International Humanitarian Law

ปฏิบัติการทุ่นระเบิด: อิทธิพลที่มีต่อกฎหมายและนโยบายด้านการจัดการกับเศษซากอาวุธสงครามประเภทสารพิษ

ปฏิบัติการทุ่นระเบิด: อิทธิพลที่มีต่อกฎหมายและนโยบายด้านการจัดการกับเศษซากอาวุธสงครามประเภทสารพิษ

ปฏิบัติการทุ่นระเบิด (Mine action)มีความสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการขัดกันทางอาวุธที่ตระหนักถึงความจำเป็นของการจัดการกับภัยอันตรายที่เกิดขึ้นแล้ว เนื่องจากมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลกระทบของทุ่นระเบิดและเศษซากอาวุธสงครามประเภทระเบิด และถือเป็นต้นแบบของการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่มีเศษซากอาวุธสงครามประเภทสารพิษตกค้างอยู่ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความเรื่อง สงคราม กฎหมาย และสิ่งแวดล้อม ภายใต้ความร่วมมือกับ Conflict and Environment Observatory  โดยมี บอนนี ดอกเคอตี จากคลินิกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของ Harvard Law School และ Human ...
สถานการณ์ไม่แน่นอนและอุณหภูมิติดลบกระทบชาวยูเครนในแนววางกำลังฝั่งตะวันออก

สถานการณ์ไม่แน่นอนและอุณหภูมิติดลบกระทบชาวยูเครนในแนววางกำลังฝั่งตะวันออก

, News / ไทย

สำหรับชาวยูเครนหลายแสนคนที่อาศัยอยู่ใกล้แนววางกำลังด้านตะวันออกของประเทศแล้ว แต่ละวันที่ผ่านไปคือการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด แปดปีของความขัดแย้งทำให้ผลกระทบด้านมนุษยธรรมเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เนื่องจาก น้ำ แก๊สหุงต้ม และ ไฟฟ้าที่มีอยู่อย่างจำกัด บวกกับอากาศหนาวเย็นแบบติดลบ โรคระบาดโควิด-19 และสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนต่อเนื่องยาวนาน ท่ามกลางสถานการณ์อันยากลำบากนี้ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross) จึงเร่งส่งความช่วยเหลือ ทั้ง ...
ICRC แต่งตั้งทีมบริหารใหม่ขับเคลื่อนองค์กรท่ามกลางความท้าทายปัจจุบัน

ICRC แต่งตั้งทีมบริหารใหม่ขับเคลื่อนองค์กรท่ามกลางความท้าทายปัจจุบัน

, News / ไทย

นครเจนีวา – ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross – ICRC) รับรองการแต่งตั้งผู้อำนวยการใหม่ 6 ตำแหน่ง โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2022 และมีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี ...
พุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ : การบรรยายโดย แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ

พุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ : การบรรยายโดย แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ

, บทความ / บล็อค

พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่หลายคนรู้จักและเข้าใจว่าเป็นศาสนาแห่งอหิงสา (ความไม่เบียดเบียนและการเว้นจากการทำร้าย) และบ่อยครั้งมีการนำพุทธศาสนามาใช้ในบริบทของความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการป้องกัน การเจรจา รวมถึงแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง แต่ที่ผ่านมา มีการวิจัยค่อนข้างน้อยเกี่ยวกับทัศนคติของพุทธศาสนาที่มีต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยไม่อาจป้องกันได้หรือยังเกิดขึ้นอยู่ ดังนั้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) จึงพยายามเชื่อมประสานและสัมพันธ์กับวงการพุทธศาสนาทั้งในภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่น เพื่อบุกเบิกริเริ่มศึกษาวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติของพุทธศาสนาและหลักธรรมคำสอนที่มีต่อการทำสงคราม รวมถึงความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของพุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) ในการบรรเทาอันตรายและความทุกข์ทรมานจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แอนดรูว์ บาร์เทิล-สมิธ ...
กฎหมายมนุษยธรรมอิสลาม: การนำเสนอโดย ดร. ซีอาเลาะห์ ราห์มานี

กฎหมายมนุษยธรรมอิสลาม: การนำเสนอโดย ดร. ซีอาเลาะห์ ราห์มานี

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ได้ศึกษาความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) ที่มีร่วมกับศาสนาต่าง ๆ มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยมุ่งหมายสำคัญของการศึกษาคือเพื่อเรียนรู้และกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการพูดคุยอภิปรายระหว่างกันเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ เช่น ศาสนาอิสลามนั้นเป็นศาสนาหนึ่งที่มีชุดกฎหมายมนุษยธรรมเป็นของตัวเองและนำชุดกฎหมายนี้มาใช้ในการบรรเทาความทุกข์ทรมานในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ ในการบรรยายอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหลักสูตร “ความขัดแย้ง ความรุนแรง และงานด้านมนุษยธรรม” ซึ่ง สถาบันพระปกเกล้า จัดขึ้นร่วมกับ ICRC และมูลนิธิสถาบันการจัดการวิถีพุทธเพื่อสุขและสันติ (มูลนิธิ สกพ.) ...
ICRC เผย การสู้รบด้วยอาวุธระเบิดร้ายแรงในเขตเมืองกระทบกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก

ICRC เผย การสู้รบด้วยอาวุธระเบิดร้ายแรงในเขตเมืองกระทบกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก

, News / ไทย

ในขณะที่โลกมีความเป็นเมืองมากขึ้น ความขัดแย้งและการสู้รบก็ขยับเข้ามาในเมืองมากขึ้นเช่นกัน คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross- ICRC) ระบุในรายงานล่าสุด “Explosive Weapons with Wide Area Effects: A Deadly Choice in ...
คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ จับมือพันธมิตรจัดนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรกในไทย

