ICRC

เปิดรับสมัครแล้ววันนี้! การแข่งขันว่าความศาลจำลองและบทบาทสมมติในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (รอบภาษาไทย)

เปิดรับสมัครแล้ววันนี้! การแข่งขันว่าความศาลจำลองและบทบาทสมมติในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (รอบภาษาไทย)

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการแข่งขันาความศาลจำลองและบทบาทสมมติในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ รอบภาษาไทย ในวันเสาร์ที่ 13 – อาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน (การแข่งขันบทบาทสมมติ) และ เสาร์ที่ 20 – อาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน (การแข่งขันศาลจำลอง) การแข่งขันในปีนี้จะจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน Zoom เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ...
Calls for Entry – เปิดรับผลงานภาพถ่ายในหัวข้อ “Kindness during Crises” (ในวิกฤต มีน้ำใจ) 

Calls for Entry – เปิดรับผลงานภาพถ่ายในหัวข้อ “Kindness during Crises” (ในวิกฤต มีน้ำใจ) 

, บทความ / บล็อค

สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) สภากาชาดไทย และคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) มีความภูมิใจที่จะนำเสนอการประกวดภาพถ่ายครั้งแรกของเราร่วมกับ Thai News Pix, National Geographic Thailand, Canon Thailand และ Thai PBS ภายใต้หัวข้อ “Kindness during Crises” (ในวิกฤต มีน้ำใจ) ...
ปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธาน ICRC เข้าพบพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา ระหว่างการเยือนเมียนมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา

ปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธาน ICRC เข้าพบพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา ระหว่างการเยือนเมียนมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา

, บทความ / บล็อค

ในระหว่างการประชุม ประธานเมาเรอร์เน้นย้ำถึงกิจกรรมด้านมนุษยธรรมของ ICRC ในเมียนมา ที่ได้มีการพัฒนาและเพิ่มความหลากหลายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา “ประชาชนชาวเมียนมาต้องเผชิญสถานการณ์มากมาย ทั้งการขัดกันทางอาวุธ การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ชาวเมียนมาต้องได้รับการปกป้องพร้อมทั้งความช่วยเหลือที่จำเป็น” ประธานเมาเรอร์กล่าว “การประชุมในครั้งนี้มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อแบ่งปันข้อกังวลเกี่ยวกับประเด็นด้านมนุษยธรรมและสนับสนุนความพยายามในการเพิ่มพื้นที่สำหรับงานด้านมนุษยธรรมที่เป็นกลางและไม่เลือกข้าง” หลังกล่าวถึงขอบเขตและความจำเป็น ประธานเมาเรอร์ได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มความช่วยเหลือในพื้นที่ต่างๆ ทั้งในรัฐชิน รัฐคะฉิ่น รัฐกะยา รัฐฉาน และรัฐยะไข่ และได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของ ICRC ในการกลับมาดำเนินงานด้านมนุษยธรรมในเรือนจำ หลังจากหยุดชะงักไปเพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ...
Register now for IHL Moot Court and Role Play Competition 2021

Register now for IHL Moot Court and Role Play Competition 2021

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมกับคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการ แข่งขัน IHL Moot Court และ IHL Role Play Competition ประจำปี 2021 รอบภาษาอังกฤษแบบออนไลน์ ในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 18-19 กันยายน (IHL Role Play) และ 25-26 ...
เกิดอะไรขึ้นในหนึ่งปี หลากเรื่องราวหลายผลกระทบจากโควิด-19 ในพื้นที่สงคราม

