กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประะเทศ

‘อย่าลืมพวกเรา’: เสียงเล็กๆ จากเจ็ดครอบครัวสุดท้ายในหมูบ้านวาเดียเนีย ประเทศยูเครน

‘อย่าลืมพวกเรา’: เสียงเล็กๆ จากเจ็ดครอบครัวสุดท้ายในหมูบ้านวาเดียเนีย ประเทศยูเครน

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

วาเดียเนีย หมู่บ้านเล็กๆ ทางตอนใต้ของยูเครนเคยเป็นสถานที่ที่ใครหลายคนเรียกว่าบ้าน จากประชากรกว่า 300 ครอบครัว ปัจจุบันวาเดียเนียมีสมาชิกเหลือเพียง 13 คนเท่านั้น ย้อนไปหลายปีก่อนหน้า หมู่บ้านที่เงียบสงบเคยเป็นจุดหมายปลายทางของชาวเมืองที่อยากหนีความวุ่นวายช่วงปลายสัปดาห์ มาหาธรรมชาติและบรรยากาศเรียบง่ายของโรงนา พื้นหญ้า และฝูงปศุสัตว์ ด้วยความที่วาเดียเนียอยู่ห่างจากเมืองใหญ่อย่างมาริอูปอลที่มีประชากรเกือบครึ่งล้านเพียง ...
The Promise: กระดาษหนึ่งแผ่นเปลี่ยนชีวิตคุณได้อย่างไร?

The Promise: กระดาษหนึ่งแผ่นเปลี่ยนชีวิตคุณได้อย่างไร?

, บทความ

  ICRC จับมือกับผู้กำกับฝีมือดี Bassam Tariq ถ่ายทอดภาพสะเทือนใจของครอบครัวที่พลัดพรากผ่านหนังสั้นความยาว 4 นาที เรื่อง Wa’ad (The Promise – คำสัญญา) หนังบอกเล่าเรื่องราวยากจะบรรยายผ่านสายตาและบทสนทนาของลูกชายกับผู้เป็นพ่อที่ซ้อนทับเหตุการณ์ต่างๆ จนนำไปสู่บทสรุปที่น่าตกตะลึง ‘แนวคิดของหนังเรื่องนี้คือการสื่อสารให้ผู้ชมได้ฉุกคิดว่าข้อความในกระดาษมีพลังมากแค่ไหน’ Bassam Tariq กล่าว ‘มันอาจไกลตัวจนเรานึกไม่ถึง แต่ในมุมหนึ่งของโลก มีผู้คนมากมายที่ต้องพลัดพราก ...
กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับข้อกำหนดว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นเอกภาพของครอบครัวและผู้ย้ายถิ่นฐานที่หายสาบสูญหรือเสียชีวิต

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับข้อกำหนดว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นเอกภาพของครอบครัวและผู้ย้ายถิ่นฐานที่หายสาบสูญหรือเสียชีวิต

, บทความ

ในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธ การทำให้ผู้ย้ายถิ่นฐานต้องพลัดพรากจากครอบครัวหรือถูกจับกุมคุมขัง จนทำให้ผู้ย้ายถิ่นฐานเหล่านั้นต้องหายสาบสูญหรือเสียชีวิตถือเป็นการละเมิดกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law – IHL) อุปสรรคสำคัญที่พบในการคุ้มครองผู้ย้ายถิ่นฐานคือ ผู้ย้ายถิ่นฐานส่วนใหญ่มักพำนักแยกกันอยู่ในหลายประเทศ ทำให้เกิดปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างสมาชิกในครอบครัว เนื่องจากใช้ภาษาที่แตกต่างกัน นอกจากนี้อุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การส่งข้อมูลข้ามแดนระหว่างหน่วยงานของแต่ละประเทศที่อาจทำให้เกิดปัญหาในแง่ของการรวบรวมข้อมูล ที่จะถูกนำมาใช้ในการยืนยันตัวตนของผู้ย้ายถิ่นฐานที่เสียชีวิตแล้ว กรณีดังกล่าวอาจมีความซับซ้อนมากขึ้นหากผู้ย้ายถิ่นฐานไม่ต้องการติดต่อกับครอบครัว เพราะกลัวจะถูกส่งตัวกลับประเทศ (deportation) หรือกลัวว่าจะทำให้ครอบครัวในประเทศต้นทางต้องเผชิญกับการแก้แค้น(reprisal) ดังนั้นหากปราศจากการถ่ายทอดข้อมูลให้ครอบครัวรับรู้ รวมถึงการยืนยันตัวตนของผู้ตั้งถิ่นฐานด้วยการตรวจสอบร่างของผู้เสียชีวิต จึงทำให้ผู้ย้ายถิ่นฐานหลายคนมีสถานะเป็นผู้หายสาบสูญทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงอาจจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม ...
‘สถานะ’ และ ‘การคุ้มครอง’ : องค์กรมนุษยธรรมมองเรื่อง ‘ผู้ลี้ภัย’ ไว้อย่างไร

