โลกร้อน

การเข้าถึงน้ำ เป็นเรื่องความเป็นความตายในพื้นที่ขัดแย้ง

การเข้าถึงน้ำ เป็นเรื่องความเป็นความตายในพื้นที่ขัดแย้ง

, บทความ

วันที่ 22 มีนาคม เป็นวันน้ำโลก (World Water Day) ซึ่งเป็นวันที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะ ‘น้ำ’ เป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิต นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ราว 3 สัปดาห์หากขาดอาหาร แต่สามารถมีลมหายใจได้เพียง 3-4 วัน หากปราศจากน้ำดื่ม อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ด้วยภาวะสงครามและความขัดแย้ง การเข้าถึงน้ำสะอาดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นเรื่องจำเป็นถึงชีวิตที่เราอยากหยิบมาบอกเล่าในวันสำคัญนี้ วิกฤตน้ำสะอาดเมื่อสงครามกระจายตัวสู่พื้นที่เมือง ...
คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเปิดกองทุนลดโลกร้อน

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเปิดกองทุนลดโลกร้อน

, News / ไทย

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี (International Committee of the Red Cross- ICRC) เปิดตัวกองทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Climate and Environment Transition Fund) อันเป็นโครงการระยะยาวเพื่อสนับสนุนเป้าหมายของไอซีอาร์ซีด้านความยั่งยืนและการลดโลกร้อน ผ่านการทำงานมนุษยธรรมของไอซีอาร์ซีทั่วโลก นาย ปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ กล่าวว่า ...
จากทะเลสาบเป็นทะเลทราย: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ประเทศมาลีเผชิญสภาวะวิกฤต

จากทะเลสาบเป็นทะเลทราย: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ประเทศมาลีเผชิญสภาวะวิกฤต

, บทความ / บล็อค

เพียงหนึ่งเดือนก่อนถึงการประชุมภาคีสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) สถานการณ์ในมาลีได้เตือนให้ทั้งโลกได้เห็นถึงประเด็นร้อนที่ส่งผลโดยตรงกับชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่ขัดแย้ง ประเทศมาลีได้รับการจัดอันดับจาก ND-GAIN ให้เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดเป็นอันดับ 7 ด้วยปัญหาความขัดแย้งอย่างนาวนานทำให้ UNDP จัดอันดับมาลีเป็นประเทศที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และเป็นประเทศที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) ต่ำที่สุดเป็นอันดับที่ 184 จาก 189 ประเทศ นายแพทริก ยูเซฟ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคแอฟริกา คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ...
มนุษยธรรมกับสิ่งแวดล้อม สองสิ่งนี้ไปด้วยกันได้หรือไม่ อีกมุมหนึ่งของน้ำใจที่แสดงออกผ่านการเข้าถึงทรัพยากร

มนุษยธรรมกับสิ่งแวดล้อม สองสิ่งนี้ไปด้วยกันได้หรือไม่ อีกมุมหนึ่งของน้ำใจที่แสดงออกผ่านการเข้าถึงทรัพยากร

, บทความ / บล็อค

มนุษยธรรม กับ สิ่งแวดล้อม อาจเป็นสองคำที่ฟังดูห่าง อันที่จริงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างผลกระทบให้ประเด็นมนุษยธรรมในหลายพื้นที่ ในแอฟริกา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด จนเกิดเป็นสงครามและความรุนแรงที่ตามมา ในประเทศไทยซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก คำถามว่ามนุษยธรรมกับสิ่งแวดล้อมสามารถสะท้อนความมีน้ำใจในช่วงเวลาวิกฤตได้หรือไม่ ได้รับคำตอบที่น่าสนใจจากคุณสุรชัย ปานน้อย ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาสื่อสารด้านภัยพิบัติ ไทยพีบีเอส “ประเด็นสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องมนุษยธรรมโดยตรง เพราะมันแสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันของการเข้าถึงทรัพยากร ในช่วงโควิด-19 การเข้าถึงหน้ากากอนามัยเป็นเรื่องของคนที่มีกำลังซื้อสูง คนที่อยู่ฐานล่างต้องใช้หน้ากากอนามัยแบบรีไซเคิลซึ่งทำให้เขามีความเสี่ยงมากกว่า มีคนบอกผมว่ายิ่งคนมีกำลังซื้อสูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งดูดกลืนทรัพยากรมากเท่านั้น มันจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องสื่อสารประเด็นนี้เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางความคิด เพราะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ภาระของใครคนใดคนหนึ่งแต่เป็นเรื่องของเราทุกคน” ...
ICRC สีเขียว – เมื่อความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมดำเนินคู่กันกับพลังงานที่ยั่งยืน

ICRC สีเขียว – เมื่อความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมดำเนินคู่กันกับพลังงานที่ยั่งยืน

, บทความ / บล็อค

หนึ่งในเป้าหมายเพื่อการพัฒนาในระยะยาวของ ICRC คือความตั้งใจที่จะพัฒนาระบบการเข้าถึงพลังงานที่ปลอดภัยและยั่งยืน มีการจับมือกับพันธมิตรหลากหลายโดยมีหัวใจสำคัญคือการมองหาพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้แทนเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วหมดไป ในพื้นที่ขัดแย้ง ICRC ได้ปรับแผนช่วยเหลือทางมนุษยธรรมให้มีความเหมาะสม เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกจนต้องย้ายถิ่นฐาน มีการตั้งศูนย์อบรมเรื่องพลังงานขึ้นใหม่ในประเทศไนโรบีและเคนยา เพื่อเตรียมพร้อมให้ผู้แทนของเรามีความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบโครงการซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและฝึกอบรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Institute for Training and Research – UNITAR) และแหล่งความรู้ออนไลน์เรื่องพลังงานอย่าง Energypedia ICRC ...
#รู้หรือไม่ สิ่งแวดล้อมก็ได้รับการปกป้องจากกฎแห่งสงคราม

#รู้หรือไม่ สิ่งแวดล้อมก็ได้รับการปกป้องจากกฎแห่งสงคราม

, บทความ / บล็อค

ตั้งแต่ปี 1946-2010 ความขัดแย้งเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อประชากรสัตว์ป่าในหลายพื้นที่ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศไม่เพียงให้ความคุ้มครองชีวิตมนุษย์แต่ยังปกป้องสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ไม่ใช่เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อผู้คน แต่เพราะมูลค่าที่ยิ่งใหญ่ของสิ่งแวดล้อมต่อโลกทั้งใบ สงครามมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ คำถามนี้คงตอบไม่ยาก แต่สงครามมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน? คือคำถามที่เราจะพาไปหาคำตอบ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศห้ามใช้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นอาวุธโจมตี รวมไปถึงการแทรกแซงทางธรรมชาติอย่างการใช้สารเคมีเพื่อทำลายสมดุลทางธรรมชาติของภูมิภาค หรือการตั้งใจโจมตีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น การระเบิดบ่อน้ำมันของฝ่ายตรงข้าม ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากกระจายเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อปศุสัตว์และสิ่งแวดล้อม เรื่องนี้อาจลามไปไกลถึงประเด็นก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน แม้สิ่งแวดล้อมจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย แต่หลายครั้งที่ผลเสียหายจากสงคราม ลามไปถึงสัตว์ป่าอย่างไม่ได้ตั้งใจ ในโมซัมบิกสงครามกลางเมือง 15 ...