IHL

เวทมนตร์ดำ ซอมบี้ กับมังกร เรื่องเล่าขานจากกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21

เวทมนตร์ดำ ซอมบี้ กับมังกร เรื่องเล่าขานจากกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21

, บทความ / บล็อค

เมื่อเดือนที่ผ่านมาพวกเราได้ร่วมฉลองวันครบรอบปีที่ 70 ของอนุสัญญาเจนีวา ข้าพเจ้าจึงประสงค์ที่จะสำรวจข้อท้าทายที่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) เผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นข้อท้าทายสมัยโบราณและร่วมสมัย ตลอดจนตามสภาพความเชื่อและการปฏิบัติ เพื่อการดังกล่าวพวกเราจึงจำเป็นต้องมองไปในอดีตและมุ่งสู่อนาคต แม้ว่าอนาคตจะไม่แน่นอนก็ตาม ตลอดระยะเวลาเจ็ดสิบปี พวกเราคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) เชื่อมั่นว่าจะสามารถใช้กฎหมายพื้นฐานที่เรามีเพื่อเรียกร้องสิทธิและความคุ้มครองให้แก่มนุษยชาติในยามสงคราม เวทมนตร์ดำ พลังคุ้มครองจาก IHL เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าปฏิบัติภารกิจเป็นผู้แทนกฎหมายจาก ICRC ในปาปัวนิวกินี ข้าพเจ้าได้หารือกับรัฐมนตรีสาธารณสุขเพื่อยกร่างกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายกาชาด รัฐมนตรีผู้นั้นคือหัวหน้าเผ่าอาวุโสจากไฮแลนด์ (Highlands) ...
สถานะของบุคลากรทางการแพทย์: ชัดเจนหรือไม่

สถานะของบุคลากรทางการแพทย์: ชัดเจนหรือไม่

, บทความ / บล็อค

การให้ความคุ้มครองแก่ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์เป็นหลักการสำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ อันที่จริงแล้วสนธิสัญญาที่ข้องเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในระดับพหุภาคีฉบับแรกได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ ฃต่อมาบรรดารัฐยังได้พัฒนากรอบกฎหมายในเรื่องดังกล่าวผ่านสนธิสัญญาอีกด้วย กฎเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในสนธิสัญญาดังกล่าวจึงกลายเป็นกฎหมายจารีตประเพณี นอกจากนี้หลักการคุ้มครองดังกล่าวก็ได้รับการยอมรับเป็นที่ยุติตามกฎหมายแม้ในความขัดแย้งต่าง ๆ จะปรากฏว่ามีการโจมตีบุคลากรทางการแพทย์อยู่บ่อยครั้งก็ตาม ถึงกระนั้นความเห็นอย่างกว้างเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และหลักการทั่วไปกลับทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการตีความและการปรับใช้กฎหมาย ในบทความของศาสตราจารย์ Marco Sassòli (โปรดดูได้ที่นี่และที่นี่) ได้กล่าวถึงความไม่แน่นอนข้างต้น ประกอบกับมีบางประเด็นที่ควรค่าแก่การนำมาอภิปรายเพิ่มเติม ในบทความนี้ข้าพเจ้าได้อภิปรายในสามประเด็น ได้แก่ ข้อกำหนดให้มีการรักษาพยาบาลแก่บุคคลที่สังกัดกองทัพในฝ่ายตน การกำหนดสถานะบุคลากรทางการแพทย์ และการสูญเสียสิทธิแห่งความคุ้มครองของบุคคลเช่นว่า ข้อกำหนดให้มีการรักษาพยาบาลแก่บุคคลที่สังกัดกองทัพในฝ่ายของตน บทบัญญัติของสนธิสัญญาว่าด้วยกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้ระบุให้ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ได้รับการดูแลรักษาทางการแพทย์ (ข้อที่ ...
ศาสนาพุทธกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การประชุมครั้งแรกของโลกที่ศรีลังกา

ศาสนาพุทธกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การประชุมครั้งแรกของโลกที่ศรีลังกา

, บทความ / บล็อค

เมื่อวันที่ 4-6 กันยายนที่ผ่านมา ICRC ร่วมด้วยคณะนักวิชาการพุทธศาสนาและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จัดการประชุมว่าด้วยพุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมในเหตุขัดกันทางอาวุธที่ถ้ำดัมบุลลา ประเทศศรีลังกา โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 120 ท่าน จากวงการวิชาการ วงการกฎหมาย คณะสงฆ์ และบุคลากรในพระพุทธศาสนา มาร่วมกันหารือถึงความเป็นไปได้ในการใช้หลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาลดทอนความรุนแรงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในยามสงคราม งานในครั้งนี้จัดขึ้นที่วัดถ้ำดัมบูลลา (Dambulla Cave Temple) มรดกโลกแหล่งสำคัญในศรีลังกาที่มีอายุกว่า 2,200 ปี และมีความสำคัญทั้งกับพุทธศาสนิกชนนิกายเถรวาท ...
ภัยดิจิตอลต่อประชากรในสถานการณ์สงคราม: ช่องว่างห้าประการที่องค์กรทางด้านมนุษยธรรมควรให้ความสำคัญ