‘สถานะ’ และ ‘การคุ้มครอง’ : องค์กรมนุษยธรรมมองเรื่อง ‘ผู้ลี้ภัย’ ไว้อย่างไร

, บทความ / บล็อค

การเดินทางจากบ้านมีได้หลายเหตุผล การที่ใครสักคนจะได้รับการต้อนรับหรือดูแลมากแค่ไหน บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับเหตุผลของการเดินทาง ที่จะบอกว่าผู้อพยพท่านนี้ควรได้รับสถานะ (status) หรือ การคุ้มครอง (protection) แบบใด แต่ไม่ว่าจะหลบหนีจากสงครามหรือเดินทางหางานสร้างอนาคต ไม่ว่าจะถูกบังคับให้เคลื่อนย้ายหรือเต็มใจออกจากบ้าน สิ่งที่ผู้คนเหล่านี้ต้องเผชิญไม่ต่างกัน คืออุปสรรค์ที่มักเกิดขึ้นระหว่างทาง นายปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) กล่าวถึงประสบการณ์ความยากลำบากที่ผู้คนเหล่านี้ต้องเผชิญไว้ว่า: ‘เมื่อตัดสินใจออกเดินทาง ผู้อพยพและประชากรพลัดถิ่นต้องเผชิญโจทย์ยากตั้งแต่ก้าวแรก บนเส้นทางมีความไม่แน่นอน หลายชีวิตไม่สามารถไปถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย หรือต่อให้ไปถึง ...
คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ มาจากไหน? ประวัติศาสตร์การลี้ภัยที่ย้อนไปไกลกว่าที่คิด

คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ มาจากไหน? ประวัติศาสตร์การลี้ภัยที่ย้อนไปไกลกว่าที่คิด

, บทความ / บล็อค

ประวัติศาสตร์โลกเต็มไปด้วยเรื่องราวของการพลัดถิ่น จะด้วยเหตุผลทางการเมือง สงคราม หรือศาสนา ปฎิเสธไม่ได้ว่าโลกที่เราเห็นและเป็นอยู่ทุกวันนี้ เกิดขึ้นจากการแต่งแต้มสีสันของผู้คนจากหลายวัฒนธรรมที่พบปะสังสรรค์ผ่านการย้ายถิ่นฐานมายาวนานหลายศตวรรษ   แนวความคิดเรื่องผู้ลี้ภัยเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่? ความคิดที่ว่า มนุษย์เราควรให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อหรือผู้ที่กำลังอยู่ในอันตรายสามารถสืบย้อนกลับไปได้ไกลตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ  ในสมัยนั้น มีการพูดเรื่องสิทธิในการมอบที่ลี้ภัย (asylum) แก่ผู้เดือดร้อน แนวคิดนี้ถูกใช้ต่อมาโดยชาวโรมัน ก่อนชาวคริสต์ ชาวฮีบรู และชาวอิสลาม จะนำแนวคิดนี้มาบรรจุในวัฒนธรรมของตน จนเกิดเป็นเรื่องเล่าในศาสนาอย่างการอพยพของโมเสสที่พาชาวฮีบรูออกจากการเป็นทาสของชาวอียิปต์ไปยังแผ่นดินแห่งพันธสัญญา หรือเรื่องราวการเดินทางของนบีมุฮัมมัดและผู้ติดตามจากเมกกะไปยังเมดินะในวัฒนธรรมอิสลาม แนวคิดนี้ถูกนำมาบัญญัติแบบเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกโดย Hugo ...
ยะไข่: การเดินทางกลับต้องเป็นไปอย่างปลอดภัย สมัครใจ และมีศักดิ์ศรี

ยะไข่: การเดินทางกลับต้องเป็นไปอย่างปลอดภัย สมัครใจ และมีศักดิ์ศรี

, E-Book / บล็อค

สุนทรพจน์โดยนายปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเรื่องสถานการณ์ในรัฐยะไข่ วันที่ 2 มิถุนายน 2561ณ โรงแรมโรงแรมแชงกรี-ล่า ประเทศ สิงคโปร์ ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีโอกาสนำมุมมองด้านมนุษยธรรมมาร่วมอภิปรายกับทุกท่านในที่นี้ ขอบคุณสถาบัน International Institute for Strategic Studies (IISS) ที่อนุญาตให้ ICRC ได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงจากหลายประเทศซึ่งต่างก็มีความกังวลต่อสถานการณ์ในรัฐยะไข่ประเทศเมียนมา – มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ...
Ushindi อดีตทหารเด็กบทเส้นทางแห่งการเยียวยา

