ผู้ลี้ภัย

กฎหมายสงครามทำงานอย่างไร รวมทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

กฎหมายสงครามทำงานอย่างไร รวมทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

, บทความ

“แม้แต่สงครามก็มีกฎเกณฑ์” ประโยคนี้มีความหมายว่าอย่างไร อะไรคือใจความสำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ “แม้แต่สงครามก็มีกฎเกณฑ์” มีความหมายว่า หากสงครามเกิดขึ้น ก็ต้องมีการจำกัดผลกระทบของมัน ยกตัวอย่างเช่น คุณต้องไม่โจมตีเด็ก สตรี หรือประชาชนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสู้รบ รวมไปถึงการให้การดูแลผู้ต้องขังอย่างมีมนุษยธรรม ไม่ทำการทรมานผู้อื่นเพื่อรีดข้อมูล โดยกฎเกณฑ์ที่ยกมานี้ ถูกระบุชัดในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) ซึ่งเป็นกฎที่ถูกตั้งขึ้นมาโดยมีเป้าหมายทางมนุษยธรรมเป็นที่ตั้ง กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ทำหน้าที่หลักสองประการ 1. ปกป้องผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสู้รบ หรือไม่สามารถทำการสู้รบต่อ นั่นรวมไปถึง ...
ผู้ลี้ภัยในเลบานอนบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาผ่านเลนส์กล้อง

ผู้ลี้ภัยในเลบานอนบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาผ่านเลนส์กล้อง

, บทความ / บล็อค

ค่ายผู้ลี้ภัยอาจะเป็นโลกทั้งใบของหลายชีวิต เด็กรุ่นใหม่ใน Ein el-Hilweh ค่ายลี้ภัยในเลบานอนหันมาจับกล้องเพื่อสะท้อนเสียงของพวกเขาผ่านภาพถ่าย แคนนอน ยุโรปจับมือกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ออกโปรเจกต์น่าสนใจ ชวนวัยรุ่น 5 คน ที่อยู่ในสถานะผู้ลี้ภัย มาร่วมกันถ่ายภาพเล่าเรื่องชีวิตประจำวน เนื่องในวันมนุษยธรรมโลกที่เพื่งผ่านไปในวันที่ 19 สิงหาคม ภาพถ่ายของพวกเขาชวนให้เราตั้งคำถามกับชีวิต ความคิด และประสบการณ์ความเป็นอยู่ของผู้คนมากมายที่ใช้ชีวิตอยู่ใต้หมอกควันของสงคราม ฟาติมา เด็กสาววัย 19 ...
‘สถานะ’ และ ‘การคุ้มครอง’ : องค์กรมนุษยธรรมมองเรื่อง ‘ผู้ลี้ภัย’ ไว้อย่างไร

‘สถานะ’ และ ‘การคุ้มครอง’ : องค์กรมนุษยธรรมมองเรื่อง ‘ผู้ลี้ภัย’ ไว้อย่างไร

, บทความ / บล็อค

การเดินทางจากบ้านมีได้หลายเหตุผล การที่ใครสักคนจะได้รับการต้อนรับหรือดูแลมากแค่ไหน บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับเหตุผลของการเดินทาง ที่จะบอกว่าผู้อพยพท่านนี้ควรได้รับสถานะ (status) หรือ การคุ้มครอง (protection) แบบใด แต่ไม่ว่าจะหลบหนีจากสงครามหรือเดินทางหางานสร้างอนาคต ไม่ว่าจะถูกบังคับให้เคลื่อนย้ายหรือเต็มใจออกจากบ้าน สิ่งที่ผู้คนเหล่านี้ต้องเผชิญไม่ต่างกัน คืออุปสรรค์ที่มักเกิดขึ้นระหว่างทาง นายปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) กล่าวถึงประสบการณ์ความยากลำบากที่ผู้คนเหล่านี้ต้องเผชิญไว้ว่า: ‘เมื่อตัดสินใจออกเดินทาง ผู้อพยพและประชากรพลัดถิ่นต้องเผชิญโจทย์ยากตั้งแต่ก้าวแรก บนเส้นทางมีความไม่แน่นอน หลายชีวิตไม่สามารถไปถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย หรือต่อให้ไปถึง ...
คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ มาจากไหน? ประวัติศาสตร์การลี้ภัยที่ย้อนไปไกลกว่าที่คิด

คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ มาจากไหน? ประวัติศาสตร์การลี้ภัยที่ย้อนไปไกลกว่าที่คิด

, บทความ / บล็อค

ประวัติศาสตร์โลกเต็มไปด้วยเรื่องราวของการพลัดถิ่น จะด้วยเหตุผลทางการเมือง สงคราม หรือศาสนา ปฎิเสธไม่ได้ว่าโลกที่เราเห็นและเป็นอยู่ทุกวันนี้ เกิดขึ้นจากการแต่งแต้มสีสันของผู้คนจากหลายวัฒนธรรมที่พบปะสังสรรค์ผ่านการย้ายถิ่นฐานมายาวนานหลายศตวรรษ   แนวความคิดเรื่องผู้ลี้ภัยเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่? ความคิดที่ว่า มนุษย์เราควรให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อหรือผู้ที่กำลังอยู่ในอันตรายสามารถสืบย้อนกลับไปได้ไกลตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ  ในสมัยนั้น มีการพูดเรื่องสิทธิในการมอบที่ลี้ภัย (asylum) แก่ผู้เดือดร้อน แนวคิดนี้ถูกใช้ต่อมาโดยชาวโรมัน ก่อนชาวคริสต์ ชาวฮีบรู และชาวอิสลาม จะนำแนวคิดนี้มาบรรจุในวัฒนธรรมของตน จนเกิดเป็นเรื่องเล่าในศาสนาอย่างการอพยพของโมเสสที่พาชาวฮีบรูออกจากการเป็นทาสของชาวอียิปต์ไปยังแผ่นดินแห่งพันธสัญญา หรือเรื่องราวการเดินทางของนบีมุฮัมมัดและผู้ติดตามจากเมกกะไปยังเมดินะในวัฒนธรรมอิสลาม แนวคิดนี้ถูกนำมาบัญญัติแบบเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกโดย Hugo ...
ประธานไอซีอาร์ซีออกแถลงการณ์ถึงโศกนาฏกรรมในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ประธานไอซีอาร์ซีออกแถลงการณ์ถึงโศกนาฏกรรมในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

, บทความ / บล็อค

สืบเนื่องจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเรือที่ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยจำนวนกว่าหลายร้อยคนโดยสารมาได้พลิกคว่ำ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการประเมินอาจมีจำนวนมากถึงแปดร้อยราย ยังผลให้เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในการนี้ คุณปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานไอซีอาร์ซีได้ออกแถลงการณ์ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ผมรู้สึกตระหนกและเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสูญเสียของหลายร้อยชีวิตในเหตุการณ์อันน่าสลดใจยิ่งที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน การเสียชีวิตของผู้คนเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น ชาย หญิง และ เด็ก ๆ นั้นเป็นเครื่องเตือนใจที่น่าเศร้าต่อผลกระทบของสงครามที่กำลังทวีความรุนแรงทั้งใน ลิเบีย ซีเรีย และ ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ...
ไอซีอาร์ซีในประเทศไทย

ไอซีอาร์ซีในประเทศไทย

, บทความ / บล็อค

ไอซีอาร์ซีมาเริ่มงานครั้งแรก ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ในช่วงเหตุการณ์เขมรแตก ซึ่งในขณะนั้นสำนักงานของเราในภูมิภาคนี้ตั้งอยู่ในกรุงพนมเปญ  ด้วยภาวะสงครามอันรุนแรงพนักงานไอซีอาร์ซีจำต้องอพยพเดินทางข้ามมาทางชายแดนไทย ก่อนที่จะเข้ามาตั้งสำนักงานถาวรในกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2522 ณ ซอยร่วมฤดี และในปีถัดมา เมื่อ พ.ศ. 2523 เราก็ตั้งสำนักงานขึ้นอีกแห่งที่ สุขุมวิท ซอย 4 (ซอยนานา) โดยสำนักงานที่นานาในยุคนั้น ...