เลห์โท กระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการขัดกันทางอาวุธไม่ได้เป็นผลกระทบที่เกิดจากการกระทำของฝ่ายปรปักษ์เท่านั้น แต่ยังเกิดจากซากอาวุธสงครามที่เป็นพิษหรืออันตราย การขูดรีดเอาทรัพยากรทางธรรมชาติในพื้นที่ขัดแย้งมาใช้มากเกินไป กลยุทธ์การเอาชีวิตรอดที่ไม่ยั่งยืนที่ประชากรที่ได้รับผลกระทบต้องนำมาปฏิบัติใช้ หรือเกิดจากการล่มสลายของสถาบันต่าง ๆ ซึ่งคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (ILC) นอกจากจะจัดทำแนวทางปฏิบัติของ ICRC ที่เพิ่งเผยแพร่ไปเมื่อไม่นานมานี้ ยังได้ดำเนินงานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริบทที่มีการขัดกันทางอาวุธ อันเป็นการช่วยพัฒนาปรับปรุงแนวทางของกฎหมายระหว่างประเทศในการรับมือกับความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมในบริบทของสถานการณ์ความขัดแย้ง ในบทความนี้และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความเรื่อง สงคราม กฎหมาย และสิ่งแวดล้อมของเรา ที่เผยแพร่ร่วมกับเว็บไซต์ ...
สุขสันต์วันเกิดอนุสัญญาเจนีวาปี 1949 อายุครบ 72 ปี

สุขสันต์วันเกิดอนุสัญญาเจนีวาปี 1949 อายุครบ 72 ปี

, บทความ / บล็อค

อนุสัญญาเจนีวาเป็นเหมือนคำมั่นสัญญาระหว่างประเทศที่มีสาระสำคัญเรื่องกฎเกณฑ์และการจำกัดขอบเขตความรุนแรงของสงคราม อนุสัญญาที่ว่าปกป้องคุ้มครองผู้ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสู้รบ (เช่น พลเรือน, บุคลากรทางการแพทย์ และ กลุ่มผู้ทำงานเพื่อการช่วยเหลือต่าง ๆ) รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถร่วมการสู้รบได้อีกต่อไป (เช่น ทหารผู้บาดเจ็บ เจ็บป่วย ทหารเรืออัปปาง และ เชลยสงคราม) . อนุสัญญาเจนีวามีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1864 ภายหลังมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและเพิ่มกฎเกณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้ครอบคลุมถึงสภาพความเป็นจริงของสงคราม โดยการปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 1949 หลังสงครามโลกครั้งที่ ...
ผู้บาดเจ็บจากการโจมตีพุ่งขึ้นกว่า 4,000 รายภายใน 9 วัน ชาวอัฟกานิสถานเผชิญภัยคุกคามหนักจากการสู้รบยืดเยื้อที่ยังไม่เห็นทางออก

ผู้บาดเจ็บจากการโจมตีพุ่งขึ้นกว่า 4,000 รายภายใน 9 วัน ชาวอัฟกานิสถานเผชิญภัยคุกคามหนักจากการสู้รบยืดเยื้อที่ยังไม่เห็นทางออก

, บทความ / บล็อค

4,042 คือจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตี เฉพาะที่เข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลที่ ICRC ให้การสนับสนุน ในเวลาเพียง 9 วันที่ผ่านมา “เราเห็นบ้านถูกทำลาย บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัย ผู้ป่วยมากมายตกอยู่ในอันตราย แม้แต่ระบบน้ำและไฟฟ้าก็ถูกทำลายเสียหายอย่างรุนแรง” อีลอย ฟิเลียน (Eloi Fillion) หัวหน้าสำนักงาน ICRC ในอัฟกานิสถาน กล่าวถึงความรุนแรงที่ยกระดับขึ้นในช่วงเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา “มีการใช้ระเบิดในพื้นที่เมืองซึ่งทำให้ประชาชนมากมายได้รับผลกระทบ หลายครอบครัวจำใจต้องอพยพออกจากบ้านเพื่อหลีกหนีความรุนแรง เรื่องแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้นและต้องไม่เกิดขึ้นอีก” ...
หมอกลวงตา ข่าวสารลวงคน ว่าด้วยผลกระทบของข่าวปล่อมในพื้นที่สงคราม

หมอกลวงตา ข่าวสารลวงคน ว่าด้วยผลกระทบของข่าวปล่อมในพื้นที่สงคราม

, บทความ / บล็อค

การให้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง การบิดเบือนข้อมูล และการใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชัง (MDH) ได้กลายเป็นลักษณะสำคัญที่แพร่หลายของยุคนี้ที่เรียกว่าเป็นยุค “ข้อมูล” หรือยุค “ดิจิทัล” และในสถานการณ์ความขัดแย้งนั้น “ข่าวปลอม” อาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้คนต้องสูญเสียซึ่งชีวิต บาดเจ็บ จำคุก ถูกเลือกปฏิบัติ หรือพลัดถิ่นฐาน อีกทั้งเป็นสิ่งกระตุ้นไม่เพียงวงจรปัญหาความรุนแรง แต่ยังรวมถึงสถานการณ์ความรุนแรงให้เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะทั้งทางตรงและทางอ้อม นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่หลายแห่ง แม้กระทั่งพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งก็ตาม ก่อนที่เราพูดคุยกันเรื่อง ‘ความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร‘ ที่เกิดขึ้นในภาคส่วนงานด้านมนุษยธรรมนั้น ...
Register now for IHL Moot Court and Role Play Competition 2021

