IHL

ICRC ทำอะไรในสงครามโลกครั้งที่สอง? : ฟรีดริช บอน ผู้ช่วยเหลือชาวยิวหลายพันในฮังการี

ICRC ทำอะไรในสงครามโลกครั้งที่สอง? : ฟรีดริช บอน ผู้ช่วยเหลือชาวยิวหลายพันในฮังการี

, บทความ / บล็อค

หลายคนอาจคุ้นชื่อออสการ์ ชินด์เลอร์ (Oskar Schindler) อดีตสมาชิกพรรคนาซีและเจ้าของโรงงานที่เอ่ยปากขอตัวนักโทษชาวยิวมาทำงานจนสามารถช่วยคนหลายพันจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในโปแลนด์ วีรกรรมของชินด์เลอร์ ถูกยกย่องจากคนทั่วโลกและกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ภาพยนต์ในตำนาน ‘Schindler’s List (1993)’ ในระหว่างที่ชิลด์เลอร์กำลังทำหน้าที่ของเขาในโปแลนด์ ทราบหรือไม่ว่าในฮังการี มีชายอีกคนที่พยายามอย่างสุดความสามารถ เพื่อรักษาชีวิตชาวยิวหลายพันในกรุงบูดาเปสต์ ย้อนกลับไปในเดือนกรกฎาคม 1944 ฟรีดริช บอน (Friedrich Born) ผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee ...
The Promise: กระดาษหนึ่งแผ่นเปลี่ยนชีวิตคุณได้อย่างไร?

The Promise: กระดาษหนึ่งแผ่นเปลี่ยนชีวิตคุณได้อย่างไร?

, บทความ

  ICRC จับมือกับผู้กำกับฝีมือดี Bassam Tariq ถ่ายทอดภาพสะเทือนใจของครอบครัวที่พลัดพรากผ่านหนังสั้นความยาว 4 นาที เรื่อง Wa’ad (The Promise – คำสัญญา) หนังบอกเล่าเรื่องราวยากจะบรรยายผ่านสายตาและบทสนทนาของลูกชายกับผู้เป็นพ่อที่ซ้อนทับเหตุการณ์ต่างๆ จนนำไปสู่บทสรุปที่น่าตกตะลึง ‘แนวคิดของหนังเรื่องนี้คือการสื่อสารให้ผู้ชมได้ฉุกคิดว่าข้อความในกระดาษมีพลังมากแค่ไหน’ Bassam Tariq กล่าว ‘มันอาจไกลตัวจนเรานึกไม่ถึง แต่ในมุมหนึ่งของโลก มีผู้คนมากมายที่ต้องพลัดพราก ...
กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับข้อกำหนดว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นเอกภาพของครอบครัวและผู้ย้ายถิ่นฐานที่หายสาบสูญหรือเสียชีวิต

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับข้อกำหนดว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นเอกภาพของครอบครัวและผู้ย้ายถิ่นฐานที่หายสาบสูญหรือเสียชีวิต

, บทความ

ในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ การทำให้ผู้ย้ายถิ่นฐานต้องพลัดพรากจากครอบครัวหรือถูกจับกุมคุมขัง จนทำให้ผู้ย้ายถิ่นฐานเหล่านั้นต้องหายสาบสูญหรือเสียชีวิตถือเป็นการละเมิดกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) อุปสรรคสำคัญที่พบในการคุ้มครองผู้ย้ายถิ่นฐานคือ ผู้ย้ายถิ่นฐานส่วนใหญ่มักพำนักแยกกันอยู่ในหลายประเทศ ทำให้เกิดปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างสมาชิกในครอบครัว เนื่องจากใช้ภาษาที่แตกต่างกัน นอกจากนี้อุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การส่งข้อมูลข้ามแดนระหว่างหน่วยงานของแต่ละประเทศที่อาจทำให้เกิดปัญหาในแง่ของการรวบรวมข้อมูล ที่จะถูกนำมาใช้ในการยืนยันตัวตนของผู้ย้ายถิ่นฐานที่เสียชีวิตแล้ว กรณีดังกล่าวอาจมีความซับซ้อนมากขึ้นหากผู้ย้ายถิ่นฐานไม่ต้องการติดต่อกับครอบครัว เพราะกลัวจะถูกส่งตัวกลับประเทศ (deportation) หรือกลัวว่าจะทำให้ครอบครัวในประเทศต้นทางต้องเผชิญกับการแก้แค้น(reprisal) ดังนั้นหากปราศจากการถ่ายทอดข้อมูลให้ครอบครัวรับรู้ รวมถึงการยืนยันตัวตนของผู้ตั้งถิ่นฐานด้วยการตรวจสอบร่างของผู้เสียชีวิต จึงทำให้ผู้ย้ายถิ่นฐานหลายคนมีสถานะเป็นผู้หายสาบสูญทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงอาจจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม ...
เมื่อผู้ช่วยชีวิตตกเป็นเป้าหมาย กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกล่าวถึงความรุนแรงทางการแพทย์ไว้อย่างไร?

