เป็นกลาง…ทำไม ว่าด้วยความเป็นกลางของงานมนุษยธรรมในพื้นที่สงคราม 25/07/2022, บทความ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความเรื่อง ‘Back to basics: humanitarian principles in contemporary armed conflict’ และเผยแพร่ควบคู่กับชุดบทความเรื่อง Just Security โดย ฟิโอนา เทอร์รี หัวหน้าศูนย์วิจัยและประสบการณ์งายฝ่ายปฏิบัติการ (CORE) ของ ICRC ได้อธิบายถึงเรื่องราวประสบการณ์ตรงของการเปลี่ยนผันตัวเองจากคนที่เคยมีความเคลือบแคลงใจต่อหลักความเป็นกลางไปสู่คนที่เชื่อมั่นอย่างแรงกล้าต่อเป้าประสงค์และประโยชน์ของการรักษาจุดยืนที่เป็นกลางใยห้วงยามที่สถานการณ์สงครามกำลังดำเนินอยู่ จริงหรือไม่ การรักษาความเป็นกลางถือเป็นเรื่องผิดศิลธรรม ...
#มาแชร์กัน ใหม่–มานิตา ส่งเสริม กับการออกแบบงานมนุษยธรรมในอีก 100 ปี ข้างหน้าที่ไม่ว่าโลกจะหมุนไปทางไหน คุณค่าความเป็นคนก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง 12/07/2022, บทความ ใหม่–มานิตา ส่งเสริม นอกจากจะเป็นชื่อที่คุ้นหูคุ้นตากันดีในแวดวงนักออกแบบกราฟิก เธอยังเป็นศิลปินที่อยู่เบื้องหลังโปสเตอร์มากมายของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และเป็นเจ้าของลายเส้นอันเป็นเอกลักษณ์บนหน้าปกหนังสือชื่อดังอีกหลายเล่ม วันนี้ทีมงาน ICRC ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณใหม่ถึงในห้องทำงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแรงบันดาลใจหลังได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการประกวดออกแบบภาพประกอบครั้งแรกของกลุ่มองค์กรกาชาดฯ “Designing Humanity in the 21st Century” ทำความรู้จักคุณใหม่ ศิลปินร่วมโครงการของเรา “สวัสดีค่ะ ใหม่นะคะ จริงๆ เป็นนักออกแบบกราฟิกนี่แหละ ไม่ค่อยแทนตัวเองเป็นศิลปินเท่าไหร่ เพราะใหม่ไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็น ...
เปิดรับผลงานภาพประกอบในหัวข้อ “Designing Humanity in the 21st Century” (ขยายเวลาถึงวันที่ 15 กันยายน) 17/06/2022, บล็อค คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ร่วมกับ สภากาชาดไทย (TRCS) สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) และวิทยาลัยเพาะช่าง จัดการประกวดออกแบบภาพประกอบ (Illustration Design) ภายใต้หัวข้อ “Designing Humanity in the 21st Century” ชวนทุกท่านมาร่วมออกแบบงานมนุษยธรรมในศตวรรษที่ 21 ด้วยการทำความเข้าใจงานมนุษยธรรมของกลุ่มองค์กรกาชาดฯ ที่ดำเนินต่อเนื่องมาอย่างยาวนานเกือบ 160 ปี ...
พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจในการสนับสนุนกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ บทความโดยศ.ปีเตอร์ ฮาร์วีย์ 19/05/2022, E-Book พุทธศาสนากับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นประเด็นที่องค์กรของเราให้ความสนใจและได้ให้การสนับสนุนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้มาอย่างต่อเนื่อง บทความล่าสุดของศาสตราจารย์ปีเตอร์ ฮาร์วีย์ (ศาสตราจารย์กิตติคุณมหาวิทยาลัยซันเดอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร) หนึ่งในนักวิชาการชั้นนำของโลกด้านพระพุทธศาสนาได้นำเสนอประด็นที่ว่าอย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่สามารถสนับสนุนกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในการลดความอันตรายและความทุกข์ทรมานให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ไปจนถึงหลีกเลี่ยงการสร้างทุกข์ที่ไม่จำเป็นทั้งต่อผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ฉบับร่างของบทความชิ้นนี้ได้ถูกนำเสนอเป็นครั้งแรกในการประชุม “การลดทอนความทุข์ทรมานในสถานการณ์ขัดแย้ง: ความเกี่ยวข้องกันของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและพระพุทธศาสนา” จัดขึ้นที่ประเทศศรีลังกาเมื่อปี 2019 ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ฮาร์วีย์ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง the UK Association for Buddhist Studies (1996) ...
ผลการดำเนินงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ประจำปี 2563 10/05/2022, E-Book ดาวน์โหลดเอกสารผลการดำเนินงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ประจำปี 2563
การรับมือกับ COVID-19 ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สํานักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ (ประเทศไทย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม) 10/05/2022, E-Book ดาวน์โหลดเอกสารแสดงการทำงานของ ICRC ในช่วงโควิด-19 อัพเดท ณ วันที่ 20 เดือนมกราคม พ.ศ. 2564
การขัดกันทางอาวุธในยูเครน: การสรุปโดยย่อว่าด้วยกฎขั้นพื้นฐานของ IHL 29/04/2022, บทความ ช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั่วโลกต่างเห็นถึงวิกฤตที่เกิดขึ้นในประเทศยูเครนที่ต้องมีการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยเร่งด่วน ผู้อ่านหลายคนได้ติดต่อเข้ามาหาเราพร้อมกับคำถามต่าง ๆ ว่าด้วยการนำกฎแห่งสงคราม หรือ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) ไปใช้กับสถานการณ์ความขัดแย้งได้อย่างไรบ้าง ในบทความนี้ คอร์ดูลา โดรเก ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของเรา ได้สรุปกฎเกณฑ์สำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่บังคับควบคุมความขัดแย้ง และเน้นย้ำถึงข้อเรียกร้องของ ICRC ให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามภาระผูกพันทางกฎหมายของตนในการหลีกเลี่ยงไม่ให้พลเรือนต้องเดือดร้อนและเสียชีวิตไปมากกว่านี้ ก่อนสถานการณ์การสู้รบในประเทศยูเครนจะปะทุรุนแรงจนเป็นวงกว้างนั้น สิ่งที่ประจักษ์ชัดคือ การสู้รบครั้งนี้จะเกิดขึ้นในพื้นที่เมืองและนำมาสู่การสูญเสียชีวิต ทำลายล้าง และความบาดเจ็บของผู้คนเป็นวงกว้าง ตลอดจนภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ...
เรื่องเล่าจากแนวหลัง หลายใบหน้าหลากเรื่องราวของประชาชนในบูชา 21/04/2022, บทความ ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ บูชา เมืองเล็กๆ ที่เงียบสงบไม่ไกลจากกรุงเคียฟ เปลี่ยนโฉมหน้าไปจนทำให้หลายคนต้องหลั่งน้ำตา จากเมืองที่เคยเป็นบ้านของประชาชนเกือบสามแสน บัดนี้กลายเป็นเมืองร้างเนื่องจากประชากรเกือบทั้งหมด อพยพลี้ภัยจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ แต่ยังมีประชากรบางส่วนเลือกจะอยู่อาศัยในเมืองที่พวกเขารัก แม้มันจะยากลำบากเพราะระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานถึงการล่มสลาย ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟฟ้า ผู้คนเหล่านี้มีเหตุผลที่แตกต่าง และนี่คือเรื่องราวของผู้คนจำนวนน้อยมากที่เลือกจะอยู่ข้างหลัง “เพื่อนบ้านของเราย้ายออกไปหมดแล้ว เราฝังร่างของลูกชายคนโตไว้ที่นี่ และฉันไม่อยากทิ้งให้เขาต้องอยู่เพียงลำพัง ลูกชายคนที่สองไม่ต้องการทิ้งฉันไว้คนเดียว เราเลยตัดสินใจที่จะอยู่ ความกลัวทำให้ฉันแทบบ้า เราสวดภาวนากันทุกวัน” กาลีน่า ดิมิเทรียฟน่า ...
ค้นพบไอซีอาร์ซี 12/04/2022, E-Book ทำ ไมต้องมี “ไอซีอาร์ซี” ตราบใดที่ผู้คนยังเลือกใช้สงครามและการสู้รบเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาความแตกต่าง ตราบนั้นจึง จำเป็นที่จะต้องมีองค์กรที่เป็นอิสระเฉก เช่นคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) เพื่อมาทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง แต่ไอซีอาร์ซีคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และปัจจุบัน ให้ความช่วยเหลือด้านใดบ้าง มาตามหาความหมายของไอซีอาร์ซีได้ที่เอกสารด้านล่าง ค้นพบไอซีอาร์ซี
แถลงการณ์จากประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) เรื่องความขัดแย้งในประเทศยูเครน 28/02/2022, News / ไทย การสู้รบระลอกล่าสุดในประเทศยูเครนทำให้ผมรู้สึกกังวลใจอย่างยิ่งยวด การยกระดับความรุนแรงและการกระจายตัวเป็นวงกว้างของการต่อสู้นั้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิต และการทำลายล้างในระดับที่น่ากลัวเกินกว่าจะจินตนาการได้เมื่อคำนึงถึงแสนยานุภาพทางทหารของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ขณะนี้เราได้เห็นผลกระทบโดยตรงต่อพลเรือนแล้ว โดยสถานการณ์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นล่าสุดส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานระลอกใหม่ ทั้งนี้ เป็นเวลาแปดปีมาแล้วที่ประชากรในภูมิภาคดอนบาสและอีกหลายแห่งต้องทนอยู่กับผลกระทบจากความขัดแย้ง ในตอนนี้ผมกลัวว่าผลกระทบที่มีอยู่แล้วจะเพิ่มมากขึ้นไปอีก อันจะนำไปสู่การสูญเสียชีวิตเป็นจำนวนมหาศาล และการทำลายวัตถุพลเรือนที่สำคัญ เช่น โรงผลิตน้ำประปาและโรงงานไฟฟ้า ตลอดจนการย้ายถิ่นฐานของประชากรขนานใหญ่ ผลกระทบทางจิตใจ การพลัดพรากจากครอบครัว และการสูญหายของบุคคล จากประสบการณ์การทำงานอย่างยาวนานของไอซีอาร์ซี เราพบว่า ความผิดพลาด และความคลาดเคลื่อน ตลอดจนการขาดความเข้าใจ ในการประเมินผลกระทบที่อาจจะมีต่อพลเรือนจากปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่ ...