คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

สองความจริงกับหนึ่งความเท็จ: เจ็ดสิบปีแห่งอนุสัญญาเจนีวา

สองความจริงกับหนึ่งความเท็จ: เจ็ดสิบปีแห่งอนุสัญญาเจนีวา

, บทความ / บล็อค

เนื่องในวาระครบรอบอนุสัญญาเจนีวา บรรดาผู้ปฏิบัติหน้าที่ทางด้านมนุษยธรรมและผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายได้ใช้โอกาสนี้สะท้อนบทเรียนที่ได้รับจากสนธิสัญญาทั้งสี่ฉบับที่ได้รับการให้สัตยาบันอย่างเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับตลอดระยะเวลาเจ็ดทศวรรษแห่งสงคราม บทความนี้ต่อยอดมาจากการศึกษาด้านอภิปรัชญา (metaphysical) ของ Helen Durham เกี่ยวกับข้อท้าทายทั้งในอดีตและปัจจุบันที่กฎหมายมนุษยธรรมกำลังเผชิญอยู่ บทความนี้จึงได้ทำการสำรวจและแสดงเหตุผลหักล้างข้อกล่าวอ้างที่มักจะถูกนำมาใช้อยู่เสมอ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นนักวิชาการและมีส่วนผลักดันกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างเปิดเผย ข้าพเจ้าได้สังเกตเห็นปัญหาของวาทกรรมที่ใช้กล่าวถึงอนุสัญญาเจนีวา เนื้อความสำคัญของวาทกรรมดังกล่าวคือ “ข้าพเจ้าเห็นแต่ความรุนแรงและความวุ่นวายเกิดขึ้นบนโลก การเผยแพร่บทกฎหมายเป็นสิ่งที่ดีอยู่ก็จริง แต่บทบัญญัติดังกล่าวถูกยกร่างขึ้นในยุคสมัยที่โฉมหน้าของสงครามนั้นแตกต่างออกไป แล้วทหารที่สู้รบในแนวรบจะเข้าใจกฎหมายสงครามหรือไม่ ทั้งนี้มิต้องกล่าวถึงการปฏิบัติตามกฎหมายเช่นว่า” ข้าพเจ้าจะไม่ยอมคล้อยตามข้อกังขานี้ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ไม่ได้มีเฉพาะการกระทำอันโหดร้ายทารุณในเขตที่เกิดความขัดแย้ง ดังที่รายงานบนหน้าหนังสือพิมพ์  เพื่อค้นหาความจริงข้าพเจ้าจึงนำข้อกล่าวอ้างสามประการมาตรวจสอบด้วยพยานหลักฐานที่คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ...
ศาสนาพุทธกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การประชุมครั้งแรกของโลกที่ศรีลังกา

ศาสนาพุทธกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การประชุมครั้งแรกของโลกที่ศรีลังกา

, บทความ / บล็อค

เมื่อวันที่ 4-6 กันยายนที่ผ่านมา ICRC ร่วมด้วยคณะนักวิชาการพุทธศาสนาและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จัดการประชุมว่าด้วยพุทธศาสนาและกฎหมายมนุษยธรรมในเหตุขัดกันทางอาวุธที่ถ้ำดัมบุลลา ประเทศศรีลังกา โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 120 ท่าน จากวงการวิชาการ วงการกฎหมาย คณะสงฆ์ และบุคลากรในพระพุทธศาสนา มาร่วมกันหารือถึงความเป็นไปได้ในการใช้หลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาลดทอนความรุนแรงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในยามสงคราม งานในครั้งนี้จัดขึ้นที่วัดถ้ำดัมบูลลา (Dambulla Cave Temple) มรดกโลกแหล่งสำคัญในศรีลังกาที่มีอายุกว่า 2,200 ปี และมีความสำคัญทั้งกับพุทธศาสนิกชนนิกายเถรวาท ...
#รู้หรือไม่ สิ่งแวดล้อมก็ได้รับการปกป้องจากกฎแห่งสงคราม

#รู้หรือไม่ สิ่งแวดล้อมก็ได้รับการปกป้องจากกฎแห่งสงคราม

, บทความ / บล็อค

ตั้งแต่ปี 1946-2010 ความขัดแย้งเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อประชากรสัตว์ป่าในหลายพื้นที่ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศไม่เพียงให้ความคุ้มครองชีวิตมนุษย์แต่ยังปกป้องสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ไม่ใช่เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อผู้คน แต่เพราะมูลค่าที่ยิ่งใหญ่ของสิ่งแวดล้อมต่อโลกทั้งใบ สงครามมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ คำถามนี้คงตอบไม่ยาก แต่สงครามมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน? คือคำถามที่เราจะพาไปหาคำตอบ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศห้ามใช้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นอาวุธโจมตี รวมไปถึงการแทรกแซงทางธรรมชาติอย่างการใช้สารเคมีเพื่อทำลายสมดุลทางธรรมชาติของภูมิภาค หรือการตั้งใจโจมตีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น การระเบิดบ่อน้ำมันของฝ่ายตรงข้าม ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากกระจายเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อปศุสัตว์และสิ่งแวดล้อม เรื่องนี้อาจลามไปไกลถึงประเด็นก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน แม้สิ่งแวดล้อมจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย แต่หลายครั้งที่ผลเสียหายจากสงคราม ลามไปถึงสัตว์ป่าอย่างไม่ได้ตั้งใจ ในโมซัมบิกสงครามกลางเมือง 15 ...
Jean-Pictet Competition เมื่อการแข่งขันให้มากกว่าความรู้ทางกฎหมาย

