humanitarian

สารพันปัญหาว่าด้วยระเบิดปรมาณู: ถาม-ตอบ ข้อข้องใจด้านสุขภาพกับคุณหมอประจำโรงพยาบาลระเบิดปรมาณูแห่งนางาซากิ

สารพันปัญหาว่าด้วยระเบิดปรมาณู: ถาม-ตอบ ข้อข้องใจด้านสุขภาพกับคุณหมอประจำโรงพยาบาลระเบิดปรมาณูแห่งนางาซากิ

, บทความ / บล็อค / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

ระเบิดปรมาณูมีผลข้างเคียงด้านสุขภาพจริงหรือไม่? ไขข้อข้องใจกับด็อกเตอร์มาซาโอะ โทโมนากะ ผู้อำนวยการกิตติมศักดิ์โรงพยาบาลระเบิดปรมาณูแห่งนางาซากิ สภากาชาดญี่ปุ่น ถาม: ผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูต้องเจอผลกระทบทางสุขภาพอย่างไรบ้าง? ตอบ: ผลกระบทหลักของสารกัมมันตรังสีคือโรคลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว), มะเร็ง และโรคหัวใจ บางคนอาจมีอาการหลายอย่างทับซ้อนกัน สำหรับคนที่โดนระเบิดโดยตรง บางคนตาบอดเพราะจ้องมองการระเบิด ...
คำแถลงการจากนายฟาบริซิโอ คารบอนี่ ผู้อำนวยการ ICRC ประจำภูมิภาคตะวันออกกลางและตะวันออกใกล้ เกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศเยเมน

คำแถลงการจากนายฟาบริซิโอ คารบอนี่ ผู้อำนวยการ ICRC ประจำภูมิภาคตะวันออกกลางและตะวันออกใกล้ เกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศเยเมน

, News / ไทย

เจนีวา (ICRC) สถานการณ์ทางการเมืองในเยเมนอยู่ในช่วงวิกฤต กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ – ข้อกำหนดพื้นฐานว่าด้วยการปกป้องพลเรือน ถูกละเลยจากฝ่ายที่ทำการต่อสู้ ความเสียหายและภาวะหิวโหยกลายเป็นปัญหาใหญ่ ชาวเยเมนทั่วประเทศเผชิญหน้ากับภาวะความอดยากและยากจนแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การแก้ปัญหาในเยเมน ต้องพึ่งพาความร่วมมือเร่งด่วนจากหลายภาคส่วน: กระบวนการทางการเมืองจะต้องกลับคืนสู่ภาวะปกติ พื้นที่ขัดแย้งจะต้องถูกกำหนดและควบคุมไม่ให้ลุกลาม ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจะต้องไม่ถูกขัดขวาง ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่สำคัญมากเป็นอันดับหนึ่ง คือกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศหรือที่เราเรียกกันว่า ‘กฎแห่งสงคราม’ จะต้องได้รับการปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (The International Committee ...
หนึ่งปีให้หลังกับอนุสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์: ภาพสะท้อนจากเมืองฮิโรชิมะ

หนึ่งปีให้หลังกับอนุสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์: ภาพสะท้อนจากเมืองฮิโรชิมะ

, บทความ / บล็อค

ภาพความทรงจำครั้งเมื่อฉันไปเยือนพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมายังคงแจ่มชัด แม้ว่าในวันนั้นสภาพอากาศจะร้อนเหนอะหนะแต่ก็มีผู้คนเดินทางมายังพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เพื่อใช้เวลานึกคิดอย่างสงบนิ่ง ข้าพเจ้าสามารถสัมผัสได้ถึงความปรารถนาให้เกิดสันติภาพผ่านการกระทำของผู้คนที่ค่อยบรรจงวางดอกไม้และนกกระเรียนที่พับไว้อย่างประณีต ณ ฐานของอนุสรณ์ ญี่ปุ่นเป็นเพียงประเทศเดียวที่เคยประสบเคราะห์ภัยจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ โดยมีผู้รอดชีวิตจากระเบิดนิวเคลียร์หรือที่เรียกว่า ฮิบาคุชา (Hibakusha) จำนวนหลายพันคน ทิ้งไว้ซึ่งร่องรอยบาดแผลทางกายและจิตใจ บทเรียนที่โหดร้ายในเหตุการณ์ครั้งนี้จึงทำให้ประวัติและชื่อเมืองฮิโรชิมะกลายเป็นที่รู้จักทั่วโลก ดร. มาร์เซล ยูโนด จากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross: ICRC) ...
การแข่งขันว่าความศาลจำลองกับการปลูกฝังหลักการทางมนุษยธรรมให้แก่เยาวชน (ตอนที่ 2)

การแข่งขันว่าความศาลจำลองกับการปลูกฝังหลักการทางมนุษยธรรมให้แก่เยาวชน (ตอนที่ 2)

