ไอซีอาร์ซี

ความพิการไม่ใช่ข้อจำกัดทางความสามารถ ขอแค่เรากล้าออกมาใช้ชีวิต จะรู้ว่าโลกนี้กว้างใหญ่และมีใครหลายคนพร้อมให้โอกาสเราเสมอ

ความพิการไม่ใช่ข้อจำกัดทางความสามารถ ขอแค่เรากล้าออกมาใช้ชีวิต จะรู้ว่าโลกนี้กว้างใหญ่และมีใครหลายคนพร้อมให้โอกาสเราเสมอ

, บทความ / บล็อค

“ความพิการไม่ใช่ข้อจำกัดทางความสามารถ แต่โอกาสและการยอมรับจากสังคมจะเป็นตัวแปรหลักที่เปิดทางให้ผู้พิการ สามารถมีส่วนร่วมในส่วนต่างๆ ของสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี” คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) และสภากาชาดไทย ร่วมกันจัดโครงการฝึกอบรมสร้างเสริมสมรรถนะคนพิการที่ปฎิบัติงานประจำเหล่ากาชาดและกิ่งกาชาด งานในครั้งนี้จัดขึ้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีความตั้งใจหลักเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมให้ผู้พิการสามารถปฎิบัติงานในเหล่ากาชาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราเก็บสัมภาษณ์ที่แฝงด้วยแรงบันดาลใจมาเล่าสู่กันฟัง ขอแค่เรากล้าออกมาใช้ชีวิต จะรู้ว่าโลกนี้กว้างใหญ่และมีใครหลายคนพร้อมให้โอกาสเราเสมอ “คนส่วนใหญ่รู้ว่าถ้าอยากบริจาคร่างกายต้องไปศิริราช อันที่จริงแค่มาเหล่ากาชาดประจำจังหวัด ก็สามารถบริจาคอวัยวะได้ หลายคนคิดว่าการบริจาคเลือดเป็นเรื่องยุ่งยาก ผมก็ไม่เคยบริจาคกระทั่งมาทำงานกับกาชาดไทย บางคนคิดว่าการมีข้อจำกัดทางร่างกายทำให้ชีวิตต้องถูกจำกัด ผมเชื่อว่าถ้าเรายอมรับในสิ่งที่เป็น ไม่กลัวคำสบประมาทนินทาเราจะพบว่าโลกมีทางให้ทุกคนเลือกเดิน แม้เราจะเคลื่อนที่ไปบนรถเข็น “ผมมีข้อบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว ...
ปฏิบัติการทางไซเบอร์กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ บทสรุปที่ ICRC ได้รับจากการหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี

ปฏิบัติการทางไซเบอร์กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ บทสรุปที่ ICRC ได้รับจากการหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี

, บทความ / บล็อค

ปฏิบัติการทางไซเบอร์กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ บทสรุปที่คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross – ICRC) ได้รับจากการหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี การโจมตีทางไซเบอร์และผลที่ตามมากำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ปฏิบัติการทางไซเบอร์ เช่น WannaCry NotPetya หรือการโจมตีโครงข่ายไฟฟ้าในประเทศยูเครน กระทบต่อการให้บริการที่จำเป็นแก่พลเรือน และยังชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ของการให้บริการดังกล่าวภายใต้การโจมตีทางไซเบอร์ เมื่อหกเดือนที่ผ่านมาในที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญ พวกเราเริ่มบทสนทนาในหัวข้อเรื่องปฏิบัติการทางไซเบอร์กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ ในวันนี้เรายินดีนำเสนอรายงานของ ICRC ...
30 ปี มีค่ามากแค่ไหน? อัลเบอร์โต้ ไคโร กับ 30 ปีเพื่อฟื้นฟูชีวิตผู้พิการในอัฟกานิสถาน

30 ปี มีค่ามากแค่ไหน? อัลเบอร์โต้ ไคโร กับ 30 ปีเพื่อฟื้นฟูชีวิตผู้พิการในอัฟกานิสถาน

, บทความ

เวลา 30 ปี มีค่ามากแค่ไหน? สำหรับอัลเบอร์โต้ ไคโร เพื่อนร่วมงานของเรา เวลา 30 ปี มีค่ามากพอจะช่วยผู้คนนับแสนในอัฟกานิสถานให้กลับมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังสูญเสียแขนขาไปกับสงครามและสถานการณ์ความรุนแรง ‘ผมหวังว่า ตัวเองจะมีเวลามากกว่านี้สัก 30 ปี’ อัลเบอร์โต้ให้สัมภาษณ์ สำหรับเขา การได้เห็นรอยยิ้มและชีวิตใหม่ของผู้คนในอัฟกาสนิสถาน คือของขวัญมีค่ามากที่สุดของชีวิต หมุนเวลากลับไปในปี 1991 อัลเบอร์โต้ ไคโร ...
บนถนนสู่การพบหน้า : ร้อยเรื่องระหว่างทางจากชาวปาเลสไตน์กว่าจะได้พบผู้เป็นที่รักในเรือนจำอิสราเอล

