International Humanitarian Law

เส้นทางสู่ฮ่องกง 2560-สัมภาษณ์ทีมน้องๆจากสปป.ลาว

เส้นทางสู่ฮ่องกง 2560-สัมภาษณ์ทีมน้องๆจากสปป.ลาว

, บทความ / บล็อค

หลังจากที่เราได้อ่านบทสัมภาษณ์ของน้องนักศึกษาจากทีมไทยและทีมกัมพูชากันไปแล้ว วันนี้เราจะไปทำความรู้จักกับน้องเทพมาลา สะเด็ดตัน หนึ่งในผู้ชนะการแข่งขันศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ รอบคัดเลือกตัวแทนประเทศจากสปป ลาว   ว่าทำไมจึงเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้และทีมจากสปป.ลาว มีการเตรียมตัวอย่างไรกับการแข่งขันในระดับนานาชาติที่กำลังจะมาถึงที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงในเดือนมีนาคม 2560 กันบ้าง ICRC-น้องช่วยแนะนำตัวหน่อยค่ะ เทพมาลา- ดิฉันชื่อเทพมาลา สะเด็ดตันค่ะ เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะกฎหมายและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวค่ะ ICRC-น้องเทพมาลาทราบข่าวเกี่ยวกับการแข่งขันศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian ...
เส้นทางสู่ฮ่องกง 2560-สัมภาษณ์พิเศษทีมน้องๆจากกัมพูชา

เส้นทางสู่ฮ่องกง 2560-สัมภาษณ์พิเศษทีมน้องๆจากกัมพูชา

, บทความ / บล็อค

การแข่งขันศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นที่ประเทศกัมพูชาได้ผู้ชนะคือ น้องลินนา ซามชัย และน้องรัตนะ รัดดา จากมหาวิทยาลัยภูมินทร์นิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ประเทศกัมพูชา  วันนี้เราจะไปพูดคุยกับน้องๆทั้งสองคนกันค่ะ ICRC-อยากให้น้องๆช่วยแนะนำตัวด้วยค่ะ ลินนา-ดิฉันชื่อ ลินนา ซามชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะนิติศาสตร์หลักสูตรภาษาอังกฤษและ เอกกฎหมายกัมพูชา มหาวิทยาลัยภูมินทร์นิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ค่ะ รัตนะ-ผมชื่อรัตนะ รัดดา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ...
เส้นทางสู่ฮ่องกง 2560-การแข่งขันว่าความศาลจำลองฯระดับเอเชียแปซิฟิค

เส้นทางสู่ฮ่องกง 2560-การแข่งขันว่าความศาลจำลองฯระดับเอเชียแปซิฟิค

, บทความ / บล็อค

ฤดูการแข่งขันว่าความศาลจำลองในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งในปีนี้ โดยการแข่งขันจะมีขึ้นใน 4 ประเทศได้แก่ ไทย สปป.ลาว เวียดนามและกัมพูชา จนถึงขณะนี้เราได้ผู้ชนะการแข่งขันว่าความศาลจำลองฯ มาแล้ว 2 ประเทศคือ ตัวแทนจากประเทศไทยและสปป ลาว ซึ่งในโอกาสนี้ทีมงาน ICRC ได้มีโอกาสพูดคุยกับน้องๆที่ชนะการแข่งขันว่าความศาลจำลองฯจากประเทศไทยซึ่งเป็นทีมจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เราจะไปพูดคุยกับน้องๆที่เป็นตัวแทนของทีมกันเลยค่ะ ขอขอบคุณน้องณัฐธิดา ทวีเจริญสำหรับภาพสวยๆทั้งหมด ICRC-อยากให้น้องๆช่วยแนะนำตัวด้วยค่ะ ไอริณ-หนูชื่อไอริณ อิทธิสารรณชัย ...
ICRC กับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

ICRC กับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law (IHL) ) ในหัวข้อ พิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 1: ข้อท้าทายสำคัญ ซึ่งการบรรยายพิเศษในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559  การบรรยายในปีนี้ได้รับเกียรติจากนายมาซาโยชิ มิตะ ผู้แทนองค์กรระดับอาวุโสของคณะกรรมการชาดระหว่างประเทศเป็นผู้บรรยาย การบรรยายพิเศษเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศให้แก่นิสิตนักศึกษาและประชาชนที่สนใจ ...
สัมมนา IHL และอาวุธสมัยใหม่

สัมมนา IHL และอาวุธสมัยใหม่

, บทความ / บล็อค

ไอซีอาร์ซีสำนักงานภูมิภาคประจำกรุงเทพฯ จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “อาวุธและผู้มีส่วนร่วมในการขัดกันด้วยอาวุธตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ” เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2557   โดยมีนายทหารจากกรมพระธรรมนูญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในยามสงครามจากทั้งสามเหล่าทัพเข้าร่วมงานสัมมนา โดยมีคุณเบอาต ชไวเซอร์ผู้อำนวยการสำนักงานไอซีอาร์ซีฯ พร้อมด้วยตัวแทนจากกรมพระธรรมนูญเข้าร่วมเป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน โดยงานนี้มุ่งเน้นการทบทวนและเสริมสร้างความเข้าใจในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และกฎเกณฑ์แห่งสงคราม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้หารือถึงปัญหา และความท้าทายใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในบริบทความขัดแย้งทางอาวุธในยุคปัจจุบัน ซึ่งเรามักจะเห็นการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น อากาศยานไร้คนขับ หรือ ที่เราเรียกกันว่า ...
วีดีโอเกม และกฎเกณฑ์แห่งสงคราม

วีดีโอเกม และกฎเกณฑ์แห่งสงคราม

, บทความ / บล็อค

สงครามบรรจุกล่องเพื่อความบันเทิงนั้นดึงดูดผู้คนทั่วโลกทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้ต่างต้องพากันหลงใหลและติดใจ   สำหรับทางการทหารแล้ว วีดีโอเกมแนวสู้รบจากมุมมองบุคคลที่หนึ่งหรือที่รู้จักกัน ในนาม FPS (first-person shooter) นี้นับเป็นอุปกรณ์ที่ดียิ่งสำหรับนำมาใช้ในการฝึกฝน   ในการนี้ ICRC ได้เริ่มทำงานร่วมกับบริษัทผู้พัฒนาวีดีโอเกม เพื่อทำให้บรรดาผู้เล่นเกมเหล่านั้นได้พบกับภาวะปัญหาการตัดสินใจที่เหล่าทหารในชีวิตจริงต้องเผชิญ ICRC มีความวิตกกังวลว่าฉากบางฉากในเกมนั้นอาจจะทำให้เกิดพฤติกรรมความชาชินต่อการละเมิดกฎเกณฑ์แห่งการทำสงคราม ซึ่งเกรงว่าท้ายที่สุดการกระทำผิดกฎเหล่านี้ เช่นการทรมาน การจงใจโจมตีใส่พลเรือน การฆ่าเชลยสงครามหรือผู้บาดเจ็บ การโจมตีใส่ยานพาหนะ เช่น รถพยาบาล หรือสิ่งปลูกสร้างและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ จะถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ยอมรับได้ ...