ไอซีอาร์ซี

เป็นกลาง…ทำไม ว่าด้วยความเป็นกลางของงานมนุษยธรรมในพื้นที่สงคราม

เป็นกลาง…ทำไม ว่าด้วยความเป็นกลางของงานมนุษยธรรมในพื้นที่สงคราม

, บทความ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความเรื่อง ‘Back to basics: humanitarian principles in contemporary armed conflict’ และเผยแพร่ควบคู่กับชุดบทความเรื่อง Just Security โดย ฟิโอนา เทอร์รี หัวหน้าศูนย์วิจัยและประสบการณ์งายฝ่ายปฏิบัติการ (CORE) ของ ICRC ได้อธิบายถึงเรื่องราวประสบการณ์ตรงของการเปลี่ยนผันตัวเองจากคนที่เคยมีความเคลือบแคลงใจต่อหลักความเป็นกลางไปสู่คนที่เชื่อมั่นอย่างแรงกล้าต่อเป้าประสงค์และประโยชน์ของการรักษาจุดยืนที่เป็นกลางใยห้วงยามที่สถานการณ์สงครามกำลังดำเนินอยู่ จริงหรือไม่ การรักษาความเป็นกลางถือเป็นเรื่องผิดศิลธรรม ...
การขัดกันทางอาวุธในยูเครน: การสรุปโดยย่อว่าด้วยกฎขั้นพื้นฐานของ IHL

การขัดกันทางอาวุธในยูเครน: การสรุปโดยย่อว่าด้วยกฎขั้นพื้นฐานของ IHL

, บทความ

ช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั่วโลกต่างเห็นถึงวิกฤตที่เกิดขึ้นในประเทศยูเครนที่ต้องมีการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยเร่งด่วน ผู้อ่านหลายคนได้ติดต่อเข้ามาหาเราพร้อมกับคำถามต่าง ๆ ว่าด้วยการนำกฎแห่งสงคราม หรือ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) ไปใช้กับสถานการณ์ความขัดแย้งได้อย่างไรบ้าง ในบทความนี้ คอร์ดูลา โดรเก ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของเรา ได้สรุปกฎเกณฑ์สำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่บังคับควบคุมความขัดแย้ง และเน้นย้ำถึงข้อเรียกร้องของ ICRC ให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามภาระผูกพันทางกฎหมายของตนในการหลีกเลี่ยงไม่ให้พลเรือนต้องเดือดร้อนและเสียชีวิตไปมากกว่านี้ ก่อนสถานการณ์การสู้รบในประเทศยูเครนจะปะทุรุนแรงจนเป็นวงกว้างนั้น สิ่งที่ประจักษ์ชัดคือ การสู้รบครั้งนี้จะเกิดขึ้นในพื้นที่เมืองและนำมาสู่การสูญเสียชีวิต ทำลายล้าง และความบาดเจ็บของผู้คนเป็นวงกว้าง ตลอดจนภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ...
เรื่องเล่าจากแนวหลัง หลายใบหน้าหลากเรื่องราวของประชาชนในบูชา

เรื่องเล่าจากแนวหลัง หลายใบหน้าหลากเรื่องราวของประชาชนในบูชา

, บทความ

ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ บูชา เมืองเล็กๆ ที่เงียบสงบไม่ไกลจากกรุงเคียฟ เปลี่ยนโฉมหน้าไปจนทำให้หลายคนต้องหลั่งน้ำตา จากเมืองที่เคยเป็นบ้านของประชาชนเกือบสามแสน บัดนี้กลายเป็นเมืองร้างเนื่องจากประชากรเกือบทั้งหมด อพยพลี้ภัยจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ แต่ยังมีประชากรบางส่วนเลือกจะอยู่อาศัยในเมืองที่พวกเขารัก แม้มันจะยากลำบากเพราะระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานถึงการล่มสลาย ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟฟ้า ผู้คนเหล่านี้มีเหตุผลที่แตกต่าง และนี่คือเรื่องราวของผู้คนจำนวนน้อยมากที่เลือกจะอยู่ข้างหลัง “เพื่อนบ้านของเราย้ายออกไปหมดแล้ว เราฝังร่างของลูกชายคนโตไว้ที่นี่ และฉันไม่อยากทิ้งให้เขาต้องอยู่เพียงลำพัง ลูกชายคนที่สองไม่ต้องการทิ้งฉันไว้คนเดียว เราเลยตัดสินใจที่จะอยู่ ความกลัวทำให้ฉันแทบบ้า เราสวดภาวนากันทุกวัน” กาลีน่า ดิมิเทรียฟน่า ...
ค้นพบไอซีอาร์ซี