Jean-Pictet Competition เมื่อการแข่งขันให้มากกว่าความรู้ทางกฎหมาย

, บทความ / บล็อค

“Taking the law out of the books” คือประโยคสั้นๆ อธิบายการแข่งขันด้านกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศของ ICRC ที่เรียกกันในชื่อภาษาอังกฤษว่า Jean-Pictet Competition งานที่ว่าจัดขึ้นทุกปีเพื่อเป็นเวทีสำหรับนักเรียนกฎหมายรุ่นใหม่ ให้ได้ลองใช้ความรู้ด้านกฎหมาย ในการว่าความร่วมกับผู้เข้าแข่งขันในระดับนานาชาติ สิริกมล สุรทิณฑ์ (แป้ง), สาริสา ทีฆตระกูล (แอ๊นท์) และ ...
ICRC ทำอะไรในสงครามโลกครั้งที่สอง? : ฟรีดริช บอน ผู้ช่วยเหลือชาวยิวหลายพันในฮังการี

ICRC ทำอะไรในสงครามโลกครั้งที่สอง? : ฟรีดริช บอน ผู้ช่วยเหลือชาวยิวหลายพันในฮังการี

, บทความ / บล็อค

หลายคนอาจคุ้นชื่อออสการ์ ชินด์เลอร์ (Oskar Schindler) อดีตสมาชิกพรรคนาซีและเจ้าของโรงงานที่เอ่ยปากขอตัวนักโทษชาวยิวมาทำงานจนสามารถช่วยคนหลายพันจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในโปแลนด์ วีรกรรมของชินด์เลอร์ ถูกยกย่องจากคนทั่วโลกและกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ภาพยนต์ในตำนาน ‘Schindler’s List (1993)’ ในระหว่างที่ชิลด์เลอร์กำลังทำหน้าที่ของเขาในโปแลนด์ ทราบหรือไม่ว่าในฮังการี มีชายอีกคนที่พยายามอย่างสุดความสามารถ เพื่อรักษาชีวิตชาวยิวหลายพันในกรุงบูดาเปสต์ ย้อนกลับไปในเดือนกรกฎาคม 1944 ฟรีดริช บอน (Friedrich Born) ผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee ...
‘สถานะ’ และ ‘การคุ้มครอง’ : องค์กรมนุษยธรรมมองเรื่อง ‘ผู้ลี้ภัย’ ไว้อย่างไร

‘สถานะ’ และ ‘การคุ้มครอง’ : องค์กรมนุษยธรรมมองเรื่อง ‘ผู้ลี้ภัย’ ไว้อย่างไร

, บทความ / บล็อค

การเดินทางจากบ้านมีได้หลายเหตุผล การที่ใครสักคนจะได้รับการต้อนรับหรือดูแลมากแค่ไหน บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับเหตุผลของการเดินทาง ที่จะบอกว่าผู้อพยพท่านนี้ควรได้รับสถานะ (status) หรือ การคุ้มครอง (protection) แบบใด แต่ไม่ว่าจะหลบหนีจากสงครามหรือเดินทางหางานสร้างอนาคต ไม่ว่าจะถูกบังคับให้เคลื่อนย้ายหรือเต็มใจออกจากบ้าน สิ่งที่ผู้คนเหล่านี้ต้องเผชิญไม่ต่างกัน คืออุปสรรค์ที่มักเกิดขึ้นระหว่างทาง นายปีเตอร์ เมาเรอร์ ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) กล่าวถึงประสบการณ์ความยากลำบากที่ผู้คนเหล่านี้ต้องเผชิญไว้ว่า: ‘เมื่อตัดสินใจออกเดินทาง ผู้อพยพและประชากรพลัดถิ่นต้องเผชิญโจทย์ยากตั้งแต่ก้าวแรก บนเส้นทางมีความไม่แน่นอน หลายชีวิตไม่สามารถไปถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย หรือต่อให้ไปถึง ...
เปิดประตูกว้าง หรือ สร้างกำแพง? เมื่อผู้ลี้ภัยไม่ใช่ ‘ผู้เสียหาย’ แต่กลายเป็น ‘อันตราย’

เปิดประตูกว้าง หรือ สร้างกำแพง? เมื่อผู้ลี้ภัยไม่ใช่ ‘ผู้เสียหาย’ แต่กลายเป็น ‘อันตราย’

