5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมรดกมรณะจากวัตถุระเบิดซึ่งตกค้างจากสงคราม 21/04/2023, บทความ แม้ว่าการสู้รบจะยุติลงนานแล้ว แต่บ่อยครั้งที่ผลกระทบจากสงครามไม่ได้จบลงไปด้วย การปนเปื้อนของอาวุธร้ายแรงชนิดต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นวัตถุระเบิดตกค้างซึ่งยังไม่ระเบิดในทันที ได้สร้างความเสียหายให้กับชุมชนทั่วโลก อันตรายที่ว่านี้แฝงตัวอยู่ใต้ผิวดิน และรอวันที่จะคร่าชีวิตหรือสร้างความเสียหายได้ทุกเมื่อ และนี่คือเรื่องที่เราอยากบอกให้คุณรู้เกี่ยวกับมรดกมรณะที่ยังคงคร่าชีวิตผู้คนอย่างต่อเนื่อง 1.วัตถุระเบิดซึ่งตกค้างจากสงครามคืออะไร วัตถุระเบิดซึ่งตกค้างจากสงคราม (Explosive remnants of war – ERW) สามารถแบ่งออกเป็นสรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด (unexploded ordnance : UXO) และอาวุธระเบิดที่ถูกทิ้งไว้ (abandoned ...
อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธตามแบบบางชนิด (CCW) 28/03/2023, บทความ #รู้หรือไม่ ระเบิดตกค้างและการใช้อาวุธทำลายล้างประเภทต่างๆ สามารถสร้างผลกระทบด้านมนุษยธรรมต่อพลเรือนได้อย่างยาวนานแม้ว่าสงครามนั้นจะจบลงไปแล้วเป็นเวลาหลายปี ทำความรู้จัก อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธตามแบบบางชนิด (Convention on Certain Conventional Weapons: CCW) อนุสัญญาน่าสนใจที่กล่าวถึงการจำกัดการใช้อาวุธที่ร้ายแรงโดยไม่จำเป็นต่อพลรบ และก่อให้เกิดความเสียหายที่ไม่แบ่งแยกต่อพลเรือน อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้อาวุธตามแบบบางชนิด ได้รับการรับรองในปี 1980 มีผลบังคับใช้ในปี 1983 ความน่าสนใจในอนุสัญญาฉบับนี้ คือส่วนประกอบที่แยกเป็นสองส่วน ได้แก่ อนุสัญญาแม่บท ทำหน้าที่กำหนดขอบเขตและสถานการณ์ที่อนุสัญญาฯ ...
ภาพวาด ความฝัน และเรื่องราวนับพันจากเจเนอเรชั่นที่สูญหาย 27/03/2023, บทความ เราทุกคนล้วนมีความหวังและความฝัน แต่สำหรับเด็กนับพันในซีเรีย พวกเขาต้องเริ่มต้นด้วยต้นทุนที่น้อยกว่าคนอื่น ทุกวันนี้มีชาวซีเรียกว่า 55,000 คน ที่ต้องอาศัยแออัดในค่ายลี้ภัยทางตอนเหนือของประเทศ สองในสามของประชากรเหล่านี้ ส่วนมากเป็นเด็กอายุต่ำกว่าห้าปี “ไม่มีอนาคตสำหรับเด็กๆ” นาตาลี เนียมูเคบาเพื่อนร่วมงานของเรากล่าว นาตาเลียทำงานเป็นนักจิตวิทยาคลีนิกที่ซีเรียและได้มีโอกาสพูดคุยกับประชากรรุ่นเยาว์ พวกเขาบางคนเกิดและเติบโตในค่ายโดยไม่รู้ว่าโลกภายนอกเป็นเช่นไรและมีความฝันแบบไหนรออยู่ ICRC ร่วมกับ Syrian Arab Red Crescent เปิดโรงพยาบาลเล็กๆ ในพื้นที่ค่าย โรงพยาบาลของเรารองรับผู้ป่วยกว่าหนึ่งหมื่นเคสตั้งแต่ปี ...