ค้นพบไอซีอาร์ซี

, E-Book

ทำ ไมต้องมี “ไอซีอาร์ซี” ตราบใดที่ผู้คนยังเลือกใช้สงครามและการสู้รบเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาความแตกต่าง ตราบนั้นจึง จำเป็นที่จะต้องมีองค์กรที่เป็นอิสระเฉก เช่นคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) เพื่อมาทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง แต่ไอซีอาร์ซีคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และปัจจุบัน ให้ความช่วยเหลือด้านใดบ้าง มาตามหาความหมายของไอซีอาร์ซีได้ที่เอกสารด้านล่าง ค้นพบไอซีอาร์ซี
การเข้าถึงน้ำ เป็นเรื่องความเป็นความตายในพื้นที่ขัดแย้ง

การเข้าถึงน้ำ เป็นเรื่องความเป็นความตายในพื้นที่ขัดแย้ง

, บทความ

วันที่ 22 มีนาคม เป็นวันน้ำโลก (World Water Day) ซึ่งเป็นวันที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะ ‘น้ำ’ เป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิต นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ราว 3 สัปดาห์หากขาดอาหาร แต่สามารถมีลมหายใจได้เพียง 3-4 วัน หากปราศจากน้ำดื่ม อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ด้วยภาวะสงครามและความขัดแย้ง การเข้าถึงน้ำสะอาดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นเรื่องจำเป็นถึงชีวิตที่เราอยากหยิบมาบอกเล่าในวันสำคัญนี้ วิกฤตน้ำสะอาดเมื่อสงครามกระจายตัวสู่พื้นที่เมือง ...
คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ จับมือพันธมิตรจัดนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรกในไทย

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ จับมือพันธมิตรจัดนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรกในไทย

, News / ไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ 22 ธันวาคม 2021 คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ จับมือพันธมิตรจัดนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรกในไทย กรุงเทพฯ – คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross – ICRC) หรือ ไอซีอาร์ซี ร่วมกับ สภากาชาดไทย สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International ...
ฝรั่งเจอผีมั้ยในงานนิติวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยบทบาทของผู้หญิงที่มีมากกว่าฉากในซีรีย์ CSI

ฝรั่งเจอผีมั้ยในงานนิติวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยบทบาทของผู้หญิงที่มีมากกว่าฉากในซีรีย์ CSI

, บทความ / บล็อค

นำศพออกจากที่เกิดเหตุ วิเคราะห์หลักฐาน พิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล ทั้งหมดนี้เป็นชีวิตจริงของคนทำงานด้านนิติวิทยาศาตร์ แน่นอนว่าการทำงานไขปริศนาเป็นเรื่องน่าสนใจ หลายปีที่ผ่านมาสื่อภาพยนต์และซีรีย์นำเสนอภาพลักษณ์ของอาชีพนี้ในฐานะบุคคลสำคัญในการไขคดีต่างๆ นั่นอาจเป็นเหตุลให้นิติวิทยาศาสตร์เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่ผู้หญิง (อันที่จริงนิติวิทยาศาสตร์เป็นหนึ่งในไม่กี่สาขาของสายงานวิทยาศาตร์ ที่มีผู้หญิงลงเรียนมากกว่าผู้ชาย) อะไรทำให้สายงานนี้น่าสนใจ นิติวิทยาศาสตร์ในความเป็นจริงทำงานแบบไหน มาไขข้อสงสัยไปกับดร.เชอรี่ ซี ฟอกซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ของ ICRC ทุกวันนี้นิติวิทยาศาตร์เหมือนจะเป็นสาขาของผู้หญิง ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา มีผู้หญิงเข้าศึกษาในสาขานี้มากถึง 70% ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? ...
มนุษยธรรมคืออะไร? อ่านมุมมองน่าสนใจผ่านศิลปินผู้ผลิตงานศิลปะ