เกิดอะไรขึ้นในหนึ่งปี หลากเรื่องราวหลายผลกระทบจากโควิด-19 ในพื้นที่สงคราม

, บทความ / บล็อค

ถ้าโควิด-19 ทำให้ระบบสาธารณสุขที่ก้าวหน้าที่สุดตกอยู่ในภาวะยากลำบาก โรงพยาบาลในพื้นที่สงครามจะรับมืบวิฤตครั้งนี้ได้อย่างไร? นี่คือเรื่องราวจากแนวหน้าของประเทศที่เผชิญโรคร้ายพร้อมความท้าทายอีกมากมาย อิรัก – ชีวิตสร้างใหม่ภายใต้ซากปรักหักพัง “ไม่มีงานให้ทำอีกต่อไป ทุกอย่างหยุดนิ่ง แต่ถ้าคุณต้องอยู่โดยไม่เหลืออะไร มันคงง่ายกว่าถ้าอย่างน้อยคุณได้อยู่กับครอบครัว” Jassim จากอิรัก กล่าวถึงความยากลำบากเมื่อตลาดแรงงานของอิรักล่มสลายหลังวิกฤตโควิด-19 ตัวเขาและครอบครัวเคยลี้ภัยออกจากบ้านเพราะสงครามและความขัดแย้ง เมื่อระบบเศรฐกิจล่มสลาย Jassim พบว่าการหางานเพื่อสร้างชีวิตใหม่เป็นเรื่องทำไม่ได้อีกต่อไป เขาและครอบครัวตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ในพื้นที่สงครามอย่างอิรัก โควิด-19 ไม่เพียงกระทบคุณภาพชีวิตของผู้คนในค่ายลี้ภัย แต่รวมไปถึงผู้คนมากมายที่ดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อประกอบอาชีพ ...
หนึ่งก้าวอันตราย พูดคุยเรื่องทุ่นระเบิดสังหารและสาเหตุที่ระเบิดจากสงครามในอดีตยังคงคร่าชีวิตบุคคลในปัจจุบัน

หนึ่งก้าวอันตราย พูดคุยเรื่องทุ่นระเบิดสังหารและสาเหตุที่ระเบิดจากสงครามในอดีตยังคงคร่าชีวิตบุคคลในปัจจุบัน

, บทความ / บล็อค

ก้าวแรก ก้าวที่สอง หรือก้าวต่อไปอาจเป็นก้าวสุดท้ายหากคุณใช้ชีวิตในประเทศที่เต็มไปด้วยทุ่นระเบิดสังหารอย่างอัฟกานิสถาน อิรัก ไนจีเรีย หรือแม้แต่บ้านใกล้เรือนเคียงอย่างลาว กัมพูชา และเวียนาม เชื่อหรือไม่ว่าทั้งสามประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ดูภายนอกเหมือนจะสงบสุข ยังมีภัยร้ายจากสงครามเวียดนามซ่อนตัวอยู่ ช่วงสงครามเวียดนาม ประเทศลาวตกเป็นเป้าหมายของการทิ้งระเบิดมากกว่าสองล้านตันในระหว่างปี 1964 ถึง 1973 เทียบเท่ากับการทิ้งระเบิดด้วยเครื่องบินทุกๆ 8 นาที ติดต่อกันเป็นเวลา 9 ปีเต็ม ประเทศกัมพูชายังเผชิญหน้ากับภัยคุกคามจากกับระเบิดแม้สงครามจะจบลงไปนานแล้ว ต้นศตวรรษที่ ...
ICRC ทำอะไรในสงครามโลกครั้งที่ 2: กาชาดรู้แค่ไหนเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์?

ICRC ทำอะไรในสงครามโลกครั้งที่ 2: กาชาดรู้แค่ไหนเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์?

, บทความ / บล็อค

การเสียชีวิตของผู้คนมากมายในระหว่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นบาดแผลที่ไม่มีใครอยากให้เกิดซ้ำสอง องค์กรมนุษยธรรมที่ทำหน้าที่ในหลายประเทศทั่วยุโรป รับรู้แค่ไหนเกี่ยวกับการกระทำขัดต่อหลักมนุษยธรรมที่เกิดขึ้นและดำเนินไปเป็นเวลาหลายปี ทั่วพื้นที่ยึดครองของนาซีเยอรมัน? Jean-Claude Favez นักวิจัยและเจ้าของผลงานหนังสือ The Red Cross and the Holocaust ตอบคำถามน่าสนใจด้วยข้อคิดเห็นที่ไม่ควรมองข้าม “เราแทบไม่ทราบว่า ICRC ได้รับข้อมูลแบบไหน แต่สิ่งที่ผมมั่นใจ คือเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ ICRC เริ่มสะกิดใจเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มาตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนปี ...
เสียงจากซีเรีย – 10 ปีแห่งสงครามทิ้งอะไรบ้างให้คนรุ่นหลัง