, บทความ / บล็อค

ในตอนก่อนหน้า เราได้พูดถึงที่มาและความสำคัญของกิจกรรมแข่งขันความรู้ด้านกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law หรือ IHL) กิจกรรมนี้จัดขึ้นทั้งในรูปแบบบทบาทสมมติ การว่าความศาลจำลอง ไปจนถึงการโต้วาที และมีการจัดการแข่งขันทั่วโลกร่วมทั้งในประเทศไทย ในบทนี้เราจะมาเล่าต่อ ว่าการเข้าร่วมแข่งขันในรายการที่ว่า สามารถสร้างประโยชน์ให้กับผู้เข้าแข่งขันไปจนถึงประเทศที่ให้การสนับสนุนได้อย่างไร เรียนรู้หลักการและคุณค่าทางมนุษยธรรมไปพร้อมกับตามหาเส้นทางอาชีพ การแข่งขัน  IHL อาศัยการจำลองสถานการณ์เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันนำความรู้จากบทเรียนมาปรับใช้กับเหตุการณ์จริง ไม่ว่าจะได้รับบทบาทสมมุติเป็นผู้แทน ICRC หรือที่ปรึกษากฎหมายของทั้งฝ่ายทหารและกลุ่มติดอาวุธ ผู้เข้าแข่งขันต้องให้เหตุผลที่เหมาะสมกับสถานการณ์ พร้อมเจรจาในประเด็นกฎหมายและมนุษยธรรมที่มีความแตกต่างกัน ...
ICRC ทำอะไรในสงครามโลกครั้งที่สอง? : เกิดอะไรในระหว่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว

ICRC ทำอะไรในสงครามโลกครั้งที่สอง? : เกิดอะไรในระหว่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว

, บทความ / บล็อค

วันที่ 27 มกราคม เป็นวันครบรอบการปลดปล่อยเชลยศึกในค่ายกักกันอาชวิทซ์-เบียร์เคเนาโดยฝ่ายสัมพันธมิตร (Auschwitz-Birkenau 1943-1945) ในสายตาคนทั่วไป ค่ายกักกันนาซีเป็นหลักฐานความโหดร้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ สำหรับผู้ต้องขังและครอบครัว สิ่งนี้เป็นรอยแผลที่เน้นย้ำความเกลียดชังของมนุษย์ต่อสิ่งที่พวกเขาไม่เข้าใจ แต่สำหรับ ICRC เหตุการณ์นี้คือความผิดพลาดยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์การปฎิบัติงานด้านมนุษยธรรมที่ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และ ไม่อาจปฏิเสธได้ เป็นที่ทราบกันดีว่าชาวยิวประสบเคราะห์กรรมอย่างหนักใต้การปกครองของฮิตเลอร์ การริดรอนสิทธิและการเข้ายึดทรัพย์สิน เป็นเรื่องปกติที่พบเจอกันทุกวัน ชาวยิวถูกบังคับให้อาศัยรวมกันใน ghetto ...
มรดกของนักตกปลาในเบียร์ดากค์, ยูเครน

มรดกของนักตกปลาในเบียร์ดากค์, ยูเครน

, บทความ / บล็อค / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

แต่ไหนแต่ไรมาใครๆ ก็พากันอิจฉาชาวบ้านที่อาศัยริมชายฝั่งทะเลอะซอฟ เพราะนอกจากจะมีความอุสมสมบูรณ์ จับปลาได้มาก หมู่บ้านชายทะเลยังเป็นที่หมายปองจากนักท่องเที่ยวจากเมืองใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นหมู่บ้านเบียร์ดากค์ทางตอนใต้ของประเทศยูเครน ที่นี่ ประชากรทั้งหมู่บ้านประกอบอาชีพชาวประมง ช่วงฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วงเป็นช่วงเวลาที่ดีในการออกเรือหาปลา และเมื่อฤดูร้อนมาถึงชาวเมืองจะเปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรายได้เสริม ชีวิตของชาวประมงในเบียร์ดากค์สวยงามเหมือนฝัน กระทั้งสงครามมาถึง… หมุนเวลามาปัจจุบัน ชายหาดที่เคยเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว ถูกแทนที่ด้วยความว่างเปล่าที่มาพร้อมสัญลักษณ์ประหลาดตา ...
ICRC ทำอะไรในสงครามโลกครั้งที่สอง? : ฟรีดริช บอน ผู้ช่วยเหลือชาวยิวหลายพันในฮังการี

ICRC ทำอะไรในสงครามโลกครั้งที่สอง? : ฟรีดริช บอน ผู้ช่วยเหลือชาวยิวหลายพันในฮังการี

