คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

เป็นกลาง…ทำไม ว่าด้วยความเป็นกลางของงานมนุษยธรรมในพื้นที่สงคราม

เป็นกลาง…ทำไม ว่าด้วยความเป็นกลางของงานมนุษยธรรมในพื้นที่สงคราม

, บทความ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความเรื่อง ‘Back to basics: humanitarian principles in contemporary armed conflict’ และเผยแพร่ควบคู่กับชุดบทความเรื่อง Just Security โดย ฟิโอนา เทอร์รี หัวหน้าศูนย์วิจัยและประสบการณ์งายฝ่ายปฏิบัติการ (CORE) ของ ICRC ได้อธิบายถึงเรื่องราวประสบการณ์ตรงของการเปลี่ยนผันตัวเองจากคนที่เคยมีความเคลือบแคลงใจต่อหลักความเป็นกลางไปสู่คนที่เชื่อมั่นอย่างแรงกล้าต่อเป้าประสงค์และประโยชน์ของการรักษาจุดยืนที่เป็นกลางใยห้วงยามที่สถานการณ์สงครามกำลังดำเนินอยู่ จริงหรือไม่ การรักษาความเป็นกลางถือเป็นเรื่องผิดศิลธรรม ...
เปิดรับผลงานภาพประกอบในหัวข้อ “Designing Humanity in the 21st Century” (ขยายเวลาถึงวันที่ 15 กันยายน)

เปิดรับผลงานภาพประกอบในหัวข้อ “Designing Humanity in the 21st Century” (ขยายเวลาถึงวันที่ 15 กันยายน)

, บล็อค

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ร่วมกับ สภากาชาดไทย (TRCS) สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) และวิทยาลัยเพาะช่าง จัดการประกวดออกแบบภาพประกอบ (Illustration Design) ภายใต้หัวข้อ “Designing Humanity in the 21st Century” ชวนทุกท่านมาร่วมออกแบบงานมนุษยธรรมในศตวรรษที่ 21 ด้วยการทำความเข้าใจงานมนุษยธรรมของกลุ่มองค์กรกาชาดฯ ที่ดำเนินต่อเนื่องมาอย่างยาวนานเกือบ 160 ปี ...
การขัดกันทางอาวุธในยูเครน: การสรุปโดยย่อว่าด้วยกฎขั้นพื้นฐานของ IHL

การขัดกันทางอาวุธในยูเครน: การสรุปโดยย่อว่าด้วยกฎขั้นพื้นฐานของ IHL

, บทความ

ช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั่วโลกต่างเห็นถึงวิกฤตที่เกิดขึ้นในประเทศยูเครนที่ต้องมีการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยเร่งด่วน ผู้อ่านหลายคนได้ติดต่อเข้ามาหาเราพร้อมกับคำถามต่าง ๆ ว่าด้วยการนำกฎแห่งสงคราม หรือ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) ไปใช้กับสถานการณ์ความขัดแย้งได้อย่างไรบ้าง ในบทความนี้ คอร์ดูลา โดรเก ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของเรา ได้สรุปกฎเกณฑ์สำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่บังคับควบคุมความขัดแย้ง และเน้นย้ำถึงข้อเรียกร้องของ ICRC ให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามภาระผูกพันทางกฎหมายของตนในการหลีกเลี่ยงไม่ให้พลเรือนต้องเดือดร้อนและเสียชีวิตไปมากกว่านี้ ก่อนสถานการณ์การสู้รบในประเทศยูเครนจะปะทุรุนแรงจนเป็นวงกว้างนั้น สิ่งที่ประจักษ์ชัดคือ การสู้รบครั้งนี้จะเกิดขึ้นในพื้นที่เมืองและนำมาสู่การสูญเสียชีวิต ทำลายล้าง และความบาดเจ็บของผู้คนเป็นวงกว้าง ตลอดจนภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ...
เรื่องเล่าจากแนวหลัง หลายใบหน้าหลากเรื่องราวของประชาชนในบูชา