มนุษยธรรมคืออะไร? อ่านมุมมองน่าสนใจผ่านศิลปินผู้ผลิตงานศิลปะ

, บทความ

“ศิลปะ” กับ “มนุษยธรรม” สองคำนี้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่กันได้อย่างไร? พามารู้จักแรงบันดาลใจจากสามศิลปินผู้สร้างงานศิลปะเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของการช่วยชีวิต Juli baker and summer กับงานมนุษยธรรมที่เป็นสีรุ้ง “คำว่ามนุษยธรรมเป็นโจทย์ที่นามธรรมมาก ต้องไปตีความทำความเข้าใจกับ 3 องค์กรอยู่ประมาณนึง ป่านตีความออกมาเป็นภาพด้านหลังซึ่งนำเสนอออกมาเป็นคนไม่ใส่อะไรเลย เพราะน่าจะแสดงถึงความเป็นมนุษย์มากที่สุด ที่เห็นอย่างแรกในภาพคือผู้หญิงถือดอกทานตะวัน ดอกไม้เป็นสิ่งที่ป่านชอบวาดอยู่แล้ว และมันเป็นตัวแทนความรู้สึกเชิงบวก พอดีป่านไปเจอว่าดอกทานตะวันเป็นตัวแทนของการต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งเป็นหนึ่งในงานของ ICRC ที่ด้านหลังมีภาพของกลุ่มคนหลายๆ สี ...
ถาม-ตอบ เรื่องการปกป้องทรัพย์สินทางวัฒนธรรม

ถาม-ตอบ เรื่องการปกป้องทรัพย์สินทางวัฒนธรรม

, บทความ / บล็อค

ทำไมการทำลายทรัพย์สินทางวัฒนธรรมในระหว่างความขัดแย้งจึงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง ผลกระทบของสงครามและความขัดแย้งเกิดขึ้นได้ไกลเกินกว่าโศกนาฏกรรมแบบที่เราคุ้นเคย ความเสียหายกินความหมายถึงสิ่งต่างๆ ทั้ง พิพิธภัณฑ์ อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์หรือแหล่งโบราณคดี – เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์และความทรงจำของผู้คนในท้องที่  การโจมตีทรัพย์สินทางวัฒนธรรมเป็นมากกว่าการทำลายอิฐ ไม้ หรือ ปูน แต่เป็นการทำลายศักดิ์ศรีและอนาคตของประชากรทั้งหมด ในปี 2016 ICRC สอบถามประชากร 17,000 คน จาก 16 ประเทศ กว่า ...
เวทมนตร์ดำ ซอมบี้ กับมังกร เรื่องเล่าขานจากกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21

เวทมนตร์ดำ ซอมบี้ กับมังกร เรื่องเล่าขานจากกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21

, บทความ / บล็อค

เมื่อเดือนที่ผ่านมาพวกเราได้ร่วมฉลองวันครบรอบปีที่ 70 ของอนุสัญญาเจนีวา ข้าพเจ้าจึงประสงค์ที่จะสำรวจข้อท้าทายที่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) เผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นข้อท้าทายสมัยโบราณและร่วมสมัย ตลอดจนตามสภาพความเชื่อและการปฏิบัติ เพื่อการดังกล่าวพวกเราจึงจำเป็นต้องมองไปในอดีตและมุ่งสู่อนาคต แม้ว่าอนาคตจะไม่แน่นอนก็ตาม ตลอดระยะเวลาเจ็ดสิบปี พวกเราคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) เชื่อมั่นว่าจะสามารถใช้กฎหมายพื้นฐานที่เรามีเพื่อเรียกร้องสิทธิและความคุ้มครองให้แก่มนุษยชาติในยามสงคราม เวทมนตร์ดำ พลังคุ้มครองจาก IHL เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าปฏิบัติภารกิจเป็นผู้แทนกฎหมายจาก ICRC ในปาปัวนิวกินี ข้าพเจ้าได้หารือกับรัฐมนตรีสาธารณสุขเพื่อยกร่างกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายกาชาด รัฐมนตรีผู้นั้นคือหัวหน้าเผ่าอาวุโสจากไฮแลนด์ (Highlands) ...