ภัยสงคราม

การเข้าถึงน้ำ เป็นเรื่องความเป็นความตายในพื้นที่ขัดแย้ง

การเข้าถึงน้ำ เป็นเรื่องความเป็นความตายในพื้นที่ขัดแย้ง

, บทความ

วันที่ 22 มีนาคม เป็นวันน้ำโลก (World Water Day) ซึ่งเป็นวันที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะ ‘น้ำ’ เป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิต นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ราว 3 สัปดาห์หากขาดอาหาร แต่สามารถมีลมหายใจได้เพียง 3-4 วัน หากปราศจากน้ำดื่ม อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ด้วยภาวะสงครามและความขัดแย้ง การเข้าถึงน้ำสะอาดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นเรื่องจำเป็นถึงชีวิตที่เราอยากหยิบมาบอกเล่าในวันสำคัญนี้ วิกฤตน้ำสะอาดเมื่อสงครามกระจายตัวสู่พื้นที่เมือง ...
จากยูเครนตะวันออกสู่ชีวิตใหม่ในรัสเซีย

จากยูเครนตะวันออกสู่ชีวิตใหม่ในรัสเซีย

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

ICRC เริ่มให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยทางตะวันออกของประเทศยูเครนตั้งแต่ปี 2014 มีครอบครัวชาวยูเครนจำนวนมากตัดสินใจอพยพลี้ภัยความรุนแรงมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ทางตอนใต้ในประเทศรัสเซีย การทิ้งบ้านและชีวิตที่คุ้นเคยไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ความปลอดภัยของครอบครัวเป็นของมีค่าราคาแพงที่พวกเขายอมเสี่ยงทุกอย่างเพื่อแลกมา สามปีผ่านไป ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง? นาตาเลีย, วาเซลี่ และ ลูบอฟ จะเป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่องราวให้พวกเราได้รับรู้ นาตาเลีย ก่อนยูเครนจะเข้าสู่ความขัดแย้งอย่างปัจจุบัน ...
แข่งกับเวลา! เจ้าหน้าที่ ICRC เตรียมพร้อมรับมือหน้าหนาว -20 องศา โดยไม่มีก๊าซ/ไฟฟ้า ในยูเครน

แข่งกับเวลา! เจ้าหน้าที่ ICRC เตรียมพร้อมรับมือหน้าหนาว -20 องศา โดยไม่มีก๊าซ/ไฟฟ้า ในยูเครน

, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / บล็อค / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

ในขณะที่ความขัดแย้งยังไม่มีท่าทีจะสิ้นสุด ‘ฤดูหนาว’ ศตรูตัวร้ายของชาวยูเครนก็กำลังจะกลับมา ท่ามกลางอากาศหนาวกว่า -20 องศา ไม่มีแก๊ซและไฟฟ้า ประชาชนในพื้นที่สงครามทางตะวันออกของยูเครนจะผ่านหนาวนี้ไปได้อย่างไร? นี่เป็นคำถามใหญ่ที่เพื่อนรวมงานของเราในยูเครนกำลังประสบ `ถ้าคุณอยู่ในพื้นที่ขัดแย้ง นอกจากจะต้องคอยหลบลูกกระสุน คุณยังจะต้องลุ้นว่าหน้าหนาวนี้จะติดลบไปถึงกี่องศา` Alain Aeschlimann  ผู้อำนวยการ ICRC สำนักงานภูมิภาคในยูเครนให้สัมภาษณ์ ...
ประสบการณ์ 6 เดือนของฉันในมาบัน ซูดานใต้

ประสบการณ์ 6 เดือนของฉันในมาบัน ซูดานใต้

, บทความ / บล็อค / เรื่องเล่าจากภาคสนาม
Uma Pandey

ช่วงเวลา 6 เดือนที่ฉันต้องย้ายจากมหานครใหญ่ที่เต็มไปด้วยความอึกทึกวุ่นวายอย่างกรุงเทพฯ ไปยังอำเภอมาบัน ในสาธารณรัฐซูดานใต้เปรียบเสมือนกับการเล่นรถไฟเหาะตีลังกาไม่มีผิด แต่หากมองในอีกมุมหนึ่งฉันกำลังจะได้เดินทางไปยังดินแดนที่ไหนสักแห่งในโลก เพื่ออะไรบางอย่างที่ตัวเองไม่เคยทำมาก่อนในฐานะผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) แค่นี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับฉัน มาบัน เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกตอนบนของประเทศซูดานใต้ ซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศซูดานและเอธิโอเปีย ที่นี่เป็นศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้อพยพประมาณ 136,000 คน ...
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์และคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมเป็นเจ้าภาพโครงการประชุมประจำปีเครือข่ายองค์การรัฐที่ให้บริการด้านนิติเวชศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์และคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศร่วมเป็นเจ้าภาพโครงการประชุมประจำปีเครือข่ายองค์การรัฐที่ให้บริการด้านนิติเวชศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