เรื่องเล่าจากแนวหลัง หลายใบหน้าหลากเรื่องราวของประชาชนในบูชา

, บทความ

ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ บูชา เมืองเล็กๆ ที่เงียบสงบไม่ไกลจากกรุงเคียฟ เปลี่ยนโฉมหน้าไปจนทำให้หลายคนต้องหลั่งน้ำตา จากเมืองที่เคยเป็นบ้านของประชาชนเกือบสามแสน บัดนี้กลายเป็นเมืองร้างเนื่องจากประชากรเกือบทั้งหมด อพยพลี้ภัยจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ แต่ยังมีประชากรบางส่วนเลือกจะอยู่อาศัยในเมืองที่พวกเขารัก แม้มันจะยากลำบากเพราะระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานถึงการล่มสลาย ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟฟ้า ผู้คนเหล่านี้มีเหตุผลที่แตกต่าง และนี่คือเรื่องราวของผู้คนจำนวนน้อยมากที่เลือกจะอยู่ข้างหลัง “เพื่อนบ้านของเราย้ายออกไปหมดแล้ว เราฝังร่างของลูกชายคนโตไว้ที่นี่ และฉันไม่อยากทิ้งให้เขาต้องอยู่เพียงลำพัง ลูกชายคนที่สองไม่ต้องการทิ้งฉันไว้คนเดียว เราเลยตัดสินใจที่จะอยู่ ความกลัวทำให้ฉันแทบบ้า เราสวดภาวนากันทุกวัน” กาลีน่า ดิมิเทรียฟน่า ...
ค้นพบไอซีอาร์ซี

ค้นพบไอซีอาร์ซี

, E-Book

ทำ ไมต้องมี “ไอซีอาร์ซี” ตราบใดที่ผู้คนยังเลือกใช้สงครามและการสู้รบเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาความแตกต่าง ตราบนั้นจึง จำเป็นที่จะต้องมีองค์กรที่เป็นอิสระเฉก เช่นคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) เพื่อมาทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง แต่ไอซีอาร์ซีคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และปัจจุบัน ให้ความช่วยเหลือด้านใดบ้าง มาตามหาความหมายของไอซีอาร์ซีได้ที่เอกสารด้านล่าง ค้นพบไอซีอาร์ซี
กาชาดสากล สนับสนุนโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ของสภากาชาดไทย

กาชาดสากล สนับสนุนโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ของสภากาชาดไทย

, News / ไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ 29 ธันวาคม 2021 กาชาดสากล สนับสนุนโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ของสภากาชาดไทย กรุงเทพฯ – คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross – ICRC) หรือ ไอซีอาร์ซี นำโดย นาย คริสตอฟ ...
เสียงจากซีเรีย – 10 ปีแห่งสงครามทิ้งอะไรบ้างให้คนรุ่นหลัง

เสียงจากซีเรีย – 10 ปีแห่งสงครามทิ้งอะไรบ้างให้คนรุ่นหลัง

, บทความ / บล็อค

สงครามในซีเรียก้าวผ่านปีที่ 10 ลองจินตนาการณ์เด็กรุ่นใหม่ที่ลืมตาดูโลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พวกเขาเติบโตในความขัดแย้งที่เต็มไปด้วยการนองเลือด ความทุกข์ทรมานและขีปนาวุธ มีเด็กมากมายในซีเรียที่ไม่มีแม้แต่โอกาสได้สัมผัสวัยเด็กแบบที่เราเคยรู้จัก ในขณะที่วิกฤตการณ์ในซีเรียกำลังย่างเข้าสู่ช่วง 2 ทศวรรษ ผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) จาก ชาวซีเรีย 1,400 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี ทั้งที่ยังอาศัยอยู่ในประเทศซีเรีย หรือเดินทางลี้ภัยออกมายังประเทศที่สองหรือประเทศที่สามอย่างเลบานอนและเยอรมัน พบว่าประเด็นสำคัญที่หนุ่มสาวพูดถึงด้วยความเป็นห่วง ...
ฝรั่งเจอผีมั้ยในงานนิติวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยบทบาทของผู้หญิงที่มีมากกว่าฉากในซีรีย์ CSI

ฝรั่งเจอผีมั้ยในงานนิติวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยบทบาทของผู้หญิงที่มีมากกว่าฉากในซีรีย์ CSI