บนถนนสู่การพบหน้า : ร้อยเรื่องระหว่างทางจากชาวปาเลสไตน์กว่าจะได้พบผู้เป็นที่รักในเรือนจำอิสราเอล

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

‘ใบอนุญาตผ่านทาง บัตรประจำตัว เงินสด’ เธอย้ำซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีอะไรที่ตกหล่น เธอคงให้อภัยตัวเองไม่ได้หากมีอะไรขาดหายไป ‘ข่าวจากครอบครัว เรื่องราวของเพื่อนบ้าน’ อย่าลืมบอกเขาว่าเธอคิดถึงเขามากแค่ไหน เพราะถ้าพลาดไป หมายถึงเธอต้องรอไปอีกร่วมหนึ่งเดือน ‘เสื้อผ้าชุดเก่า หนังสือที่เขาเคยอ่าน ภาพถ่ายที่เริ่มเลือนลาง และจดหมายที่มีลายมือของเขา’ เธอมองอีกครั้งก่อนออกเดินทาง ...
เผยปัญหาความรุนแรงทางเพศในยามสงคราม: รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี ค.ศ. 2018

เผยปัญหาความรุนแรงทางเพศในยามสงคราม: รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี ค.ศ. 2018

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการรางวัลโนเบลประกาศมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี ค.ศ. 2018 ให้แก่ นาเดีย มูราด (Nadia Murad) และ เดนิส มูเควเก นักรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงทางเพศในยามสงคราม ข่าวนี้สร้างความหวังให้กับพลเรือน โดยเฉพาะในกลุ่มสตรี ที่เคยเผชิญกับประสบการณ์เลวร้ายในยามสงคราม เฮเลน เดอแฮม ผู้อำนวยการฝ่ายกฏหมายและนโยบายระหว่างประเทศของ ICRC แสดงความยินดีกับผู้รับรางวัลทั้งสอง และยกย่องการตัดสินใจของคณะกรรมการที่ดึงความสนใจมาสู่อาชญากรรมที่เกิดขึ้นในยามสงครามซึ่งมักจะไม่ถูกหยิบยกมาพูดถึง และเฮเลนยังได้กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้ที่เคยประสบกับความรุนแรงทางเพศในสถานการณ์ความขัดแย้งรวมถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ความรับผิดต่อการกระทำความรุนแรงทางเพศในยามสงคราม: ...
‘อย่าลืมพวกเรา’: เสียงเล็กๆ จากเจ็ดครอบครัวสุดท้ายในหมูบ้านวาเดียเนีย ประเทศยูเครน

‘อย่าลืมพวกเรา’: เสียงเล็กๆ จากเจ็ดครอบครัวสุดท้ายในหมูบ้านวาเดียเนีย ประเทศยูเครน

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

วาเดียเนีย หมู่บ้านเล็กๆ ทางตอนใต้ของยูเครนเคยเป็นสถานที่ที่ใครหลายคนเรียกว่าบ้าน จากประชากรกว่า 300 ครอบครัว ปัจจุบันวาเดียเนียมีสมาชิกเหลือเพียง 13 คนเท่านั้น ย้อนไปหลายปีก่อนหน้า หมู่บ้านที่เงียบสงบเคยเป็นจุดหมายปลายทางของชาวเมืองที่อยากหนีความวุ่นวายช่วงปลายสัปดาห์ มาหาธรรมชาติและบรรยากาศเรียบง่ายของโรงนา พื้นหญ้า และฝูงปศุสัตว์ ด้วยความที่วาเดียเนียอยู่ห่างจากเมืองใหญ่อย่างมาริอูปอลที่มีประชากรเกือบครึ่งล้านเพียง ...
บุคลากรทางการแพทย์ตกเป็นเป้าโจมตีจากเหตุความไม่สงบไม่เว้นแต่ละวัน