Ushindi อดีตทหารเด็กบทเส้นทางแห่งการเยียวยา

, บทความ / บล็อค / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

ทุกวันนี้ยังมีเด็กอีกมากในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (the Democratic Republic of the Congo (DRC)) ถูกบังคับให้เป็นทหารและต้องจับอาวุธมาเข่นฆ่ากันเอง ตามรายงานของ UNICEF มีเด็กอีกกว่า 3,000 คน โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศ ...
ปกป้องโลกจากมหันตภัยนิวเคลียร์

ปกป้องโลกจากมหันตภัยนิวเคลียร์

, บทความ / บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross: ICRC) เรียกร้องให้บรรดารัฐ ผู้นำและประชากรโลก ร่วมมือกันป้องปรามการใช้อาวุธนิวเคลียร์ มิฉะนั้นมนุษยชาติอาจต้องเผชิญมหันตภัยจากอาวุธนิวเคลียร์ที่เกินเยียวยาก็เป็นได้ เมื่อพิจารณาถึงอานุภาพที่ร้ายแรงของอาวุธนิวเคลียร์แล้ว ทางออกที่ดีที่สุดในเวลานี้คือการดำเนินการในเชิงป้องกันจนกว่าจะมั่นใจได้ว่าอาวุธนิวเคลียร์จะไม่ถูกนำมาใช้อีกต่อไป เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะจากอาวุธนิวเคลียร์ รัฐทั้งหลายต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ดังนี้ รัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในความครอบครองรวมถึงรัฐที่เป็นพันธมิตรต้องหาหนทางเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยงที่อาวุธนิวเคลียร์จะถูกนำมาใช้ พร้อมทั้งให้ประชาคมโลกร่วมเป็นผู้สอดส่องปฏิบัติการดังกล่าว รัฐที่เป็นภาคีสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ) Treaty on ...
ความขัดแย้งในมาราวี- หนึ่งปีที่ผ่านไปกับอนาคตที่ไม่แน่นอนของประชากรพลัดถิ่น

ความขัดแย้งในมาราวี- หนึ่งปีที่ผ่านไปกับอนาคตที่ไม่แน่นอนของประชากรพลัดถิ่น

, บทความ / บล็อค

มะนิลา- ยังคงมีประชาชนกว่า 230,000 คน ที่ไร้ที่อยู่อาศัยและต้องการความช่วยเหลือ หลังจากสถานการณ์ความขัดแย้งในเมืองมาราวี จังหวัด Lanao del Sur ทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์อุบัติขึ้นเมื่อหนึ่งปีก่อน “จะต้องมีการยกระดับความพยายามในการฟื้นฟูมาราวีและช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วนเพื่อบรรเทาความทุกข์ยากของประชาชนหลายพันคนที่ต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ความพยายามได้เกิดขึ้นแล้วแต่มาตรการนี้จะต้องดำเนินควบคู่ไปกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มของประชาชนที่กลายเป็นผู้พลัดถิ่นมาเป็นเวลานาน” ปาสกาล ปอร์เช็ต ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ประจำฟิลิปปินส์กล่าว จากมาตรการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นจนนำไปสู่การฟื้นฟูในระยะเบื้องต้นในปัจจุบัน ปรากฏว่าการบริจาคอาหารได้ลดจำนวนลงและโอกาสในการกลับไปดำเนินชีวิตตามปกติแทบไม่เกิดขึ้น ผู้พลัดถิ่นจำนวนมากต้องหันไปพึ่งพาญาติพี่น้องหรือเพื่อนขณะที่คนที่ยังอยู่ในพื้นที่พักพิงยังต้องต่อสู้กับความยากจนและโอกาสเจ็บป่วยที่เพิ่มสูงขึ้น “เป็นระยะเวลาหนึ่งปีมาแล้วที่การปะทะกันด้วยอาวุธได้เกิดขึ้นและเรายังไม่รู้ว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นเช่นไร ฉันเริ่มรู้สึกถึงปัญหาที่กำลังเพิ่มขึ้นและบางครั้งถึงกับทำให้ฉันรู้สึกท้อ ...
อาวุธเคมี : ฆาตกรร้าย ความหมาย และความสำคัญ

อาวุธเคมี : ฆาตกรร้าย ความหมาย และความสำคัญ

, บทความ / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

ข่าวการใช้อาวุธเคมีโจมตีผลเรือนในเมืองดูมาของซีเรีย และข่าวการใช้สารเคมีทำลายประสาทเพื่อลอบสังหารอดีตสายลับรัสเซียในอังกฤษ กลายเป็นประเด็นใหญ่ที่ทำให้การใช้อาวุธเคมี กลายเป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง มาฟัง  Johnny Nehme ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธเคมี ชีวภาพ รังสี และนิวเคลียร์ ของ ICRC ตอบคำถาม 5 ...