กาชาดสากล

เชื้อชาติ ความเที่ยงธรรม และมรดกยุคอาณานิคมใหม่: การระบุซึ่งหนทางสู่การดำเนินงานด้านมนุษยธรรมอย่างมีจริยธรรม  (Part 1)

เชื้อชาติ ความเที่ยงธรรม และมรดกยุคอาณานิคมใหม่: การระบุซึ่งหนทางสู่การดำเนินงานด้านมนุษยธรรมอย่างมีจริยธรรม (Part 1)

, บทความ / บล็อค

หลังจากเหตุการณ์ฆาตกรรม จอร์จ ฟลอยด์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงการประท้วงที่ลุกลามไปเกือบทุกหนแห่งทั่วโลก ทำให้เราได้เผชิญหน้ากันเพื่อทบทวนและใคร่ครวญถึงประเด็นเรื่องเชื้อชาติ ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นที่ควรได้รับการจัดการมานานแล้ว และตอนนี้เราก็อยู่ในขั้นตอนที่สถาบันต่าง ๆ กำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่าน หลังได้รับฟังประสบการณ์ของพนักงาน เพื่อไปสู่การตัดสินใจว่า ทางสถาบันจะทำอย่างไรต่อสาธารณชนในการต่อสู้กับการเลือกปฏิบัติและความไม่เท่าเทียมของระบบ แต่การดำเนินการอย่างเที่ยงธรรมและต่อต้าน/ขจัดการเหยียดเชื้อชาตินั้นหมายถึงอะไร? แล้วข้อกำหนดเหล่านี้นำไปใช้กับการดำเนินการด้านมนุษยธรรมได้อย่างไรบ้าง? ในโพสต์นี้ ซามาน เรจาลี บรรณาธิการด้านเนื้อหาของ International Review of the ...
เมื่อมองไม่เห็น ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ใจหรือไม่? ว่าด้วยเรื่องกลุ่มคนข้ามเพศในภาวะฉุกเฉินด้านมนุษยธรรม

เมื่อมองไม่เห็น ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ใจหรือไม่? ว่าด้วยเรื่องกลุ่มคนข้ามเพศในภาวะฉุกเฉินด้านมนุษยธรรม

, บทความ / บล็อค

คนข้ามเพศและคนอื่น ๆ ในกลุ่มชนกลุ่มน้อยทางเพศภาวะและเพศสรีระทั่วโลกมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับการถูกกระทำความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติมากกว่ากลุ่มคนอื่น ๆ ในสังคม ซึ่งวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรม เช่น วิกฤตความขัดแย้ง ภัยพิบัติ และการอพยพย้ายถิ่นขนานใหญ่ มีแนวโน้มทำให้ภาวะความเปราะบางที่คนข้ามเพศจำต้องเผชิญนั้นขยายเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แต่ทว่าอัตลักษณ์ทางตัวตน ซึ่งเป็นลักษณะที่ทำให้พวกเขาต้องตกเป็นเหยื่อในตอนแรกนั้น ก็ยังคงเป็นสิ่งที่กีดกันไม่ให้พวกเขาได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันสนับสนุนสิทธิของกลุ่มคนข้ามเพศสากล (International Day of Transgender Visibility) บทความฉบับนี้จึงวิเคราะห์ถึงสาเหตุต่าง ๆ ...
กฎหมายระหว่างประเทศให้การคุ้มครองป้องกันมากเพียงใด ต่อการโจมตีไซเบอร์ระบบโรงพยาบาลและการระบาดใหญ่ของ

กฎหมายระหว่างประเทศให้การคุ้มครองป้องกันมากเพียงใด ต่อการโจมตีไซเบอร์ระบบโรงพยาบาลและการระบาดใหญ่ของ

, บทความ / บล็อค

หมายเหตุบรรณาธิการ – มุมมองของผู้แต่งที่แสดงออกในบล็อกนี้เป็นมุมมองของผู้แต่งและไม่ได้สะท้อนว่าเป็นมุมมองของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศแต่อย่างใด โรงพยาบาลขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในเมืองเบอร์โน (Brno) ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของสาธารณรัฐเช็ก ถูกโจมตีทางไซเบอร์เมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากฝ่ายบริหารของโรงพยาบาลระบุว่า การโจมตีดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเลื่อนการผ่าตัดเร่งด่วนออกไปและต้องมีการเปลี่ยนเส้นทางการรักษาผู้ป่วยเฉียบพลันรายใหม่ๆ ไปยังโรงพยาบาลแห่งอื่น ตลอดจนลดกิจกรรมอื่น ๆ ภายในโรงพยาบาลลงด้วย โรงพยาบาลประจำเมืองแห่งนี้มีหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบหาติดเชื้อไวรัสโคโรนา (coronavirus) และการต้องหยุดชะงักลงดังกล่าวทำให้กระบวนการตรวจสอบล่าช้าไปหลายวัน ซึ่งนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็มีการรายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์โจมตีทางไซเบอร์ที่มีภาคสาธารณสุข/การดูแลสุขภาพเป็นเป้าหมายในหลายประเทศด้วยเช่นกัน เช่นที่ประเทศฝรั่งเศส สเปน ไทย ...
จากเด็กผู้ถูกเกณฑ์เป็นทหาร สู่ “เด็กผู้ก่อการร้าย”: พิทักษ์สิทธิความเป็นผู้บริสุทธิ์จากกระบวนการต่อต้านก่อการร้าย