เมื่อผู้ช่วยชีวิตตกเป็นเป้าหมาย กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกล่าวถึงความรุนแรงทางการแพทย์ไว้อย่างไร?

, บทความ / บล็อค

ข่าวการเสียชีวิตของนักปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ในกาซ่า นำมาซึ่งคำถามใหญ่เกี่ยวกับความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในพื้นที่ขัดแย้ง หากมองย้อนกลับไป ปัญหาความรุนแรงต่อบุคลากรทางการแพทย์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเป็นประเด็นที่ ICRC ให้ความสนใจและพยายามผลักดันมาตลอด แม้ความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงานด้านการแพทย์จะได้รับการคุ้มครองตามหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (international humanitarian law – IHL) แต่ที่ผ่านมาบุคลากรที่ดูแลสุขอนามัยในพื้นที่ขัดแย้งกลับต้องเผชิญกับภาวะท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความท้าทายทางวิชาชีพ หรืออันตรายต่อชีวิตของตัวผู้ปฎิบัติงาน ในปี พ.ศ. 2551 กระทรวงสาธารณสุขของประเทศอิรักประเมินว่าบุคลากรทางการแพทย์มากกว่า 625 คนถูกสังหารตั้งแต่ปี พ.ศ. ...
ปกป้องโลกจากมหันตภัยนิวเคลียร์

ปกป้องโลกจากมหันตภัยนิวเคลียร์

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross: ICRC) เรียกร้องให้บรรดารัฐ ผู้นำและประชากรโลก ร่วมมือกันป้องปรามการใช้อาวุธนิวเคลียร์ มิฉะนั้นมนุษยชาติอาจต้องเผชิญมหันตภัยจากอาวุธนิวเคลียร์ที่เกินเยียวยาก็เป็นได้ เมื่อพิจารณาถึงอานุภาพที่ร้ายแรงของอาวุธนิวเคลียร์แล้ว ทางออกที่ดีที่สุดในเวลานี้คือการดำเนินการในเชิงป้องกันจนกว่าจะมั่นใจได้ว่าอาวุธนิวเคลียร์จะไม่ถูกนำมาใช้อีกต่อไป เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะจากอาวุธนิวเคลียร์ รัฐทั้งหลายต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ดังนี้ รัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในความครอบครองรวมถึงรัฐที่เป็นพันธมิตรต้องหาหนทางเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยงที่อาวุธนิวเคลียร์จะถูกนำมาใช้ พร้อมทั้งให้ประชาคมโลกร่วมเป็นผู้สอดส่องปฏิบัติการดังกล่าว รัฐที่เป็นภาคีสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ) Treaty on ...
เมียนมา: ความวุ่นวายในรัฐคะฉิ่นกับหลายชีวิตที่ต้องจากบ้าน

เมียนมา: ความวุ่นวายในรัฐคะฉิ่นกับหลายชีวิตที่ต้องจากบ้าน

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

ประชาชนในรัฐคะฉิ่นประเทศเมียนมา มีชีวิตอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมานานตั้งแต่ปี 2011 เมื่อความรุนแรงปะทุขึ้นอีกครั้งในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประชาชนกว่า 6,800 คน ต้องอพยพออกจากที่อยู่อาศัย ตัวเลขนี้ยังไม่นับไปถึงประชากรอีกราว 100,000 ที่กลายเป็นผู้พลัดถิ่นมาแล้วหลายปีก่อนหน้า สถาณการณ์ในเดือนล่าสุด(เมษายน) ผู้คนมากมายต้องเดินเท้าจากพื้นที่เสี่ยงเป็นระยะทางหลายกิโลเมตรเพื่อมายังสถานที่ตั้งค่ายสำหรับผู้พลัดถิ่นในโบสถ์นอกเมือง Myit Kyi ...
บุคลากรทางการแพทย์ตกเป็นเป้าโจมตีจากเหตุความไม่สงบไม่เว้นแต่ละวัน

บุคลากรทางการแพทย์ตกเป็นเป้าโจมตีจากเหตุความไม่สงบไม่เว้นแต่ละวัน

, บทความ

แม้ว่าในปี 2016 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะผ่านมติห้ามโจมตีสถานพยาบาล แต่สองปีหลังการบังคับใช้ บุคลาการทางการแพทย์ที่ปฎิบัติภารกิจด้านมนุษยธรรมทั่วโลก ก็ยังตกเป็นเป้าหมายการโจมตีไม่เว้นแต่ละวัน เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมานี้เอง ที่สาธารณรัฐแอฟริกากลาง มีกลุ่มติดอาวุธบุกโจมตีโรงพยาบาลที่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของ ICRC ปฎิบัติหน้าที่อยู่ เหตุความรุนแรงลุกลามไปถึงการบังคับจอดและข่มขู่รถพยาบาลที่กำลังรับส่งผู้ป่วยบนท้องถนน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ระบุว่าหน่วยงานด้านสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนรถพยาบาล ควรได้รับการคุ้มครองจากทุกฝ่าย น่าเสียดายว่า ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2016 จนถึงวันนี้ ICRC ได้รับแจ้งเหตุการโจมตีเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครทางการแพทย์มากกว่า ...
อาวุธเคมี : ฆาตกรร้าย ความหมาย และความสำคัญ

อาวุธเคมี : ฆาตกรร้าย ความหมาย และความสำคัญ

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

ข่าวการใช้อาวุธเคมีโจมตีผลเรือนในเมืองดูมาของซีเรีย และข่าวการใช้สารเคมีทำลายประสาทเพื่อลอบสังหารอดีตสายลับรัสเซียในอังกฤษ กลายเป็นประเด็นใหญ่ที่ทำให้การใช้อาวุธเคมี กลายเป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง มาฟัง  Johnny Nehme ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธเคมี ชีวภาพ รังสี และนิวเคลียร์ ของ ICRC ตอบคำถาม 5 ...
10 หนังที่ทำให้ภาพสงครามเปลี่ยนไป เมื่อคุณเข้าใจกฎหมายมนุษยธรรม (IHL)

10 หนังที่ทำให้ภาพสงครามเปลี่ยนไป เมื่อคุณเข้าใจกฎหมายมนุษยธรรม (IHL)

, บทความ / บล็อค

สงครามและความขัดแย้งเป็นมรดกของมนุษยชาติ เรื่องราวระหว่างสู้รบไม่ว่าจะในแง่มุมใด มักถูกใช้เป็นแรงบันดาลใจในโลกศิลปะอยู่เสมอ จะดีแค่ไหนถ้างานศิลป์ร่วมสมัยอย่างภาพยนตร์สามารถบอกเล่าความเป็นจริงของสงครามและกฎกติการะหว่างการสู้รบ (Rules of war) ให้ดังฟังชัด? ภาพยนตร์และซีรีย์ 10 เรื่องนี้อาจทำให้มุมมองสงครามของคุณเปลี่ยนไป 1. American Sniper   เกี่ยวกับ: การประยุกต์ใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) ในพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยและมีส่วนร่วมโดยตรงในการสู้รบ ผู้กำกับ: Clint Eastwood (United ...
ราเบ็ล เมืองมรดกโลกอายุ 800 ปี เสี่ยงโดนทำลายจากการสู้รบยืดเยื้อในเยเมน

ราเบ็ล เมืองมรดกโลกอายุ 800 ปี เสี่ยงโดนทำลายจากการสู้รบยืดเยื้อในเยเมน

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

สถานการณ์สู้รบภาคพื้นดินในเยเมนตึงเครียดอีกครั้ง คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) เรียกร้องให้กองกำลังทุกกลุ่มหลีกเลี่ยงการโจมตีเมืองโบราณราเบ็ล (Zabid) เมืองมรดกโลกที่เก่าแก่ที่สุดในเยเมน ความวุ่นวายในสงครามกลางเมืองเยเมนไม่เพียงเป็นอันตรายต่อพลเมืองแต่ยังทำให้สถาปัตยกรรมทรงคุณค่าอยู่ในภาวะเสี่ยง ราเบ็ลเป็นเมืองหลวงเก่าและเป็นเมืองสำคัญในวัฒนธรรมอิสลามที่มีอายุย้อนหลังไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 13-15 มหาวิทยาลัยราเบ็ล ถือเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำและมีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในหมู่ประเทศอาหรับและมุสลิม เป็นศูนย์กลางทางการวิจัยและเป็นภาพลักษณ์ขององค์ความรู้อิสลามที่ไม่อาจประเมินค่าได้ ภายในเมืองยังมีกลุ่มอาคารอีกมากมาย ทั้งบ้าน มัสยิด ...