, News / บล็อค / ไทย

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรมของไทยเป็นเจ้าภาพโครงการประชุมประจำปีเครือข่ายองค์การรัฐที่ให้บริการด้านนิติเวชศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Medico-Legal Agencies  Network : APMLA General Meeting) ระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม 2560 ที่โรงแรมดีวารี จอมเทียน บีช พัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายและการแบ่งปันข้อมูลของผู้ให้บริการในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค รวมถึงยกระดับการทำงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและมีความทันสมัยทันต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ซึ่งในโอกาสนี้คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศหรือ the ...
สร้างทักษะผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality)

สร้างทักษะผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality)

, กลุ่มองค์กรกาชาด / บทความ / บล็อค

จากปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากความขัดแย้งทางทหารทั่วโลก พร้อมได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพถึง 3 ครั้ง คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี เป็นองค์กรด้านมนุษยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นที่เคารพมากที่สุดในโลก เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศได้กลายเป็นองค์กรด้านมนุษยธรรมแห่งแรกของโลกที่ใช้เทคโนโลยีวิดีโอเกมส์ในการปฏิบัติงานภายในอีกด้วย “คุณอาจพูดได้ว่าเราเป็นบริษัทเกมส์เล็กๆ” คริสเตียน รูแฟร์ หัวหน้าแผนก ...
ICRC เรียกร้องให้ทุกฝ่ายปกป้องพลเรือนในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของเมืองอเลปโป

ICRC เรียกร้องให้ทุกฝ่ายปกป้องพลเรือนในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของเมืองอเลปโป

, บทความ / บล็อค

พลเรือนหลายพันคนที่อาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเมืองอเลปโปประเทศซีเรียกำลังเผชิญกับภัยสงครามหลังจากที่สถานการณ์การสู้รบระลอกใหม่ปะทุขึ้น หายนะด้านมนุษยธรรมที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มรุนแรงและการเสียชีวิตของพลเรือนเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นหากกฎกติกาในการทำสงครามไม่ถูกนำมาใช้หรือถูกเพิกเฉยจากกลุ่มต่างๆ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องคำนึงถึงพลเรือนที่ติดอยู่ท่ามกลางสมรภูมิการสู้รบและให้การคุ้มครองพร้อมกับละเว้นการเอาชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นเพราะนี่อาจจะเป็นโอกาสสุดท้ายในการช่วยเหลือพลเรือนที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสู้รบ เป็นเวลานานกว่าหนึ่งสัปดาห์แล้วที่ ICRC ได้ติดต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางออกให้กับสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมเพื่อระงับความสูญเสียของมวลมนุษยชาติที่มีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้นแต่ความพยายามดังกล่าวดูเหมือนจะสูญเปล่าและเวลาก็หมดลงเรื่อยๆ เพื่อเห็นแก่พลเรือน ICRC และสภาเสี้ยววงเดือนแดงอาหรับซีเรีย (SARC) ยังคงเดินหน้าในฐานะผู้ไกล่เกลี่ยด้านมนุษยธรรมที่เป็น กลางและไม่เลือกปฏิบัติ “และเพื่อให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง เราจึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายคำนึงถึงสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมก่อนที่จะนึกถึงวัตถุประสงค์ทางการทหาร” มารีอานเนอร์ กัสเซอร์ หัวหน้าสำนักงาน ICRC ประจำซีเรียซึ่งปัจจุบันลงพื้นที่ในเมืองอเลปโปกล่าว “เรากำลังรอดูการบังคับใช้ข้อตกลงใดๆก็ตามที่เห็นแก่พลเรือนเป็นลำดับแรกและมันควรจะเกิดอย่างรวดเร็ว”
กิลส์ ดูลี่ย์-มุมมองจากช่างภาพภาคสนามและรายงาน People on War 2016