ภัยดิจิตอลต่อประชากรในสถานการณ์สงคราม: ช่องว่างห้าประการที่องค์กรทางด้านมนุษยธรรมควรให้ความสำคัญ

, บทความ / บล็อค

ปฏิวัติดิจิตอลได้พลิกโฉมชีวิตของผู้คนทั่วโลก ตั้งแต่พลเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้วที่สามารถเชื่อมต่อถึงกันด้วยอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จนกระทั่งผู้คนที่อาศัยในประเทศที่มีพัฒนาการน้อยกว่า ในสภาพแวดล้อมดิจิตอลที่เทคโนโลยียังไม่ทันสมัย หรือในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามและความรุนแรง องค์กรทางด้านมนุษยธรรมที่ทำงานในบริบทเหล่านี้จึงต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิตอล และนับวันยิ่งต้องพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิตอลดังกล่าวมากขึ้น แน่นอนว่าการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อย่างในกรณีของความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประชากรกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เชื่อมโยงกัน (วัตถุประสงค์ ความสามารถในการอ่านเขียน การสนับสนุนเงินทุน เป็นต้น) บล็อกนี้จะแสดงให้เห็นถึงช่องว่างห้าประการที่สำคัญที่องค์กรทางด้านมนุษยธรรมควรให้ความสำคัญ เกี่ยวกับภัยดิจิตอลต่อประชากรในสถานการณ์สงคราม ภายใต้สภาพแวดล้อมของความรุนแรงและความไม่มีเสถียรภาพ เทคโนโลยีทางดิจิตอลสามารถนำมาใช้สนับสนุนกิจกรรมด้านมนุษยธรรม อาทิ ใช้การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงการรับมือกับสถานการณ์ หรืออำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารสองทางระหว่างเจ้าหน้าที่ด้านมนุษยธรรมกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ในปัจจุบันผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้นำเครื่องมือและวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ในการติดตามสถานการณ์และเข้าถึงข้อมูลที่ต้องใช้สำหรับการตัดสินใจ เพื่อยกระดับการคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชากรที่ได้รับผลกระทบ ...
CALL FOR MOOTERS

CALL FOR MOOTERS

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมกับคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการแข่งขันการว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในวันที่ 14 กันยายน 2562 (รอบภาษาไทย) และ 15 กันยายน 2562 (รอบภาษาอังกฤษ) ที่ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านรายละเอียดได้ด่านล่าง ICRC Regional Delegation Bangkok with Faculty of ...
เหตุผล 5 ประการ ที่ทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับของ ICRC ไม่สมควรนำไปใช้ในกระบวนการดำเนินคดี

เหตุผล 5 ประการ ที่ทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับของ ICRC ไม่สมควรนำไปใช้ในกระบวนการดำเนินคดี

, บทความ / บล็อค

ภาระกิจของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross: ICRC) โดยลักษณะแล้ว อาจเป็นเพียงองค์กรมนุษยธรรมเพียงองค์กรเดียวที่สามารถเข้าถึงพื้นที่และบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากสงครามและสถานการณ์ความรุนแรงต่าง ๆ ข้อมูลที่ ICRC ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งรวมไปถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายที่ได้รับการร้องเรียน ถูกร้องขอใช้ข้อมูลดังกล่าวในกระบวนการดำเนินคดี ถึงแม้ว่าอาณัติของ ICRC กำหนดให้มีการส่งเสริมความพยายามในการเอาผิดกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ แต่ ICRC ยังคงต้องดำเนินหน้าที่ดังกล่าวควบคู่ไปกับการรักษาและดำเนินบทบาทในการประกันให้มีการเคารพกฎหมาย ผ่านการเจรจาหารือในระดับทวิภาคีที่เป็นไปโดยลับ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ...
*SPOILERS* #แดนี่ชนะแรมซี่ ยืนหนึ่งขึ้นเป็นตัวละครที่ละเมิดกฎแห่งสงครามมากที่สุดในซีรีย์ Game of Thrones #GoT #GoTIHL

*SPOILERS* #แดนี่ชนะแรมซี่ ยืนหนึ่งขึ้นเป็นตัวละครที่ละเมิดกฎแห่งสงครามมากที่สุดในซีรีย์ Game of Thrones #GoT #GoTIHL