, บทความ / บล็อค

หลายคนอาจคุ้นชื่อออสการ์ ชินด์เลอร์ (Oskar Schindler) อดีตสมาชิกพรรคนาซีและเจ้าของโรงงานที่เอ่ยปากขอตัวนักโทษชาวยิวมาทำงานจนสามารถช่วยคนหลายพันจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในโปแลนด์ วีรกรรมของชินด์เลอร์ ถูกยกย่องจากคนทั่วโลกและกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ภาพยนต์ในตำนาน ‘Schindler’s List (1993)’ ในระหว่างที่ชิลด์เลอร์กำลังทำหน้าที่ของเขาในโปแลนด์ ทราบหรือไม่ว่าในฮังการี มีชายอีกคนที่พยายามอย่างสุดความสามารถ เพื่อรักษาชีวิตชาวยิวหลายพันในกรุงบูดาเปสต์ ย้อนกลับไปในเดือนกรกฎาคม 1944 ฟรีดริช บอน (Friedrich Born) ผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee ...
เปิดประตูกว้าง หรือ สร้างกำแพง? เมื่อผู้ลี้ภัยไม่ใช่ ‘ผู้เสียหาย’ แต่กลายเป็น ‘อันตราย’

เปิดประตูกว้าง หรือ สร้างกำแพง? เมื่อผู้ลี้ภัยไม่ใช่ ‘ผู้เสียหาย’ แต่กลายเป็น ‘อันตราย’

, บทความ / บล็อค

ในโลกทุกวันนี้ปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัยกลายเป็นเรื่องใหญ่ในระดับนานาชาติ ไม่ใช่แค่การลี้ภัยจากสงครามหรือความขัดแย้ง แต่ยังรวมไปถึงกลุ่มแรงงานต่างชาติที่เดินทางออกจากบ้านเกิดเพราะปัญหาด้านเศรฐกิจ หลายคนอพยพจากภูมิลำเนาเพราะขาดโอกาสทางการศึกษา ไม่มีงานทำ หรือไม่สามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพขั้นพื้นฐาน ความคิดเรื่อง ‘เอลโดราโด (El Dorados)’ มีอยู่ทุกสมัย และไม่ใช่ความผิดที่หลายคนฝันถึงชีวิตที่ดีกว่าในมหานครใหญ่อย่าง นิวยอร์ก หรือ ลอนดอน ในช่วงทศวรรษที่ 1990s มีคลื่นผู้อพยพจากอิตาลี โปแลนด์ และ ไอร์แลนด์ ถาโถมเข้าสู่สหรัฐฯ เพื่อขานรับความฝันเรื่อง ...
คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ มาจากไหน? ประวัติศาสตร์การลี้ภัยที่ย้อนไปไกลกว่าที่คิด

คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ มาจากไหน? ประวัติศาสตร์การลี้ภัยที่ย้อนไปไกลกว่าที่คิด

, บทความ / บล็อค

ประวัติศาสตร์โลกเต็มไปด้วยเรื่องราวของการพลัดถิ่น จะด้วยเหตุผลทางการเมือง สงคราม หรือศาสนา ปฎิเสธไม่ได้ว่าโลกที่เราเห็นและเป็นอยู่ทุกวันนี้ เกิดขึ้นจากการแต่งแต้มสีสันของผู้คนจากหลายวัฒนธรรมที่พบปะสังสรรค์ผ่านการย้ายถิ่นฐานมายาวนานหลายศตวรรษ   แนวความคิดเรื่องผู้ลี้ภัยเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่? ความคิดที่ว่า มนุษย์เราควรให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อหรือผู้ที่กำลังอยู่ในอันตรายสามารถสืบย้อนกลับไปได้ไกลตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ  ในสมัยนั้น มีการพูดเรื่องสิทธิในการมอบที่ลี้ภัย (asylum) แก่ผู้เดือดร้อน แนวคิดนี้ถูกใช้ต่อมาโดยชาวโรมัน ก่อนชาวคริสต์ ชาวฮีบรู และชาวอิสลาม จะนำแนวคิดนี้มาบรรจุในวัฒนธรรมของตน จนเกิดเป็นเรื่องเล่าในศาสนาอย่างการอพยพของโมเสสที่พาชาวฮีบรูออกจากการเป็นทาสของชาวอียิปต์ไปยังแผ่นดินแห่งพันธสัญญา หรือเรื่องราวการเดินทางของนบีมุฮัมมัดและผู้ติดตามจากเมกกะไปยังเมดินะในวัฒนธรรมอิสลาม แนวคิดนี้ถูกนำมาบัญญัติแบบเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกโดย Hugo ...
ยะไข่: การเดินทางกลับต้องเป็นไปอย่างปลอดภัย สมัครใจ และมีศักดิ์ศรี

ยะไข่: การเดินทางกลับต้องเป็นไปอย่างปลอดภัย สมัครใจ และมีศักดิ์ศรี

, E-Book / บล็อค

สุนทรพจน์โดยนายปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเรื่องสถานการณ์ในรัฐยะไข่ วันที่ 2 มิถุนายน 2561ณ โรงแรมโรงแรมแชงกรี-ล่า ประเทศ สิงคโปร์ ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีโอกาสนำมุมมองด้านมนุษยธรรมมาร่วมอภิปรายกับทุกท่านในที่นี้ ขอบคุณสถาบัน International Institute for Strategic Studies (IISS) ที่อนุญาตให้ ICRC ได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงจากหลายประเทศซึ่งต่างก็มีความกังวลต่อสถานการณ์ในรัฐยะไข่ประเทศเมียนมา – มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ...