นักข่าว

นักรบ มูลมานัส กับการออกแบบงานมนุษยธรรมในอีก 100 ปี ข้างหน้า

นักรบ มูลมานัส กับการออกแบบงานมนุษยธรรมในอีก 100 ปี ข้างหน้า

, บทความ

งานคอลลาจแสนละเอียดที่แฝงไปด้วยเรื่องราวจากอดีต นำมาร้อยเรียงใหม่เพื่อสื่อสารกับคนในปัจจุบัน ดูจะเป็นลายเซ็นที่สุดแสนจะเป็นเอกลักษณ์ของนักรบ มูลมานัส ศิลปินภาพประกอบชื่อดังที่มีทั้งผลงานศิลปะ หนังสือขายดี และนิทรรศการซึ่งเป็นที่รู้จักกันอีกมาก เมื่อได้ยินว่านักรบตอบรับคำชวนและจะร่วมขบวนเพื่อตามหางานมนุษยธรรมในอีกร้อยปีข้างหน้า เราก็สนใจว่านักรบมีความคิดเห็นอย่างไรกับโครงการประกวดออกแบบภาพประกอบครั้งแรกของกลุ่มองค์กรกาชาด และจะมีไอเดียแบบไหนเพื่อสร้างสรรค์ผลงานภายใต้โจทย์ยากๆ อย่าง “Designing Humanity in the 21st Century” ทำความรู้จักนักรบ มูลมานัส ศิลปินร่วมโครงการของเรา เราเป็นศิลปิน ทำงานภาพประกอบแล้วก็เป็นนักเขียนด้วย สำหรับงานภาพ ...
#มาแชร์กัน ใหม่–มานิตา ส่งเสริม กับการออกแบบงานมนุษยธรรมในอีก 100 ปี ข้างหน้าที่ไม่ว่าโลกจะหมุนไปทางไหน คุณค่าความเป็นคนก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง

#มาแชร์กัน ใหม่–มานิตา ส่งเสริม กับการออกแบบงานมนุษยธรรมในอีก 100 ปี ข้างหน้าที่ไม่ว่าโลกจะหมุนไปทางไหน คุณค่าความเป็นคนก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง

, บทความ

ใหม่–มานิตา ส่งเสริม นอกจากจะเป็นชื่อที่คุ้นหูคุ้นตากันดีในแวดวงนักออกแบบกราฟิก เธอยังเป็นศิลปินที่อยู่เบื้องหลังโปสเตอร์มากมายของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และเป็นเจ้าของลายเส้นอันเป็นเอกลักษณ์บนหน้าปกหนังสือชื่อดังอีกหลายเล่ม วันนี้ทีมงาน ICRC ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณใหม่ถึงในห้องทำงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแรงบันดาลใจหลังได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการประกวดออกแบบภาพประกอบครั้งแรกของกลุ่มองค์กรกาชาดฯ “Designing Humanity in the 21st Century” ทำความรู้จักคุณใหม่ ศิลปินร่วมโครงการของเรา “สวัสดีค่ะ ใหม่นะคะ จริงๆ เป็นนักออกแบบกราฟิกนี่แหละ ไม่ค่อยแทนตัวเองเป็นศิลปินเท่าไหร่ เพราะใหม่ไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็น ...
ผู้สื่อข่าวได้รับความคุ้มครองอย่างไรในพื้นที่ขัดแย้ง

ผู้สื่อข่าวได้รับความคุ้มครองอย่างไรในพื้นที่ขัดแย้ง

, บทความ / บล็อค

มีคำกล่าวว่าความจริงคือเหยื่อยรายแรกของสงคราม นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการรายงานข่าวที่แม่นยำและไม่เลือกข้าง จึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะในสถานการณ์ความขัดแย้งที่คนทั้งโลกกำลังให้ความสนใจ บทบาทของผู้รายงานข่าวในฐานะผู้เห็นเหตุการณ์และบันทึกผลกระทบที่น่าหวาดกลัวของความขัดแย้งเป็นสิ่งจำเป็น แต่นั่นก็ทำให้พวกเขาตกเป็นหนึ่งในกลุ่มบุคคลที่ต้องเสี่ยงชีวิตมากที่สุด โดยอาจได้รับบาดเจ็บ ถูกลักพาตัว หรืออาจต้องเสียชีวิตในระหว่างการปฎิบัติหน้าทื่ กฎหมายมนุษยธรรมกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างไร และอะไรคือบทบาทหน้าที่ของผู้สื่อข่าวในพื้นที่สงคราม? กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศให้ความคุ้มครองผู้สื่อข่าวอย่างไร กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการระบุสิทธิ หน้าที่ และความคุ้มครองในระหว่างการขัดกันทางอาวุธหรือสงคราม บุคลากรสื่อหรือนักข่าวส่วนใหญ่ไม่ได้มีสถานะพิเศษตามกฎหมายแต่ได้รับการคุ้มครองในฐานะพลเรือนที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการสู้รบ กฎหมาย IHL ให้ความคุ้มครอง แต่ไม่ได้รับรองในเรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อในการรายงานหรือเข้าเข้าถึงพื้นที่สู้รบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐ ผู้สื่อข่าวสงคราม ...
ไอซีอาร์ซีกับสื่อสารมวลชน

ไอซีอาร์ซีกับสื่อสารมวลชน

, News / บล็อค / ไทย

ไอซีอาร์ซีทำสิ่งใดได้บ้าง กรณีหายสาบสูญ: พยายามหาข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบและแหล่งอื่นใดก็ตาม ส่งข้อมูลสู่ครอบครัวของนักข่าวทันทีที่หน่วยงานที่กักขัง (อาจใช่หรือไม่ใช่รัฐบาล) ยืนยันการกักขัง การจับกุม หรือการเสียชีวิตของเขา นอกจากนี้ไอซีอาร์ซียังอาจส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานในประเทศบ้านเกิดของนักข่าวและสมาคมต้นสังกัดได้หากครอบครัวของนักข่าวตกลงเห็นชอบ การกักขังหรือการคุมขัง: ขออนุญาตให้ผู้แทนของไอซีอาร์ซีได้ไปเยี่ยมเยียนนักข่าวโดยมีแพทย์ตามไปด้วยถ้าจำเป็น ทำให้นักข่าวและครอบครัวของเขาสามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารถึงกันได้โดยอาจผ่านจดหมายกาชาดที่ไอซีอาร์ซีรวบรวมแล้วส่งต่อถึงผู้รับ ส่งนักข่าวกลับสู่ประเทศบ้านเกิดเมื่อเขาถูกปล่อยตัว ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ขีดความสามารถ ไอซีอาร์ซีดำรงอยู่อย่างถาวรด้วยการมีเครือข่ายสำนักงานต่างๆ ในกว่า 60 ประเทศและปัจจุบันไอซีอาร์ซีมีการปฏิบัติงานในประมาณ 80 ประเทศ เครือข่ายนี้ทำให้ไอซีอาร์ซีสามารถดำเนินกิจกรรมด้านมนุษยธรรมในสถานการณ์การสู้รบปัจจุบันได้เกือบทั้งหมด ...