, บทความ / บล็อค

8 ซีซั่น 73 ตอน เราพบการกระทำผิดกฎหมายมนุษยธรรมมากถึง 137 ครั้ง ใน 42 ข้อหา นักกฎหมายของเราพบว่าบรรดาลอร์ดและเลดี้นิยมการทรมารมากที่สุด (21 ครั้ง) ตามหลังมาติดๆ คือการทำลายชีวิตพลรบที่ยอมแพ้หรือได้รับบาดเจ็บระหว่างสงคราม (17 ครั้ง) ก่อนเริ่มซีซั่น 8 แรมซีย์ โบลตัน จอมโฉดแห่งเวสเทอรอส เคยทำแต้มนำด้วยการละเมิดกฎแห่งสงครามมากถึง ...
*SPOILERS* มังกรเป็นอาวุธที่เกินกว่าเหตุหรือไม่? อะไรทำให้ #แม่มังกร เป็นอาชญากรสงครามเบอร์หนึ่งประจำสัปดาห์ #GoT #GoTIHL

*SPOILERS* มังกรเป็นอาวุธที่เกินกว่าเหตุหรือไม่? อะไรทำให้ #แม่มังกร เป็นอาชญากรสงครามเบอร์หนึ่งประจำสัปดาห์ #GoT #GoTIHL

, บทความ / บล็อค

หลังคิงส์แลนดิ้งโดนเผาจนค่าฝุ่นน่าจะแซงหน้าจังหวัดเชียงใหม่ คงไม่มีใครปฎิเสธได้ว่าราชินีแดนี่ กลายเป็นผู้ละเมิดกฎแห่งสงครามที่สร้างความสะเทือนใจให้ใครหลายคนจนยากจะกู้กลับ ในมุมมองกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) การใช้มังกรถล่มเมืองถูกอธิบายไว้อย่าไร และแม่มังกรทำผิดกฎสงครามข้อไหนอีก? 1. มังกรเทียบเท่าอาวุธสงคราม – ในช่วงแรกของการต่อสู้ การใช้มังกรของแดนี่ถือว่าไม่ผิดกฎหมายมนุษยธรรม จริงอยู่ว่ามังกรดูจะเป็นอาวุธที่เกินกว่าเหตุ เพราะสร้างความเจ็บปวดทรมารให้ฝ่ายตรงข้ามจากการถูกเผาทั้งเป็น มังกรยังถูกมองเปรียบเทียบกับอาวุธสังหารอัตโนมัติ (killer robots หรือ lethal ...
*SPOILERS* ฆาตกรรม จับตัว โล่มนุษย์ รางวัลละเมิดกฎแห่งสงครามประจำสัปดาห์ตกเป็นของ #ควีนเซอร์ซี่ !!! #GoT #GoTIHL

*SPOILERS* ฆาตกรรม จับตัว โล่มนุษย์ รางวัลละเมิดกฎแห่งสงครามประจำสัปดาห์ตกเป็นของ #ควีนเซอร์ซี่ !!! #GoT #GoTIHL

, บทความ / บล็อค

นอกจากจะสวมมงกุฎราชินีแห่ง 7 อาณาจักร เซอร์ซี แลนนิสเตอร์ ยังเป็นตัวละครที่ทำผิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) มากที่สุดประจำสัปดาห์ ควีนของเราทำผิดอะไรบ้าง ใคอร์ซี่บอกออกสื่อว่า ต้องการให้ประชาชนปลอดภัย ฟังดูดีแต่มีเจตนาแฝง เพราะเธอพูดเองในภายหลัง อยากใช้ประชาชนเป็นโล่มนุษย์ป้องกันการโจมตีของฝ่ายตรงข้าม การนำพลเรือนมาเป็นโล่กำบังในยามสงคราม ถือว่าละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ 2. จับตัวประกันและฆาตกรรม – ...
Jean-Pictet Competition เมื่อการแข่งขันให้มากกว่าความรู้ทางกฎหมาย

Jean-Pictet Competition เมื่อการแข่งขันให้มากกว่าความรู้ทางกฎหมาย

, บทความ / บล็อค

“Taking the law out of the books” คือประโยคสั้นๆ อธิบายการแข่งขันด้านกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศของ ICRC ที่เรียกกันในชื่อภาษาอังกฤษว่า Jean-Pictet Competition งานที่ว่าจัดขึ้นทุกปีเพื่อเป็นเวทีสำหรับนักเรียนกฎหมายรุ่นใหม่ ให้ได้ลองใช้ความรู้ด้านกฎหมาย ในการว่าความร่วมกับผู้เข้าแข่งขันในระดับนานาชาติ สิริกมล สุรทิณฑ์ (แป้ง), สาริสา ทีฆตระกูล (แอ๊นท์) และ ...