คลังข้อมูล 

#รู้หรือไม่ สิ่งแวดล้อมก็ได้รับการปกป้องจากกฎแห่งสงคราม

#รู้หรือไม่ สิ่งแวดล้อมก็ได้รับการปกป้องจากกฎแห่งสงคราม

, บทความ / บล็อค

ตั้งแต่ปี 1946-2010 ความขัดแย้งเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อประชากรสัตว์ป่าในหลายพื้นที่ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศไม่เพียงให้ความคุ้มครองชีวิตมนุษย์แต่ยังปกป้องสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ไม่ใช่เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อผู้คน แต่เพราะมูลค่าที่ยิ่งใหญ่ของสิ่งแวดล้อมต่อโลกทั้งใบ สงครามมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ คำถามนี้คงตอบไม่ยาก แต่สงครามมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน? คือคำถามที่เราจะพาไปหาคำตอบ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศห้ามใช้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นอาวุธโจมตี รวมไปถึงการแทรกแซงทางธรรมชาติอย่างการใช้สารเคมีเพื่อทำลายสมดุลทางธรรมชาติของภูมิภาค หรือการตั้งใจโจมตีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น การระเบิดบ่อน้ำมันของฝ่ายตรงข้าม ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากกระจายเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อปศุสัตว์และสิ่งแวดล้อม เรื่องนี้อาจลามไปไกลถึงประเด็นก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน แม้สิ่งแวดล้อมจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย แต่หลายครั้งที่ผลเสียหายจากสงคราม ลามไปถึงสัตว์ป่าอย่างไม่ได้ตั้งใจ ในโมซัมบิกสงครามกลางเมือง 15 ...
ความพิการไม่ใช่ข้อจำกัดทางความสามารถ ขอแค่เรากล้าออกมาใช้ชีวิต จะรู้ว่าโลกนี้กว้างใหญ่และมีใครหลายคนพร้อมให้โอกาสเราเสมอ

ความพิการไม่ใช่ข้อจำกัดทางความสามารถ ขอแค่เรากล้าออกมาใช้ชีวิต จะรู้ว่าโลกนี้กว้างใหญ่และมีใครหลายคนพร้อมให้โอกาสเราเสมอ

, บทความ / บล็อค

“ความพิการไม่ใช่ข้อจำกัดทางความสามารถ แต่โอกาสและการยอมรับจากสังคมจะเป็นตัวแปรหลักที่เปิดทางให้ผู้พิการ สามารถมีส่วนร่วมในส่วนต่างๆ ของสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี” คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) และสภากาชาดไทย ร่วมกันจัดโครงการฝึกอบรมสร้างเสริมสมรรถนะคนพิการที่ปฎิบัติงานประจำเหล่ากาชาดและกิ่งกาชาด งานในครั้งนี้จัดขึ้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีความตั้งใจหลักเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมให้ผู้พิการสามารถปฎิบัติงานในเหล่ากาชาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราเก็บสัมภาษณ์ที่แฝงด้วยแรงบันดาลใจมาเล่าสู่กันฟัง ขอแค่เรากล้าออกมาใช้ชีวิต จะรู้ว่าโลกนี้กว้างใหญ่และมีใครหลายคนพร้อมให้โอกาสเราเสมอ “คนส่วนใหญ่รู้ว่าถ้าอยากบริจาคร่างกายต้องไปศิริราช อันที่จริงแค่มาเหล่ากาชาดประจำจังหวัด ก็สามารถบริจาคอวัยวะได้ หลายคนคิดว่าการบริจาคเลือดเป็นเรื่องยุ่งยาก ผมก็ไม่เคยบริจาคกระทั่งมาทำงานกับกาชาดไทย บางคนคิดว่าการมีข้อจำกัดทางร่างกายทำให้ชีวิตต้องถูกจำกัด ผมเชื่อว่าถ้าเรายอมรับในสิ่งที่เป็น ไม่กลัวคำสบประมาทนินทาเราจะพบว่าโลกมีทางให้ทุกคนเลือกเดิน แม้เราจะเคลื่อนที่ไปบนรถเข็น “ผมมีข้อบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว ...
ปฏิบัติการทางไซเบอร์กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ บทสรุปที่ ICRC ได้รับจากการหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี

ปฏิบัติการทางไซเบอร์กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ บทสรุปที่ ICRC ได้รับจากการหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี

, บทความ / บล็อค

ปฏิบัติการทางไซเบอร์กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ บทสรุปที่คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross – ICRC) ได้รับจากการหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี การโจมตีทางไซเบอร์และผลที่ตามมากำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ปฏิบัติการทางไซเบอร์ เช่น WannaCry NotPetya หรือการโจมตีโครงข่ายไฟฟ้าในประเทศยูเครน กระทบต่อการให้บริการที่จำเป็นแก่พลเรือน และยังชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ของการให้บริการดังกล่าวภายใต้การโจมตีทางไซเบอร์ เมื่อหกเดือนที่ผ่านมาในที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญ พวกเราเริ่มบทสนทนาในหัวข้อเรื่องปฏิบัติการทางไซเบอร์กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ ในวันนี้เรายินดีนำเสนอรายงานของ ICRC ...
เหตุผล 5 ประการ ที่ทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับของ ICRC ไม่สมควรนำไปใช้ในกระบวนการดำเนินคดี