จากเด็กผู้ถูกเกณฑ์เป็นทหาร สู่ “เด็กผู้ก่อการร้าย”: พิทักษ์สิทธิความเป็นผู้บริสุทธิ์จากกระบวนการต่อต้านก่อการร้าย

, บทความ / บล็อค

แม้กฎหมายจะห้าม แต่เมื่อเกิดการสู้รบและการขัดกันทางอาวุธ เด็กหลายคนยังคงถูกเกณฑ์ให้เป็นทหารและถูกใช้ให้ทำหน้าที่ต่างๆ โดยกลุ่มติดอาวุธที่บางกรณีถูกจัดว่าเป็น “กลุ่มผู้ก่อการร้าย” ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นโยบายและแนวปฏิบัติที่นำมาใช้เพื่อจัดการกับความรุนแรงอันสุดโต่งของกลุ่มดังกล่าว จะต้องปฏิบัติต่อเด็กที่ผ่านการนำเข้าร่วมในการสู้รบในฐานะที่พวกเขาเป็นเหยื่อผู้เสียหายก่อนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอันดับแรก โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าพวกเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มติดอาวุธอย่างไร แล้วจึงค่อยดำเนินการหาทางแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวเด็ก ช่วงปีที่ผ่านมา ประเด็นว่าด้วยการเกณฑ์เด็กเป็นทหารและใช้ให้ทำงานโดยกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่ม ซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือแต่ละรัฐจัดว่าเป็น “กลุ่มผู้ก่อการร้าย” นั้น ได้เป็นประเด็นที่ผู้กำหนดนโยบายและสาธารณชนในวงกว้างให้ความสนใจมากขึ้น และที่สำคัญก็คือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเองก็ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษต่อการปฏิบัติต่อเด็กผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงผู้ที่กระทำการก่อการร้าย ตามที่ระบุไว้ในข้อมติ 2427 (2018) อีกทั้ง ...
การดูแลสุขภาพในสถานที่คุมขัง-คู่มือปฏิบัติ

การดูแลสุขภาพในสถานที่คุมขัง-คู่มือปฏิบัติ

, E-Book

คู่มือปฏิบัติเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยในการประเมิน และบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งมีผลกระทบ ต่อสุขภาพของผู้ถูกคุมขัง การรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จะทำให้สามารถมองเห็นปัญหาหรือความบกพร่อง ในเรือนจำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารในการดูแลสุขภาพของผู้ถูกคุมขังให้เป็นไปตามมาตรฐาน ตามที่กฎหมายกำหนด คู่มือปฏิบัติเล่มนี้นำเสนอรูปแบบการประเมินภาวะสุขภาพ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในสถานที่ คุมขังอย่างมีหลักการ ในประเด็นดังต่อไปนี้ ความหมายเกี่ยวกับสภาพพื้นฐาน – สุขภาพและสภาพความเป็นอยู่ – ของผู้ถูกคุมขังทั้งหมด การประเมินตามสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การระบุประเด็นปัญหาสำคัญ นอกจากนี้การปฏิบัติตามแนวทางการประเมิน และการรายงานตามรูปแบบในคู่มือปฏิบัติเล่มนี้ยัง สามารถนำมาใช้เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างสถานที่คุมขังได้ด้วย การดูแลสุขภาพในสถานที่คุมขัง-คู่มือปฏิบัติ
ผู้ลี้ภัยในเลบานอนบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาผ่านเลนส์กล้อง

ผู้ลี้ภัยในเลบานอนบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาผ่านเลนส์กล้อง

, บทความ / บล็อค

ค่ายผู้ลี้ภัยอาจะเป็นโลกทั้งใบของหลายชีวิต เด็กรุ่นใหม่ใน Ein el-Hilweh ค่ายลี้ภัยในเลบานอนหันมาจับกล้องเพื่อสะท้อนเสียงของพวกเขาผ่านภาพถ่าย แคนนอน ยุโรปจับมือกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ออกโปรเจกต์น่าสนใจ ชวนวัยรุ่น 5 คน ที่อยู่ในสถานะผู้ลี้ภัย มาร่วมกันถ่ายภาพเล่าเรื่องชีวิตประจำวน เนื่องในวันมนุษยธรรมโลกที่เพื่งผ่านไปในวันที่ 19 สิงหาคม ภาพถ่ายของพวกเขาชวนให้เราตั้งคำถามกับชีวิต ความคิด และประสบการณ์ความเป็นอยู่ของผู้คนมากมายที่ใช้ชีวิตอยู่ใต้หมอกควันของสงคราม ฟาติมา เด็กสาววัย 19 ...
#รู้หรือไม่ สิ่งแวดล้อมก็ได้รับการปกป้องจากกฎแห่งสงคราม