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ จับมือพันธมิตรจัดนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรกในไทย

, News / ไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ 22 ธันวาคม 2021 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ จับมือพันธมิตรจัดนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรกในไทย กรุงเทพฯ – คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross – ICRC) หรือ ไอซีอาร์ซี ร่วมกับ สภากาชาดไทย สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International ...
การส่งสัญญาณด้านการคุ้มครองทางกฎหมายในโลกดิจิทัล คือวิถีใหม่ของเครื่องหมายพิเศษอันเด่นชัดหรือไม่

การส่งสัญญาณด้านการคุ้มครองทางกฎหมายในโลกดิจิทัล คือวิถีใหม่ของเครื่องหมายพิเศษอันเด่นชัดหรือไม่

, บทความ / บล็อค

 ปัจจุบัน มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสู้รบมากขึ้นอย่างชัดเจน แม้ว่าจะมาพร้อมกับความเสี่ยงจำนวนมาก แต่การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวก็อาจมาพร้อมกับโอกาสใหม่ ๆ ได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีใหม่ ๆ อาจเป็นสิ่งที่ช่วยส่งสัญญาณทางดิจิทัลว่า โครงสร้างพื้นฐานและทรัพย์สินบางอย่างได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศหรือไม่ ซึ่งกว่า 150 ปี ที่ผ่านมา เครื่องหมายกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดง และไม่นานมานี้คือ เครื่องหมายคริสตัลแดง ได้ร่วมกันทำหน้าที่ดังกล่าวนี้บนโลกทางกายภาพ แล้วจะเป็นไปได้หรือไม่ หากพิจารณาจากมุมมองด้านความปลอดภัยของโลกไซเบอร์แล้ว ว่าควรมีการทำเครื่องหมายสินทรัพย์ดิจิทัลให้แก่หน่วยงานที่ได้รับการคุ้มครองในช่วงเวลาที่เกิดการขัดกันทางอาวุธ รวมถึงสมควรแนะนำให้มีการคุ้มครองด้วยหรือไม่ ...
เกิดอะไรในอัฟกานิสถาน สถานการณ์ล่าสุดและผลกระทบของภัยพิบัติจากน้ำมือมนุษย์

เกิดอะไรในอัฟกานิสถาน สถานการณ์ล่าสุดและผลกระทบของภัยพิบัติจากน้ำมือมนุษย์

, บทความ / บล็อค

ข้อความต่อไปนี้ เป็นแถลงการณ์ของนายโดมินิก สติลฮาร์ท ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) หลังลงพื้นที่เป็นเวลา 6 วันเพื่อสำรวจความต้องการด้านมนุษยธรรมในประเทศอัฟกานิสถาน “ผมหน้าซีด ภาพที่เห็นจากระยะไกลในวอร์ดผู้ป่วยเด็กของโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดประจำเมืองกันดาฮาร์ คือเด็กที่ผอมแห้งกับลมหายใจอันรวยริน ผมมองเข้าไปในดวงตาที่ว่างเปล่าของเด็กๆ ที่หิวโหย และใบหน้าอันปวดร้าวของพ่อแม่ที่สิ้นหวัง สถานการณ์เช่นนี้ช่างน่าโมโหเสียจริง “สิ่งที่น่าเสียใจสุด คือผลกระทบเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นด้วยน้ำมือมนุษย์ มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจจากนานาชาติ เพื่อตอบโต้การกระทำของผู้มีอำนาจในคาบูล กำลังผลักให้ผู้คนหลายล้านต้องตกที่นั่งลำบาก พวกเขาไม่มีแม้แต่ปัจจัย 4 ...
ร่างผู้เสียชีวิตจากสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์สถูกค้นพบเพื่อส่งคืนอาร์เจนติน่าหลังสงครามผ่านมา 38 ปี 

ร่างผู้เสียชีวิตจากสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์สถูกค้นพบเพื่อส่งคืนอาร์เจนติน่าหลังสงครามผ่านมา 38 ปี 

, บทความ / บล็อค

หลายคนจดจำสหราชอาณาจักรในฐานะจักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่ตกดิน เขตแดนของอังกฤษในศตวรรษที่ 19-20 ขยายอำนาจกว้างใหญ่ไพศาลแม้แต่อาณาจักรโรมันโบราณก็ไม่สามารถทาบรัศมีได้ อย่างไรก็ดี ดินแดนทั้งหมดนี้แทบจะล้มหายไปสิ้นในช่วงครึ่งศตวรรษที่ 20 ครั้งสุดท้ายที่สหราชอาณาจักรต่อสู้เพื่อปกป้องดินแดนต่างชาติที่อยู่ในครอบครอง คือการต่อสู้เพื่อปกป้องเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ที่มีประชากรไม่มากไปกว่าหนึ่งหมู่บ้าน เกาะที่ว่าเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวอังกฤษภายใต้ชื่อ ‘หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ส’ แต่เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวอาร์เจนติน่าว่า ‘หมู่เกาะมัลบินัส’ หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ส (หรือหมู่เกาะมัลบินัส) เป็นชนวนปัญหาระหว่างสหราชอาณาจักรและอาร์เจนติน่ามาอย่างยาวนาน อังกฤษยึดเอาเกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ ในขณะที่อาร์เจนติน่า หลังประกาศอิสรภาพจากสเปน ก็อ้างสิทธิ์ในหมู่เกาะโดยกล่าวว่าหมู่เกาะมัลบินัสเป็นเขตแดนเก่าใต้อาณานิคมของสเปน ความขัดแย้งเรื่องหมู่เกาะฟอล์กแลนด์สมาปะทุในปี 1982 ...