เสียงจากซีเรีย – 10 ปีแห่งสงครามทิ้งอะไรบ้างให้คนรุ่นหลัง

, บทความ / บล็อค

สงครามในซีเรียก้าวผ่านปีที่ 10 ลองจินตนาการณ์เด็กรุ่นใหม่ที่ลืมตาดูโลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พวกเขาเติบโตในความขัดแย้งที่เต็มไปด้วยการนองเลือด ความทุกข์ทรมานและขีปนาวุธ มีเด็กมากมายในซีเรียที่ไม่มีแม้แต่โอกาสได้สัมผัสวัยเด็กแบบที่เราเคยรู้จัก ในขณะที่วิกฤตการณ์ในซีเรียกำลังย่างเข้าสู่ช่วง 2 ทศวรรษ ผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) จาก ชาวซีเรีย 1,400 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี ทั้งที่ยังอาศัยอยู่ในประเทศซีเรีย หรือเดินทางลี้ภัยออกมายังประเทศที่สองหรือประเทศที่สามอย่างเลบานอนและเยอรมัน พบว่าประเด็นสำคัญที่หนุ่มสาวพูดถึงด้วยความเป็นห่วง ...
ฝรั่งเจอผีมั้ยในงานนิติวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยบทบาทของผู้หญิงที่มีมากกว่าฉากในซีรีย์ CSI

ฝรั่งเจอผีมั้ยในงานนิติวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยบทบาทของผู้หญิงที่มีมากกว่าฉากในซีรีย์ CSI

, บทความ / บล็อค

นำศพออกจากที่เกิดเหตุ วิเคราะห์หลักฐาน พิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล ทั้งหมดนี้เป็นชีวิตจริงของคนทำงานด้านนิติวิทยาศาตร์ แน่นอนว่าการทำงานไขปริศนาเป็นเรื่องน่าสนใจ หลายปีที่ผ่านมาสื่อภาพยนต์และซีรีย์นำเสนอภาพลักษณ์ของอาชีพนี้ในฐานะบุคคลสำคัญในการไขคดีต่างๆ นั่นอาจเป็นเหตุลให้นิติวิทยาศาสตร์เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่ผู้หญิง (อันที่จริงนิติวิทยาศาสตร์เป็นหนึ่งในไม่กี่สาขาของสายงานวิทยาศาตร์ ที่มีผู้หญิงลงเรียนมากกว่าผู้ชาย) อะไรทำให้สายงานนี้น่าสนใจ นิติวิทยาศาสตร์ในความเป็นจริงทำงานแบบไหน มาไขข้อสงสัยไปกับดร.เชอรี่ ซี ฟอกซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ของ ICRC ทุกวันนี้นิติวิทยาศาตร์เหมือนจะเป็นสาขาของผู้หญิง ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา มีผู้หญิงเข้าศึกษาในสาขานี้มากถึง 70% ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? ...
สงครามและศาสนา – ว่าด้วยกฎหมายมนุษยธรรมกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

สงครามและศาสนา – ว่าด้วยกฎหมายมนุษยธรรมกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

, บทความ / บล็อค

“แม้ในสนามรบเขาจักพิชิตนักรบนับพัน แต่เขาจักเป็นผู้พิชิตสูงส่งหากเขาพิชิตใจตนได้” -พระธรรมบท ข้อ 103 แม้ศาสนาพุทธจะไม่สนับสนุนการมีอยู่ของสงคราม (ไม่มีสงครามใดที่เป็นธรรม) ถึงอย่างนั้นพุทธศาสนาก็ยอมรับความเป็นจริงของการสู้รบและความทุกข์ทรมานที่สงครามก่อให้เกิด พระพุทธเจ้าทรงใช้ชีวิตในยุคที่เต็มไปด้วยสงคราม หลักธรรมหลายอย่างที่ทรงได้แสดงไว้ สะท้อนให้เห็นถึงจิตใจเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ และมุมมองต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องใกล้เคียงกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International humanitarian law – IHL) อันเป็นกฎหมายที่ถูกใช้ในยามสงครามซึ่งถูกเขียนขึ้นหลังสมัยพุทธกาลเป็นเวลากว่าพันปี กฎหมายกับศาสนา ความเหมือนที่แตกต่าง แม้ว่าศาสนาและกฎหมายจะไม่ได้มีข้อกำหนดและบทลงโทษที่ตรงกันทุกประการ หนึ่งในข้อแตกต่างระหว่างกฎหมายกับศาสนา ...