, บทความ / บล็อค

นำศพออกจากที่เกิดเหตุ วิเคราะห์หลักฐาน พิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล ทั้งหมดนี้เป็นชีวิตจริงของคนทำงานด้านนิติวิทยาศาตร์ แน่นอนว่าการทำงานไขปริศนาเป็นเรื่องน่าสนใจ หลายปีที่ผ่านมาสื่อภาพยนต์และซีรีย์นำเสนอภาพลักษณ์ของอาชีพนี้ในฐานะบุคคลสำคัญในการไขคดีต่างๆ นั่นอาจเป็นเหตุลให้นิติวิทยาศาสตร์เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่ผู้หญิง (อันที่จริงนิติวิทยาศาสตร์เป็นหนึ่งในไม่กี่สาขาของสายงานวิทยาศาตร์ ที่มีผู้หญิงลงเรียนมากกว่าผู้ชาย) อะไรทำให้สายงานนี้น่าสนใจ นิติวิทยาศาสตร์ในความเป็นจริงทำงานแบบไหน มาไขข้อสงสัยไปกับดร.เชอรี่ ซี ฟอกซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ของ ICRC ทุกวันนี้นิติวิทยาศาตร์เหมือนจะเป็นสาขาของผู้หญิง ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา มีผู้หญิงเข้าศึกษาในสาขานี้มากถึง 70% ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? ...
เมื่อมองไม่เห็น ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ใจหรือไม่? ว่าด้วยเรื่องกลุ่มคนข้ามเพศในภาวะฉุกเฉินด้านมนุษยธรรม

เมื่อมองไม่เห็น ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ใจหรือไม่? ว่าด้วยเรื่องกลุ่มคนข้ามเพศในภาวะฉุกเฉินด้านมนุษยธรรม

, บทความ / บล็อค

คนข้ามเพศและคนอื่น ๆ ในกลุ่มชนกลุ่มน้อยทางเพศภาวะและเพศสรีระทั่วโลกมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับการถูกกระทำความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติมากกว่ากลุ่มคนอื่น ๆ ในสังคม ซึ่งวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรม เช่น วิกฤตความขัดแย้ง ภัยพิบัติ และการอพยพย้ายถิ่นขนานใหญ่ มีแนวโน้มทำให้ภาวะความเปราะบางที่คนข้ามเพศจำต้องเผชิญนั้นขยายเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แต่ทว่าอัตลักษณ์ทางตัวตน ซึ่งเป็นลักษณะที่ทำให้พวกเขาต้องตกเป็นเหยื่อในตอนแรกนั้น ก็ยังคงเป็นสิ่งที่กีดกันไม่ให้พวกเขาได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันสนับสนุนสิทธิของกลุ่มคนข้ามเพศสากล (International Day of Transgender Visibility) บทความฉบับนี้จึงวิเคราะห์ถึงสาเหตุต่าง ๆ ...
โควิด-19 – โรคระบาดใหญ่อาจทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ

โควิด-19 – โรคระบาดใหญ่อาจทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ

, บทความ / บล็อค

คงไม่ใช่เรื่องใหม่หากจะกล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกเกิดความกังวลในหลายปัจจัย: ความกลัวต่อการติดเชื้อไวรัสและทำให้ทั้งครอบครัวป่วยเป็นโรค ความวิตกกังวลเกี่ยวกับมาตรการและการกักตัว ความทุกข์ที่ต้องห่างไกลจากสมาชิกครอบครัวที่เคยพบหน้า ความเครียดต่อภาวะหยุดชะงักของโลกที่อาจนำไปสู่ผลกระทบในระยะยาว ท่ามกลางเหตุผลมากมาย หลายชีวิตที่ต้องต่อสู้กับโรคร้ายไปพร้อมๆ สถานการณ์ความขัดแย้งที่ยังคุกรุ่น ความกังวลของพวกเขา อาจะเพิ่มเป็นเท่าทวีคูณ ICRC มีความกังวลว่าสถานการณ์ดังกล่าว อาจทำให้ความเครียดในแต่ละพื้นที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตของเรา ก็เป็นหนึ่งในเสาหลักเพื่อต่อสู้กับวิกฤตโควิด-19 นอกจากการปรับกิจกรรมที่มีอยู่แล้วให้สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบัน ICRC ยังได้ตั้งหน่วยความช่วยเหลือในด้านโควิด-19 ผ่านการทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อแบ่งปันวิธีการจัดการกับความเครียด ความกังวล และการถูกตีตรา รวมไปถึงการให้คำปรึกษาทางจิตใจต่ออาสาสมัครและบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานในแนวหน้า ...