กิลส์ ดูลี่ย์-มุมมองจากช่างภาพภาคสนามและรายงาน People on War 2016

, บทความ / บล็อค

เป็นเวลากว่าสิบปีที่กิลส์ ดูลี่ย์ ทำงานเป็นช่างภาพสารคดีเพื่อสะท้อนเรื่องราวของพลเรือนผู้บริสุทธิ์ที่ต้องเผชิญกับภัยสงคราม ที่ทำงานของเขาก็คือพื้นที่เสี่ยงภัยหลายแห่งทั่วโลก เช่น อังโกล่า กาซ่า  อิรักและกัมพูชา ในปี 2554 กิลส์เหยียบถูกกับระเบิดขณะกำลังทำงานอยู่ที่จังหวัดกันดาฮาร์ประเทศอัฟกานิสถาน เขาใช้เวลาหนึ่งปีเต็มในการพักรักษาตัว กิลส์เล่าว่า ชีวิตของเขามาถึงจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในช่วงเวลานั้นหลังจากที่หมอบอกเขาว่าเขาจะเดินไม่ได้และคงต้องใช้ชีวิตด้วยการพึ่งพาคนอื่นมากขึ้นนับจากนี้ไป แต่สำหรับกิลส์แล้วเขาไม่เคยยอมแพ้ 18 เดือนหลังจากนั้น เขากลับมาทำงานเป็นช่างภาพสารคดีเหมือนเดิมและตระหนักว่าการที่เขาต้องกลายเป็นผู้พิการไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับเขาแต่มันทำให้เขามีความเข้าใจผู้คนที่ต้องเผชิญเหตุการณ์คล้ายๆกับเขามากยิ่งขึ้นรวมถึงผู้คนที่เขาต้องทำงานด้วย กิลส์เล่าว่างานอย่างหนึ่งของเขาคือการพูดคุยและรับฟังเรื่องราวของผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากภัยสงครามและความขัดแย้ง ซึ่งในรายงาน People on War ...
เด็กๆท่ามกลางภาวะสงคราม

เด็กๆท่ามกลางภาวะสงคราม

, บทความ / บล็อค

แม้ว่าโดยธรรมชาติแล้วบรรดาเด็ก ๆ จะมีความเข้มแข็งและความสามารถในการปรับตัวเพียงใดก็ตาม ในภาวะแห่งสงคราม เด็ก ๆ นั้นมักจะตกเป็นเหยื่อ และเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อภัยหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การได้รับบาดเจ็บ การถูกทารุณกรรม การถูกลักพาตัว ถูกบังคับให้เป็นทหาร หรือแม้กระทั่งถูกข่มขืนหรือถูกสังหาร  นอกจากนี้ เด็ก ๆ ในภาวะสงครามยังต้องตกอยู่ในภาวะขาดอาหาร น้ำ และที่พักอาศัย รวมทั้งต้องพลัดพรากจากครอบครัว และกลายเป็นเด็กกำพร้า การให้ความคุ้มครอง ...
เซาท์ซูดาน ประเทศใหม่ ก้าวทันระบบสากล

เซาท์ซูดาน ประเทศใหม่ ก้าวทันระบบสากล

, บทความ / บล็อค

หลังจากที่ประกาศอิสรภาพได้ไม่นาน และหลังจากสงครามกลางเมืองหลายทศวรรษ ประเทศที่”ใหม่”ที่สุดในโลกก็เริ่มสร้างประเทศ    อย่างเป็นระบบและรวดเร็วเพื่อในทันโลก หนึ่งในประเด็นที่สำคัญที่รัฐบาลสาธารณรัฐเซาท์ซูดานให้ความสำคัญคือกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law หรือ IHL) ในมุมมองของกองทัพเซาท์ซูดานการที่ทหารมีความรู้เรื่องกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และเคารพปฏิบัติตามนั้น เป็นการบ่งบอกว่ากองทัพนั้นเป็นมืออาชีพ Lt. Colonel Albino Awan จากกองทัพเซาท์ซูดาน และผู้ดูแลการอบรมครั้งที่ผ่านมาให้สัมภาษณ์ว่า: “จุดประสงค์ของการอบรมในครั้งนี้เพื่อให้ทหารทุกนายตระหนักว่ากองทัพเซาท์ซูดานกำลังเป็นมืออาชีพ (professional) มากขึ้นตามมาตราฐานสากล ผมดีใจที่ทหารมีความสุข ...