, บทความ / บล็อค

ในโลกทุกวันนี้ปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัยกลายเป็นเรื่องใหญ่ในระดับนานาชาติ ไม่ใช่แค่การลี้ภัยจากสงครามหรือความขัดแย้ง แต่ยังรวมไปถึงกลุ่มแรงงานต่างชาติที่เดินทางออกจากบ้านเกิดเพราะปัญหาด้านเศรฐกิจ หลายคนอพยพจากภูมิลำเนาเพราะขาดโอกาสทางการศึกษา ไม่มีงานทำ หรือไม่สามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพขั้นพื้นฐาน ความคิดเรื่อง ‘เอลโดราโด (El Dorados)’ มีอยู่ทุกสมัย และไม่ใช่ความผิดที่หลายคนฝันถึงชีวิตที่ดีกว่าในมหานครใหญ่อย่าง นิวยอร์ก หรือ ลอนดอน ในช่วงทศวรรษที่ 1990s มีคลื่นผู้อพยพจากอิตาลี โปแลนด์ และ ไอร์แลนด์ ถาโถมเข้าสู่สหรัฐฯ เพื่อขานรับความฝันเรื่อง ...
คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ มาจากไหน? ประวัติศาสตร์การลี้ภัยที่ย้อนไปไกลกว่าที่คิด

คำว่า ‘ผู้ลี้ภัย’ มาจากไหน? ประวัติศาสตร์การลี้ภัยที่ย้อนไปไกลกว่าที่คิด

, บทความ / บล็อค

ประวัติศาสตร์โลกเต็มไปด้วยเรื่องราวของการพลัดถิ่น จะด้วยเหตุผลทางการเมือง สงคราม หรือศาสนา ปฎิเสธไม่ได้ว่าโลกที่เราเห็นและเป็นอยู่ทุกวันนี้ เกิดขึ้นจากการแต่งแต้มสีสันของผู้คนจากหลายวัฒนธรรมที่พบปะสังสรรค์ผ่านการย้ายถิ่นฐานมายาวนานหลายศตวรรษ   แนวความคิดเรื่องผู้ลี้ภัยเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่? ความคิดที่ว่า มนุษย์เราควรให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อหรือผู้ที่กำลังอยู่ในอันตรายสามารถสืบย้อนกลับไปได้ไกลตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ  ในสมัยนั้น มีการพูดเรื่องสิทธิในการมอบที่ลี้ภัย (asylum) แก่ผู้เดือดร้อน แนวคิดนี้ถูกใช้ต่อมาโดยชาวโรมัน ก่อนชาวคริสต์ ชาวฮีบรู และชาวอิสลาม จะนำแนวคิดนี้มาบรรจุในวัฒนธรรมของตน จนเกิดเป็นเรื่องเล่าในศาสนาอย่างการอพยพของโมเสสที่พาชาวฮีบรูออกจากการเป็นทาสของชาวอียิปต์ไปยังแผ่นดินแห่งพันธสัญญา หรือเรื่องราวการเดินทางของนบีมุฮัมมัดและผู้ติดตามจากเมกกะไปยังเมดินะในวัฒนธรรมอิสลาม แนวคิดนี้ถูกนำมาบัญญัติแบบเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกโดย Hugo ...
ผมไม่เคยเห็นคนเจ็บมากขนาดนี้มาก่อน

ผมไม่เคยเห็นคนเจ็บมากขนาดนี้มาก่อน

, บทความ / บล็อค / เรื่องเล่าจากภาคสนาม

เริ่มจากผู้บาดเจ็บหนึ่งคน จากนั้นเพิ่มเป็นสอง แปด สิบหก ในเวลาไม่นานโรงพยาบาลก็เต็มไปด้วยเสียงร้องระงมในไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง ผมอยู่ในทีมแพทย์ภาคสนามของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ประจำการอยู่ที่โรงพยาบาล Gaza European Hospital ในเมือง Khan Younis ของกาซ่า ...
บุคลากรทางการแพทย์ตกเป็นเป้าโจมตีจากเหตุความไม่สงบไม่เว้นแต่ละวัน

บุคลากรทางการแพทย์ตกเป็นเป้าโจมตีจากเหตุความไม่สงบไม่เว้นแต่ละวัน

, บทความ

แม้ว่าในปี 2016 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะผ่านมติห้ามโจมตีสถานพยาบาล แต่สองปีหลังการบังคับใช้ บุคลาการทางการแพทย์ที่ปฎิบัติภารกิจด้านมนุษยธรรมทั่วโลก ก็ยังตกเป็นเป้าหมายการโจมตีไม่เว้นแต่ละวัน เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมานี้เอง ที่สาธารณรัฐแอฟริกากลาง มีกลุ่มติดอาวุธบุกโจมตีโรงพยาบาลที่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของ ICRC ปฎิบัติหน้าที่อยู่ เหตุความรุนแรงลุกลามไปถึงการบังคับจอดและข่มขู่รถพยาบาลที่กำลังรับส่งผู้ป่วยบนท้องถนน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ระบุว่าหน่วยงานด้านสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนรถพยาบาล ควรได้รับการคุ้มครองจากทุกฝ่าย น่าเสียดายว่า ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2016 จนถึงวันนี้ ICRC ได้รับแจ้งเหตุการโจมตีเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครทางการแพทย์มากกว่า ...