อังรี ดูนังต์เป็นใคร เกี่ยวอะไรกับกลุ่มองค์กรกาชาด? มองย้อนหลังประวัติศาสตร์ 160 ว่าด้วยงานมนุษยธรรม 17/02/2023, บทความ ในวันที่ 24 มิถุนายน 1859 นายอังรี ดูนังต์ นักธุรกิจชาวสวิสพบเห็นเหตุการณ์สำคัญที่จะเปลี่ยนชีวิตของเขาไปตลอดกาล เขาเดินทางผ่านเมืองโซลเฟริโน (ปัจจุบันตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศอิตาลี) หลังการสู้รบระหว่างกองทัพฝรั่งเศสและออสเตรียเพิ่งจบลงไปได้ไม่นาน โซลเฟริโนเป็นสมรภูมิสำคัญในสงครามประกาศอิสรภาพของอิตาลีครั้งที่ 2 สงครามครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายที่กองทัพทุกฝั่งได้รับการบังคับบัญชาโดยตรงจากกษัตริย์ ทหารกว่าสามแสนคนจากออสเตรีย ฝรั่งเศส และอิตาลีต่อสู้กันที่บริเวณนี้เป็นเวลายาวนานถึง 14 ชั่วโมง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตสามหมื่นคน บาดเจ็บอีกหลายหมื่น ตัวเลขนี้ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับสงครามครั้งอื่นๆ ในศตวรรษที่ 21 ...
ลดคาร์บอนเพื่อมนุษยธรรม! การคำนวณเพื่อปรับลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรมนุษยธรรม 31/01/2023, บทความ วิกฤตการณ์ด้านสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมกำลังคุกคามความอยู่รอดของมนุษยชาติ มันกำลังสร้างผลกระทบให้ขีวิตของเราในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพร่างกาย จิตใจ ไปจนถึงความมั่นคงด้านน้ำ อาหาร ลุกลามไปจนถึงเศรษฐกิจ ที่น่าเศร้าไปกว่านั้น คือกลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด กลับเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมน้อยที่สุดในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อร่วมกันช่วยเหลือไม่ให้ปัญหาที่ว่าลุกลามไปกว่านี้ กลุ่มองค์กรมนุษยธรรมจึงได้รวมตัวกันเพื่อปรับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามข้อตกลงในกฎบัตรภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมขององค์กรมนุษยธรรม (Climate and Environment Charter for Humanitarian Organizations) ซึ่งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) และสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) ...
25 ปี อนุสัญญาออตตาวา เรามาไกลแค่ไหนจากโลกใบใหม่ที่ปราศจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคล 07/12/2022, บทความ [ข้อความบางส่วนจากสุนทรพจน์ของด็อกเตอร์กิลส์ คาร์บอนเนียร์ รองประธาน ICRC ณ การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาครั้งที่ 20 ว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิต และถ่ายโอนทุ่นระเบิดสังหารบุคคลและการทำลายทุ่นระเบิด วันที่ 21 พฤศจิกายน 2022 นครเจนีวา] ในปีนี้ (2022) ถือเป็นปีครบรอบ 25 ปี ของอนุสัญญาออตตาวา หลังได้รับการรับรองในปี ...
ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) คืออะไร? เกี่ยวข้องแค่ไหนกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) และกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) 22/09/2022, บทความ หลังจากที่เราได้เล่าถึงความแตกต่างระหว่างกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและกฏหมายสิทธิมนุษยชน หลายคนอาจสงสัยว่าหากมีการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศขึ้นมา จะมีการจัดการสอบสวน ลงโทษ หรือมีมาตรการอย่างไร และใครเป็นผู้เข้ามาทำหน้าที่ในส่วนนี้ บทความของเราจะมาไขข้อสงสัยในโพสต์เดียว อาญชากรรมสงครามคืออะไร? อาชญากรรมสงคราม คือ อาชญากรรมที่กระทำในบริบทของสงคราม กล่าวคือ อาชญากรรมที่เกิดขี้นที่เกี่ยวข้องกับการทำสงคราม ไม่ว่าจะเป็นสงครามระหว่างประเทศหรือไม่ โดยที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court – ICC) นิยามอาชญากรรมสงครามไว้ว่าเป็น . “การละเมิดกฎหมายและจารีตประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการขัดกันทางอาวุธที่มีลักษณะระหว่างประเทศ ...