เหตุผล 5 ประการ ที่ทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับของ ICRC ไม่สมควรนำไปใช้ในกระบวนการดำเนินคดี

, บทความ / บล็อค

ภาระกิจของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross: ICRC) โดยลักษณะแล้ว อาจเป็นเพียงองค์กรมนุษยธรรมเพียงองค์กรเดียวที่สามารถเข้าถึงพื้นที่และบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากสงครามและสถานการณ์ความรุนแรงต่าง ๆ ข้อมูลที่ ICRC ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งรวมไปถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายที่ได้รับการร้องเรียน ถูกร้องขอใช้ข้อมูลดังกล่าวในกระบวนการดำเนินคดี ถึงแม้ว่าอาณัติของ ICRC กำหนดให้มีการส่งเสริมความพยายามในการเอาผิดกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ แต่ ICRC ยังคงต้องดำเนินหน้าที่ดังกล่าวควบคู่ไปกับการรักษาและดำเนินบทบาทในการประกันให้มีการเคารพกฎหมาย ผ่านการเจรจาหารือในระดับทวิภาคีที่เป็นไปโดยลับ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ...
*SPOILERS* #แดนี่ชนะแรมซี่ ยืนหนึ่งขึ้นเป็นตัวละครที่ละเมิดกฎแห่งสงครามมากที่สุดในซีรีย์ Game of Thrones #GoT #GoTIHL

*SPOILERS* #แดนี่ชนะแรมซี่ ยืนหนึ่งขึ้นเป็นตัวละครที่ละเมิดกฎแห่งสงครามมากที่สุดในซีรีย์ Game of Thrones #GoT #GoTIHL

, บทความ / บล็อค

8 ซีซั่น 73 ตอน เราพบการกระทำผิดกฎหมายมนุษยธรรมมากถึง 137 ครั้ง ใน 42 ข้อหา นักกฎหมายของเราพบว่าบรรดาลอร์ดและเลดี้นิยมการทรมารมากที่สุด (21 ครั้ง) ตามหลังมาติดๆ คือการทำลายชีวิตพลรบที่ยอมแพ้หรือได้รับบาดเจ็บระหว่างสงคราม (17 ครั้ง) ก่อนเริ่มซีซั่น 8 แรมซีย์ โบลตัน จอมโฉดแห่งเวสเทอรอส เคยทำแต้มนำด้วยการละเมิดกฎแห่งสงครามมากถึง ...
งานมนุษยธรรมกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality)

งานมนุษยธรรมกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality)

, บทความ / บล็อค

เกมส์กับความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมอาจฟังไม่เข้ากันเท่าไหร่ แต่ที่คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (The International Committee of the Red Cross – ICRC) สำนักงานกรุงเทพฯ เรามีแผนกออกแบบเกมส์ที่เปลี่ยนภาพความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality-VR) ให้เป็นเครื่องมือสำหรับฝึกสอนที่อาจช่วยผู้คนมากมาย ให้รอดจากเหตุความรุนแรงได้ในอนาคต “แผนกของเราใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงกิจกรรมของ ICRC ในรูปแบบต่างๆ” คริสเตียน รูแฟร์ หัวหน้าแผนก ...
*SPOILERS* มังกรเป็นอาวุธที่เกินกว่าเหตุหรือไม่? อะไรทำให้ #แม่มังกร เป็นอาชญากรสงครามเบอร์หนึ่งประจำสัปดาห์ #GoT #GoTIHL

*SPOILERS* มังกรเป็นอาวุธที่เกินกว่าเหตุหรือไม่? อะไรทำให้ #แม่มังกร เป็นอาชญากรสงครามเบอร์หนึ่งประจำสัปดาห์ #GoT #GoTIHL

, บทความ / บล็อค

หลังคิงส์แลนดิ้งโดนเผาจนค่าฝุ่นน่าจะแซงหน้าจังหวัดเชียงใหม่ คงไม่มีใครปฎิเสธได้ว่าราชินีแดนี่ กลายเป็นผู้ละเมิดกฎแห่งสงครามที่สร้างความสะเทือนใจให้ใครหลายคนจนยากจะกู้กลับ ในมุมมองกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) การใช้มังกรถล่มเมืองถูกอธิบายไว้อย่าไร และแม่มังกรทำผิดกฎสงครามข้อไหนอีก? 1. มังกรเทียบเท่าอาวุธสงคราม – ในช่วงแรกของการต่อสู้ การใช้มังกรของแดนี่ถือว่าไม่ผิดกฎหมายมนุษยธรรม จริงอยู่ว่ามังกรดูจะเป็นอาวุธที่เกินกว่าเหตุ เพราะสร้างความเจ็บปวดทรมารให้ฝ่ายตรงข้ามจากการถูกเผาทั้งเป็น มังกรยังถูกมองเปรียบเทียบกับอาวุธสังหารอัตโนมัติ (killer robots หรือ lethal ...
*SPOILERS* ฆาตกรรม จับตัว โล่มนุษย์ รางวัลละเมิดกฎแห่งสงครามประจำสัปดาห์ตกเป็นของ #ควีนเซอร์ซี่ !!! #GoT #GoTIHL