บุคลากรทางการแพทย์ตกเป็นเป้าโจมตีจากเหตุความไม่สงบไม่เว้นแต่ละวัน

, บทความ

แม้ว่าในปี 2016 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะผ่านมติห้ามโจมตีสถานพยาบาล แต่สองปีหลังการบังคับใช้ บุคลาการทางการแพทย์ที่ปฎิบัติภารกิจด้านมนุษยธรรมทั่วโลก ก็ยังตกเป็นเป้าหมายการโจมตีไม่เว้นแต่ละวัน เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมานี้เอง ที่สาธารณรัฐแอฟริกากลาง มีกลุ่มติดอาวุธบุกโจมตีโรงพยาบาลที่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของ ICRC ปฎิบัติหน้าที่อยู่ เหตุความรุนแรงลุกลามไปถึงการบังคับจอดและข่มขู่รถพยาบาลที่กำลังรับส่งผู้ป่วยบนท้องถนน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ระบุว่าหน่วยงานด้านสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนรถพยาบาล ควรได้รับการคุ้มครองจากทุกฝ่าย น่าเสียดายว่า ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2016 จนถึงวันนี้ ICRC ได้รับแจ้งเหตุการโจมตีเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครทางการแพทย์มากกว่า ...
ซูดานใต้: เมื่อฝูงสัตว์มีค่ากว่าเงินทอง

ซูดานใต้: เมื่อฝูงสัตว์มีค่ากว่าเงินทอง

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

การดูแลฝูงปศุสัตว์ให้มีสุขภาพดีช่วยให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ “ในประเทศที่มีความขัดแย้ง คุณต้องเตรีมพร้อมที่จะอพยพตลอดเวลา การเลี้ยงสัตว์ตอบโจทย์ข้อจำกัดที่ว่า เพราะมีความคล่องตัวสูงกว่าไม่เหมือนการทำเกษตรกรรม”  Ada Jacobsen ผู้เชี่ยวชาญด้านปศุสัตว์ของ ICRC กล่าวระหว่างการจัดกิจกรรมฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้ฝูงสัตว์ในหุบเขา Maura Hills “ถ้าไม่มีปศุสัตว์เป็นของตัวเอง ก็เหมือนคุณไม่ใช่ชาวซูดานใต้ ” ...
จากยูเครนตะวันออกสู่ชีวิตใหม่ในรัสเซีย

จากยูเครนตะวันออกสู่ชีวิตใหม่ในรัสเซีย

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

ICRC เริ่มให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยทางตะวันออกของประเทศยูเครนตั้งแต่ปี 2014 มีครอบครัวชาวยูเครนจำนวนมากตัดสินใจอพยพลี้ภัยความรุนแรงมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ทางตอนใต้ในประเทศรัสเซีย การทิ้งบ้านและชีวิตที่คุ้นเคยไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ความปลอดภัยของครอบครัวเป็นของมีค่าราคาแพงที่พวกเขายอมเสี่ยงทุกอย่างเพื่อแลกมา สามปีผ่านไป ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง? นาตาเลีย, วาเซลี่ และ ลูบอฟ จะเป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่องราวให้พวกเราได้รับรู้ นาตาเลีย ก่อนยูเครนจะเข้าสู่ความขัดแย้งอย่างปัจจุบัน ...
3 นาทีแสนมีค่า: ปฎิบัติการพิเศษเพื่อติดต่อสมาชิกครอบครัวที่พลัดพรากจากความไม่สงบในคองโก

3 นาทีแสนมีค่า: ปฎิบัติการพิเศษเพื่อติดต่อสมาชิกครอบครัวที่พลัดพรากจากความไม่สงบในคองโก

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

ทุกวันนี้เหตุความไม่สงบในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกพลักดันให้ประชากรหลายพันครัวเรือนต้องอพยพหนีความวุ่นวายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันมีชาวคองโกจำนวนมากอาศัยอยู่ในเมือง Lunda Norte ในประเทศแองโกล่า หลายครอบครัวไม่มีโอกาสกล่าวคำอำลา และไม่รู้เลยว่าครอบครัวของตนยังมีชีวิตอยู่หรือไม่  ไม่นานมานี้ ICRC และกาชาดแองโกล่าได้เริ่มปฎิบัติการพิเศษในค่ายลี้ภัยเพื่อให้ผู้อพยพได้มีโอกาสติดต่อกับสมาชิกครอบครัวที่ประเทศคองโกอีกครั้ง ‘เวลาเพียงแค่ไม่กี่นาทีสามารถสร้างรอยยิ้มให้ใครหลายคนได้อีกหลายวัน เพราะวินาทีนั้นพวกเขาได้รู้ว่าคนที่ตนรักยังมีชีวิตอยู่’ นี่เป็นครั้งแรกที่ Maria Nganza ...