Register now for IHL Moot Court and Role Play Competition 2021

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมกับคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการ แข่งขัน IHL Moot Court และ IHL Role Play Competition ประจำปี 2021 รอบภาษาอังกฤษแบบออนไลน์ ในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 18-19 กันยายน (IHL Role Play) และ 25-26 ...
บุคลากรทางการแพทย์ตกเป็นเป้าโจมตีมากขึ้นถึงสองเท่าในช่วงโควิด-19

บุคลากรทางการแพทย์ตกเป็นเป้าโจมตีมากขึ้นถึงสองเท่าในช่วงโควิด-19

, บทความ / บล็อค

3,780 ครั้ง คือจำนวนที่ ICRC ได้รับรายงาน เกี่ยวกับการโจมตีบุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่ขัดแย้งตลอด 5 ปีที่ผ่านมา หลังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านมติห้ามโจมตีสถานพยาบาลอย่างเป็นทางการในปี 2016 แม้จะมีมติอย่างเป็นทางการ แต่รายงานที่เราได้รับ เปิดเผยว่าในช่วงเวลา 5 ปีนี้ บุคลากรทางการแพทย์และแม้แต่ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษายังคงถูกคุกคามด้วยความรุนแรงรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกาย การคุกคามทางเพศ การปล้น การพุ่งเป้าโจมตีไปที่สถานพยาบาลหรือรถพยาบาลที่กำลังทำหน้าที่ตามหลักมนุษยธรรม หรือแม้กระทั่งการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้เรื่องวัคซีน หรือความรู้ด้านสุขอนามัยอื่นๆ ...
เกิดอะไรขึ้นในหนึ่งปี หลากเรื่องราวหลายผลกระทบจากโควิด-19 ในพื้นที่สงคราม

เกิดอะไรขึ้นในหนึ่งปี หลากเรื่องราวหลายผลกระทบจากโควิด-19 ในพื้นที่สงคราม

, บทความ / บล็อค

ถ้าโควิด-19 ทำให้ระบบสาธารณสุขที่ก้าวหน้าที่สุดตกอยู่ในภาวะยากลำบาก โรงพยาบาลในพื้นที่สงครามจะรับมืบวิฤตครั้งนี้ได้อย่างไร? นี่คือเรื่องราวจากแนวหน้าของประเทศที่เผชิญโรคร้ายพร้อมความท้าทายอีกมากมาย อิรัก – ชีวิตสร้างใหม่ภายใต้ซากปรักหักพัง “ไม่มีงานให้ทำอีกต่อไป ทุกอย่างหยุดนิ่ง แต่ถ้าคุณต้องอยู่โดยไม่เหลืออะไร มันคงง่ายกว่าถ้าอย่างน้อยคุณได้อยู่กับครอบครัว” Jassim จากอิรัก กล่าวถึงความยากลำบากเมื่อตลาดแรงงานของอิรักล่มสลายหลังวิกฤตโควิด-19 ตัวเขาและครอบครัวเคยลี้ภัยออกจากบ้านเพราะสงครามและความขัดแย้ง เมื่อระบบเศรฐกิจล่มสลาย Jassim พบว่าการหางานเพื่อสร้างชีวิตใหม่เป็นเรื่องทำไม่ได้อีกต่อไป เขาและครอบครัวตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ในพื้นที่สงครามอย่างอิรัก โควิด-19 ไม่เพียงกระทบคุณภาพชีวิตของผู้คนในค่ายลี้ภัย แต่รวมไปถึงผู้คนมากมายที่ดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อประกอบอาชีพ ...
หนึ่งก้าวอันตราย พูดคุยเรื่องทุ่นระเบิดสังหารและสาเหตุที่ระเบิดจากสงครามในอดีตยังคงคร่าชีวิตบุคคลในปัจจุบัน

หนึ่งก้าวอันตราย พูดคุยเรื่องทุ่นระเบิดสังหารและสาเหตุที่ระเบิดจากสงครามในอดีตยังคงคร่าชีวิตบุคคลในปัจจุบัน

, บทความ / บล็อค

ก้าวแรก ก้าวที่สอง หรือก้าวต่อไปอาจเป็นก้าวสุดท้ายหากคุณใช้ชีวิตในประเทศที่เต็มไปด้วยทุ่นระเบิดสังหารอย่างอัฟกานิสถาน อิรัก ไนจีเรีย หรือแม้แต่บ้านใกล้เรือนเคียงอย่างลาว กัมพูชา และเวียนาม เชื่อหรือไม่ว่าทั้งสามประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ดูภายนอกเหมือนจะสงบสุข ยังมีภัยร้ายจากสงครามเวียดนามซ่อนตัวอยู่ ช่วงสงครามเวียดนาม ประเทศลาวตกเป็นเป้าหมายของการทิ้งระเบิดมากกว่าสองล้านตันในระหว่างปี 1964 ถึง 1973 เทียบเท่ากับการทิ้งระเบิดด้วยเครื่องบินทุกๆ 8 นาที ติดต่อกันเป็นเวลา 9 ปีเต็ม ประเทศกัมพูชายังเผชิญหน้ากับภัยคุกคามจากกับระเบิดแม้สงครามจะจบลงไปนานแล้ว ต้นศตวรรษที่ ...