*SPOILERS* ฆาตกรรม จับตัว โล่มนุษย์ รางวัลละเมิดกฎแห่งสงครามประจำสัปดาห์ตกเป็นของ #ควีนเซอร์ซี่ !!! #GoT #GoTIHL

, บทความ / บล็อค

นอกจากจะสวมมงกุฎราชินีแห่ง 7 อาณาจักร เซอร์ซี แลนนิสเตอร์ ยังเป็นตัวละครที่ทำผิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) มากที่สุดประจำสัปดาห์ ควีนของเราทำผิดอะไรบ้าง ใคอร์ซี่บอกออกสื่อว่า ต้องการให้ประชาชนปลอดภัย ฟังดูดีแต่มีเจตนาแฝง เพราะเธอพูดเองในภายหลัง อยากใช้ประชาชนเป็นโล่มนุษย์ป้องกันการโจมตีของฝ่ายตรงข้าม การนำพลเรือนมาเป็นโล่กำบังในยามสงคราม ถือว่าละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ 2. จับตัวประกันและฆาตกรรม – ...
จริงหรือไม่ที่การควบคุมอาวุธจากเทคโนโลยียุคใหม่ เป็นเรื่องฟุ่มเฟือยเกินไปในยามสันติ: สงครามโลกครั้งที่หนึ่งให้บทเรียนอะไรในประเด็นนี้

จริงหรือไม่ที่การควบคุมอาวุธจากเทคโนโลยียุคใหม่ เป็นเรื่องฟุ่มเฟือยเกินไปในยามสันติ: สงครามโลกครั้งที่หนึ่งให้บทเรียนอะไรในประเด็นนี้

, บทความ / บล็อค

ในช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด บรรดาวิศวกรผู้เปี่ยมด้วยจิตนาการจากประเทศฝรั่งเศสตลอดจนสหรัฐอเมริกา ต่างมุ่งหวังให้สิ่งประดิษฐ์ของตนเป็นเครื่องมือยับยั้งการก่อสงคราม ยับยังความสูญเสียมหาศาลที่อาจจะตามมาในภายหลัง อย่างไรก็ดี ตลอดช่วงระยะเวลาสี่ปีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ความมุ่งหวังดังกล่าวกลับไม่เป็นดั่งใจเมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถูกนำมาประยุกต์ใช้ในปฏิบัติการณ์ทางทหาร การคิดค้นพัฒนาอาวุธร้ายแรง ตลอดจนความเคลือบแคลงว่ต่อประเทศต่างๆ ว่าจะสามารถยืนหยัดในคุณค่าและหลักการของประเทศตนในยามรบกลายเป็นบทเรียนใหญ่ที่โลกทั้งใบต่างได้รับ จริงหรือไม่ที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งแสดงให้เห็นว่าหลักศีลธรรม รวมถึงหลักการตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (อนุสัญญากรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ค.ศ.​1868 หรืออนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1899 และ 1907) ที่นำมาใช้เป็นเหตุผลในการต่อต้านการใช้อาวุธที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ถูกมองข้ามในยามที่ประเทศต้องเผชิญภาวะวิกฤต ค.ศ.1914-1918 กับการนำทฤษฎีความสัมพันธ์มาใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่อาวุธชนิดใหม่กลายเป็นที่ยอมรับในสังคม ...
Jean-Pictet Competition เมื่อการแข่งขันให้มากกว่าความรู้ทางกฎหมาย

Jean-Pictet Competition เมื่อการแข่งขันให้มากกว่าความรู้ทางกฎหมาย

, บทความ / บล็อค

“Taking the law out of the books” คือประโยคสั้นๆ อธิบายการแข่งขันด้านกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศของ ICRC ที่เรียกกันในชื่อภาษาอังกฤษว่า Jean-Pictet Competition งานที่ว่าจัดขึ้นทุกปีเพื่อเป็นเวทีสำหรับนักเรียนกฎหมายรุ่นใหม่ ให้ได้ลองใช้ความรู้ด้านกฎหมาย ในการว่าความร่วมกับผู้เข้าแข่งขันในระดับนานาชาติ สิริกมล สุรทิณฑ์ (แป้ง), สาริสา ทีฆตระกูล (แอ๊นท์) และ ...