การพิจารณาคดีเชลยศึก: อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 3 และหลักประกันความเป็นธรรมของการพิจารณาคดีเชลยศึก 19/08/2022, บทความ บทความโดยอีเวตต์ อิซซาร์ ที่ปรึกษากฎหมาย ICRC เชลยศึกคนแรก ๆ ของการขัดกันทางอาวุธระหว่างประเทศที่ประเทศยูเครนถูกดำเนินคดีและตัดสินไปแล้ว การพิจารณาคดีดังกล่าวจะทำให้มีการพิจารณาคดีอีกหลายร้อยรายหรืออีกหลายพันรายตามมา เนื่องจากฝ่ายต่าง ๆ ของความขัดแย้งได้ออกมาระบุว่าตั้งใจที่จะควบคุมตัวเชลยศึกไว้ให้รับผิดต่อเหตุอาชญากรรมร้ายแรง อย่างรัสเซียเองก็รายงานออกมาว่าได้เริ่มสอบสวนเชลยศึกชาวยูเครนกว่า 1,000 คนแล้ว ส่วนสำนักงานอัยการสูงสุดของฝั่งยูเครนก็กล่าวว่าได้ขึ้นทะเบียนข้อกล่าวหาอาชญากรรมสงครามมากกว่า 15,000 คดี และเริ่มดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาไปแล้วอย่างน้อย 80 คดี ขณะเดียวกันนั้น ศาลอาญาระหว่างประเทศเองก็อยู่ระหว่างการดำเนินการสอบสวนเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกดิขึ้นในยูเครน ดังนั้น ...
เชลยสงครามคือใคร? ควรได้รับการปฏิบัติอย่างไรเมื่อสูญเสียอิสรภาพ 08/08/2022, บทความ เชลยสงครามคือใคร? ควรได้รับการปฏิบัติอย่างไรเมื่อสูญเสียอิสรภาพ เหมือนหรือต่างกับผู้ถูกจองจำในสถานะอื่น ตอบทุกคำถามในบทความเดียว คำว่าเชลยสงครามหมายความว่าอะไร ใครบ้างสามารถตกเป็นเชลยสงครามได้ สถานะการเป็นเชลยสงคราม (Prisoners of War – PoW) มีปรากฏแค่ในการรบระหว่างประเทศเท่านั้น เชลยสงครามมักจะเป็นสมาชิกของกองทัพของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เข้าสู้รบและได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมตัวโดยฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 3 ได้ระบุไปถึงบุคคลประเภทอื่นที่อาจได้รับการปฏิบัติในฐานะเชลยสงคราม ยกตัวอย่างเช่น ผู้สื่อข่าวสงคราม (war correspondent) ซึ่งได้รับความคุ้มครองเพิ่มเติมจากสถานะที่ได้รับการรับรองโดยกองทัพ ...
อะไรคือความแตกต่างระหว่าง ผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย และผู้อพยพ 04/08/2022, บทความ UNHCR กล่าวว่า ทั้งโลกของเรานี้มีประชากรถึง 1 ใน 95 ที่ต้องพลัดถิ่นจากความขัดแย้งหรือการประหัตประหาร โดยหากคิดเป็นตัวเลขคร่าวๆ มีถูกบังคับให้หนีจากบ้านไม่น้อยไปกว่า 82.4 ล้านคน บ้างอยู่ในสถานะผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย หรือผู้อพยพ ซึ่งสามคำที่เราได้ยินกันอยู่เป็นประจำมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร มาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้ อะไรคือความแตกต่างระหว่างสถานะผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย และ ผู้อพยพ โดยหลักแล้ว ผู้ลี้ภัย (Refugees) ...