#รู้หรือไม่ สิ่งแวดล้อมก็ได้รับการปกป้องจากกฎแห่งสงคราม

, บทความ / บล็อค

ตั้งแต่ปี 1946-2010 ความขัดแย้งเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อประชากรสัตว์ป่าในหลายพื้นที่ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศไม่เพียงให้ความคุ้มครองชีวิตมนุษย์แต่ยังปกป้องสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ไม่ใช่เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อผู้คน แต่เพราะมูลค่าที่ยิ่งใหญ่ของสิ่งแวดล้อมต่อโลกทั้งใบ สงครามมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ คำถามนี้คงตอบไม่ยาก แต่สงครามมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน? คือคำถามที่เราจะพาไปหาคำตอบ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศห้ามใช้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นอาวุธโจมตี รวมไปถึงการแทรกแซงทางธรรมชาติอย่างการใช้สารเคมีเพื่อทำลายสมดุลทางธรรมชาติของภูมิภาค หรือการตั้งใจโจมตีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น การระเบิดบ่อน้ำมันของฝ่ายตรงข้าม ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากกระจายเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อปศุสัตว์และสิ่งแวดล้อม เรื่องนี้อาจลามไปไกลถึงประเด็นก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน แม้สิ่งแวดล้อมจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย แต่หลายครั้งที่ผลเสียหายจากสงคราม ลามไปถึงสัตว์ป่าอย่างไม่ได้ตั้งใจ ในโมซัมบิกสงครามกลางเมือง 15 ...
ปฏิบัติการทางไซเบอร์กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ บทสรุปที่ ICRC ได้รับจากการหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี

ปฏิบัติการทางไซเบอร์กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ บทสรุปที่ ICRC ได้รับจากการหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี

, บทความ / บล็อค

ปฏิบัติการทางไซเบอร์กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ บทสรุปที่คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross – ICRC) ได้รับจากการหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี การโจมตีทางไซเบอร์และผลที่ตามมากำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ปฏิบัติการทางไซเบอร์ เช่น WannaCry NotPetya หรือการโจมตีโครงข่ายไฟฟ้าในประเทศยูเครน กระทบต่อการให้บริการที่จำเป็นแก่พลเรือน และยังชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ของการให้บริการดังกล่าวภายใต้การโจมตีทางไซเบอร์ เมื่อหกเดือนที่ผ่านมาในที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญ พวกเราเริ่มบทสนทนาในหัวข้อเรื่องปฏิบัติการทางไซเบอร์กับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ ในวันนี้เรายินดีนำเสนอรายงานของ ICRC ...
เหตุผล 5 ประการ ที่ทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับของ ICRC ไม่สมควรนำไปใช้ในกระบวนการดำเนินคดี

เหตุผล 5 ประการ ที่ทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับของ ICRC ไม่สมควรนำไปใช้ในกระบวนการดำเนินคดี

, บทความ / บล็อค

ภาระกิจของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross: ICRC) โดยลักษณะแล้ว อาจเป็นเพียงองค์กรมนุษยธรรมเพียงองค์กรเดียวที่สามารถเข้าถึงพื้นที่และบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากสงครามและสถานการณ์ความรุนแรงต่าง ๆ ข้อมูลที่ ICRC ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งรวมไปถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายที่ได้รับการร้องเรียน ถูกร้องขอใช้ข้อมูลดังกล่าวในกระบวนการดำเนินคดี ถึงแม้ว่าอาณัติของ ICRC กำหนดให้มีการส่งเสริมความพยายามในการเอาผิดกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ แต่ ICRC ยังคงต้องดำเนินหน้าที่ดังกล่าวควบคู่ไปกับการรักษาและดำเนินบทบาทในการประกันให้มีการเคารพกฎหมาย ผ่านการเจรจาหารือในระดับทวิภาคีที่เป็นไปโดยลับ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ...
คุณแม่ผู้ท้าทายความกลัวในทุกๆ วัน

คุณแม่ผู้ท้าทายความกลัวในทุกๆ วัน

, บทความ

การดูแลลูกสาว 3 คนในรัฐคะฉิ่นตามลำพังอาจมากพอจะทำให้ Aye Aye Win กลายเป็นฮีโร่ สิ่งที่ทำให้คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวคนนี้พิเศษยิ่งกว่าคือ Aye Aye Win เป็นผู้พิการที่เสียขาขวาเพราะกับระเบิด แม้ร่างกายจะพิการ แต่ Aye Aye Win ไม่เคยหมดศรัทธาในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเธอยังมีลูกน้อยทั้งสามคอยให้กำลังใจ “ฉันไม่เคยโทษใครในเรื่องที่เกิดขึ้น” เธอกล่าว แต่เธอจำได้เสมอว่าอะไรเกิดขึ้นในวันนั้น ...