้เมียนมา

ปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธาน ICRC เข้าพบพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา ระหว่างการเยือนเมียนมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา

ปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธาน ICRC เข้าพบพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา ระหว่างการเยือนเมียนมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา

, บทความ / บล็อค

ในระหว่างการประชุม ประธานเมาเรอร์เน้นย้ำถึงกิจกรรมด้านมนุษยธรรมของ ICRC ในเมียนมา ที่ได้มีการพัฒนาและเพิ่มความหลากหลายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา “ประชาชนชาวเมียนมาต้องเผชิญสถานการณ์มากมาย ทั้งการขัดกันทางอาวุธ การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ชาวเมียนมาต้องได้รับการปกป้องพร้อมทั้งความช่วยเหลือที่จำเป็น” ประธานเมาเรอร์กล่าว “การประชุมในครั้งนี้มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อแบ่งปันข้อกังวลเกี่ยวกับประเด็นด้านมนุษยธรรมและสนับสนุนความพยายามในการเพิ่มพื้นที่สำหรับงานด้านมนุษยธรรมที่เป็นกลางและไม่เลือกข้าง” หลังกล่าวถึงขอบเขตและความจำเป็น ประธานเมาเรอร์ได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มความช่วยเหลือในพื้นที่ต่างๆ ทั้งในรัฐชิน รัฐคะฉิ่น รัฐกะยา รัฐฉาน และรัฐยะไข่ และได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของ ICRC ในการกลับมาดำเนินงานด้านมนุษยธรรมในเรือนจำ หลังจากหยุดชะงักไปเพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ...
เมียนมา-บังกลาเทศ: สถานการณ์ที่ไม่มีใครได้ประโยชน์

เมียนมา-บังกลาเทศ: สถานการณ์ที่ไม่มีใครได้ประโยชน์

, บทความ

‘นี่เป็นสถานการณ์ที่ไม่มีใครได้ประโยชน์’ คำแถลงจากนายปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหลังการเยือนประเทศพม่าและบังกลาเทศ ดากา (ICRC) – ผมกำลังจากภูมิภาคนี้ด้วยความรู้สึกที่ยากเกินบรรยาย ในสถานการณ์เช่นนี้ ผมโชคดีที่มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมผู้ประสบภัยในทั้งสองฝั่ง – เมียนม่าและบังกลาเทศ สองประเทศที่เผชิญปัญหาผู้ลี้ภัยจากวิกฤตในรัฐยะไข่ คอกส์บาซาร์ – เมืองชายแดนของบังกลาเทศ คือเป้าหมายหลักในการเดินทางของผู้ลี้ภัยมากมาย ค่ายผู้ลี้ภัยและที่พักอาศัยจำนวนมากถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการที่มีมากและยากจะตอบรับ ผมได้พบปะและพูดคุยกับผู้คนในสองประเทศ และได้พบคำตอบที่ชัดเจนในใจ ไม่ว่าจะอยู่หรือไป การตัดสินใจล้วนนำไปสู่เส้นทางอันยากลำบาก ไม่มีบ้านที่ปลอดภัย ...
เมียนมา: ความวุ่นวายในรัฐคะฉิ่นกับหลายชีวิตที่ต้องจากบ้าน

เมียนมา: ความวุ่นวายในรัฐคะฉิ่นกับหลายชีวิตที่ต้องจากบ้าน

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

ประชาชนในรัฐคะฉิ่นประเทศเมียนมา มีชีวิตอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมานานตั้งแต่ปี 2011 เมื่อความรุนแรงปะทุขึ้นอีกครั้งในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประชาชนกว่า 6,800 คน ต้องอพยพออกจากที่อยู่อาศัย ตัวเลขนี้ยังไม่นับไปถึงประชากรอีกราว 100,000 ที่กลายเป็นผู้พลัดถิ่นมาแล้วหลายปีก่อนหน้า สถาณการณ์ในเดือนล่าสุด(เมษายน) ผู้คนมากมายต้องเดินเท้าจากพื้นที่เสี่ยงเป็นระยะทางหลายกิโลเมตรเพื่อมายังสถานที่ตั้งค่ายสำหรับผู้พลัดถิ่นในโบสถ์นอกเมือง Myit Kyi ...